คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงข่าวถึงการกำกับดูแลการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าและบริการ (Means of Payment) ที่แม้จะระบุว่าเป็นการกำกับ แต่เนื้อหาร่างประกาศที่ขอรับฟังความเห็นเป็นการห้ามธุรกิจเงินคริปโตภายใต้การกำกับดูแลของก.ล.ต. ให้บริการรับชำระ โดยข้อห้ามมีประเด็นดังนี้
หากประกาศครั้งนี้มีผลบังคับใช้ก็แทบจะปิดทางการใช้เงินคริปโตในการแทนเงินจริงๆ แม้จะจำกัดเฉพาะธุรกิจภายใต้กำกับก.ล.ต. เท่านั้นก็ตาม แต่การรับชำระโดยไม่ผ่านตัวกลางเหล่านี้ก็จะยุ่งยากขึ้นมากจนธุรกิจส่วนมากน่าจะไม่พร้อมลงทุน แนวทางนี้นับว่าตรงกับท่าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่เคยออกมาระบุว่าไม่สนับสนุนการใช้เงินคริปโตชำระค่าสินค้า
Comments
ผมว่าแบบนี้ก็ปิดเกินไป กลายเป็นเน้นย้ำว่าเป็นแค่สินค้าเพื่อการลงทุนที่เน้นการทำกำไรแบบเดียวกับหุ้นเลยนะ
ผมว่า Crypto ควรจะเปิดให้รับการชำระได้ตามกฎหมาย ไม่ค้านด้วย โดยมีข้อแม้ว่าผู้ซื้อ, ผู้รับ และผู้ถือเงิน Crypto เป็นผู้รับความเสี่ยงค่าเงินที่เปลี่ยนแปลงในตลาดเอาเอง ของมันมีอนาคตที่หน่วยงานรัฐเอง อาจจะออกเงิน crypto ของตัวเองมาใช้งานเทียบเท่ากับเงินบาทได้ในอนาคต
แต่ควรเตือนและป้องกันการใช้ Crypto ในรูปแบบการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อลงทุน แลกเปลี่ยน และการนำไปใช้กับธุรกิจแชร์ลูกโซ่ และอาชญากรรมซะมากกว่า รวมถึงควรมีการควบคุมการใช้งานในแบบเดียวกับเงินตราและอสังหาริมทรัพย์ด้วยซ้ำไป ในเมื่อ crypto เองก็มีการเก็บข้อมูลและเปิดเผยเส้นทางของเงินในตัวเองอยู่แล้วด้วย การคิดภาษีและจัดการเรื่องฟอกเงินก็ทำได้ง่ายด้วย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
"ควรจะเปิดให้รับการชำระได้ตามกฎหมาย ไม่ค้านด้วย โดยมีข้อแม้ว่าผู้ซื้อ, ผู้รับ และผู้ถือเงิน Crypto เป็นผู้รับความเสี่ยงค่าเงินที่เปลี่ยนแปลงในตลาดเอาเอง"
เค้าอาจจะคิดก็ได้ครับว่า เมื่อเปิดช่องให้ทำได้จะกลายเป็นการผูกมัด หากมีปัญหาคนพวกนี้ก็จะไปหา กลต เพราะ กลต อนุญาต ถึงจะบอกให้รับความเสี่ยงเอาเองก็เถอะ เพราะงั้นตัดปัญหาการผูกมัดกฏหมายไปเลยว่าไม่สนับสนุน
ธุรกิจแชร์ลูกโซ่ ถ้าไม่ห้ามตั้งแต่แรกปล่อยไว้จนลามทั่ว เวลาล้มเศรษฐกิจจะพังไปด้วย
ถ้าจะเหมาว่าตราบใดที่ยังจ่ายเงินให้ลูกแชร์ถือว่ายังไม่เป็นแชร์ลูกโซ่ มันจะพาพังทั้งประเทศนะ
ในความเห็มผมก็มีเขียนว่าเตือนและป้องกันการนำไปใช้งานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจลูกโซ่และอาชญากรรมไว้อยู่แล้วนะครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
มันเหมือแชร์ลูกโซ่มากกว่าครับ มีคนในพันทิปบอกมา ว่า
ถ้าเราลงทุนอะไรสักอย่าง ต้องมีสินค้าหรือเอาเงินที่เราไปลงทุนต่อ แต่นี้มันไม่มีผลิตภัณฑ์อะไรเลย
ไม่เหมือนหุ้น ที่เอาเงินเราไปลงทุนต่อครับ
เขาจะเปรียบเป็นดั่ง ทองคำ มากกว่านะครับ สิ่งที่มีจำกัดที่คนทั่วไปเชื่อถือและให้มูลค่ากับมัน
ผมคิดว่าต่างกันมากครับ ทองนี่มันมีมูลค่าในตัวมันสูงพอสมควรเลยนะครับ ต่อให้ไม่เป็นเครื่องประดับ ตัวมันเองก็ยังมีมูลค่าอยู่มากทีเดียวครับ
ถ้าเอาเฉพาะประเด็นว่า "ของมันมีอนาคตที่หน่วยงานรัฐเอง อาจจะออกเงิน crypto ของตัวเองมาใช้งานเทียบเท่ากับเงินบาทได้ในอนาคต" กรณีนี้มีโปรเจค Retail CBDC ของแบงค์ชาติอยู่นะครับ ซึ่งตัวแบงค์ชาติเองก็มีอำนาจตามกฎหมายเต็มที่ที่จะออกเงิน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบเดิมหรือแบบ crypto มาใช้ได้อยู่แล้ว ประกาศนี้ไม่ได้จะไปกระทบกับ "บาทคอยน์" (ที่คนเค้าชอบเรียกกัน) เลยครับ
ถ้าตามนี้นี่ เหมือนกับซื้อรถแต่ห้ามใช้วิ่ง รอขายต่อได้อย่างเดียวเลย
ไม่ให้ใช้ตามหน้าที่ๆมันถูกสร้างมา
คนสร้างบอกว่าเกลียดคนสร้างถนนมากๆ อย่าไปไว้ใจมัน
คนสร้างถนนบอกว่างั้นอย่าเอามาวิ่งครับ ถ้าจะวิ่งไปหาอื่นที่วิ่งเอง
lewcpe.com, @wasonliw
เห็นภาพเลยครับ อยากวิ่งให้ไปสร้างถนนเอง
ต้องรอดูว่าจะห้ามสร้างถนนด้วยหรือเปล่า
+1024
📸
55555 ชอบครับ ชอบ
เห็นด้วยครับ มันเกิดข้อผูกพันทางกฎหมาย ข้างงูไม่พ้นคออยู่ดี ตัดปัญหาไปเลย
I need healing.
ง่าย ๆ คือ อยากวัดเหลี่ยมกันก็เชิญ แต่ถ้าโดนต้มหมู กฎหมายไม่ช่วยเด้อ
ไม่แปลกใจเท่าไหร่ อะไรที่รัฐกำกับไม่ได้ การยอมให้มีใช้นี่มันผิดวิสัยรัฐชัดๆ เหมือนกันคนต่างด้าว ไม่ได้ขึ้นทะเบียนมาเพ่นพ่านในประเทศ ต่อให้จะเรียกว่าปกป้องความมั่นคงของรัฐเอง แต่ก็อ้างได้ว่าปกป้องประชาชนด้วย
มูลค่าไม่แน่นอนแบบนี้ (USDT เองก็ Gas แพงหูฉี่) ยังจะน่าใช้เป็นช่องทางชำระเงินอยู่เร้อ หรือว่าจะ centralize stable coin เอา?
รัฐยังมอง Crypto เป็นเหมือน สินทรัพย์ นะครับเหมือน ทอง น้ำมัน ที่ดิน หุ้น บอนด์ต่างๆ
โดยตัวมันเองไม่สามารถ "ชำระหนี้ได้ตามกฏหมาย"
ไม่ได้มองว่ามันคือ "เงิน" ถ้าจะให้มองว่าเป็นเงินต้องออกกฏหมายมาครอบ Crypto ก่อน
แต่ความเป็นสินทรัพยืที่ต้องเทรดกันด้วย "เงิน" มีกำไรจากเงิน ตรงนี้เลยเก็บภาษีได้
คนเล่น ก็ม่ได้เดือดร้อยกันอยุ่แล้ว มั้ง ก็เห็นกันปกติ มีหรือไม่มี ก็ไม่ได้สำคัญ
แต่ออกระเบียบมาแบบนี้ เวลาโดนโกงก็ไม่ต้องไปร้อง กลต ครับ
ีีเวลาโดนรบ.ทำรายค่าเงิน เราไปฟ้องใครได้บ้างครับ
"รบ.ทำรายค่าเงิน" อันนี้หมายถึง?
(ตอบแทน) "รบ.ทำรายค่าเงิน" => "รัฐบาลทำลายค่าเงิน" คงหมายถึงนโยบายทางการเงินที่ชาวคริปโตมองว่าเป็นการทำลายค่าเงินตัวเอง เช่น QE
ถ้าหมายถึงแบบนั้น
ผมเห็นค่าเงินคริปโตขึ้นลงแรงชนิดเป็นราชาหรือยาจกได้ภายในชั่วโมงเดียวอยู่เรื่อยๆ นะ
ความเห็นในนี้กับใน FB นี่คนละเรื่องเลย....
อยากรู้สถิติจังว่าทุกวันนี้ ในประเทศไทยมีธุรกิจเอกชนรับชำระเงินด้วย Crypto กี่แห่ง มี Volume ต่อวันเท่าไหร่
ไม่น่าเยอะ แต่ก็เริ่มมีมากขึ้น ผมว่าเพราะมันเริ่มมีการใช้กว้างขึ้น เลยต้องรีบออกมาหยุดก่อน ร้านกาแฟที่ผมจ่ายด้วยlightning ทุกวันมาปีกว่าๆเกือบ2ปี จากเดิมมีผมคนเดียวตอนนี้ก็มีเพิ่มเป็น10กว่าคนแล้ว
สรุปเอาไว้ทำไรดี เกร็งกำไรแบบหุ้น อย่าตามเก็บภาษีแบบหุ้นด้วยปะ
ดีมากสนับสนุนครับ
BOT กำลังจะออกกฎป้องกัน เคสโฆษณาเพื่อทำรูปแบบแชร์ลูกโซ่นั่นแหละ การให้ลงทุนซื้อtoken แล้วเอาtoken ไปแลกซื้อของได้โดยตรงในร้านเครือข่าย หรือร้านที่รับระบบชำระเงินแบบพิเศษ โดยยิ่งหาdownlineเยอะ ก็ได้ส่วนลดเยอะขึ้น คุ้นๆไหม?
มันมีมาแล้ว และหลายเจ้าด้วย ฟ้องกันหลายปีไม่รู้ตามเงินคืนได้สักเท่าไร ลืมไปหมดแล้วหรือbitconnect, one coin ฯลฯ ถึงจะอ้างว่าที่เคยมี มันไม่ใช่cryptoไม่ใช่blockchain แท้ๆ แต่ถามว่า ถ้ามีเจ้านึงสร้างเหรียญมีมขึ้นมาใน blockchain จริงๆแล้วโมเดลการหาเงินแบบเดียวกัน มันต่างกันตรงไหน? โดยเฉพาะ NFT game ที่เอาคำว่าเกมมาบังหน้า(ที่เล่นยังไงก็ไม่สนุกเพราะไม่มีความเป็นเกมเลย) แต่โมเดลแชร์ลูกโซ่ชัดเจน แถมไม่มีของอะไรเลย เก็งกำไรtokenในเกมล้วนๆ? ยิ่งกว่าบ่อนพนันออนไลน์เสียอีก?
แต่จริงๆ ถ้าเปิดช่องแบบให้กำกับดูแลได้100% ก็เลียนแบบรูปแบบการจดทะเบียนe-moneyแต่ต้องรายงานเงินเข้าออกหมด จะยอมกันไหม? หรือไม่อยากให้รู้เพราะกลัวต้องจ่ายภาษี?
ดีแค่ไหนแล้วที่เขาไม่ห้ามหมดทุกช่องทาง เพราะยังมีช่องใช้งานสำหรับคนที่อยากใช้ ก็ยังซื้อขายได้ ไม่ได้แบนหมดเหมือนจีน
อยากdecentralized ก็อย่าไปคาดหวังว่ารัฐจะเข้ามาช่วยโดยไม่ให้เขากำกับดูแลเลยครับมันขัดแย้งในตัวเอง
ถูกใจครับ
เห็นด้วยนะ มูลค่ามันผันผวนเกินไปยิ่งกว่าหุ้นอีก วันนี้ ๕๐๐ พรุ่งนี้เหลือ ๓๐๐
คิดว่าห้ามใช้ชำระสินค้า-บริการ เพราะเก็บภาษีไม่ได้มากกว่า สนับสนุนการเทรด แต่ขอเก็บภาษีเพราะตอนแปลงเป็นสกุลท้องถิ่นเข้ากระเป๋าเขาเห็น transaction ตรงนั้นไง แต่ถ้าเอามาใช้ชำระจริงๆจะตาม transaction ลำบาก การเก็บภาษีก็ลำบากอีก ทุกวันนี้รัฐพยายามผลักดันให้เราใช้ cashless เยอะๆ โดยเฉพาะคนละครึ่งน่ะ กำไรไม่ได้อยู่ที่คนใช้นะครับ กำไรอยู่ที่ตอนรัฐคิดภาษีจากรายได้ผู้ใช้แอพถุงเงินมากกว่า เพราะเขามองเห็นตัวเลขรายรับชัดเจนมากๆ ภาษีเข้าคลังจะได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย คิดดูว่าหากทุกคนใช้สกุลเงิน decentralized รัฐ track ก็ไม่ได้ แล้วเขาจะกินอิ่มเหรอ ?
ถ้าจะเก็บทำไมจะเก็บไม่ได้ครับ? บริษัทที่ให้บริการก็เป็นบริษัทภายใต้การกำกับดูแล สั่งให้รายงานหรือส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายก็ได้อยู่แล้ว
ตรงกันข้าม กลุ่มสนับสนุนเงินคริปโตที่โวยวายกันตอนนี้ น่าจะเป็นเพราะไม่ได้เชื่อในความไร้ศูนย์กลางของมันตั้งแต่ทีแรก พอโดนตัดช่องทางรวมศูนย์เข้าหน่อยก็โวยวายใหญ่โต ที่ดีใจว่าจ่าย (ผ่านตัวกลางรวมศูนย์) ได้ ก็แค่ดีใจที่จะมีสตอรี่สร้างราคาไปเรื่อยๆ แค่นั้น
lewcpe.com, @wasonliw
น่าจะมีผลเฉพาะหน่วยงานหรือองค์กรที่อยู่ภายใต้อำนาจการกำกับดูแลของกลต.เท่านั้น
ส่วนร้านค้าอื่น ๆ ถ้าอยากจะรับ crypto ผ่านตัวกลางอื่น ๆ ในต่างประเทศหรือโอนกันเองไม่ผ่านตัวกลาง ก็น่าจะสามารถทำได้อยู่ กลต.ไม่น่าไปมีอำนาจเหนือเอกชนขนาดนั้น
That is the way things are.
รอบนี้แบ๊งชาติมาเอี่ยวครับ อำนาจเยอะกว่ากลต เยอะ
ถ้ากฎหมายหรือคำสั่งออก ก็แอบรับตรงได้ แต่โฆษณาออกสื่อไม่ได้ครับรวมไปถึงการชี้ชวนลงทุน
ตอนนี้การใช้tokenแลกของโดยตรง มันคล้ายๆกับe-money แหละ แต่มันควบคุมการไหลเข้าออกไม่ได้ และมีโอกาสที่จะใช้ระดมทุนแบบผิดกฎหมายหรือหลอกลวงได้ง่ายด้วย
ถ้ามองเฉพาะ "ร่างประกาศฉบับนี้" ใช่ครับ มีผลเฉพาะหน่วยงานภายใต้กำกับ
แต่บริษัทอื่นๆ ที่ไม่อยู่ใต้กำกับจะให้บริการต้องระวังว่าไม่ไปทำหน้าที่ที่ต้องขออนุญาต (และต้องอยู่ใต้กำกับ) อย่างพวกขายซอฟต์แวร์อย่างเดียวผมว่าไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเริ่มไปถือบัญชีแทนให้ ให้คำแนะนำที่กลายเป็นการแนะนำการลงทุน ฯลฯ พวกนี้ก็จะโดนเรื่องการให้บริการโดยไม่ยอมขออนุญาตแทน
lewcpe.com, @wasonliw
ตรง -ห้ามจัดทำระบบหรือเครื่องมืออำนวยความสะดวกแก่ร้านค้าเพื่อรับชำระด้วยเงินคริปโต
นี่น่าจะรวมถึงห้ามบ.software ทำpayment gateway ให้ด้วยนะครับ (ยกเว้นแค่รับช่วง แต่ถ้าเป็นเจ้าของเองน่าจะผิด)
อันนี้เฉพาะประกาศฉบับนี้มีผลเฉพาะหน่วยงานใต้กำกับของกลต. ครับ (หัวประกาศเขียนไว้ว่าบังคับกับใครบ้าง)
ส่วน payment gateway ถูกควบคุมด้วยกฎหมายฉบับอื่นไม่ใช่ก.ล.ต. ก็ต้องดูประกาศฉบับอื่นว่าห้ามไหม โดยทั่วไปพวกนี้น่าจะจำกัดสกุลเงินที่ให้บริการได้อยู่แล้ว น่าจะบีบกว่าของก.ล.ต เยอะอยู่
lewcpe.com, @wasonliw
ผมเห็นด้วยนะ
..: เรื่อยไป
แนวคล้าย หวยใต้ดิน มันมีช่องทางที่เดินได้
ตอนเช้ากำคริปโตจะไปซื้อแคมรี่
ไปถึงร้านซื้อได้แค่วีออส
ดีนะไม่บอกว่า ทามิย่า
เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินนํ้าแกง