ไม่ได้มีแต่ซัมซุงที่มีเซ็นเซอร์ภาพ 200MP อยู่บริษัทเดียว เพราะคู่แข่งร่วมวงการคือ OmniVision ที่ทำธุรกิจด้านเซ็นเซอร์ภาพและเซมิคอนดักเตอร์อื่นๆ ก็เปิดตัวเซ็นเซอร์ 200MP มาตั้งแต่ต้นปี 2022 (OVB0B) และผ่านมาเพียงไม่ถึงปีก็เปิดตัวเซ็นเซอร์ 200MP รุ่นที่สองต่อทันที
เซ็นเซอร์รุ่นที่สองตั้งชื่อว่า OVB0A มีขนาดพิกเซลเล็กลงเหลือ 0.56 µm (รุ่นแรก 0.61 µm) เท่ากับ ISOCELL HP3 ของซัมซุง ช่วยให้ขนาดเซ็นเซอร์เล็กลงเหลือ 1/1.4 นิ้ว เหมาะกับการใช้งานบนสมาร์ทโฟน
ฟีเจอร์อื่นๆ ได้แก่การทำ cell binning รวมภาพจากพิกเซลใกล้เคียง 16 พิกเซล (4x4) เหลือพิกเซลเดียว (เหลือ 12.5MP) เพื่อให้ถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยได้ดีขึ้น, รองรับการทำออโต้โฟกัสแบบ quad phase detection (QPD) ได้ 100%
เซ็นเซอร์ตัวอย่างจะส่งให้ผู้ผลิต OEM ในไตรมาส 4/2022 และปีหน้าเราคงได้เห็นสมาร์ทโฟนที่ใช้เซ็นเซอร์ตัวนี้ออกวางขายจริง
ที่มา - OmniVision via Notebookcheck
Comments
สงสัยอยู่หน่อยๆ จะแข่งกันมีจำนวน pixel เยอะๆ แต่ทำให้เซลมีขนาดเล็กมากๆ แต่ต้องมา binning กลับขึ้นมาให้คุณภาพภาพดีขึ้น noise พอรับได้ ทำไมไม่ทำให้เซลมีขนาดใหญ่ตั้งแต่ต้น?
รึปล่อยให้ผู้ผลิตมือถือ งัดสารพัดเทคนิค computational photography เอา?
ส่วนตัวมองว่าน่าจะเป็นเรื่องการรับแสงในสภาพแสงน้อยนั่นแหล่ะครับ เพราะตอนนี้ในสภาพแสงปรกติ ทุกยี่ห้อแทบจะไม่ต่างกันแล้ว แต่ใน Brand ที่ขายความ premium ก็จะได้จุดต่างตรงภาพแสงน้อย ในคนทั่วไปคงมองในภาพรวมว่ายี่ห้อนี้ถ่ายอะไรก็สวย ไม่ได้สนใจเรื่องภาพแสงน้อย แสงมากอยู่แล้ว ส่วนข้อเสียที่เกิดขึ้นจากการลดขนาด pixel ก็น่าจะทดแทนได้ด้วย Algorithm กับหน่วยประมวลผลที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลาได้
ทำให้นึกถึง iPhone ที่กล้อง 12 ล้านมาตลอด แต่ทุกปีก็มีการอัพเกรดเทคโนโลยีประมวลผลภาพ Smart HDR , Deep Fusion หรือเพิ่มขนาดเซนเซอร์ แต่คนทั่วไปก็จะบอกว่าเหมือนเดิม ไม่มีอะไรใหม่เลย แล้วไปว้าวกับกล้อง 48 64 108 200 ล้าน
binning ด้วย algo จาก 4,16pixel เล็กๆ ได้คุณภาพที่ดีกว่า 1pixel ใหญ่ๆ จริงๆหลักการพวกนี้มีมาหลายสิบปีแล้ว เหมือนการสร้างกล้องโทรทัศน์ ไม่มีใครสร้างจานเดี่ยวใหญ่ๆอีกแล้ว(ยกเว้นจีน) เค้าใช้ array จานเล็กๆเข้า algo กันหมด
แต่ก็อีกนั่นแหละการ process รูปหลังจากนั้นก็ตัวใครตัวมัน
อย่าง iPhone นี่ 12 ล้านแต่ใช้ multi-shot แทน multi-pixel ก็แล้วแต่ จะเลือก sensor ที่ read-out เร็วมาก หรือ pixel มากๆ
การทำ Pixel Binning มี 2 แบบ คือแบบที่สีเดียวกับแบบหลายสี และทั้งสองแบบก็มีข้อดีที่แตกต่างกัน แต่ดีกว่าพิกเซลใหญ่พิกเซลเดียวครับ
- แบบหลายสี (เช่น เซนเซอร์ RYYB ของ Huawei เมื่อก่อน) => เมื่อ binning แล้วจะทำให้พิกเซลนั้นมีข้อมูลของสีครบถ้วน ต่างจากพิกเซลใหญ่ที่เก็บได้แค่สีเดียวต่อพิกเซล และต้องพึ่งพิกเซลรอบๆมาคำนวณสีของพิกเซลนั้นๆ ซึ่งอาจคลาดเคลื่อนได้เพราะมันเป็นคนละตำแหน่งกัน โดยเฉพาะเมื่อต้องถ่ายอะไรที่ละเอียดๆ
- แบบสีเดียว (เข้าใจว่าเซนเซอร์มือถือส่วนใหญ่ในปัจจุบันเป็นแบบนี้) => มีหลายๆพิกเซลที่รับสีเดียว ดังนั้นเมื่อ binning แล้วพบเจอว่าอันไหนต่างจากพวกก็พอเดาได้ว่านั่นคือ Noise และจัดการมันได้ ในขณะที่ถ้าเป็นพิกเซลเดียวเราไม่รู้ว่านั่นคือ Noise หรือไม่
โดยสรุปแล้วก็คือ... ต่อให้ข้อมูลมีคุณภาพมากแค่ไหน ก็มีโอกาสคลาดเคลื่อนได้ เพราะงั้นสิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าคุณภาพข้อมูล (หมายถึงพิกเซลใหญ่) ก็คือปริมาณข้อมูลและความสามารถที่จะประมวลผลมัน ซึ่งเทคนิคการเพิ่มปริมาณข้อมูลก็มีหลายอย่าง เช่น การเพิ่มจำนวนพิกเซล การถ่ายหลายๆรูป การแกว่งเซนเซอร์ เป็นต้น
กระจ่างเลย ขอบคุณครับ.