ประธานาธิบดี Yoon Suk Yeol ของเกาหลีใต้ ให้อภัยโทษนักโทษจำนวนหนึ่งเนื่องในวันประกาศอิสรภาพของประเทศ (15 สิงหาคม) หนึ่งในนั้นมี Jay Y. Lee หรือ Lee Jae-yong รองประธานบอร์ดของซัมซุง และลูกชายของอดีตประธาน Lee Kun-hee ที่เสียชีวิตเมื่อปี 2020 ถือเป็นทายาทซัมซุงรุ่นที่สาม เป็นหลานปู่ของ Lee Byung-chul ผู้ก่อตั้งซัมซุง
คดีของ Jay Y. Lee เป็นมหากาพย์นาน 5 ปี ตั้งแต่เขาถูกจับกุมในปี 2017 จากคดีติดสินบนอดีตประธานาธิบดี สู้คดีและถูกจำคุกมาแล้ว 2 รอบ
การได้รับอภัยโทษครั้งนี้ถือเป็นการเคลียร์คดีของ Lee ทั้งหมดแล้ว และจะส่งผลให้เขากลับไปกุมอำนาจที่ซัมซุงแทนพ่อของเขา ทางโฆษกของซัมซุงยืนยันแล้วว่า Lee จะกลับไปดำรงตำแหน่งในบอร์ดเช่นเดิม แต่ยังไม่ชัดว่าเขาจะกลับไปนั่งในตำแหน่งประธานบอร์ด (chairman) เลยหรือไม่ หลังจากตำแหน่งนี้ว่างลงหลังพ่อของเขาตายและยังไม่แต่งตั้งใครมาเป็นแทน
ภาพโดย Chung Sung-Jun จาก Getty Images
ที่มา - Bloomberg
Comments
ถ้าผมจำไม่ผิด หมอนี่ รอบแรกที่โดนจับ คดีถึงที่สุด
ก็เลยให้ อดีต ปธน. ในตอนนั้น เซ็นอภัยโทษให้ ดื้อ ๆ เลย
...
ตำรวจก็เลยเล่น ปธน. กับลูกน้อง คดีรับสินบนก่อน
แล้วค่อย ตามมาฟ้อง คดีไอ้หมอนี่ อัดไปรอบสอง รอบนี้ไม่รอด ติดคุก
...
ถ้าอยู่ไทย สบายไปแล้ว ดูคดีกระทิงแดงได้ เห็น ๆ จะ ๆ เต็ม ๆ
ผมรวย ผมหนี ผมจ่าย (รอดนะแต่นานหน่อย เทียว ตปท ยาว ๆ)
ก็เพราะแบบนี้ไง ถึงยังมีคนที่ต้องการระบบศาลเตี้ย การรุมประชาทัณฑ์ และพลเรือนติดอาวุธ (Vigilante) เข้ามาจัดการกับคนพวกนี้แทนเจ้าหน้าที่ ที่ยังมองว่าศักสิทธิ์และเห็นผลรวดเร็วกว่า ได้รับความยุติธรรมทันใจ
ในเมื่อระบบยุติธรรมและตำรวจไม่สามารถเอาผิดหรือจับกุมกลุ่มคนเหล่านี้ได้ คนบางกลุ่มก็เลือกที่จะทำตัวเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์เสียเอง ไม่พึ่งตำรวจหรือระบบอะไรทั้งสิ้น
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ศาลเตี้ย มั่นใจได้อย่างไรว่า ตัดสินถูกกว่าระบบปัจจุบัน? มั่นใจได้อย่างไร ว่าไม่ใช่ระบบอิทธิพลใครใหญ่กว่าก็ฆ่าอีกฝ่ายได้โดยอ้างในนามความยุติธรรม? เกิดแค่สร้างกระแสใส่ร้าย สร้างหลักฐานปลอม ปลุกปั่นไปไล่ฆ่าอีกฝ่าย?
