หนึ่งในข้อขัดแย้งที่เป็นจุดแตกหักในการล้มดีลซื้อกิจการ Twitter ที่ Elon Musk กล่าวอ้างคือเรื่องข้อมูลบัญชีบอตในระบบของ Twitter โดย Musk ไม่เชื่อว่ามีบัญชีบอตอยู่บนแพลตฟอร์มน้อยกว่า 5% ตามรายงานที่ Twitter ระบุไว้ ซึ่งนำมาสู่การฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาลกัน
ในขณะที่ Musk ข้องใจเรื่องจำนวนบัญชีบอตในระบบเป็นอย่างมากถึงขั้นท้าซีอีโอของ Twitter ให้มาดีเบตกัน ฝั่ง Twitter เองก็ตั้งคำถามถึงคำนิยาม "บัญชีบอต" ในความหมายของ Musk ว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหนหากเกณฑ์การพิจารณานั้นเคยตัดสินว่าบัญชีของ Musk เองก็เป็นบัญชีบอตด้วย
Twitter ระบุในเอกสารที่ยื่นต่อศาล ว่าวิธีการที่ Musk ใช้วิเคราะห์ตัดสินว่าบัญชี Twitter ใดๆ เป็นบัญชีบอตหรือไม่นั้นเป็นการอาศัยเครื่องมือที่เปิดให้ใช้งานแบบสาธารณะผ่านเว็บไซต์ที่ชื่อว่า "Botometer" ซึ่งมีมาตรฐานในการประเมินบัญชีผู้ใช้ (ว่าเป็นบัญชีปลอมหรือสแปม) แตกต่างจากมาตรฐานที่ Twitter ใช้ หนำซ้ำตัว Botometer เองยังเคยประเมินว่าบัญชี @elonmusk เองเป็นบัญชีบอตด้วยซ้ำ ทั้งที่ชัดเจนว่าบัญชีดังกล่าวถูกใช้งานโดยตัว Musk จริงๆ ไม่ใช่บัญชีบอต
หน้าเว็บ Botometer ซึ่ง Twitter ระบุว่าเป็นเครื่องมือที่ Elon Musk ใช้เพื่อประเมินจำนวนบัญชีบอต
สำหรับ Botometer นั้นเป็นเครื่องมือที่พัฒนาโดยสถาบัน Observatory on Social Media and the Network Science Institute ของ Indiana University ซึ่งการใช้งานเครื่องมือก็ไม่ซับซ้อน เพียงเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ของ Botometer จากนั้นก็กรอกชื่อบัญชี Twitter ที่ต้องการตรวจสอบลงไปในช่องด้านล่างแล้วกดปุ่ม "Check user" ก็จะได้ผลการประเมินคะแนนความน่าจะเป็นบัญชีบอต โดยคะแนนเต็มคือ 5 คะแนน ยิ่งผลการประเมินได้คะแนนสูงก็หมายความว่าบัญชีซึ่งถูกตรวจสอบนั้นยิ่งมีความน่าจะเป็นบัญชีบอต (Twitter อ้างว่าบัญชีของ Musk เคยถูกประเมินคะแนนสูงถึง 4 จาก 5 คะแนน)
ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ความเป็น "บัญชีบอต" ของ Botometer โดยผลการประเมินยิ่งมีคะแนนสูงแปลว่าบัญชีดังกล่าวยิ่งมีความน่าจะเป็นบัญชีบอต
นอกจากนี้ Twitter ยังระบุในเอกสารที่ยื่นต่อศาลว่า Musk วิเคราะห์ปริมาณบัญชีบอตในระบบโดยใช้ฐานข้อมูลที่ต่างกันกับของ Twitter โดยฐานข้อมูลผู้ใช้ที่ Twitter ใช้อ้างอิงในการคำนวณนั้นเรียกว่า monetizable daily active users (mDAU) ซึ่งหมายถึงข้อมูลบัญชีผู้ใช้งานเป็นประจำที่สามารถนำไปสู่การหารายได้ของบริษัท
