นักวิชาการค้นพบบันทึกรายชื่อดวงดาวที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีการค้นพบซึ่งเขียนโดย Hipparchus นักดาราศาสตร์ชาวกรีก โดยบันทึกรายชื่อดวงดาวนี้ซ่อนอยู่ในแผ่นบันทึกโบราณ Codex Climaci Rescriptus ที่ค้นพบจากอียิปต์เมื่อ 100 กว่าปีก่อน การค้นพบนี้อาศัยเทคนิคการถ่ายภาพแบบ multispectral
Codex Climaci Rescriptus เป็นบันทึกโบราณที่มีการจดบันทึกตัวอักษรลงบนแผ่นหนังสัตว์ โดยข้อความที่ปรากฏบนแผ่นบันทึกนี้เป็นอักขระภาษา Syriac (เป็นชุดตัวอักษรที่ใช้ในหมู่ชาวคริสต์ในซีเรีย) และภาษา Christian Palestinian Aramaic (เป็นภาษาที่ชาวคริสต์ในปาเลสไตน์และ East Bank ใช้งานกัน) เนื้อหาในบันทึกที่ปรากฏเป็นเรื่องเล่าในศาสนาคริสต์ "มัทธิว 21:27–31" ข้อความเหล่านี้ถูกบันทึกลงบนแผ่นหนังสัตว์เมื่อช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5-8 โดย เป็นบันทึกโบราณที่มีการจดบันทึกตัวอักษรลงบนแผ่นหนังสัตว์ โดยข้อความที่ ถูกค้นพบเมื่อปี 1895 ที่อารามนักบุญแคเธอริน เขาซีนาย ในประเทศอียิปต์
ภาพบันทึกโบราณ Codex Climaci Rescriptus
ตามปกติของบันทึกโบราณนั้นจะมีการเขียนข้อความใหม่ทับข้อความเดิม ซึ่งบันทึกรายชื่อดวงดาวของ Hipparchus ที่เพิ่งค้นพบนี้ก็เป็นร่องรอยการจดบันทึกที่มีอยู่เดิมบนแผ่นหนังสัตว์ก่อนจะถูกเขียนทับด้วยเรื่องเล่าทางศาสนาคริสต์ในภายหลังนั่นเอง ถือได้ว่าเป็นการค้นพบครั้งสำคัญหลังจากที่นักวิชาการได้เพียรค้นหาแผนที่ดวงดาวนี้มานานมานานหลายปี
บันทึกรายชื่อดวงดาว (star catalogue) นั้นหมายถึงบันทึกที่ระบุรายชื่อของดาวฤกษ์ที่สังเกตเห็นได้บนท้องฟ้า ซึ่งมีการระบุหมายเลขกำกับและชื่อเรียกต่างๆ เป็นข้อมูลสำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาด้านดาราศาสตร์ สำหรับบันทึกรายชื่อดวงดาวของ Hipparchus ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งดาราศาสตร์ยุคกรีกโบราณนี้มีอายุเก่าแก่มากกว่า 2 พันปี ประมาณการว่า Hipparchus ได้จัดทำบันทึกนี้ขึ้นในช่วงเวลา 162-127 ปีก่อนคริสต์ศักราช
วิธีที่ใช้ในการตรวจสอบบันทึกโบราณจนนำมาสู่การค้นพบครั้งสำคัญนี้คือการถ่ายภาพแบบ multispectral ซึ่งเป็นการถ่ายภาพวัตถุโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แตกต่างกันในหลายช่วงความถี่ (เปรียบเทียบกับการถ่ายภาพโดยทั่วไปแล้ว มันก็คือถ่ายโดยอาศัยอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าช่วงคลื่นเดียวในย่านคลื่นแสงที่มองเห็นได้) โดยการถ่ายบันทึกนี้อาศัยภาพถ่ายในช่วงคลื่นแสงสีแดง, น้ำเงิน, เขียว, คลื่นใกล้ย่านอินฟราเรด และคลื่นรังสี X นำมาประมวลผลรวมเข้าด้วยกัน
ภาพที่ใช้เทคนิคการถ่ายแบบ multispectral
การถ่ายภาพแบบ multispectral ทำให้มองเห็นร่องรอยของหมึกหรือภาพเขียนของเดิมที่ซ่อนอยู่ใต้บันทึกข้อความใหม่ที่มีการเขียนทับลงไปในภายหลัง ซึ่งเทคนิคการถ่ายภาพนี้เป็นวิธีการตรวจสอบโบราณวัตถุที่นักวิชาการใช้กันอยู่แล้วในปัจจุบัน
ข้อความบันทึกรายชื่อดวงดาวของ Hippachus ที่ซ่อนอยู่ใต้เรื่องเล่าทางศาสนา
เดิมทีนักวิชาการคาดว่าภายใต้เนื้อความเรื่องเล่าทางศาสนาบนแผ่นบันทึกโบราณทั้งหลายที่เคยค้นพบกันนั้น พวกเขาจะพบร่องรอยบันทึกของเก่าที่เป็นเรื่องเล่าอื่นๆ ในทางศาสนาคล้ายคลึงกัน แต่ทว่าในปี 2012 นักวิชาการจาก Cambridge University ได้บังเอิญพบข้อความทางดาราศาสตร์ซ่อนอยู่ใต้ข้อความเรื่องเล่าทางศาสนา จากนั้นมาจึงมีการไล่ตรวจสอบแผ่นบันทึกโบราณอื่นๆ จนมาถึงการค้นพบบันทึกรายชื่อดวงดาวของ Hipparchus ที่ซ่อนอยู่ในแผ่นบันทึก Codex Climaci Rescriptus ในครั้งนี้
ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดทางวิชาการเกี่ยวกับการค้นพบบันทึกรายชื่อดวงดาวของ Hipparchus เพิ่มเติมได้ที่นี่
ที่มา - Ars Technica
Comments
นักวิชา - > นักวิชาการ
เขาไซนาย -> เขาซีนาย
ปกติเขาอ่านกันว่าซีนายครับ
https://th.wikipedia.org/wiki/ภูเขาซีนาย
ข่าวนี้ทำให้เห็นว่าแม้แต่คนเมื่อ 1200-1500 ปีก่อน เขาก็เอากระดาษรียูสมาใช้กันแล้ว ถึงจะเป็นแผ่นหนังก็เถอะ
แผ่นหนังแผ่นเดียวกันนี่ทนมากว่าพันปีเลย
แล้วทำไมเค้าถึงเขียนทับของเดิมเหรอครับ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
คำถามน่าสนใจดี ผมเลยลอง search แล้วเจอเว็บนี้ครับ
เค้าอธิบายถึงทั้งพวก papyrus แล้วก็ parchment ซึ่งบันทึกโบราณในข่าวนี้ก็คือ parchment ที่ทำมาจากหนังสัตว์ เค้าบอกว่ากระบวนการมันยากแล้วก็แพงด้วยสำหรับสมัยนั้น อย่างถ้าจะบันทึกไบเบิล ก็ต้องใช้หนังแกะ 200 ตัวถึงจะได้พื้นที่จดบันทึกมากพอ
ก็เลยมีความพยายาม reuse ครับ แล้วก็พออ่านดีๆ รู้สึกว่าเค้าจะใช้วิธีล้างข้อความเดิมออกก่อน หรือไม่ก็ขูดผิวออกแล้วค่อยเอามาใช้เขียนใหม่
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
ขอบคุณครับ ตอนพิมพ์ถามก็คิดอยู่เหมือนกันว่าน่าจะขาดแคลน เดาถูกแฮะ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!