เพราะระบบและกระบวนการมันยังไม่ดีพอ ไม่ได้หมายความว่าไม่ควรมีระบบ
ก็ต้องพัฒนาระบบไป ไม่ใช้ย้อนยุคไปสมัยโบราณ
อันที่จริงเกาหลีใต้ยังค่อนข้างอนุรักษ์นิยม+อำนาจนิยมจากที่เคยเป็นเกือบๆฟาสซิส ในสมัยนายพลปาร์คที่ถูกล้มไป และก็ยังสืบต่ออำนาจโดยอ้อมจนถึงทุกวันนี้
สถานการณ์ก็คล้ายๆบ้านเราสมัยสฤษดิ์ที่เมกาสนับสนุน เพื่อให้สู้กับคอมฯ แต่ของเกาหลีคือยังรบกันไม่จบสิ้น แรงกดดันปลุกกระแสชาตินิยมเลยไม่จางหายไปง่ายๆ
ผมมองว่าคนบางส่วนที่ติดตามข่าว หรือใช้ชีวิตทั่วๆ ไป ก็เห็นปัญหาของตำรวจอยู่เรื่อยๆ มาหลายปี แล้วไม่ค่อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น แต่ส่วนใหญ่แล้วไม่ค่อยเจอเรื่องที่ต้องขึ้นโรงพัก หรือมีปัญหากับตำรวจ เลยไม่ค่อยมีคนสนใจ เว้นแต่ว่าตอนที่มีข่าวดังๆ หรือเหตุการณ์ร้ายแรง ถึงจะขับเคลื่อนกัน แล้วก็เงียบเหมือนเดิม วนลูปกันไป
แต่บางคนใช้ชีวิตธรรมดา แต่โดนขโมยของ ญาติตัวเองโดนฆาตกรรม หรือเจอเหตุอื่นๆ ร้ายแรงใกล้ตัว ที่ต้องการความช่วยเหลือ แต่เจอแจ้งความแล้วคดีไม่คืบหน้า ตำรวจไม่ช่วยเหลือหรือไม่สนใจ หรือไม่สามารถจับกุมคนทำผิดได้ ก็เลยทำให้เกิดแนวคิดแบบนี้ขึ้นมาได้ครับ เพราะตอนจะพึ่งพาตำรวจช่วยเหลือแล้วดันพึ่งพาไม่ได้ ก็ต้องทำอะไรสักอย่างและจัดการกันเอาเองดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย
ส่วนของระบบอิทธิพล ผมว่ามันคือผลข้างเคียงจากการใช้ช่องโหว่และหาประโยชน์จากแนวคิดดังกล่าวเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นระบบอะไรก็ตามที่เปิดทางให้คนหาผลประโยชน์จากมันได้ และอีกส่วนหนึ่งก็อาจมาจากกลุ่มคนข้างต้นที่ได้ผลกระทบจากปัญหาของตำรวจด้วยเช่นกัน
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ปัญหาใหญ่ของศาลเตี้ยคือ ไม่มีกระบวนการตรวจสอบไงครับ
คุณมั่นใจได้อย่างไรว่าจับคนร้ายถูกคน?
คุณมั่นใจได้อย่างไร ว่าคนข้างบ้านกล่าวหาอีกบ้านว่าเป็นคนร้ายนั้นถูกคน ไม่ใช่เอาความแค้นส่วนตัวมาเป็นhidden agendaแล้วสร้างหลักฐานปลอมใส่ร้าย?
