เมื่อคืนนี้ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน เป็นคนเปิดตัวภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศ์อวกาศ James Webb Space Telescope ซึ่งเป็นภาพถ่ายอวกาศในแนวลึก (Deep Field) ภาพแรกของกล้อง และเป็นภาพถ่ายอวกาศที่ไกลที่สุดและคมชัดที่สุดเท่าที่เคยถ่ายกันมา
ภาพนี้เป็นการถ่ายคลัสเตอร์กาแล็กซี่ SMACS 0723 ที่เห็นกาแล็กซี่นับพันที่อยู่ไกลมาก (4.6 พันล้านปีแสง) ด้วยกล้องอินฟราเรด Near-Infrared Camera (NIRCam) ใช้เวลาถ่ายภาพจากคลื่นอินฟราเรดที่ความยาวคลื่นต่างกันเป็นเวลานาน 12.5 ชั่วโมง (ถ้าเป็นกล้อง Hubble จะใช้เวลาถ่ายนานหลายสัปดาห์)
NASA ระบุว่าจะเปิดตัวภาพถ่ายทั้งชุด (ไบเดนเปิดมาแค่ภาพเดียว) ในคืนนี้ตามเวลาประเทศไทย
ที่มา - NASA
Comments
สวยจัง
ยิ่งย้ำเตือนว่าเราก็เล็กแค่เม็ดทรายเม็ดเดียวจริงๆ 555 สวยมากครับ
ที่น่าตกใจคือ ภาพนี้คือครอบคลุมพื้นที่ท้องฟ้าเทียบเท่ากับขนาดเม็ดทรายเพียงเม็ดเดียวที่ระยะสุดปลายแขน
ถ้าเห็นแต่ภาพผมคงนึกว่าใช้แอพแต่งภาพ ขนลุก
+1
เหมือนกันเลยครับ
แว๊ปแรกที่เห็นนี่ขนลุกจริงๆ สวยงามมาก คิดแล้วอยากเกิดในยุคที่ทุกคนสามารถท่องอวกาศได้เหมือนเปิดประตูทุกที่ของโดเรม่อนจริงๆ
ลองซูมดูครับ จากดาวสว่างหกแสกขึ้นไปมุมขวานิดนึง
เหมือนเป็นรูปยานอะไรสักอย่าง หรือผมคิดไปเอง
แค่คิดว่าภาพที่เห็นคือภาพของเมื่อ4.6พันล้านปีก่อนก็ขนลุก ดาวบางดวงบนนั้นอาจจะระเบิดไปแล้วก็ได้
เห็นแล้วทึ่งมาก ถ้าไม่บอกผมก็คงนึกว่าเป็นภาพที่ทำขึ้นผ่านโปรแกรมหรือแอปพลิเคชั่น ไม่ได้ผ่านการถ่ายจากกล้อง
อันที่จริงก็ผ่านโปรแกรมมาแหละครับ เพื่อรวมภาพที่เก็บสัญญาณจากคลื่นที่มีความยาวคลื่นต่างๆ กัน
คล้ายๆ ถ่ายภาพที่ได้ภาพแยกเป็น R / G / B แล้วเอามารวมกันได้ภาพสี แต่อันนี้คือเยอะมากๆ
--
4.6 พันล้านปีแสง ประมาณอายุของโลก พอดี ๆ
แต่ระยะแค่นี้สำหรับจักรวาล ถือว่าสั้นมาก ๆ เพราะส่วนตัวผมไม่เชื่อหลอก
ว่าจักรวาลอายุแค่ 13.78 พันล้านปี หรือแตะ ๆ กับอายุกาแลคซี่ทุกหย่อม
เพราะไม่กล้าทำนานอายุ อะไรเกิน 13.78 พันล้านปี
จริง ๆ มันต้องนานกว่านั้นสิ นานกว่ามาก ๆ ด้วย
ยิ่งทำให้เชื่อว่าเราไม่ได้อยู่เพียงลำพังในจักรวาลนี้
ในทวิตเตอร์มีคนเทียบมุมนี้กับกล้องฮับเบิลด้วย
ของฮับเบิลคือเบลอสุดๆ เพราะเกินขีดจำกัดละ ภาพใหม่นี่คือสุดยอดมากๆ
ปล. รอรูปชุดใหม่คืนนี้ ตื่นเต้นสุดๆ
ที่เห็นเป็นคล้ายๆ radial motion blur มันคืออะไรครับ
คิดว่าเป็น gravitational lensing ครับ
Jusci - Google Plus - Twitter
เป็นผลของ เลนส์ความโน้มถ่วงครับ
คือเมื่อแสงเคลื่อนผ่านมวลขนาดใหญ่ แสงจะเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้งตามกาลอวกาศที่ถูกความโน้มถ่วงบิดให้กาลอวกาศโค้ง
จากภาพคือมีมวลใหญ่ขนาดแกแลคซี่ขวางอยู่ระหว่ากล้องกับแกแลคซี่ที่อยู่ด้านหลังไกลออกไป ทำให้เห็นภาพบิดโค้งอย่างที่เห็น
ตัวอย่างที่ค่อนข้างใกล้ตัวคือ ในช่วงที่เกิดสุริยุปราคา เราจะสามารถถ่ายภาพดาวที่อยู่ด้านหลังดวงอาทิตย์ได้จากผลของเลนส์ความโน้มถ่วงเหมือนกัน
ขอบคุณทั้งสองท่านฮะ โควต้าผมน่าจะเหลือเม้นเดียว ขอขอบคุณรวมตรงนี้นะครับ
ปบ. ลิงค์อันที่คุณ mementototem แปะไว้ ข้างในมีภาพที่คนไม่สนใจอวกาศอย่างผมคิดว่าภาพเดียวกันซะอีก
เจ๋งมากๆๆๆ รอดูภาพต่อจากนี้ครับ
เจอจาก Reddit มาครับเพื่อใครไม่รู้ว่าเทคโนโลยีกล้องตัวนี้มันพัฒนาไปขนาดไหนเมื่อเทียบกับกล้อง Hubble หลายๆคนก็บอกว่าทำไม Nasa ไม่ทำการเปรียบเทียบแบบนี้ให้คนเห็นตั้งแต่แรกเองเลย คนจะได้รู้สึกว้าวกว่านี้
ด้านล่างคือภาพที่คนในชุมชน Reddit ทำเทียบระหว่างกล้อง JWST กับกล้องตัวเก่า Hubble Space Telescope
อันนี้แบบลากซ้าย ขวา เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง
link
อันนี้แบบ Gif สลับภาพให้เห็นเลย
link
อันนี้ Gif แบบเทียบแบบสลับกับภาพที่ใหญ่กว่าที่ถ่ายโดย Hubble
link
เกล็ดความรู้เพิ่มเติมอีกนิดหน่อยภาพที่ถ่ายโดย Hubble ในมุมเดียวกันใช้เวลา 2 อาทิตย์ในการถ่ายภาพส่วนของ JWST ใช้เวลาแค่ 12.5 ชั่วโมงครับ และที่เลือกถ่ายภาพในจุดเดียวกันนี่เพราะใช้เพื่อเปรียบเทียบความชัดของกล้องตัวใหม่ด้วยนี่ละครับเพราะกำลังอยู่ในขั้นตอน calibrate ตัวกล้องอยู่เลยต้องมีภาพเดิมเพื่อใช้อ้างอิง
สอบถามครับ ถ่ายยังไงให้ภาพคมขนาดนี้ครับ เปิดหน้ากล้อง12.5ชม. แต่ตัวกล้องอยุ่ที่จุด L2และเคลื่อนที่ไปกับโลกตลอดเวลา
The Last Wizard Of Century.
นึกภาพ คุณนั่งรถที่ขับอยู่บนถนนด้วยความเร็ว 100km/hr แล้วมองไปที่ยอดดอยที่อยู่ไกลลิบๆ ครับ คุณจะไม่รู้สึกว่ายอดดอยขยับเลย
ก็แบบเดียวกันครับ
ภาพชุดมาแล้วนะครับ