Lenovo เปิดตัวพีซีเดสก์ท็อปเกรดเวิร์คสเตชัน ThinkStation P360 Ultra ที่ใช้เคสขนาดเล็กความจุ 4 ลิตร (นับตามปริมาตร ถ้านับตามมิติคือ 87mm x 223mm x 202mm) แต่สามารถยัดชิ้นส่วนแรงๆ ทั้งชิป Intel Core 12th Gen และจีพียู NVIDIA RTX A5000 เข้ามาได้ด้วย ถือเป็นการออกแบบที่น่าสนใจทั้งตัวเคสและระบบระบายความร้อน
เคล็ดลับของ Lenovo คือการออกแบบเมนบอร์ดแบบคัสตอมที่มีสองด้าน แล้ววางไว้ตรงกลางเคส มีพัดลมทั้งสองข้างเพื่อให้ระบายความร้อนออกทั้งสองฝั่งของบอร์ด ทำให้เครื่องเข้าข่าย small form-factor (SFF) โดยยังคงสเปกแรงๆ สำหรับลูกค้าเวิร์คสเตชันได้ (ดูคลิปประกอบ)
สเปกของ ThinkStation P360 Ultra รองรับแรมสูงสุด 128GB DDR5, PCIe Gen 4 x2 สล็อต, รองรับสตอเรจ SSD M.2 สูงสุด 8TB, ต่อจอนอกได้สูงสุด 8 จอ, มีพอร์ต Ethernet และ Thunderbolt 4 อย่างละ 2 พอร์ต, ผ่านการทดสอบความทนทาน MIL-SPEC
ราคาเริ่มต้น 1,299 ดอลลาร์ วางขายช่วงปลายเดือนนี้
Comments
Can't innovate anymore my ass.
อยากรู้ว่า SO-DIMM กับ DIMM ปกติ แตกต่างในแง่ประสิทธิภาพไหมครับ?
ตาม spec เกือบเท่ากันครับ
SO-DIMM จะออกแบบให้เล็กและประหยัดไฟ เอาไปใส่ในอุปกรณ์ที่เน้นเล็ก ๆ (SFF: Small form factor) หรือพกพา
DIMM ด้วยตัวกายภาพที่ใหญ่กว่า ทำให้ระบายความร้อนได้ดีกว่า และมีรุ่นที่มาพร้อม heat sink, ไฟ RGB หรือแม้กระทั้งระบายความร้อนด้วยน้ำ
แล้วไอเครื่องพวกนี้นะ หลังจากพวกองค์กรต่างๆ โละเพราะหมดสัญญาเช่า แล้วเอามาปล่อยขายมือ 2 มันจะมีปัญหาเรื่องอุปกรณ์ของเครื่องเอาไปใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่นลำบาก เช่น Power Supply จากคอมสำเร็จพวกนี้ มักจะออกแบบให้มีขนาดที่ไม่ใช่บล็อกที่เหมือนกับคอมประกอบทั่วไป ทำให้การจะหา Power Supply ที่เป็นบล็อกของมันเองมาเปลี่ย มันจะหาไม่ได้ตามร้านทั่วไป ต้องไปหาจากเครื่องมือสองรุ่นเดียวกันมาเปลี่ยนเท่านั้น หรือไม่ก็ต้องตัดใจซื้อแบบปกติมาใช้แล้วใช้วิธีวาง Power Supply ไว้นอกเคสแทน เพราะไม่งั้นก็ใช้ไม่ได้ ..ยังมีกรณีเมนบอร์ดที่ออกแบบมาเฉพาะเคสอีก ทำให้การจะอัปเกรดอุปกรณ์ภายใน แอบลำบาก เพราะเล็กเกินไปบ้าง จะใส่การ์ดจอก็ต้องใส่การ์ดเล็กๆ เท่านั้น ประสิทธิภาพก็ได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้นอีก ..ยังมีเรื่องการสลับ RAM จากเครื่องนี้ไปใช้เครื่องอื่น หรือซื้อ RAM มาอัปเกรด แต่ดันใช้ไม่ได้ด้วย เพราะหลังจากที่ย้ายไปเครื่องอืน เครื่องนั้นมองไม่เห็น RAM หรือซื้อ RAM มาใส่(Slot RAM รุ่นเดียวกัน) แล้วบอร์ดมองไม่เห็นก็มี ..กลายเป็นว่าการใช้คอมสำเร็จรูป มีหลายๆ อย่างที่แอบลำบากเวลาจะบำรุงรักษาอุปกรณ์ทีมีปัญหาซะงั้น ..สรุป ซื้อคอมประกอบมือสองยังสบายใจกว่าซื้อคอมสำเร็จขององค์กรมาใช้ซะดีกว่าเลย
เค้าไม่ได้ทำออกมาให้ไปขายต่อน่ะครับ ผมว่านะ
ว่าแต่หมดสัญญาเช่านี่ไม่ต้องคืนเครื่องเหรอครับ?