Twitter สรุปว่า ด้วยการใช้เครื่องมือ Botometer กับฐานข้อมูลซึ่งอาจไม่ได้จำกัดเพียงชุดข้อมูล mDAU หรืออาจไม่ได้รวมข้อมูล mDAU เข้าไปในการประเมินนั้น ย่อมทำให้ Musk สามารถสร้างผลการประเมินจำนวนบัญชีบอตได้ผลลัพธ์สูงกว่าที่ Twitter รายงานไว้ และ Musk ก็ได้ยกเอาผลการประเมินที่มีความคลาดเคลื่อนผิดเพี้ยนนี้มาเป็นเหตุผลในการล้มดีลซื้อกิจการอย่างไม่เป็นธรรม
ที่มา - Ars Technica
Comments
ความตั้งใจของ Elon คือจะให้ทุกคนยืนยันตัวตน และให้ทุกคนเปิดเผยหน้า คือ ตัวตนจริงของตัวเอง แต่ไม่ใช่ทุกคนที่อยากจะทำแบบนั้นไง
ถ้าสมมติว่า เราไปตีความว่า บัญชีที่ไม่มีการยืนยันตัวตน คือบัญชีปลอมทั้งหมด ถามว่ามันจะเหลือผู้ใช้กี่คน ที่เป็นคนที่มีตัวตนตามที่ Elon คิด
ทวิตเตอร์เองไม่ได้บังคับให้ทุกคนยืนยันตัวตน ถึงจะใช้งานได้ คนที่ไม่มีรูปจริง ไม่มีข้อมูลตัวตนจริง แต่ก็เป็นมนุษย์คุยโต้ตอบปกติ ส่วนตัวคิดว่าไม่ควรนับเป็น แอคเคานต์ปลอม
อันนี้พอเข้าใจได้ แต่อย่างคนๆ เดียวมี 10 บัญชีอันนี้ก็ไม่ไหวเหมือนกัน ซึ่งแน่นอนคนใช้ทวิตมากกว่า 50% ไม่มีแค่บัญชีเดียวอะ
ถึงขั้นมีฟีเจอร์สลับบัญชีในเว็บอ่ะครับ
ซึ่งดีนะ เพราะผมก็แยกระหว่างบัญชีส่วนตัว กับบัญชีทำงาน
คนหนึ่งมีหลายบัญชี แต่ถเขาเป็นคนใช้จริง ก็ไม่น่าเป็น bot เช่นกันนะครับ
ในด้านผลประโชน์ต่อโฆษณา ไม่ว่าเขาจะสลับบช.ไหน ก็ถือว่า adsนั่นคนเห็นจริงๆแล้ว
การเก็บเงินค่าโฆษณาจะเก็บจากเจ้าของสินค้ายังไงครับ คนคนเดียวมีอำนาจซื้อแค่ 1 เดียว แต่มี 5 บัญชี ควรไปเก็บเงินว่ามีคนเห็นโฆษณาคุณแล้ว 5 คน?
ทำไมเฟซบุ๊คไม่มีปัญหานี้อ่ะครับ ลืมรหัสบัญชีเก่าสร้างใหม่รัว ๆ บางคนน่าจะมีมากกว่า 10 บัญชีด้วยซ้ำ
เพราะไม่ได้มีคนมาซื้อ มีคนจะมาเซ้งร้านกาแฟ คุณบอกว่าวันนึงคุณขายได้ 400 แก้ว คนจะเซ้งถามว่ามีลูกค้าจริงๆกี่คน เพราะคนนึงอาจจะซื้อ 3 แก้วบ้าง 2 แก้วบ้าง ลูกค้าจริงๆอาจจะแค่ 250 คน แต่เจ้าของร้านบอก ลูกค้า 395 คน
กาแฟที่ยกมาเทียบไม่น่าจะ relate กันเท่าไหร่นะครับ เพราะการซื้อขายปลีก ก็ต้องนับเป็น Item อยู่แล้ว คุณจะแคร์ทำไมว่ามีคนกี่คน ถ้าเขาเหมาวันละ 100 แก้ว ก็คือคุณขายได้วันละ 100 ชิ้น กำไรก็ตามนั้น
100 แก้วคนซื้อ 1 คน VS 100 แก้วคนซื้อ 100 คน มันแตกต่างกันนะครับ...
