สัปดาห์ที่ผ่านมามีประเด็นดราม่าของเกม Bayonetta 3 ที่จะวางขาย 28 ตุลาคมนี้บน Nintendo Switch หลัง Hellena Taylor นักพากย์เสียงตัวละครหลักแม่มดสาว Bayonetta ฉบับภาษาอังกฤษในภาคก่อนๆ (พากย์ทั้งภาค 1-2) ออกมาโวยวายว่าเธอได้รับข้อเสนอค่าจ้างน้อยเกินไป
Taylor บอกว่าได้รับข้อเสนอจากสตูดิโอ PlatinumGames ให้กลับมาพากย์เสียงในภาค 3 ด้วยค่าตอบแทนเพียง 4,000 ดอลลาร์ ซึ่งแทบไม่พอใช้ และถือเป็นการดูถูกความสามารถของเธอ เธอจึงปฏิเสธงานนี้และขอให้แฟนๆ ของซีรีส์ช่วยกันบอยคอตเกมนี้
Friends, Worldlings, Bayonutters. Hear ye!#PlatinumGames #Nintendo #Bayonetta #Bayonetta3 #Bayonutters #Boycott #NintendoEurope #NintendoAmerica #NintendoJapan pic.twitter.com/h9lwiX2bBt
— Hellena Taylor (@hellenataylor) October 15, 2022
หลังมีประเด็นของ Hellena Taylor ออกมา เว็บไซต์ Bloomberg และเว็บเกม VGC สอบถามไปยังแหล่งข่าวในอุตสาหกรรมเกมที่เกี่ยวข้อง และอ้างว่าได้เห็น "เอกสาร" ภายในของสตูดิโอ PlatinumGames สรุปว่าตัวเลข 3,000-4,000 ดอลลาร์เป็นค่าจ้าง "ต่อครั้ง" โดยใช้เวลาในห้องอัด 4 ชั่วโมง โดยสตูดิโอจ้างเธอประมาณ 4-5 ครั้ง ด้วยค่าจ้างรวม 15,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 5.7 แสนบาท)
ฝั่ง PlatinumGames ออกแถลงการณ์ว่าได้เปิดออดิชั่นหานักพากย์คนใหม่ของเกมภาค 3 และได้ Jennifer Hale ที่เสียงเหมาะกับคาแรกเตอร์ของ Bayonetta ซึ่งบริษัทยืนยันสนับสนุนผลงานของ Hale อย่างเต็มที่
A Message from PlatinumGames pic.twitter.com/5ym1JxtBBn
— PlatinumGames Inc. (@platinumgames) October 21, 2022
ที่มา - Nintendo Life, VGC, Kotaku
Comments
ตอนแรกอ่านชื่อผ่านๆนึกว่าได้นักพากย์คนเดิม
เกมส์ดังขายดีจะมาขอส่วนแบ่งจากเกมส์ตาม % ยอดขายคือตลกร้ายอะครับ ทำเป็นหุ้นส่วนมันไม่ได้นะแกคือลุกจ้างเค้า ไม่ต่างจากลูกจ้างช่างตัดคลิปกรณีัยูทูปเบอร์คิวเทเลย ไม่น่ารัก
อ่านๆมาอารมณ์ Amber Heard มาก
แพลตตินั่มเสนอราคาเฉลี่ย ชั่วโมงละ 1000$(ยังไม่หักลบภาษี ประกันชีวิต จิปาถะ) สูงกว่าค่าแรงที่ union ที่กำหนดไว้ชม.ละ 250$ โดยเกมบาโยเนตต้ามีคนคาดการณ์ว่าใช้เวลาให้เสียง 16-20 ชั่วโมงเหมือนภาคแรก(อันนี้เฮลเลน่าบอกเองว่าภาคแรกอัดไป 16ชั่วโมง)
ตกประมาณ 4 วัน รับไปเหนาะขั้นต่ำ 15,000 เหรียญ
ทาง เฮล เลน่า ผู้ไม่เคยมีงานพากย์อีกเลย อยู่ๆอะไรดลใจคิดว่าแพลตติน่าค่ายขึ้นชื่อเรื่องทำเกมดีแต่ขายไม่ออกเป็นค่ายร่ำรวยเกมบาโยเนตต้าขายได้ไม่ถึง5ล้านแผ่นก็มโนว่าขายได้กำไรครึ่งพันล้าน $ เลยขอโก่งราคา เอาค่าแรง ขั้นต่ำหกหลัก$ (ขั้นต่ำสามล้านแปดแสนบาท) พ่วงค่าลิขสิทธิ์ขายได้เท่าไหรแบ่งมาให้ด้วย WTF!!!
