ด้วยเหตุที่มีกระแสเรียกร้องให้ยกเลิกการใช้เลขไทยในเอกสารราชการ ซึ่งอาจส่งผลให้หลายฝ่ายเกิดความไม่สบายใจว่าเอกลักษณ์ความเป็นไทยอาจเลือนหายจนนำไปสู่การสิ้นชาติ เช่นนั้นแล้ว นักพัฒนาชาวไทยผู้มีใจรักชาติจึงได้สรรค์สร้างส่วนขยายของเบราว์เซอร์เพื่อแสดงผลเลขไทยแทนเลขอารบิค
ส่วนต่อขยายดังกล่าวสามารถดาวน์โหลดได้จาก กิตฮับของผู้พัฒนา โดยปัจจุบันยังรองรับเฉพาะเบราว์เซอร์โครมและเอดจ์ ผู้ที่สนใจร่วมสืบสานและอนุรักษ์ความเป็นไทยสามารถตรวจสอบและติดตั้งส่วนขยายดังกล่าวได้ตามขั้นตอนที่ระบุในที่มา
ที่มา - เฟซบุ๊กของผู้พัฒนา
Comments
หัวจะปวด
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
ติดตั้งให้ User ราชการไทยน่าจะถูกใจ
ไม่ถูกใจครับ
ไม่ถูกใจอีกเสียง และโคตรรำคาญกับการต้องพิมพ์เลขไทย ที่แป้นไม่ตรงกับเลขอารบิก รวมทั้งการต้องใช้ font IT๙ ที่มีระยะห่างระหว่างบรรทัดไม่เท่ากับ SarabunPSK V1.1 และ SarabunNew
ใช้ Macro เอาครับ สะดวกกว่า
แซะได้ดูเขลามากเลย
ถ้าเทียบกับการบิดสารของคนบางกลุ่มจากเดิมที่ต้องกาารให้ "ใช้เลขอารบิกแทนเลขไทยในเอกสารราชการที่เป็นข้อมูลตัวเลข" กลายเป็น "ยกเลิกการใช้เลขไทย" การแซะแบบนี้ก็ดูเขลาน้อยกว่าครับ
To be fair ถ้าราชการไม่ใช้ ก็เท่ากับยกเลิกเลขไทยเนี่ยแหละครับ 555 มันไม่มีใครใช้เลย
ใช้ตามฟอร์ม หน้าปก/ใบปิดเอกสารตามฟอร์ม ใช้กับวันที่ในหัวเอกสารโดยมีเลขอารบิกกำกับ ฯลฯ ได้ครับ
ใช้ในเชิงอนุรักษ์ มันเป็นคนละแบบกับใช้แบบตะบี้ตะบัน
lewcpe.com, @wasonliw
ผมว่าอย่างเลขโรมันก็ไม่น่าใช้แบบทางการ แต่เราก็เห็นได้เรื่อย ๆ นะครับ บางทีไม่ต้องใช้กับทุกอย่างก็ได้ แค่ใช้ในโอกาสที่เหมาะสมก็น่าจะพอแล้ว อย่างทำ artwork ไทย ๆ จะใช้เลขไทยก็ดูเหมาะสมดี
เอางี้เลย มาเล อินโด สิงคโปร์ เค้าใช้วิธี ขั้นสุดเลยคือเอา
ตัวหนังสืออังกฤษ มาเขียนเป็นตัวอ่านออกเสียงแบบ คาราโอเกะ
ของตัวภาษาท้องถิ่นเอาเลย (คิดได้ไงวิธีนี้ ?) มันใช้งานได้นะครับ
ตอนไปก็อ่านออก ถึงผมจะไม่รู้ว่า ไอ้คำว่า สะลามัตปากี
หรือ ก๊ง ฉี ฟา ฉัย มันหมายความว่ายังไงหว่ะ ?