เรื่องของธุรกิจมันมีอะไรมากกว่ากำไร ยิ่งถ้าคิดจะซื้อกิจการมันก็ยิ่งต้องมองให้ลึกกว่านั้นครับ
จริงครับเท่าที่มีประสบการณ์เปิดร้านกาแฟมา 100 แก้ว ซื้อ 1 คน ต้นทุนน้อยกว่า 100 แก้วซื้อ 100 คนเยอะเลยไม่ต้องมานั่งแช่ ไม่เปลืองไฟ พนักงานก็ไม่ต้องวุ่นวาย
แต่ส่วนใหญ่ไมค่อยเจอ 555 ที่คนนึงจะสั่งมากกว่า 1 แก้ว มีแต่มา 2-3 คนสั่งแก้วเดียว อย่างเปลือง อันนี้หมายถึงทานที่ร้านนะครับ
ถ้าลืมรหัสผ่านบัญชีเก่าแล้วสร้างใหม่ก็นับเป็น 1 active account อยู่ดีไหม
ผมคิดว่าเรื่องบอทกับเรื่องยืนยันตัวตนมันคนละเรื่องกันนะครับ (แต่เรื่องที่ว่า Elon หวังเรื่องยืนยันตัวตนไหมอันนี้ขอไม่ออกความเห็น)
เรื่องยืนยันตัวตนอันนี้ผมเห็นด้วยนะ ตราบใดที่เราคุยกันรู้เรื่องก็ไม่จำเป็นต้องยืนยันอะไรมากมาย
แต่เรื่องบอท(หรือการใช้หลายๆบัญชีทำเรื่องเดียวกัน)มันคือการพยายามใช้ปริมาณเพื่อหวังผลอะไรบางอย่าง ซึ่ง Twitter สามารถทำได้เพราะผมมองว่า Twitter มันเป็นอะไรมากกว่าที่คุยโต้ตอบกันอย่างเดียว และการที่มี 1 คอมเมนต์กับ 100 คอมเมนต์ที่พูดเรื่องเดียวกันผมคิดว่ามันสามารถสร้างความแตกต่างและหวังผลบางอย่างได้ครับ เพราะงั้นผมเห็นด้วยเรื่องที่จะควบคุมมันครับ
เท่าที่ผมดูมาคือ การปั่นครับ แอคเค้าหนึ่งคือด่า อีกแอคเค้าหนึ่งมาด่าคนที่เริ่มต้นด่า อีกแอคเค้ามาห้าม อีกแอคเค้าเอาไว้โควททวิต555555
ถ้าเป็นการปั่นกระแส ไม่ได้จำเป็นว่าคนนั้นจะเป็นตัวปลอม อยากพวกแฟนคลับ จะนัดกันโพส เพื่อให้เกิดกระแส
อยู่ที่จะตีความ ซึ่งก็ไม่เข้าใจว่า คำว่า real แบบที่ Elon ว่ามันเป็นแบบไหน
เพราะส่วนมาก ถ้าไม่ใช่คนมันแยกง่ายอยู่ แต่ถ้าเป็นคน ที่ปั่น มันก็นับเป็นคนไหม
เรื่องที่ Elon ต้องการอะไรผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ
ส่วนเรื่องปั่น ถ้าปั่นด้วยตัวตนเดียวผมก็ไม่อะไรหรอกครับ ผมก็มองว่ามันเป็นการแสดงความเห็นอย่างหนึ่ง
แต่ที่ผมมองว่าไม่โอเคคือการปั่นกันเองด้วยหลายตัวตนครับ คือแสร้งเป็นอีกคนหนึ่งมาเห็นด้วย/ขัดแย้งหรืออะไรทำนองนี้ อันนี้ผมมองว่าคนที่ทำไม่ได้ต้องการที่จะแสดงความเห็นแต่ต้องการที่จะสร้างภาพเพื่อหวังผลอะไรบางอย่างครับ
ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณจะมองว่ามันก็โอเคหรือไม่อันนี้ก็แล้วแต่ครับ ประเด็นหลักที่ผมต้องการจะสื่อก็คือเรื่องที่ว่าบอท/ผู้ใช้ไม่ระบุตัวตน/ผู้ใช้แสดงความเห็นแบบปั่น/ผู้ใช้ปั่นเพื่อหวังผลอะไรบางอย่างมันเป็นคนละเรื่องกันแค่นั้นเองครับ
ภาพบัญชี Blognone ที่ถูกประเมินว่าน่าจะเป็นบอท โคตรจังหวะซิทคอม 5555
แต่ต่ำกว่า 5% นี่ก็บิดให้น้อยน่าเกลียดไปนะ
การบอกว่าบัญชีของเว็บ-แบรนด์ ที่ส่งข้อมูลที่เป็นเนื้อหาให้กับคน follow แล้วตีความเป็น bot ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะถ้าแบบนั้น facebook และ sns อื่นๆ ก็น่าจะโดนตีความด้วย กลายเป็นมั่วไปหมด 🤦♂️
บัญชีของเว็บ-แบรนด์ของ facebook จะเป็น page ซะส่วนใหญ่ ซึ่งนับแยกจาก account ชัดเจนอยู่แล้ว แต่ของ twitter มันแยกไม่ได้เนี่ยสิ
คนจะซื้อของถูก คือ หาเรื่องเข้าข้างตัวเองทั้งนั้น
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
มีใครรู้หรือยังไอ้คำว่า "บัญชีบอต" เนี้ย เขาหมายถึงบัญชีแบบไหน บัญที่ที่ไม่ได้ทวีตจากมือเจ้าของเองเลย นี่ถือเป็นบอตหมดเลยหรือไม่ ถ้าใช่ บัญชีทางการตลาดที่เป็นแบบออโต้ฟีด นี่ก็ถือว่าเป็นบอตหมดทั้งหมดสินะ
The Dream hacker..
ส่วนตัวเข้าใจว่า "บอต" ในที่นี้คือผู้ใช้งานที่มีบัญชีหลายๆ บัญชี โดยทุกบัญชีมีการใช้งานไปในทางเดียวกัน เพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน เช่น ใช้เพื่อรีทวีตหรือกดถูกใจอะไรซักอย่างเยอะๆ เพื่อสร้างจำนวนคนที่ถูกใจให้มากกว่าความเป็นจริงครับ