ดีลไม่ผ่านเกมก็ทำช้าเข้าไปอีกแพลตตินั่มเลยไปจ้างอีกคนดีกรีงานพากย์เกมนาวเป็นว่าว เกม AAA ก็ผ่านมาแล้ว
***(ไม่ confirm)
เฮลเลน่าหลังทราบเรื่องเลยเมล์ส่วนตัวไปถาม kamiya ขอโอกาสแต่เกมทำไปแล้วสัญญาก็เซ็นไปแล้วเลยเสนอให้พากย์ cameo แล้วกัน วันเดียว 4000$ เฮลเลน่าเลย กริ้วมึงดูถูกกู เลยรอเวลาแฉแก้แค้นเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาเกมใกล้ออก แทนที่จะแฉตั้งแต่ก่อนโควิดจะมา
พอมาประกาศให้ boybott เอาแค่ส่วน caneo มาอ้างเหมือนค่าพากย์ทั้งหมด
กระแสพวกคลั่งเป็นคนดี ต่อต้านนายทุน กดขี่ชนชั้น เลยโผล่มา witch hunt ชูนิ้ว สำเร็จความใคร่ทางศีลธรรม เซเลป นักพากย์ คนรีวิวคนทำเกม
เฮลเลน่า ลามปามคนพากย์ใหม่ดูถูกเพื่อนร่วมอาชีพคนเลยตามไปบลูลี่เธอ
คนไปรุมด่านินเทนโด (SEGA รอดเฉย) เลยทะเลาะกับแฟนนิน เป็นแค่คนให้ทุนไม่ได้ไปคัดนักพากย์โว้ย
คนไปรุมด่าคามิยะเจ้าตัวก็บล็อกพวกมาหยาบคายแถมแกไปคุยภาษาอังกฤษ จนทวิตเตอร์มาบล็อกแกซะเอง
วันถัดมาพอมีนักข่าวสายเกมไปติดต่อวงใน กับเห็นเอกสารสัญญา กระแสเลยตีกลับ (ส่วนโดนขุดมีประวัติสนับสนุน blue live matter, TERFs ไม่ขอพูดถึง)
แต่พวกหน้าแหกแต่ยังแถกูไม่ผิดก็พยายามเถียงลูปเดิมๆ ค่าแรงต้องไปถูกกด ไอ้พวกเลียท็อปบู้ท ไอ้พวกไอโอ ไอ้พวกโฟเบีย ไอ้สลิ่มไอ้ขนมหวานไอ้สามกีบ ฯลฯ
ส่วนคนสร้างเกม god of wars แอบลบเงียบๆ
ส่วนเฮลเลน่า หลังโดนแฉกลับก็ปฎิเสธแถมพูดประโยคสวยๆ
เธอปล่อยวางเกมเลือดสาดนี้แล้ว ขอไปตั้งใจด้านการละครต่อ [ส่วนมึงไปทะเลาะกันต่อในทวิตเตอร์เอาเองนะ( WTF!!!!!! )]
ขอบคุณครับ เนื่อหาดราม่าครบ จบในที่เดียว
ถ้าราคามันเป็น Industry Standard
คนอื่นคิดราคาเท่านี้ ก็คือเท่านี้นะ ถ้าราคามันต่ำเกินไป คุณก็มีสิทธิ์ปฏิเสธ แต่ถ้าบริษัทเกมหาคนมาพากย์แทนได้ ราคาเท่านี้ มีคนรับงาน ก็ถือว่าเป็นสิทธิ์ของเขาเหมือนกัน ถ้าเขาหาไม่ได้ เรตมันต่ำเกินไปจริง เขาก็อาจจะปรับราคา
ไม่รู้เหมือนกัน