ตัวหนังสือดั้งเดิม ถ้าใครอยากอนุรักษณ์ ก็ลงเรียนเป็นวิชาเสริมได้
มันไม่หายไปง่าย ๆ หลอกน่า
ผมนึกว่าภาษาเขาไม่มีตัวเขียน เลยต้องใช้อักษรโรมันเขียน
ในอดีตเคยมีครับ ภาษายาวีใช้ตัวเขียนคล้ายภาษาอาหรับ
แต่โดนอังกฤษ ดัตช์ Colonized ให้ใช้อักษรโรมันมาหลายร้อยปีแล้วครับ
ถ้าให้เทียบก็คือภาษาล้านนาที่มีอักษรเป็นของตัวเอง
แต่ปัจจุบันคนเมืองส่วนใหญ่เขียนอักษรล้านนาไม่เป็นกันแล้ว
เพราะโดนบังคับให้เรียนแค่ภาษาไทยแทน
ใช้กับการตั้งราคาคนไทย กับราคาต่างชาติ
อันนี้ไม่ได้แซะนะ แต่ประเทศอื่นก็มีไรอย่างนี้เหมือนกัน
เห้ย!! มันใช่ อันนี้จริงเลยมีประโยชน์จริง ๆ ด้วย
มายุคนี้ ใช้ Google Translate/Apple Translator ก็จบกันครับ (ปล. ไม่เคยลอง)
พบคนฉลาด 1ea คนฉลาดชอบเหยียดคนอื่นว่าเขลาแบบนี้แหละ ผมไม่อยากเป็นคนฉลาดเลย นิสัยไม่ดี
ไร้สาระหน่า
ขอบใจท่านมาก ข้าพึงใจกับข่าวนี้เป็นยิ่งนัก ๕๕๕๕๕
@iannnnn
โหลดแล้วติดตั้งให้เพื่อนร่วมงานผู้รักความเป็นไทย
ครูเกษียณแถวบ้าน โวยวายให้อนุรักษ์เลขไทยตามข่าว
แต่เวลาเขียนหวย ไม่เคยเห็นใช้สักครั้ง
กลัวเวลาถูกหวยแล้วไม่ได้เงิน ..๕๕๕
เยี่ยมเลยครับ แต่ไม่ใช้ครับ เอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีกว่า
ไม่มีภาษาอังกฤษในข่าวเลย โหดมาก ๕๕๕๕
ข้าพเจ้าถูกใจสิ่งนี้ยิ่งนักขอรับ
จริง ๆ ปัญหามันก็อยู่แค่ว่า เลขไทยมันอ่านยาก แล้วก็มีโอกาสผิดพลาดได้ง่าย
เรามาเปลี่ยนมาใช้ตัวเลขแบบสากลในหลาย ๆ อย่างกันดีไหม
แค่นั้นจริง ๆ นะ
แต่ social ดันแซะกันไปมาจนมั่วซั่วไปหมด แล้วก็แซะกันไปเรื่อย ๆ
ไม่รู้สึกเหนื่อยกันบ้างเหรอครับ
ตอนนี้ social network เต็มไปด้วยการ
การแซะให้คนอื่นโกรธเพื่อให้ตัวเองสะใจ
การพูดให้อีกฝ่ายเจ็บปวด เพื่อให้ตัวเองรู้สึกดี
ฯลฯ
โดยที่แทบไม่มีใครคิดที่จะเอะใจ ว่ามันเป็นเรื่องที่ดีหรือไม่ดี
แทบทุกพื้นที่เต็มไปด้วยความเกลียดชัง
อยากให้ปรับจูนความคิดตัวเองกันมาก ๆ
ผมเองก็เป็น แต่ก็กำลังพยายามปรับตัวเหมือนกัน
มาลองปรับจูนไปด้วยกันดีไหม 😅
รู้ว่าสร้างความเกลียดชังมันไม่ดี แต่เหลือเป็นวิธีสุดท้ายเพื่อให้ท่านผู้นำอายและยอมแก้รัฐธรรมนูญแล้ว