ลองไปดูตลาดเครื่องมือสองดูสิครับ พวกเครื่องยี่ห้อสำเร็จรูปที่นำมาขาย (RT Computer ในกรุงเทพน่าจะมีนะ) ก็มาจากเครื่ององค์กรทั้งนั้นเลยครับ ไม่ว่าจะเคสเล็ก เคสใหญ่ ..อ้อ ปัญหาอัปเกรดเครื่องไม่ได้ ผมเคยเจอยี่ห้อ Acer สมัย Core 2 Quad ที่ซื้อมาด้วยครับ คือ RAM ไม่สามารถอัปเกรดอะไรได้เลย ทั้งๆ ที่สเปค RAM DDR2 เหมือนกัน สล็อตเดียวกัน แต่เพิ่มไม่ได้ เพราะเมนบอร์ดมองไม่เห็น
เขาออกแบบมาด้วยแนวคิดขายตลาดองค์กร ซึ่งกลุ่มนี้พังซื้อใหม่ เสียเรียก service หมดอายุ หักค่าเสื่อมหมดแล้วขายทิ้งยกล็อต ไม่ได้เน้นขายกลุ่ม consumer อยู่แล้ว สินค้ายิ่งออกแบบเผื่อกลุ่มผู้ใช้มากเท่าไหร่ต้นทุนมันจะสูงจนขายยาก
บริษัทผมซื้อคอมพวกนี้มา ใช้กับเครื่องมือเฉพาะทาง วางไว้ทั่วประเทศเป็นร้อยๆตัว ด้วยเหตุผลของความเสถียร ความทน บริการหลังการขาย ที่ช่างของผมจะไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยว เครื่องพวกนี้ไม่ได้ซื้อมาอัพเกรด เราใช้สเปคนั้นอายุการใช้งานอย่างน้อยๆก็ 7-8 ปีหรือถึง 10 ปีด้วยซ้ำไป พอถึงวันนั้นก็รอทิ้ง เพราะเครื่องพวกนี้เปิดตลอด 24 ชั่วโมง
ถามว่างานแบบนี้คอมประกอบทำได้ไหม ตอบว่าทำได้แต่จะมาวุ่นวายทำไม จัดสเปคเองประกอบเอง บริการหลังการขายเอง แล้วก็ต้องมานั่งดูแลอัพเกรดทำอะไรเองให้วุ่นวาย คิดไปคิดมากค่าใช้จ่ายและเวลาที่เสียไปมากกว่าซื้อคอมสำเร็จเยอะ และอีกอย่างเรามีคอมพิวเตอร์หลายร้อยตัวที่ต้องดูแล
ดังนั้นคนที่ซื้อคอมประเภทนี้เขามีเหตุผลชัดเจน ซื้อมาเพื่อใช้งานวันนี้ หลังจากหมดวันนี้ก็โละ พูดง่ายๆมันเป็นของเก่าไปแล้ว มันทำงานได้สำเร็จจบวัตถุประสงค์มันไปแล้ว ถ้าคนซื้อของเก่าไปใช้จะมาบ่นเรื่องนี้มันก็ไม่น่าจะถูกครับ
ถ้าจะบ่นเรื่อง upgrade เพิ่มเยอะ ๆ ไม่ได้
สมัยก่อน เครื่องประกอบยังไม่มี m-atx
ดี ๆ ขายนะครับ case pc m-atx ดี ๆ กับ Power Supply
ที่ทำให้ใส่การ์ดจอเต็มใบได้ เพิ่งมามีไม่กี่ปีมานี้เอง
เสียงบรรยายนี่เหมือนใช้ AI เลย
พวกออกแบบดีๆ เล็กๆ ไม่ค่อยขายคนทั่วไปสักเท่าไรเลย
สวยดีแฮะ
แต่ของแบบนี้มันอยู่ที่รสนิยมด้วยครับ