หมายเหตุ: หยวนดิจิทัลของรัฐบาลจีน ไม่ได้เป็นคริปโต และไม่ได้รันบนบล็อกเชน แต่เป็นโครงการจ่ายเงินออนไลน์แบบผูกกับบัญชีธนาคาร ลักษณะเหมือนพร้อมเพย์ของบ้านเรา
Nikkei Asia มีบทความติตดามความคืบหน้าของโครงการ "หยวนดิจิทัล" (e-CNY) สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (central bank digital currency หรือ CBDC) ที่ออกโดยธนาคารกลางของจีน (People's Bank of China)
โครงการหยวนดิจิทัล เริ่มศึกษามาตั้งแต่ปี 2014 และทดลองใช้งานจริงในปี 2020 ที่เมืองเซินเจิ้น จากนั้นขยายผลมาเป็น 23 เมืองในปัจจุบัน ครอบคลุมประชากรจีน 216 ล้านคน หรือคิดเป็น 20% ของประชากรจีนทั้งหมด
รูปแบบการใช้งานหยวนดิจิทัล สามารถใช้แอพบนสมาร์ทโฟน (หน้าตาแอพบน iPhone) จ่ายกับร้านค้าต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม (ตรงนี้เหมือนกับพร้อมเพย์ของบ้านเรา) และจ่ายได้โดยไม่ต้องมีอินเทอร์เน็ต (ผ่าน NFC)
อย่างไรก็ตาม หยวนดิจิทัลกลับยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก ด้วยเหตุผลว่ามีฟีเจอร์ต่างจากระบบจ่ายเงินภาคเอกชนอย่าง Alipay หรือ WeChat Pay ไม่มากนัก (ต่างกันจริงๆ แค่เรื่อง NFC) ทำให้คนจีนส่วนใหญ่ยังนิยมใช้ Alipay หรือ WeChat Pay ที่คุ้นเคยมากกว่ากันต่อไป
Nikkei Asia อ้างแหล่งข่าวในธนาคารกลางจีนว่า สถานะของโครงการหยวนดิจิทัลตอนนี้รองรับฟีเจอร์พื้นฐาน คือการจ่ายเงินให้สะดวก รวดเร็ว ธุรกรรมไม่ล่าช้าได้แล้ว ขั้นต่อไปคือการพัฒนาให้ใช้งานง่ายขึ้น สะดวกขึ้น มีนวัตกรรมมากขึ้น ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่า จีนจะเปิดใช้งานหยวนดิจิทัลอย่างเป็นทางการในวงกว้างเมื่อใด แต่แหล่งข่าวของ Nikkei ก็บอกว่าตอนนี้โครงการ CBDC ของจีนยังนำหน้าประเทศอื่นๆ อยู่มาก จึงยังไม่รีบร้อนในเรื่องนี้
ที่มา - Nikkei Asia
Comments
อยากรู้เริ่องจ่ายได้โดยไม่ต้องมีอินเทอร์เน็ตเลยว่าพร้อมเพย์เราจะปรับมาใช้ได้รึเปล่า
ต้องเอาแบบบ้านเรา เริ่มจากนโยบายประชานิยมที่ต้องใช้ แอพรัฐบาลเท่านั้น
ถัดมาก็จำหน่ายสินค้าของรัฐ เช่น ลอตเตอรี่ ผ่านทางช่องทางรัฐ ให้คนยิ่งใช้มากขึ้น
ขอบคุณที่บอกหมายเหตุอย่างมาก เพราะเห็นตอนแรกก็คิดเลยว่ามันคือ เป๋าตังค์ ของจีน ไม่ใช่ Stablecoin อย่างที่สื่อชอบปั่นเขียน
จ่ายได้โดยไม่ต้องมีอินเทอร์เน็ต (ผ่าน NFC)ไม่ได้เป็นคริปโต และไม่ได้รันบนบล็อกเชน จะน่าเชื่อถือได้ไหมนะครับ เดี๋ยวโดนเสกเงินเพิ่มออกมาหรือโดย hack เงินทำไง
เงินมันเป็นหยวนเดิมอยู่แล้วนี่ครับ
เอาจริงๆ นะ ความน่าเชื่อถือไม่ได้เกิดจากเทคโนโลยี มันเกิดความความน่าเชื่อถือของผู้ออกเอกสารรับรองการชำระเงิน ถ้าผู้ออกเป็นรัฐบาล กระดาษแผ่นเดียว มีผู้รับผิดชอบเซ็นต์กำกับ ระบุว่าใช้แลกเปลี่ยนได้เท่าไหร่ ก็ใช้ได้แล้ว ในทางกลับกันบริษัท A มีเทคโนโลยีสุดล้ำ มี Algorithm ที่บอกว่าสามารถบริหารจัดการห่วงโซ่ทางการเงินได้ ไม่มีใครในโลก Hack ได้ แต่ไม่ได้มีความน่าเชื่อถือทางการเงินมันก็มีความน่าเชื่อถือน้อยกว่ารัฐบาลเป็นร้อยเท่า ดังนั้นเงินดิจิทัลจะเกิดไม่ได้มาจากเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีจากผู้ที่มีความน่าเชื่อถือทางการเงินด้วย เช่น รัฐบาลของแต่ละประเทศ หรือบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ที่มีฐานทางการเงินที่มั่นคงซึ่งแบบหลังก็จะเกิดไม่ได้ถ้ารัฐไม่สนับสนุน หรืออนุญาติให้ทำอยู่ดี
เข้าใจว่าหมายถึง ฝั่งคนจ่าย จะสามารถจ่ายได้เรื่อยๆ ใช่มั๊ยครับ เพราะส่วนกลางยังไม่รับรู้การจ่าย (หรือยังไม่มีใครรับรู้)
ผมเดานะ
1. NFT คงมี log ในเครื่องหรือ limit การจ่าย จ่ายเกินก็เท่ากับยืม
2. หรือไม่ก็คนจ่ายไม่ต้องมี net คนรับต้องมี net และรับ account คนจ่ายไป check ได้ว่าเกินวงเงินรึยัง (เหมือนบัตรเครดิต)
ผมว่ามันไม่ใช่ app จ่ายเงินออนไลน์แบบพร้อมพย์ ที่แน่ๆ มันอยู่บนพื้นฐาน
1 digital wallet (offline capable)
2 token-based systems
ส่วนตัวคิดว่ามันข้อมูล transaction เป็นแบบ blockchain แต่ตัดระบบ networking และระบบ probe of work
อ้างอืง: https://www.forbes.com/sites/vipinbharathan/2021/07/19/e-cny-progress-report-reveals-telling-details-about-the-chinese-retail-cbdc-project/?sh=4184929f6a59
"ลักษณะ"
ผูกกับธนาคาร แบบนี้จ่าย กัน offline เวลา online ต้อง update ยอดเงินกับธนาคารไหมเนี้ย แต่ก็ดีครับ จ่าย NFC น่าจะสะดวก
ที่น่าสนใจคือ Apple ยอมให้แอพอื่นใช้ NFC ของ iPhone ได้แล้วเหรอเนี่ย
บัตรกระต๋าย แอพ My Rabbit ของรถไฟฟ้าบ้านเราก็ใช้ได้แล้วนะครับ เติมเงินเข้าบัตรได้เลย เช็คจากแอพได้ด้วย