ถ้าแค่อ่านยากคิดว่าไม่ใช่ประเด็นหลักเท่าไหร่ คือผมโพสไว้ใน status ส่วนตัวแต่คิดว่าในเมื่อข่าวนี้จุดประเด็น ผมเลยนำเสนอประเด็นตัวอย่างที่ทำให้เลขไทยนั้นทำให้การทำ digital transformation มีปัญหา
1.ความยากลำบากในการพิมพ์ เพราะต้องกด shift ก่อนกดตัวเลขไทย ซึ่งแตกต่างจากตัวเลขอารบิกในแป้นภาษาอังกฤษ (ในอนาคตผมคาดหวังว่าจะมีคนผลิตคีย์บอร์ดสำหรับพิมพ์เลขไทยออกมาบ้าง)
2.มีคนทำ solution ที่เรียกว่าการสับเปลี่ยนวิญญาณ ในรูปแบบของฟอนต์ TH Sarabun IT๙ คือหน้าฉากกายเนื้อเป็นตัวเลขแบบไทย แต่วิญญาณเนื้อแท้คือตัวเลขอารบิก
ซึ่งในมุมหนึ่งก็เป็นการแก้ปัญหาหนึ่งในด้านความไม่สะดวกในการพิมพ์ของผู้จัดทำเอกสาร เพราะมันแสดงผล และจัดพิมพ์ออกมาอย่างถูกต้องสวยงาม คือมันตอบโจทย์ปัญหาในมุมมองของมนุษย์ แต่การกระทำดังกล่าวกลับสร้างปัญหาที่ใหญ่กว่ามากมาแทนในด้านการประมวลผล และการสืบค้นข้อมูลในระบบจัดการเอกสารทางคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแทน ซึ่งมันหลอกหลอนคนที่ต้องทำงานกับชุดข้อมูลเหล่านั้นไปจนกว่าชุดข้อมูลนั้นจะหมดความต้องการในการใช้
3.ปัญหาการประมวลผลทางสถิติ เราต้องเสียเวลาตรวจสอบ และแปลงชุดตัวเลขเหล่านี้ให้อยู่ในความหมายที่ถูกต้อง ตัวอย่างง่าย ๆ เราต้องจัดเรียงลำดับตัวเลขจะยิ่งเห็นชัดเจน แม้ใน Excel อาจจะเรียกลำดับ 1 และ ๑ เป็นลำดับเดียวกัน แต่บางระบบฐานข้อมูลอาจจะไม่ใช่ บางครั้งระบบที่เราต้องนำข้อมูลเข้าไปใช้งานร่วมกัน เราไม่สามารถควบคุม database collation ได้ โดยขออ้างอิง MariaDB โดยตัวเลข ๑ ไทยจะต่อท้าย ฮ ซึ่งผิดกับฝั่งภาษาอังกฤษจะขึ้นต้นตัวเลขก่อนตัว A ซึ่งปํญหานี้ยังไม่รวมลำดับของ 1 และ ๑ เวลาจัดเรียงก็เรียงไม่อยู่ในลำดับเดียวกัน (แบบ Excel) ทำให้เวลาเราเอาตัวเลขแบบไทยมาใช้ในงานประมวลผลจัดลำดับ เราต้องแปลงมันมาอยู่ในตัวเลขอารบิกก่อนจึงจะจัดลำดับได้อย่างเหมาะสม
รายการตัวอย่างข้อมูล
| 1 | A |
| 2 | B |
| 3 | C |
| 4 | ๑ |
| 5 | ๒ |
| 6 | ๓ |
| 7 | ก |
| 8 | ฮ |
| 9 | 1 |
| 10 | 2 |
ผลการจัดเรียงใน column ที่สองใน Excel
| 4 | ๑ |
| 9 | 1 |
| 5 | ๒ |
| 10 | 2 |
| 6 | ๓ |
| 1 | A |
| 2 | B |
| 3 | C |
| 7 | ก |
| 8 | ฮ |
ผลการจัดเรียงใน column ที่สองใน MariaDB collation tis620_thai_ci
| 9 | 1 |
| 10 | 2 |
| 1 | A |
| 2 | B |
| 3 | C |
| 7 | ก |