มันก็คือการต่อรองราคางานตามปกติ ก็มีหลายครั้ง หลายเกม ที่เปลี่ยนเสียงนักพากย์ (ก็คิดว่าอาจจะต่อรองกันไม่ได้นี่แหละ) ก็ไม่เห็นมีบริษัทเกมออกมาโวยวายว่านักพากย์ XXX เรียกค่าตัวสูงเกินไป เราเลยต้องเปลี่ยนมาจ้างหน้าใหม่แทน มันก็คือเคารพกันทั้งสองฝั่งแหละ
ต้องเข้าใจว่าวงการนี้
บริษัททำเกมก็มีความเสี่ยงนะครับ ไม่ใช่ทุกเกมจะดัง บางเกมเจ๊งก็มี บริษัทเขาก็ต้องคุมค่าใช้จ่ายเหมือนกัน ต้องการเสียงที่เหมาะสมที่ราคาต่ำที่สุด แล้วอย่าลืมว่าทำเกมก็ต้องใช้คนเยอะ คนออกแบบตัวละคร คนทำโมเดล 3D คนทำอนิเมชั่น โปรแกรมเมอร์ ถ้าเกมดังแล้วทุกคนเรียกร้องหมด คงเจ๊งอะครับ
ใช่ครับผมอ่านแล้วนึกถึงลูกจ้างคิวเทเลย อารมณ์เดียวกันเลย
ดราม่าลูกจ้างคิวเท เวอชั่นต่างประเทศ
เมื่อลูกจ้างอยากได้ส่วนแบ่งแบบหุ้นส่วน
ที่พังอันดับแรกก็คือ ดันออกวิดีโอตัวที่ 3 บอก jennifer hale ว่า “เธอไม่มีสิทธิ์เซ็นชื่อว่าพากย์บาโยเน็ตต้านะ” คนบางคนก็เริ่มเอ๊ะแปลกๆ แล้ว
จริงๆที่คนเห็นด้วย (รวมถึงนักพากย์บางคน) น่าจะเพราะค่าจ้างนักพากย์มันก็โดนกดมานาน (ต่อให้เป็นเรต union ก็เหอะ)
แต่ก็มีนักพากย์บางคนก็ออกมาบอกเรต union จริงๆ ซึ่งมันก็ไม่ได้ห่างมาก
ประเด็นคือตอนแรกไม่มีใครรู้ว่า 4000usd นี่พากย์เยอะขนาดไหน ส่วนตัวผมยังคิดว่า ภาคนี้มีตัวละครใหม่ด้วย (แนวๆ multiverse) บทของบาโยเน็ตต้า อาจจะน้อยลง
ประกอบกับท่าทีคามิยะ มันดูสุดๆ มาก คือ บล็อคชาวบ้านไปหมด
แต่พอ jennifer hale ออกมาตอบกลับ (แบบที่ไอ้คุณคามิยะควรจะตอบแต่แรก) กระแสก็เริ่มเบาลง แต่พอ jason schrier ออกมาเขียนว่าเห็นเอกสาร ก็ตีกลับเลย
(Jason และ Jennifer เองก็เป็นคนที่พูดเรื่องค่าจ้างที่เหมาะสมของนักพากย์มาตลอด เลยยิ่งมีน้ำหนักเข้าไปใหญ่)
Kamiya แกประกาศมานานมากแล้ว แปะลงโปร์ไฟล์เลยว่าแก Block เพราะอะไร
แต่คนก็ชอบแหกกฎเข้าไปให้แก Block นะ
ที่ทุเรศมีเพียบ บางเวบเอารูปแม่ kamiya มาล้อเลียนอีก
https://www.resetera.com/threads/hellena-taylor-breaks-nda-to-explain-why-she’s-not-back-for-bayonetta-3-was-only-offered-a-4k-buyout-for-vo-work-after-renegotiating-from-even-less.643764/page-72#post-94966194