เราคงไม่ยกตัวอย่างbest case แบบเห็นการกระทำผิดซึ่งหน้านะครับ เพราะมันง่ายไป โลกจริงมันไม่ง่ายแบบนั้น
กระบวนการยุติธรรมโลกยุคใหม่มันพัฒนาไปไกล เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาแบบเก่าซ้ำซากไงครับ
ไม่งั้นเราคงให้ดวลดาบตัดสินว่าใครผิด แทนที่จะหาหลักฐานมาฟ้องร้องกันแล้ว
ผมเคยเจอคดี ที่ยังปิดไม่ได้(ผมเป็นผู้เสียหายนะ) แม้จะสงสัยใครบางคน แต่หลักฐานไม่มี(แจ้งตำรวจไปถึงข้อสงสัย ตำรวจก็ไปสอบ เก็บลายนิ้วมือแล้ว แต่ก็ไม่ใช่) ก็คงไปด่วนลงโทษเขาไม่ได้ คดียุคปัจจุบัน มันซับซ้อนกว่าคดียุคโบราณ ต่อให้ใช้นิติเวชจนเต็มที่ก็อาจจะจับใครไม่ได้ อายุความถึงยาว 20ปีก็ไม่รู้ว่าจะมีโอกาสได้รื้อคดีไหมอยู่ดี
อันที่จริงกระบวนการยุติธรรมในประเทศที่ไม่โปร่งใส หรือแนวโน้มใช้อำนาจนิยม หรือใช้กฏหมายแบบโบราณ เช่นตัดมือ ปาหิน นี่น่ากลัวที่สุดนะครับ เพราะแทบไม่มีโอกาสพิสูจน์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เลยด้วยซ้ำ
ที่ผ่านมาบ้านเรามันมีระบบอุปถัมภ์ฝังราก มันเลยง่ายต่อการใช้อิทธิพลเพื่อบิดเบือนคดี ไม่ใช่เป็นเพราะระบบกฎหมายไม่ดี แต่โครงสร้างการปกครองของบ้านเราตะหากที่เป็นปัญหา และกลับกันถ้าบอกให้ใช้ศาลเตี้ย ทุกวันนี้ก็เจอคดีอุ้มหาย อุ้มฆ่าที่จับมือใครดมไม่ได้ ไม่รู้ว่าผิดจริงไหม หรือแค่ฆาตกรรมธรรมดา แบบนี้หรือครับศาลเตี้ยที่คุณอยากได้?
ลองคิดอีกแง่ ถ้าคุณโดนกล่าวหาว่าเป็นคนผิดนะครับ เราคงไม่โลกสวยบอกว่า ไม่ได้ทำผิดจะกลัวอะไร?
ผมเห็นด้วยกับการก้าวไปที่ระบบใหม่แหละครับ แต่ตัวระบบใหม่เองก็มีหน้าที่ต้องทำให้คนเชื่อมั่นและไว้ใจด้วยถึงจะทำให้คนไม่พยายามดึงกลับไประบบเก่ากัน
อันนี้ผมไม่เถียง แต่แค่จะอธิบายว่าทำไมบางคนถึงอยากให้ระบบดังกล่าวกลับมาแค่นั้นเอง ซึ่งมันก็คนที่เห็นด้วย ไม่ว่าจะเคยเจอเหตุดังกล่าวกับตัวเองโดยตรงหรือไม่ เหมือนเป็นอารมณ์ร่วม
แล้วการที่เหตุการณ์หลายๆ อย่างที่ไม่ดีนักในปัจจุบัน กลายเป็นตัวกระตุ้นให้คนบางส่วนอยากให้เอาระบบศาลเตี้ยที่บางคนมองว่าได้รับความยุติธรรมที่รวดเร็วและไม่ต้องเสียเวลา แต่ไม่ได้นึกถึงข้อเสียและปัญหาอื่นๆ เลยไงครับ
ผมไม่ได้สนับสนุนระบบนี้ แต่บางเหตุการณ์ที่โหดร้ายหรือร้ายแรง ก็มีความรู้สึกว่าอยากให้ระบบนี้กลับมาโดยไม่ต้องไม่มีเหตุผล เหมือนคนเก็บกดแล้วไอเดียนี้มันแล่นเข้ามาในหัวนั่นหละครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ทำไมถึงคิดว่าคนที่ไม่เห็นด้วยกับศาลเตี้ย แสดงว่าไม่เคยเจอเองล่ะครับ
คดีที่ผมเป็นผู้เสียหายและยังไม่จบ โทษอีกฝ่ายอายุความ 20ปี หมายความโทษสูงสุดคือประหารชีวิตนะครับ...
การด่วนตัดสินใจมันน่ากลัวครับ ตอนหน้ามืดเราพร้อมจะฆ่าอีกฝ่ายได้เสมอแหละ เชื่อไหม บางคนแค่โดนปาดหน้า แล้วมีปืน ก็ยิงใส่คันอื่นไปแล้ว ทั้งๆที่โทษมันไม่ควรจะหนักขนาดนั้น
และที่สำคัญมั่นใจได้อย่างไรว่า อีกฝ่ายคือคนผิดจริงๆนอกจากความเชื่อ? ผมเองพอใจเย็นลงแล้ว ก็มองเห็นหลักฐานต่างๆมากขึ้น ที่เคยเชื่อว่าอีกฝ่ายผิด(คนที่เราสงสัย) ก็กลายเป็นไม่เกี่ยว เราแค่โยงไปเองเพราะเคยมีเรื่องอื่นมาก่อน
ผมเห็นด้วยว่ากระบวนการยุติธรรมยังมีช่องโหว่ มันก็ต้องหาทางปิด ไม่ใช่ยกเลิก แล้วให้ไล่ฆ่าแก้แค้นกันสักหน่อย อย่างที่ผมบอกไป แก้แค้นแล้วมั่นใจหรือว่าถูก แล้วมั่นใจได้อย่างไรว่าเราจะไม่กลายเป็นเหยื่อจากการโดนศาลเตี้ยอย่างผิดๆเสียเอง?
บ้านเรายิงกันบนท้องถนนเพียงเพราะปาดหน้ากันแทบทุกวัน นี่แหละครับระบบศาลเตี้ยแบบไทยๆที่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด
ป.ล.ไหนๆก็พูดถึงคดีบ้านเรา เช่นคดีลูกคนดังเมาขับรถชนจนท.เสียชีวิตที่ชอบยกตัวอย่างกันบ่อยๆ
ก็ต้องแก้กฎหมาย ตั้งแต่สามารถเอาผิดอัยการที่ประพฤติโดยมิชอบได้ และถ้าคดีนั้นถูกคำสั่งโดยมิชอบ ต้องยกเว้นอายุความและเริ่มนับหนึ่งใหม่ เพื่อรื้อคดีได้(คุ้นๆว่าเมกามีกฎหมายที่สามารถรื้อคดีเก่าๆที่หมดอายุความไปได้ แต่บ้านเรายังไม่มี) ตอนนี้กฎหมายบ้านเรามีช่องโหว่ใหญ่ๆ คือถ้าถูกสั่งหรือตัดสินอย่างมิชอบ หรือแม้แต่การถ่วงเวลาจนสั่งฟ้องไม่ทัน(เทคนิคง่ายๆที่ทำกันเป็นประจำ แต่เอาผิดคนสั่งฟ้องไม่ทันไม่ได้ลอยตัวสุดๆ) ก็ไม่มีช่องทางเอาผิดซ้ำ เป็นช่องโหว่ที่ต้องใช้เงินและอำนาจพอสมควร ถ้าจะปิด ก็ต้องปิดตั้งแต่หัวไล่ลงมาซึ่งมันก็ไปขัดกับระบบอุปถัมภ์อีกนั่นแหละ
ปล่อยเร็วแฮะ
ตระกูลใหญ่ ผลประกอบการมีผลต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ อันนี้ยังไม่รวมถึงเบื้องหลังทางการเมือง ซึ่งคงมีการล็อบบี้กันอย่างหนักมานานพอสมควรแล้วล่ะ ยังไงเขาก็ได้รับโทษในระดับนึงแล้ว ก็คงต้องให้ออกมาเพื่อช่วยกู้สภาวะเศรษกิจร่วมกันนั่นแหล่ะ เรื่องรัฐศาสตร์มันมีความซับซ้อนกว่านิติศาสตร์พอสมควร ตึงมากไปก็ทำให้ประกอบกิจการลำบาก หย่อนมากไปกฎหมายก็ไม่มีใครเกรงกลัว
ก็สมกับแชโบลอันดับหนึ่ง
ระบอบประชาธิปไตยแบบเอเชีย
กลับมาสร้างซัมซุงให้เป็นบริษัทในแบบของคนเคยพลาดพลั้ง
ในซีรี่ย์เกาหลี ประธานบริษัทดูเหมือนจะมี power มากกว่าพวกข้าราชการหรือนักการเมืองซะอีก