| 8 | ฮ |
| 4 | ๑ |
| 5 | ๒ |
| 6 | ๓ |
ซึ่งจากทั้งหมดที่ได้กล่าวมา เป็นเพียงการยกตัวอย่างและผลกระทบอย่างง่ายให้พอเห็นภาพ
เอาจริงๆ หากพบกันครึ่งทางควรใช้ในจุดที่เหมาะ อาจจะหัวประกาศ แต่กำกับเลขอารบิกไว้ด้วยเพื่อ index ตัวข้อมูลสำหรับสืบค้น เพราะเราต้องคิดว่าในอนาคตเราจะสืบค้นและแปลงข้อมูลอย่างไรให้สามารถใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
เอ่อ …. จากประสบการณ์การเขียนโปรแกรมระบบที่เกี่ยวข้องกับราชการ
ปกติแล้วในระบบ เป็นตัวเลขธรรมดาทั้งหมดนะครับ
มันจะเป็นเลขไทยแค่ตอนออก report
ไม่ได้ใช้ตัวเลขไทยทำอะไรพรรค์นี้นะ
คิดว่าไม่น่ามีใครทำด้วยนะ
ออก report มาเป็นเลขไทย ใจคอคนสั่งพัฒนาโปรแกรมเค้าคิดถึงคนเอาไปทำงานต่อใช่ไหม
เพราะในฐานะที่เคยได้ report PDF เป็นเลขไทย ต้องมานั่งกรอกมือ เสียเวลาชีวิตมากครับ
..........
report คือเป็นเอกสารสั่ง print อะไรพวกนั้นไม่ใช่เหรอครับ
ถ้าอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเพือ่ไปทำงานต่อ ก็ export data จาก db ไปใน format อื่น ๆ ก็ได้นะครับ
จะ csv จะ json etc. ขึ้นกับว่าต้องการจะใช้ทำอะไร
ผมว่าไฟล์ pdf ไม่น่าจะเหมาะกับการเอาข้อมูลในนั้นไปทำอะไรต่อนะครับ เอาไว้ print ก็พอเถอะ
คือแบบ อย่าว่าแต่เลขไทยเลย แค่ตัวหนังสือภาษาไทย ก็ปวดหัวแล้ว
ทำทุกอย่างให้ง่าย แล้วสนุกกับชีวิตกันนะครับ :)
เห็นด้วย pdf เอาไว้ปริ้นต์ ใส่เลขไทยมามันก็ปรินต์ออก
เขาใจว่าทางเขาได้ report มาเป็น PDF ให้เอาข้อมูลไปใช้ต่อ นะครับ ถ้าเลือกได้ คงไม่ได้อยากได้ PDF แล้วต้องแปลงกลับไปเป็น csv, json, xlsx
ประสบการณ์ตัวเองเนี่ยเจอมาแล้วคือขอ report จากราชการ คนที่ติดต่อเค้าไม่รู้จักหรอก csv/json บางครั้งมันไม่ใช่ว่าคนที่เราไปขอเค้าเค้าจะประสานงานให้ได้ บางครั้งต้องตัดใจได้อะไรมาก็เอาแบบนั้นแหละ น้อยครั้งมากที่เค้าจะเข้าใจว่า csv หรือ json คืออะไร สุดท้ายตัดจบคีย์เองก็ได้ ดีหน่อยไฟล์ pdf มันแปลงพอไหวก็แปลง บางครั้ง OCR เอา
"ทำทุกอย่างให้ง่าย แล้วสนุกกับชีวิตกันนะครับ :)"
คือบางครั้งอยากให้ชีวิตมันง่ายครับ แต่มันสู้กลับ มันก็ไม่ง่าย
ปล.ประสบการณ์ตรงสัก 4-5 ปีก่อน หลังๆ อาจจะดีกว่านี้แล้วก็ได้ แต่คนรอบๆ ตัวก็เห็นบ่นๆ กันอยู่นะ
เคยได้มาเป็นกระดาษปึกใหญ่ๆปึกนึง
แต่ก๋4-5ปีมาแล้วเช่นกัน
เคยได้มาเป็นกระดาษปึกใหญ่ๆปึกนึง
แต่ก๋4-5ปีมาแล้วเช่นกัน
นี่ราชการด้วยกันยังเจอส่งข้อมูล 100,000 แถวมาเป็น PDF ทั้งๆ ที่ขอเป็น CSV หรือจะส่งมาเป็น Excel ก็ยังดี แถมยังเถียงว่า PDF ดีกว่า เพราะมัน "ป้องกันการเปลี่ยนแปลงข้อมูล" แต่ยังดีที่คนทำข้อมูลเค้าแอบส่งข้อมูลที่เป็น CSV มาให้หลังจากโทรไปบ่นครับ
แก้ข้อมูลแล้วส่งกลับไปให้เค้าดูสักทีไหมครับ
เคยทำไปแล้ว ผลตอบรับนี่โคตรสนุก เพราะทางโน้นไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันถูกแก้ จนว่าเอาไปทำต่อแล้วมันเพี้ยนถึงรู้ตัวว่ามันแก้ได้ครับ
เฮ้ออออออ
เห็นฝั่งข้าราชการหลายคนออกมาพูดถึงว่า เขาก็ไม่ได้บังคับให้ตัวเลขทั้งหมดต้องเป็นอักษรไทย จะใส่ตัวอารบิคก็ได้ ตามแต่ความเหมาะสม
แต่คนที่บ่นผมเดาว่า น่าจะเป็นลูกจ้างหรือพนักงานรัฐรุ่นใหม่ ๆ ที่เวลาส่งหนังสือไปก็ไม่ผ่านสักที เพราะอีตัวเลขพวกนี้หรือเปล่า ผมก็ไม่ชัวร์เหมือนกันครับ
ส่วนตัวผมตัดปัญหาโดยการไม่พิมพ์ภาษาไทยในเอกสารที่ดูเป็นทางการเลย (ฮา) ก็คือไม่ทำงานในที่ที่บังคับต้องใช้ภาษาไทยนี่ล่ะ
เคยทำงานภาครัฐครับ และตัวภาครัฐเองนี่แหละที่ไม่ได้จะอนุรักษ์ความเป็นไทยหรืออยากใช้เลขไทยอะไรขนาดนั้น เวลาทำโครงการหรือจัดงานอะไรที่อยากดูอินเตอร์ ก็พยายามตั้งชื่องานเป็นภาษาอังกฤษ และที่สำคัญก็ต้องใช้ปี ค.ศ. เป็นหลัก (ถึงแม้จะเป็นงานโลคอลที่มีแค่คนไทยเข้าร่วมก็ตาม)
พอเป็นแบบนี้แล้วเวลาทำหนังสือหรือเอกสารออกมา มันก็จะมีความผสมปนเปกันมั่วไปหมด ทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เลขไทย เลขอารบิค ปี พ.ศ. และปี ค.ศ. อยู่ในเอกสารหน้าเดียว
อีกอย่างหลักการเขียนหนังสือราชการ ยังไงก็ต้องให้ความสำคัญกับภาษาไทยหรือเลขไทยต่ำกว่าภาษาอังกฤษหรือปี ค.ศ. อยู่แล้ว ถ้าต้นฉบับเป็นชื่อเฉพาะหรือจำเป็นที่ต้องอ้างอิงแบบนั้น เช่น โควิด-19 (คงไม่น่ามีใครเขียนโควิด-๒๕๖๒) ซึ่งก็จะก่อให้เกิดอีกปัญหาตามมาคือหากเอกสารนั้นต้องมีข้อมูลลำดับเหตุการณ์ การต้องมาทำความเชื่อมโยงหรือไล่แก้ตัวเลขจาก ค.ศ. ให้เป็น พ.ศ. มันเป็นสิ่งที่สร้างปัญหา ก่อให้เกิดความล่าช้า และมีโอกาสผิดพลาดได้สูง
การออกนโยบายอะไรที่พอเอามาใช้จริงแล้วเกิดปัญหา การรับฟังคนปฏิบัติงานแล้วนำความเห็นนั้นไปปรับปรุงเพื่อออกนโยบายใหม่ที่เหมาะสมกว่ามันควรเป็นสิ่งที่ทำกันปกติมากๆ การทบทวนนโยบายนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลย แต่พอนโยบายนั้นถูกเอามาโหนด้วยความ "รักชาติ" มันก็เลยออกมาเละอย่างที่เห็น
ปัญหาการใช้เลขไทยในงานเอกสาร (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Sarabun IT๙) หรือการออกแบบระบบให้สามารถเก็บหรือประมวลผลข้อมูลได้ทั้ง ค.ศ. และ พ.ศ. มันไม่ใช่พึ่งจะมาเกิดเอาเมื่อวันสองวัน ในไทยเองมีหน่วยงานที่สามารถออกแนวปฏิบัติหรือข้อแนะนำในการพัฒนาระบบเพื่อให้รองรับเรื่องพวกนี้ได้อยู่แล้ว หน่วยงานเองก็เคยรับทราบปัญหาเพราะเคยมีความพยายามเสนอไอเดียเรื่องนี้ไปหลายครั้งแล้วด้วยครับ
เรื่อง ค.ศ. กับ พ.ศ. นี่ มันน่าปวดหัวกว่าเลขไทยเยอะจริง ๆ ครับ
ไม่ได้ยากเพราะว่าเป็น พ.ศ. นะ มันยากตรงมันไม่มีมาตรฐานการเขียน code นี่สิครับ
ใครจะเขียนยังไง ปล่อยเขาไม่ต้องสนใจ ชั้นจะเขียนแบบนี้อะ ทำมาย ~ 🎶
(อ่านด้วยทำนองเพลง ฮีลใจ)
สำหรับผม เรื่องปรับทัศนคติไม่ยากเลยครับ แค่โดนลดโควต้าเม้นจากไร้ขีดจำกัดมาเป็นวันละ 6 เม้่นเพราะชอบเกรียดไปฟาดชาวบ้าน แค่นี้ก็ปรับได้แล้วครับ
คุณพี่ที่ชอบบอกนู่นนี่ขยะ เค้าไม่มาเม๊นท์ข่าวนี้หน่อยเหรอครับ 😅
เสียเวลาสมัครสมาชิกใหม่อยู่ครับ สมัครเพื่อให้ความเห็นแบบนี้แล้วโดนแบนในไม่กี่วัน หรือบางครั้งก็ไม่กี่ชั่วโมงก็โดนแล้ว น่าสงสารเขานะครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
อารบิก
ว่าจะมาคอมเมนท์ว่า Github เป็นชื่อเฉพาะน่าจะใช้ภาษาอังกฤษไปเลย แต่เพื่อเป็นการรักษาเอกลักษณ์ไทยเลยปล่อยไปดีกว่า
onedd.net
เอาแบบฝรั่งเศสที่เพิ่งออกกฎมั้ยล่ะครับ อันนั้นหนักกว่าเยอะ
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
เข้าใจมาตลอดว่าคือเลขเขมรซะอีก แค่ไทยยืมมาสมัยสุโขทัย
เห็นด้วยว่าควรยกเลิกเลขไทย และปี พศ โดยให้เลขเลขอาราบิก และคศ แทน
เพราะเลขไทยอ่านยาก ปีพศ มีปัญหาเยอะ
เค้าไม่ใช้ รศ ก็ยังดีนะครับ 😂
แต่ผมว่าก็ยังดีกว่าปีญี่ปุ่นนะครับ orz
สีหย่าคนอ่านข่าว: 🙄
มันเลขที่เอามาจากขอม(เขมร)นิ มันเป็นเลขไทยซะที่ไหน
จะอนุรักษ์ความเป็นไทยก็เขียนเป็นคำอ่านไปเลยสิจะได้ไทยแท้ให้สาแก่ใช คนไทยผู้หวงแหนวัฒนธรรมไทยจนอยากแช่แข็งประเทศ
ก็เพราะเวลาเอาไปประมวลผลต่อมันสร้างภาระให้คนทำงานอีกมากมายมหาศาล เชสถึงได้มาเรียกร้องรณรงค์กัน
เลขไทย(ที่ลอกเขมรมา) ต่อให้ราชการไทยไม่ใช้ มันก็ไม่หายไปง่าย ๆ หอก
ยังไงเวลาเขียนยันตร์ ก็ต้องใช้เลขไทยอยู่ดี เพราะเขียนเป็นเลขอารบิกมันไม่ขลัง 555
อนุรักษ์ก็ส่วนอนุรักษ์
จะไปอยู่ในส่วนของงานศิลปหรือวัฒนธรรมก็ว่ากันไป
เหมือนแต่งชุดไทย แต่งกิโมโน ตามงาน ตามเทศกาล
แต่อย่าถึงขนาดบังคับใช้ในชีวิตประจำวัน
เพราะเราต้องสื่อสาร ไม่ใช่แค่กับคนในประเทศ
และอะไรที่มันสร้างความสับสน
ปรับเปลี่ยนได้ก็ควรปรับ
พาให้คิดไปว่า ท่านคงว่างจัดๆ จะนิ่งเฉยก็เกรงใจเงินเดือน กระนั้นเลยก็ออกแคมเปนกันเถอะ แล้วก็หันไปสั่งเด็กฝึกงาน ให้ไปคิดต่ออีกที เอาอะไรที่คนธรรมดาไม่คิดทำ เราจะได้ปังๆ
วันก่อนเพิ่งดูคลิปกินซอสเลอะเต็มหน้ามา วันนี้อยากปังมั่ง
เค้าก็ไม่ได้บังคับใช้ในชีวิตประจำวันนะ งานที่ใช้ก็เป็นงานเฉพาะ มีระเบียบการใช้เฉพาะ
แต่ความ ปสด ที่รับสารแล้วกระจายสารแถมยังแอมพลิฟายสารสนองนี้ดลูกหาบแบบแปลกๆ อันนี้ต้องพินิจดูความตั้งใจ ซึ่ง ก็นั่นแหละ
ส่วนตัวผมพิมพ์งาน ชอบเลขไทยนะ มันทางการดี (แต่ใช้ฟอนต์ IT๙ :P)
แต่ปัญหาเรื่องการสืบค้นข้อมูลก็หนักจริง ก็เห็นด้วยที่จะยกเลิกครับ
ทุกวันนี้ก็แอบเนียนยกเว้น พวกหนังสือราชการที่เกี่ยวกับการเบิกจ่ายงบ เพราะกลัวคนรับลงข้อมูลตัวเลขผิด 5555
เลิกใช้ไปเลยนี่ไม่มีความจำเป็นแน่ๆ เลขไทยคือภาษาของเรา ยังไงก็ต้องคงอัตลักษณ์นี้ไว้ในส่วนที่เป็นข้อมูลเชิงสัญลักษณ์ เพียงแต่อาจจะต้องปรับว่า ข้อมูลส่วนไหนที่จำเป็นต้องเอาไปประมวลผลต่อในระบบฐานข้อมูลภาครัฐ ให้ใช้เลขอารบิคทั่วไป
การใช้ภาษามันมีหลายมิติ จะเอามาแสดงความรักชาติอย่างเดียวก็ไม่ใช่ ในขณะเดียวกันจะมองแค่ความสะดวกก็ไม่ได้อีกเหมือนกัน
ปล. เรื่องปี พ.ศ. กับ ค.ศ. นี่ อิอิ ผมเป็นคนนึงที่คิดว่าข้อมูลมันน่าว่าปวดหัวกว่าชุดตัวเลขซะอีก เพราะโดยส่วนใหญ่แทบไม่มีอะไรบอกได้เลยว่านี่คือปีที่อ้างอิงปฏิทินอะไร
..: เรื่อยไป
ไหนๆก็ไหนๆแล้ว ใช้คำศัพท์เป็นภาษาไทยด้วยเลยค่ะ เบราว์เซอร์ ก็ต้องเปลี่ยนเพราะเป็นคำทับศัพท์ อาจจะนำมาสู่การสิ้นชาติได้ เริ่มเลยค่ะ