แถมพอความจริงปรากฎก็ยังมีพวกแถจะให้แกผิดให้ได้ต่ออีก กล่าวหาว่าเป็นโฟเบีย
คามิยะบล็อกภาษาอื่นนอกจากญี่ปุ่นแหลกมาหลายปีแล้วนะ ไม่ใช่เพิ่งมาเป็น ตั้งบอทไว้บล็อกเลยถ้าไม่มีคุยกับแกเป็นภาษาญี่ปุ่น
เรื่องกดราคานักพากย์นี่ ผมไม่แน่ใจแฮะว่ามันกดจริงหรือเปล่า หรือว่าเพราะว่ามันได้น้อยกว่าวงการอื่นเลยพยายามเอาตัวเองไปเปรียบเทียบครับ
คือเกมที่ทำรายได้ได้สูงขนาดจะจ่ายค่าตอบแทนที่หลาย ๆ คนเรียกร้อง ผมว่ามีไม่เยอะนะ อาจจะเป็น Activision/Blizzard, EA, Sony หรือ Ubisoft ที่น่าจะจ่ายไหว ที่เหลือนี่ผมว่าถ้าจ่ายเยอะขนาดนั้นคือเจ๊งหมดแน่ ๆ
โดยเฉพาะถ้าเอาเท่า Helena Taylor เรียกร้องมานะ (ทั้งงานเป็นล้านอ่ะครับ) โปรเจคระดับต่ำกว่าร้อยล้านบาทนี่ไม่น่าจะจ่ายไหวนะ
เรทนักพากษ์ video game 200-350 Usd แล้วแต่รัฐ
นี่ให้ชั่วโมงละ 1,000 Usd ถือว่าไม่น่าเกลียดเลยนะ
เคสนี้่ทำให้เห็นว่านักรบcyberชาวเนทนี่มั่วกันแค่ไหน ด่วนตัดสินใจล่าแม่มด แถมพอคดีพลิกก็ยังแถต่ออีกแบบกลัวเสียหน้า โดยไม่สนว่าทำลายชื่อเสียงคนที่ไม่ได้ผิดไปแล้ว แถมยังทำต่อ
แต่ในมุมนึง ที่เจ้าตัวมาเรียกค่าตัวโดยเทียบกับนักแสดงนำหนังhollywood ที่ได้ค่าตัวและส่วนแบ่งยอดขายหนังด้วย ก็น่าสนใจว่าปกติการทำตลาดเกมนี่โฆษณากันด้วยหรือว่าใครพากย์ตัวละครกันบ้าง? ถ้าเป็นฝั่งอนิเมะ ยังพอออกสื่อเน้นบ้าง แต่ฝั่งเกมนี่แทบไม่เคยเห็นเลย เหมือนใส่ลงเป็นข้อมูลเกม มากกว่าจะเป็นการทำโฆษณาด้วยชื่อเสียงของนักพากย์(ที่จะต้องมีการโชว์ตัว ทำสื่อโฆษณา ฯลฯ)
มีนะครับแต่เป็นบางเกม อย่างล่าสุด Like a Dragon: Ishin ตอนแถลงข่าวเกมก็เอาคนพากย์ตัวเอก(ที่พากย์ตั้งแต่ภาคหลักภาคแรก) มาแถลงข่าวด้วย แต่ฝั่งตะวันตกนี่ผมไม่รู้ อย่าง Bayonetta นี่ผมก็เพิ่งเห็นหน้านักพากย์ก็ข่าวนี้
ถ้าลองดูไลฟ์สตรีมโดยเฉพาะฝั่งญี่ปุ่นนี่ จะเห็นว่าเอามาใช้ทำการตลาดเยอะอยู่ครับ ที่จริง Seiyuu นี่ถูกใช้ในการตลาดเยอะมาก ๆ ถึงขั้นว่าระยะหลังนี่ใครหน้าตาไม่ดีพออาจจะหางานไม่ได้ด้วยครับ
