การเปลี่ยนงานบ่อยหรือ Job Hopping แต่ก่อนถูกมองว่าเป็นในแง่ลบว่าผู้ที่เปลี่ยนงานบ่อยเป็นคนที่ไม่อดทนและไม่จริงจังกับการทำงาน แต่หลังจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เทรนด์การทำงานก็เปลี่ยนไป การเปลี่ยนงานบ่อย อาจจะกลับกลายเป็น New Normal โดยเฉพาะในกลุ่ม Millenials และ Gen Z และทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
ข้อดีของการเปลี่ยนงานบ่อยสำหรับผู้เปลี่ยนงานหรือ Jop Hopper
- พนักงานได้เรียนรู้ทักษะที่กว้างขึ้น ไม่ต้องเจาะจงแค่การเรียนรู้ในเชิงลึกที่อาศัยการใช้เวลาทำงานในตำแหน่งเดิมนาน ๆ
- การย้ายงานทำให้ได้อยู่ในสังคมและสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย ทำให้มีโอกาสได้เจอสังคมที่เหมาะกับผู้ทำงานมากที่สุด โดยเฉพาะกับกลุ่ม Millennials และ Gen Z ที่ให้ความสำคัญกับการหาสังคมการทำงานที่ดี
- การเปลี่ยนงานแต่ละครั้งทำให้มีโอกาสได้รับเงินเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 10% ขึ้นไป ขณะที่การอยู่ในตำแหน่งเดิมและบริษัทเดิมมีโอกาสได้เงินเพิ่มสูงสุด 2-4% ตามค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีเท่านั้น
- ได้พบเจอผู้คนหลากหลายเพื่อสร้างคอนเนคชั่นกับบริษัทต่าง ๆ และพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ
ข้อดีสำหรับฝั่งบริษัทที่รับสมัครงาน
- ผู้สมัครงานที่เปลี่ยนงานหลายครั้งได้ผ่านการทำงานในบริษัทที่หลากหลายซึ่งรวมถึงบริษัทคู่แข่งด้วย
- การเปลี่ยนงานบ่อยแสดงถึงความไม่กลัวต่อความท้าทายและความเสี่ยงซึ่งนับว่าเป็นคุณสมบัติที่ดีสำหรับโลกที่เปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา
- ตำแหน่งบางตำแหน่งไม่ได้ขึ้นอยู่กับความยาวนานของการทำงาน เช่น การทำโปรเจคหนึ่งให้สำเร็จในระยะเวลาหนึ่งก็เพียงพอ
- การต้องสรรหาพนักงานอยู่เรื่อย ๆ ทำให้ได้พนักงานใหม่ที่มาพร้อมกับทัศนคติและไอเดียใหม่ ๆ ซึ่งช่วยสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับผู้ร่วมงานในองค์กรด้วย
ทั้งนี้ การเปลี่ยนงานบ่อยก็มีข้อควรระวังเช่นกัน เช่น เวลาที่พนักงานจะออกจากงานก็อาจทำให้เพื่อนร่วมงานมีภาระงานมากขึ้นระหว่างที่บริษัทกำลังจัดหาคนใหม่มาทำงานแทน ส่วนทางฝั่งบริษัทเองการต้องรับคนปล่อย ๆ ก็อาจต้องใช้งบประมาณและเวลามาก และการที่พนักงานไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อสร้างความสำเร็จให้องค์กรให้ระยะยาวก็อาจจะเป็นอีกปัญหาหนึ่ง
วิธีป้องกันไม่ให้การเปลี่ยนงานบ่อยส่งผลเสียต่ออาชีพ
- ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนงานควรตั้งเป้าหมายและศึกษา career path ของตนเองให้ดีก่อนเพื่อที่จะสื่อสารกับฝ่ายบุคคลได้อย่างชัดเจนว่าทั้งพนักงานและบริษัทเองมีเป้าหายตรงกันหรือไม่
- ควรเตรียมความพร้อมเพื่อนำเสนอผลงานที่ผ่านมาให้กับผู้สัมภาษณ์งานและควรบอกเหตุผลที่เปลี่ยนงานบ่อยอย่างชัดเจนเพื่อป้องกันการเข้าใจผิด
- ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนงานควรบอกหัวหน้างานให้ชัดเจนถึงทิศทางของ career path ที่ต้องการเพื่อเป็นการยืนยันด้วยว่าการมาสมัครงานจะนำพาไปสู่เป้าหมายที่วางไว้
สำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนงานเพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ และค้นหาสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ดีขึ้น สามารถหางานได้ที่ Blognone Jobs
ที่มา: LinkedIn
Comments
ทำงานนานแค่ไหนแล้วเปลี่ยนงาน ถึงเรียกว่าเปลี่ยนงานบ่อย
การเปลี่ยนงานบ่อยเป็นเรื่องที่ดีครับถ้าเรากระหายที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆตลอด แต่เด็กบางคนเปลี่ยนเพราะไม่ทนกับงานที่ทำหรือมีความเชื่อว่าทุกครั้งที่เปลี่ยนงานจะทำให้เงินเดือนเราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นประสบการณ์แบบฉาบฉวย
ทางฝั่งบริษัทเองการต้องรับคน ปล่อย ๆ >> บ่อย ๆ
เทรนการทำงานในปัจจุบัน พนักงานใหม่ๆมีความคิดถึงความคุ้มค่าในการทำงานมากขึ้น แต่แต่ละบริษัทดันมีการบริหารจัดการระหว่างสิ่งที่พนักงานจะได้กับสิ่งที่พนักงานจะให้ไม่สมดุลกันเพราะไปใช้เทรนเก่าในการบริหาร ที่เน้น Loyalty แบบยุค Babyboomer มันเลยเกิดการเปลี่ยนงานบ่อย
แต่เรื่องนี้มันก็ต่างกันไปตามบุคคลด้วย เพราะเหตุผลในการเปลี่ยนงานแต่ละคนต่างกัน คนที่มีเหตุผลดีก็เห็นด้วยกับเขา แต่มันก็มีอยู่ คนที่ไม่พยายามเรียนรู้ในงาน คนที่แค่มาเอาโพรไฟล์งาน โพรไฟล์ตำแหน่ง แล้วก็อยู่แป็บเดียวแล้วเปลี่ยนงาน เพื่ออัพเงินเดือน แล้วอ้างว่ามันเป็นเทรน ใครๆก็ทำ เพื่อความก้าวหน้า
นี่เจอมาเหมือนกัน คนที่ มีโพรไฟล์เปลี่ยนงานมาหลายที่ เอ่ยถึงหลักการอะไรรู้จักไปหมด ความรู้กว้างขวาง แต่พอทำงานจริงๆ ทำงานไม่ละเอียดและไม่สามารถฝากฝังงานได้ ต้องมาถามพี่ๆตลอดเวลา ทั้งๆที่ก็ทำงานมาสามสี่ที่แล้ว เพราะแต่ละที่ไม่เคยได้ทำงานเชิงลึกเลย เหมือนคนที่เคยเล่นมาทุกกีฬา รู้กติกา รู้แทคติกไปหมด แต่พอลงไปในสนามจริงๆเก้เก้กังกัง คนเรามีความรู้อย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องมีทักษะด้วย ทักษะเกิดจากการทำจนชำนาญ
แต่อย่างว่าแหละ คนแบบนั้นค้าไม่ได้สนใจอยู่แล้ว เมื่อในทีมจับไต๋ได้ว่าเค้ามีความรู้แต่ไม่มีทักษะ ก็ได้เวลาที่เขาจะเปลี่ยนงานใหม่อีกครั้ง แล้วก็ใช้ข้ออ้างเดิมๆให้ดูเท่อีกที แล้วที่สำคัญ เปลี่ยนที่ใหม่แล้วเงินเดือนขึ้นด้วยนี่สิ แล้วเป็นใคร ใครจะไม่ทำ
บริษัทผมก็จะมีการรับน้องๆ มา เป็นโครงการเฉพาะ แล้วก็ให้ไปฝังตามทีมต่างๆ ปีนึงก็ให้ย้ายไปอีกทีม หมุนไปเรื่อยๆ ข้อดีก็น้องๆ จะมีความรู้รอบด้าน แต่ถามว่าลึกมั้ย ก็คงไม่ คนเราทำงานปีนึงในฟังชั่นนึงนี่แทบไม่ได้รู้อะไรเท่าไหร่เลย(หรือเราอาจจะนึกว่าเรารู้) มันต้องใช้เวลาซึมซับ
แต่ก็อาจจะเหมาะกับสายงานบางประเภท ที่ต้องการคนรู้รอบ มากกว่าลึก
ผมเคยเสนอให้ทำ rotation แล้วเจอว่า น้องที่อยู่ในทีมที่ดี (ในแง่ของการเมือง) ไม่ยอมย้ายออกให้ 555