ชาวลิทัวเนีย ช่วยกันระดมทุนผ่านวิธี crowdfunding เพื่อซื้อโดรนจู่โจมรุ่น Bayraktar TB-2 ให้กับประเทศยูเครน โดยแคมเปญของลิทัวเนียสามารถระดมทุน 5 ล้านยูโร (ประมาณ 185 ล้านบาท) ได้สำเร็จภายในเวลา 3 วัน ได้โดรนหนึ่งลำเรียบร้อย
ยูเครนใช้โดรนรุ่น Bayraktar TB-2 ที่ผลิตโดยตุรกีมาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นสงคราม และประสบความสำเร็จอย่างสูงในการใช้โดรนทำลายรถถังของรัสเซีย ความสำเร็จนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้ชาวลิทัวเนีย (ซึ่งเป็นประเทศในกลุ่มสหภาพโซเวียตเดิมด้วยกัน และปัจจุบันเป็นสมาชิก NATO เรียบร้อยแล้ว) ต้องการซื้อและส่งให้ยูเครนใช้งาน
แคมเปญนี้ริเริ่มโดย Laisves TV สื่อออนไลน์ของลิทัวเนีย เลือกใช้วิธี crowdfunding เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรง และผลคือเงินส่วนใหญ่เป็นยอดบริจาคก้อนเล็กๆ ระหว่าง 10-500 ยูโร แต่จำนวนคนบริจาคก็เยอะพอที่จะซื้อโดรนได้หนึ่งลำ
บัญชีทวิตเตอร์อย่างเป็นทางการของทั้งสองประเทศคือ @Lithuania และ @Ukraine ต่างก็โพสต์สนับสนุนและขอบคุณกันเรื่องนี้ด้วย
5 million Eur. for Bayractar for @Ukraine. We did it in 3 days! ✌ Most donations of crowdfunding were small, between 10-500 €. #Lithuania #StandWithUkraine 🇺🇦#Proud2beLithuanian pic.twitter.com/fq0P4QZTcl
— #Lithuania 🇱🇹 #StandWithUkraine 🇺🇦 (@Lithuania) May 28, 2022
Simply wow, @Lithuania 💛💚❤️ We will never forget what you did for us on so many fronts. Ačiū to every Lithuanian who donated, your present will be put to good use 😎 https://t.co/vL686yLmra
— Ukraine / Україна (@Ukraine) May 28, 2022
ที่มา - Business Insider
Comments
พอเป็นทุนที่ตรวจสอบไม่ได้หรือไม่เปิดเผยตัวตน หากวิธีนี้ต่อไปแพร่หลาย ก็น่ากังวลเหมือนกันนะครับ
กรณีนี้ผมว่าไม่เชิงตรวจสอบไม่ได้ เพราะว่าเงินมันก็ทำผ่านระบบการเงินปรกติ แพลตฟอร์มก็รับเงินมาตามปรกติ และการจ่ายเงินเองก็มีการระบุว่าผู้จ่ายเป็นใครอยู่แล้ว
แค่ว่าอาจจะต้องตรวจสอบเหนื่อยหน่อยเท่านั้นเองครับ เพราะปริมาณ transaction น่าจะสูงมาก
ต้องลองซื้อของพวกโปรเจคระดมทุนแบบ kickstarter ดูครับ แล้วจะเข้าใจกลไกของการระดมทุนแบบนี้
ตอบสองท่านด้านบนครับ คือผมแค่รู้สึกแปร่งๆ กับการที่เราเปลี่ยนจากการบริจาคเพื่อการกุศล มาเป็นการบริจาคเพื่อซื้ออาวุธสังหารอ่ะครับ เรื่องการตรวจสอบผมไม่แน่ใจว่า พอเป็นอ้างว่าเป็นการบริจาค จะมีการตรวจสอบเข้มข้นแค่ไหน บัญชีม้ามีหรือไม่ อาจจะมีใครที่ได้ประโยชน์แฝงรึเปล่า อะไรทำนองนี้น่ะครับ การเทียบกับ Kickstarter ที่เป็นการ backed เพื่อของใช้ทั่วไป กับอาวุธ ผมว่าความละเอียดเข้มข้นมันต้องต่างกัน
ในบริบทของ"สถานการณ์นี้" อาจจะโอเค แต่ถ้ามันกลายเป็นบรรทัดฐานต่อไปให้เอกชนสามารถ back ซื้ออาวุธเพื่อโจมตีได้ ผมยังมองว่ามันอันตรายเหมือนกัน
อย่างไรก็ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ 🙏
เพิ่มเติม: และนี่เป็นการ backed จากประเทศที่สาม ไม่ใช่ประเทศคู่กรณีด้วยนะครับ