ฝั่ง us/uk/europe ก็มีบ้างครับ
ส่วนบ้านเราส่วนใหญ่เอาไว้โฆษณาม๊อดครับ ส่วนออฟฟิเชียลนี่แค่พากย์ไทยยังน้อยอยู่เลย 555
ฝั่งญี่ปุ่น นักพากย์นี่อย่างกับดาราเลย ออกรายการบ่อยมาก ๆ เลยนะ โดยเฉพาะเกมยอดนิยมทั้งหลาย ถ้าติดตามจะรู้ได้เลยว่านักพากย์ญี่ปุ่นมีงานเข้าตลอดที่ไม่ใช่แค่การพากย์เสียง
ขอตอบรวมๆทั้งสามท่าน
ฝั่งญี่ปุ่น ผมก็เคยเห็นบ้างครับ แนะนำ เปิดตัว ลงสื่อนิตยสาร ผมพอเข้าใจวัฒนธรรมseiyu ที่มีการทำmedia mixed ตามมา เช่นจัดงานfanmeet, แจกลายเซ็นต์, concert จากเพลงประกอบฯลฯ แต่ฝั่งตะวันตกแทบไม่เห็น
และยิ่งพอเทียบกับด้านภาพยนต์คนแสดง ก็ยังค่อนข้างต่าง คือการเน้นโฆษณา ทำใบปิด ทำวิดิโอโฆษณาลงสื่อต่างๆ คือผมเข้าใจว่าฝั่งภาพยนต์คนแสดง ผู้กำกับ กับนักแสดง ถือเป็นตัวหลัก ที่ต้องเน้นโฆษณา และใช้หน้าตาในการโฆษณา การตกลงรายได้โดยมีการแบ่งrevenue ก็พอเข้าใจได้ แต่พอเป็นเกม ผมคิดว่าแม้แต่ developer ที่ทำเกม ทำengine ก็อาจจะไม่ได้ส่วนแบ่งจากยอดขายโดยตรง นอกจากโบนัส แต่พอนักพากย์จะเรียกร้องขอค่าตัวเป็นส่วนแบ่งrevenue มันก็เลยดูแปลก และไม่ค่อยสมเหตุสมผลกับสภาพการทำตลาดในปัจจุบันสักเท่าไร แบบที่เหล่าSJW เรียกร้องว่ากดขี่นักพากย์เพราะไม่ยอมแบ่งรายได้ก็เลยฟังไม่ค่อยขึ้น
แต่อย่างเคส คีอานู รีฟ มาพากย์และแสดงในเกมแบบ cyberpunk 2077 ก็อาจจะเป็นข้อยกเว้นอย่างหนึ่งเพราะผสมผสาน
เรื่องแจกลายเซ็นท์ แฟนมีท ผมว่าตามงาน SWSX น่าจะมีนะครับ
ผมไม่ค่อยชอบที่นักพากษ์อนิเมะญี่ปุ่นต้องขายรูปร่างหน้าตาด้วย
มันตลกตรงที่ว่าตัวนักพากย์ไม่ได้มีสิทธิ์ใดๆในเกมนอกจากเสียงตัวเอง ในเกมพากย์เก่าเอาอะไรมาอ้างเคลมให้แบนเขา เขาเสนองานให้ชีก็ไม่เอาเอง มันก็น่าจะจบไหม ถูกไปไม่รับงานมันก็แค่นั้นนี่ ไม่รับงานตัวเธอเสียอะไรก็ไม่ งงกับพวกที่ไปเฮโลตามด่าสุดๆว่าตรรกะนี่เป็นอะไร
งานในบริษัทเกมผลงานทั้งหมดเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท