SpaceX เปิดตัวจานรับสัญญาณดาวเทียมรุ่นใหม่สำหรับบริการอินเทอร์เน็ตดาวเทียม Starlink ในชื่อ Starlink Premium ที่โฆษณาว่าสามารถใช้อินเทอร์เน็ตที่ความเร็วดาวน์โหลด 150 ถึง 500Mbps (ปิงอยู่ที่ 20 ถึง 40ms) ในขณะที่รุ่นปกติทำความเร็วได้ที่ 50 ถึง 250Mbps (ปิงเท่ากัน) ส่วนความเร็วขาอัพโหลดอยู่ที่ 20 ถึง 40Mbps เรียกว่าเร็วขึ้นเท่าตัวทั้งดาวน์โหลดและอัพโหลด นอกจากนี้ยังทนต่อสภาพอากาศสุดขั้วได้ดีกว่าเดิม
ด้านราคาก็ไม่ธรรมดา เพราะเก็บค่าจานดาวเทียม 2,500 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 83,000 บาท) บวกกับค่ารายเดือนอีก 500 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 16,500 บาท) ขณะนี้เปิดให้ลงชื่อจองแล้ว โดยต้องวางเงินมัดจำ 500 ดอลลาร์สหรัฐ เริ่มส่งมอบไตรมาสที่สองของปีนี้
ที่มา - The Verge
Comments
รอนายอาร์มซื้อมารีวิว
นายอาร์ม : แค่เน็ตบ้านกูก็จ่ายแพงแล้ว ยังจะเอา Starlink อีกหรอ....
เห็นรีวิวว่าเวอร์ใหม่ไม่มี LAN ให้ต้องซื้อแยก WiFi ก็ได้แค่ ac ไม่เข้าใจว่าทำไม จะตามรอย Apple รึไงนั่น
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
SpX พยายามหาทางลดต้นทุน ต้นทุนจานปกติตอนนี้อยู่ที่ $1,300 แต่เก็บผู้ใช้ตอนนี้ที่ $499 อะไรที่ทำกำไรเพิ่มได้ก็ทำ
สงสัยว่าปิงนี่ วัดกันที่เซิร์ฟไหน
ผมสงสัยครับ ดาวน์โหลด กับ อัพโหลด
มันทำงานยังไงครับ เวลาเล่นเกมต้องใช้ดาวน์โหลดหรืออัพโหลด เวลาดูยูทูป หรือ เน็ตฟิก แบบนี้ใช้อันไหนครับ
ผมไม่ได้เรียนคอมแต่ผมสนใจมากกกก?
Download ก็ตอนเรา โหลดจาก Server มาเครื่องเรา
Upload ก็เราส่งเข้าไปที่ Server
เล่นเกมมองว่า Bandwidth ไม่เน้นมากครับ เน้น Latency หรือค่า Ping เรียกๆ กัน ก็หมายถึง เวลาที่เราส่งข้อมูลจน server ตอบกลับมาหาเราใช่เวลากี่ มิลลิวินาที
พวก Video Streaming ก็ เน้น Download ครับ โหลดดูอย่างเดียว
ของ Netflix ที่ใช้ >> https://help.netflix.com/th/node/306
จริงๆ ไม่ใช่แบบ Download 100 Mbps แล้ว Upload 1 Mbps แบบนี้ก็ไม่ไหวนะครับน้อยไป การทำงาน มันคุยกันสองฝั่งหากันส่งข้อมูลยืยันนกันอะไรแบบนี้
อีกแบบถ้าเราตั้ง Server ให้บริการเราก็เน้นขา up เยอะๆ
นอกจาก ping ยังมีเรื่องของ ping jitter (ความคงเส้นคงวาของค่า ping) packet loss (ข้อมูลรับส่งไปถึงปลายทางหรือไม่) กับระบบ QoS (ระบบจัดการความสำคัญของข้อมูลที่เข้าออก) ของ router ที่ใช้ด้วย เพราะถ้าอย่างใดอย่างหนึ่งแย่ มันจะรู้สึกว่า lag เล่นไม่สนุก ถึงแม้จะใช้เน็ตแค่คนเดียว แต่ถ้าทุกอย่างดีหมด มันจะรู้สึกว่าไม่ lag และเล่นสนุก ถึงแม้จะมีคนดาวน์โหลดหรืออัพโหลดข้อมูลจนเต็มความเร็วที่ทำได้ครับ
ถ้าเป็น youtube หรือ netflix จะใช้ download เป็นหลัก แต่ถ้าเป็นเกมก็จะแล้วแต่เกมครับ
มันเอาไว้ใช้สำหรับพื้นที่เข้าถึงยาก
เจอสภาพอากาศแย่ๆ หรือแค่ฝนตกเบาๆ นี้ก็ lag แล้วครับ
ปล. ผมไม่เชื่อโฆษณาที่ว่าทนต่อสภาพอากาศเท่าไรนัก อาจจะทนแต่จานรับ แต่คลื่นนี่ไม่ทนด้วยก็ได้
ดาวน์โหลด -> ข้อมูลเข้าเครื่อง
อัปโหลด -> ข้อมูลออกจากเครื่อง
ให้บอกตามตรง ตอนนี้คนยังสับสนกับคำว่า "ความเร็วเน็ต" อยู่ไม่น้อย ตอนที่เราพูดถึงเรื่องความเร็วเน็ตก็มักจะอ้างถึงตัวเลข อัปโหลด/ดาวน์โหลดกัน 100 Mbps 1 Gbps อะไรก็ว่ากันไป ทั้งที่จริงตัวเลขพวกนี้นับเฉพาะ "ปริมาณข้อมูล" ที่เข้าออก ณ ตำแหน่งที่อยู่เท่านั้น ยังไม่นับปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ เวลาที่ใช้ในการส่งข้อมูล หรือ ความหน่วงของเวลาในการส่งข้อมูล (latency นิยมเรียกว่า ping)
ถ้ายังนึกไม่ออก สมมติว่าเครือข่ายคุณรองรับอินเทอร์เน็ต 10 Gbps แต่ใช้เวลาในการส่งข้อมูลหนึ่งชุด 10 ชั่วโมง คุณจะเรียกอินเทอร์เน็ตนี้เป็นอินเทอร์เน็ตที่ "เร็ว" ได้หรือไม่ หรือว่าอินเทอร์เน็ตคุณใช้เวลารับส่ง 1 มิลลิวินาทีเท่านั้น แต่ส่งข้อมูลได้เพียง 1 Kbps คุณจะเรียกอินเทอร์เน็ตนี้ว่าเป็นอินเทอร์เน็ตที่ "เร็ว" ได้หรือไม่
ดังนั้นมันก็ขึ้นอยู่กับงานว่าต้องการส่วนไหนเป็นสำคัญ ถ้าคุณดู YouTube, Netflix ซึ่งไม่ได้ต้องการความเร็วในการตอบสนองเป็นสำคัญอยู่แล้ว ขอแค่ตัวเครือข่ายส่งข้อมูลได้เพียงพอต่อวิดีโอนั้น แต่กับพวกเล่นเกมออนไลน์ที่เน้นความเร็วการตอบสนองเป็นสำคัญ ความเร็วแค่ 64 Kbps ก็เหลือเฟือสำหรับหลาย ๆ เกม แล้วเน้นหนักที่ความเร็วในการตอบสนองแทน (ค่าความหน่วงที่ยอมรับได้อยู่ที่ 80 - 100 ms)
ถ้าตามความเข้าใจของผม คือเน็ตที่แบนด์วิธกว้าง = แรง และเน็ตที่ Latency ต่ำ = เร็ว
ซึ่งก็ไม่มีเหตุผลรองรับความคิดนี้เหมือนกัน...
สมมุติ จากกรุงเทพ - เขาใหญ่ระยะทาง 100 Km
คุณขับรถด้วยความเร็ว 100Km/h (speed, bandwidth) มันควรจะใช้เวลา 1 ชั่วโมงพอดี
แต่ทางปฎิบัติคุณต้องติดไฟแดง, หลงทาง, รถติด (firewall, package loss, high traffic)
ทำให้คุณช้าไป 20000000ms (Latency)
และความเร็วที่ว่า วัดกันเฉพาะใช้งานในประเทศอย่างเดียวนะ ยังไม่นับ Bandwidth ที่ใช้ต่อออกต่างประเทศเลยว่าจะได้เท่าที่โฆษณาด้วยหรือเปล่าอีก
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว