ในปัจจุบันนี้ ต้องยอมรับว่าระบบการโอนเงินต่างธนาคารแบบ Real-Time มีความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ปลอดภัย และใช้งานง่าย โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งมีปริมาณธุรกรรมโอนเงินต่างธนาคารเป็นอันดับต้นๆของโลก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการให้บริการระบบ PromptPay ที่ NITMX เริ่มให้บริการมาตั้งแต่ต้นปี 2560 ซึ่งรองรับการโอนเงินรูปแบบใหม่ด้วยเบอร์มือถือ หรือหมายเลขบัตรประชาชน และการชำระเงินด้วย QR Code Payment ทำให้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว
แน่นอนว่าการสร้างระบบการโอนเงินต่างธนาคารแบบนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ง่ายๆ ถ้าไม่มีตัวกลางที่คอยทำหน้าที่ตรวจสอบ เชื่อมโยงและถ่ายโอนข้อมูลการทำธุรกรรม ไม่ว่าจะเป็นหมายเลขบัญชี หมายเลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ หรือจำนวนเงิน ซึ่งผู้ที่อยู่เบื้องหลัง คือ บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด หรือ NITMX ที่คอยดูแล ตรวจสอบ และพัฒนาปรับปรุงระบบการชำระเงิน โอนเงินระหว่างธนาคารในประเทศไทย หรือที่เรียกกันว่าระบบ ITMX (National Interbank Transaction Management and Exchange) โดยที่ผ่านมาระบบของ NITMX มีเสถียรภาพสูง สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา แม้ช่วงเวลาที่มีปริมาณธุรกรรมสูงมากๆ เช่น ช่วงสิ้นเดือน
ตอนนี้โอกาสของนักพัฒนาที่ต้องการจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบศูนย์กลางทางการเงินระดับประเทศมาถึงแล้ว บทความนี้เราจะทุกท่านไปเปิดโลกการทำงานของทีมงานหลักๆ ใน NITMX มากยิ่งขึ้น
คุณโสฬส หงส์หยก ตำแหน่ง Head of Development ของ NITMX เล่าให้ฟังว่า โครงสร้างภายในทีม Development ของ NITMX ไม่แตกต่างจาก Software House ทั่วไปเท่าไหร่นัก เพราะประกอบไปด้วยทีม
คุณโสฬส หงส์หยก Head of Development
ผลิตภัณฑ์ที่ทีม Development ดูแลจะเกี่ยวกับระบบธุรกรรมการเงินต่างๆ ที่ NITMX รับผิดชอบ ขณะที่กรณีของตัวระบบ PromptPay มีการเริ่มพัฒนาตั้งแต่ก่อนที่ NITMX จะมีทีม Development โดยมีการจ้างทีมพัฒนาระดับโลกมาช่วยทำ Core Engine กลาง ทำให้ทีม Development ที่ตั้งภายในจะพัฒนา Microservices ของ Products ต่างๆ ยกตัวอย่างของระบบ PromptPay เช่น API Verify Slip, API Lookup เป็นต้น และผลิตภัณฑ์ ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น เช่น Cross-Border QR Payment , ICS System เป็นต้น
ในแง่กระบวนการทำงานของทีม ก็ไม่แตกต่างจากบริษัทซอฟต์แวร์ภายนอกเพราะใช้ระบบ Agile and Scrum เมื่อรับ Requirement และ Use-Case Scenario มาแล้วก็จะนำมาวิเคราะห์ ทำ Grooming แล้วนำ Backlog มาทำในแต่ละ Sprint ความแตกต่างสำคัญของการทำงานที่ NITMX คงเป็นเรื่องของความถูกต้องที่ต้องระมัดระวังมาก เพราะทุกส่วนคือความรับผิดชอบระบบการเงินของประเทศ และประสิทธิภาพที่ระบบมีอัตราการใช้งานที่เติบโตสูงต้องรองรับการขยายตัวได้ดี
คุณโสฬสปิดท้ายด้วยว่า ความแตกต่างของการทำงานที่นี่คือ ความภาคภูมิใจ จากการที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ระดับประเทศ หรือเป็นส่วนที่ทำให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพยิ่งขึ้น รู้สึกว่าทักษะและการพัฒนาทักษะ เกิดประโยชน์ระดับประเทศ มีคนใช้งานจริงๆ
คุณน้ำพุ ทิพย์สถานสมบัติ ตำแหน่ง Solution Architect อธิบายว่าทีมนี้มีอยู่ 2 หน้าที่หลักๆ คือการหาเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้งานให้เหมาะสมกับโปรเจกต์และการออกแบบ Solution ในแต่ละโปรเจกต์ตามชื่อตำแหน่ง ศึกษาความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ทั้งในแง่เทคโนโลยี, Infrastructure, Middleware, ความปลอดภัย ไปจนถึงต้นทุนที่เหมาะสม ซึ่ง Solution Architect จะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในทุกๆ โปรเจกต์ของ NITMX
คุณน้ำพุ ทิพย์สถานสมบัติ Solution Architect
คุณน้ำพุยกตัวอย่างกรณี PromptPay ที่แม้ว่าจะเริ่มพัฒนามาตั้งแต่ก่อน NITMX มีทีมงาน แต่หน้าที่ของ Solution Architect คือ ต้องคิดตั้งแต่ได้รับ Requirement มาว่า Concept หรือหน้าตาของระบบนี้ควรจะเป็นอย่างไร และเมื่อใช้เบอร์โทรศัพท์หรือบัตรประชาชนเป็นหมายเลขโอนเงิน ก็ต้องคิดว่า ระบบจะรู้ได้อย่างไร ว่าเบอร์โทรศัพท์นั้นๆ เชื่อมกับบัญชีอะไร ธนาคารไหน งานทั้งหมดจะเกิดจากการจินตนาการ ก่อนต่อยอดเป็นการทำเวิร์กชอปเก็บ Requirement เพิ่ม เพื่อเติมเต็มตัวผลิตภัณฑ์
ทีม Application Engineer อาจมีหน้าที่คล้ายกับ Solution Architect อยู่บ้าง โดยคุณวลัยนุช ธรรมนิตยกุล ตำแหน่ง Application Engineer Team Lead เล่าว่า Application Engineer (ต่อไปนี้จะเรียกสั้นๆ ว่าทีม App) จะต้องเข้าไปอยู่ในทุกๆ โปรเจกต์ตั้งแต่ต้นเหมือน Solution Architect
แต่ความแตกต่างคือ Solution Architect อาจจะออกแบบในภาพใหญ่ แต่ทีม App จะออกแบบและเขียนสเปคเฉพาะ Level ของแอปพลิเคชัน ก่อนส่งต่อให้ทีม Development รับไปต่อ
คุณวลัยนุช ธรรมนิตยกุล Application Engineer Team Lead
นอกจากโปรเจกต์ใหม่ที่เริ่มจากศูนย์แล้ว โปรเจกต์ที่พัฒนาต่อยอดจากของเดิมก็จะเป็นทีม App ที่ดูแลตั้งแต่ต้น เช่น การปรับปรุงระบบเพื่อการรองรับธุรกรรมต่อวินาที (Transaction Per Second), ระบบ QR หรือการโอนข้ามประเทศของ PromptPay ก็เป็นทีม App ที่รับ Requirement และนำไปดีไซน์สเปค
อีกหนึ่งหน้าที่ของทีม App คือการเป็น Second-line Support ที่จะรับ Ticket ปัญหาต่างๆ จากทีม Operation (หรือทีม Support ที่คอยรับเรื่องจากธนาคารแบบ 24/7) เพื่อตรวจสอบและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
คุณวลัยนุชบอกด้วยว่า ความสนุก ความท้าทาย และความภาคภูมิใจในการทำงานกับทีม App คือการเอาชนะข้อจำกัดต่างๆ ทั้งเวลาและทรัพยากร รวมถึงการต้องออกแบบระบบที่สามารถเชื่อมโยงกับแต่ละธนาคาร ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่มีระบบภายในที่แตกต่างกัน ให้สามารถวิ่งผ่านและเชื่อมต่อกันได้ทั้งหมด โดยที่ธนาคารไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรเยอะ
ทีม Cloud ที่ NITMX จะแบ่งเป็น 2 ทีมย่อยหลักๆ คือ Cloud Infra ที่ดูแลโครงสร้างพื้นฐาน Cloud และ AIOps ที่ตรวจสอบและวิเคราะห์ ป้องกันปัญหา โดยระบบ Cloud ของ NITMX ณ ตอนนี้จะเป็นการวางเซิร์ฟเวอร์แบบ On-Premise ทั้งหมด 100% โดยใน Roadmapในอนาคตก็มีแผนจะปรับเป็น Hybrid ด้วย
หน้าที่ของทีม Cloud Platform ก็ไม่น่าจะแตกต่างกับที่อื่นมากนัก อย่างทีม Infra ก็จะรับ Requirement ร่วมกับทีม App ว่าต้องใช้เซิร์ฟเวอร์แบบไหน ขนาดเท่าไหร่ โหลดเท่าไหร่ โดยใช้เทคโนโลยี Cloud เช่น VM และ SDN ส่งต่อให้ทีม App
ขณะที่ฝั่ง AIOps มีหน้าที่ทำ Real-Time Monitor Dashboard สำหรับโปรเจกต์ใหม่ๆ หาระบบ Automation มาช่วยในการมอนิเตอร์ หรือนำ Big Data มาวิเคราะห์ คาดการณ์และเตรียมตัวรับปัญหาช่วงที่มีการทำธุรกรรมสูงๆ ขณะที่เครื่องมือที่ใช้ก็เป็น Open Source ยอดฮิตทั่วไป เช่น Elasticsearch, Grafana หรือ Tableu ส่วนระบบ AI ก็เขียนจาก Python เป็นหลัก
คุณธนกร เจริญเชาว์ Cloud Platform Team Lead (Infrastructure) (ซ้าย) | คุณบัญชา ปิติโกมล Cloud Platform Team Lead (AIOps)
คุณธนกร เจริญเชาว์ Cloud Platform Team Lead (Infrastructure) บอกว่าความท้าทาย คือ การต้องดีไซน์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้สามารถรองรับการทำธุรกรรมจำนวนมหาศาลให้ได้ โดยต้องวาง Roadmap เผื่อในอนาคต 3-5 ปีข้างหน้าด้วย ซึ่งตรงนี้เป็นความแตกต่างของการทำงานที่ NITMX จากที่อื่น เพราะไม่ใช่แค่รับงานมาทำให้จบแล้วจบ แต่ต้องมองไปถึงอนาคตด้วย รวมถึงหากธนาคารปรับไปใช้เทคโนโลยีที่ใหม่กว่า ก็ต้องปรับตามให้ทัน หรือบางครั้งที่เลือกใช้เทคโนโลยีที่ใหม่แซงหน้าธนาคาร ก็ต้องปรับเข้าหาธนาคาร
ขณะที่ความท้าทายของฝัง AIOps ในมุมคุณบัญชา ปิติโกมล Cloud Platform Team Lead (AIOps) คือประสิทธิภาพในการมอนิเตอร์และคาดการณ์แบบเรียลไทม์ช่วงที่มีการทำธุรกรรมสูงๆ เช่น ต้นเดือนหรือกลางเดือน ทีมต้องวิเคราะห์ให้ได้ คาดการณ์ก่อนและรู้ก่อนอย่างน้อย 1 วินาทีก่อนเกิดปัญหา เพราะด้วยความที่ PromptPay ส่งผลต่อคนไทยทั้งประเทศ ระบบเกิดปัญหาเพียง 1 วินาทีก็สาหัสแล้ว
คุณธนกรและคุณบัญชาพูดไปในทิศทางเดียวกันว่า การทำงานที่นี่และเห็นการเติบโตของการใช้งานระบบ PromptPay มาตั้งแต่สมัยที่ระบบรองรับธุรกรรมได้ 6 ธุรกรรมต่อวินาที (ปัจจุบันประมาณ 6,000 ธุรกรรมต่อวินาที) ทำให้ได้เห็นอิมแพคที่เกิดขึ้นกับคนไทยจริงๆ เวลาอยู่ข้างนอกแล้วเห็นเด็กหรือผู้สูงอายุ สามารถชำระเงินได้ด้วยการสแกนจ่าย ทำให้รู้สึกว่า ความสะดวกสบายของคนเหล่านั้น เกิดขึ้นจากฝีมือของพวกเราด้วย
อาจจะเป็นที่นี่ที่เดียว ที่นักพัฒนาจะมีผลงานที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของคนไทยในระดับประเทศ สำหรับผู้ที่สนใจที่อยากจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบศูนย์กลางการเงินระดับประเทศแห่งนี้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.itmx.co.th
หรือสามารถติดต่อได้ที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล Email: Recruitment@itmx.co.th หรือ โทร 02 558 7555
Comments
อืม
สิ่งที่ได้ยินมาจากฝั่งธนาคาร เหมือนหนังคนละม้วน
ยังไงเหรอครับ
อยากให้ NFC เกิดในไทยด้วย บัตรแตะจ่ายยังต้องเอาไปเสียบอยู่ดี
เหมือน nfc จะตายแล้วเลย
ขนาดรถไฟฟ้ายังหยุดออก sim ให้ใช้ nfc ได้เลย
(ว่าแต่ทำไมต้องผูกกับ sim ?)
ยิ่งตลาดมาใช้ visa wave แล้วด้วย
คงไม่มีเหตุผลต้องลงทุน nfc ให้ซ้ำซ้อน
Paywave นี่ไม่ NFC เหรอครับ แตะจ่ายเห็นเครื่องรองรับแต่ผมต้องให้คนขายเอาบัตรไปเสียบอยู่ดีนะครับ
https://www.visa.co.th/th_TH/pay-with-visa/featured-technologies/mobile-visa-paywave.html
ควรเรียก EMV เพื่อกันความสับสนครับ (แม้ว่ามันจะ ride on NFC แต่เค้าเรียกว่า EMV)
เรียก EMV ก็ไม่ถูกต้องซะทีเดียวเพราะ EMV มันเป็นมาตรฐานตั้งแต่บัตรชิป ซึ่งจะแตะจ่ายหรือเสียบจ่าย มันก็ EMV ทั้งคู่ครับ ในบริบทนี้จะสับสนกว่าเดิมอีก
iPAtS
เท่าที่ใช้ Lotus/BigC ก็แค่วางแตะตรงจอเล็กๆหน้าเคาท์เตอร์นะ
ผมเลยเข้าใจว่า wave เป็น rfid ซะอีก??
แต่บทความที่โพสมากลับบอกว่าเป็น nfc?
ถ้าจะใช้ wave ผ่าน nfc บนมือถือก็ต้องขอ sim หรือ ลงแอปเสริม อยู่ดี?
RFID NFC ผมว่ามันหมายถึงคนละแบบกันนะครับ
NFC หมายถึงการสื่อสาร น่าจะความหมายกว้างกว่าไรงี้
RFID จะหมายถึงระบุตัวต้น ติดตาม
เรื่องมือถืออันนั้นผมก็ไม่เข้าใจมานานละครับ พวก Apple Pay ยังไม่ต้องใช้อะไรเพิ่มเลย เดาๆ เขาน่าจะฝังชิปมาแล้วก็ไม่รู้เลยไม่ต้องทำไรมาก
ตอน Galaxy S4 Note3 ตอนตีตลาดใหม่ๆ ก็เห็นกับ BTS Rabbit Mpay แล้วเป็นไงก็ดูเอาแล้วกันฮะ :P ไปบอก AIS ให้จับมือกับ Rabbit แล้วกัน
ตอนนั้มผมก็ไม่เข้าใจครับ ทำไมต้องใช้ซิมพิเศษ มาเจอ Garmin รองรับ Rabbit ก็แค่เหมือนฝังชิปหรือฝังไอดีกับตัวเก็บยอดเงินไว้เหมือนเป็นบัตรอีกอันในนาฬิกาก็ทำได้
จริงครับ QR Code มันไม่มีอะไรดีเท่าเลย (ไม่นับการไม่ต้องมี reader)
จริง ๆ qr code มันดีตรงต้องใส่ pin หรือ scan หน้าก่อนถึงจะใช้งานได้นะครับ
แถมรายเล็กรายน้อยสามารถใช้ได้หมดเลย ขอแค่มี smart phone หรือ เครื่อง print
แต่ก็แอบอยากให้ทำแบบ แตะ เหมือนกัน
แต่เป็นแบบใช้มือถือ หรือ นาฬิกาแบบของ garmin ที่ต้องใส่ pin ก่อน
แต่แบบบัตร bts mrt ไม่ไหว ง่ายไป๊ น่ากลัว 😅
+1 QR ของผมนี่คือมากับใบแจ้งหนี้ค่าน้ำได้เลย
ข้อดีอีกอย่างคือ fwd ให้คนอื่นจ่ายให้ได้
แต่ถึงอย่างนั้นผมก็อยากได้ NFC นะ หรือว่ากันตรงๆ ผมอยากได้ deep link ครับ กำหนด URL มาเลย medium เป็นอะไรก็ได้ เป็นลิงก์ส่งให้กด เป็น QR เป็น NFC อะไรก็ได้ทั้งนั้น พอแตะโดนก็เด้งให้เลือกแอปธนาคารมากดจ่าย จบ secure เหมือนเดิมด้วย
เวลาใช้แบบ เหมือน card present NFC มันสะดวกกว่าเยอะเลย แต่ระบบเบื้องหลังมันทำอะไรเยอะกว่า QR
จริงถ้าเอาบัตรอะไรมาผูกกับมือถือได้ มันก็มีระบบ Authen นะครับ แม้แต่บัตร Suica ของญี่ปุ่น แต่ก็สามารถตั้ง By pass บัตร suica งี้ตอนไปเที่ยวญี่ปุ่นก็ตั้งไว้เลยแตะๆ จ่าย ได้ทันที พออยู่ไทยก็ปิดไป เดี่ยวเจอเครื่องอ่านของไทยเด้งขึ้นมาเอง
ส่วน BTS ไทยนี่จริงใช้ยากนะสำหรับ ช้าน่าหงุดหงิด ไม่ทันเลย ยิ่งไปแตะร้านค้ายิ่งช้ากว่าเดิม การ์มินเองเอาใช้เป้นบัตร rabbit ก็แตะๆ ได้เลย ไม่ต้อง pin หรือจะ pin ก็ได้แล้วแต่แค่ปาดก็ขึ้น pin ไม่ปาดก็แตะจ่ายเลย
ตอน promtpay เปิดใช้แรก ๆ ว้าวมาก ๆ นะครับ
แตกต่างจาก app / ระบบ ของทางภาครัฐที่เจอมาตลอดมาก ๆ เลย
ใช้ง่ายแถมเร็ว ๆ มาก ๆ
สุดยอดมาก ๆ ครับผม
เคยได้ยินคนที่ทำงานที่นั่นมา อ่านแล้วก็บอกได้คำเดียวว่า อืม...
Coder | Designer | Thinker | Blogger
เล่าให้ฟังคร่าวๆหน่อยครับ เห็นอืมกันหลายคอมเมนต์แล้ว
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
อย่างน้อยก็มีระบบกลางนะ ลองดูประเทศใหญ่ 2 อันดับแรกก็กลายเป็นของเอกชนจนรัฐหนึ่งต้องเล่นงาน
NITMX เป็นบริษัทเอกชนนะครับ ธนาคารเอกชนบางแห่งร่วมกันลงทุนก่อตั้ง
แถมไม่ใช่บริษัทมหาชนด้วยนะครับ
เพียงแต่การให้บริการลักษณะนี้ต้องขอlicenseจากแบงค์ชาติ เหมือนbitkubที่ต้องขอlicenseจากกลต.น่ะครับ
ออกแบบทีนี่ต้องการ fundamental ล้วนๆ เลย คนเก่งทั้งทั้นเลยครับชื่อชมๆ
หลายคนมีเงี่อนงำ
อ่านคอมเม้นแล้วอยากรู้ข้อมูลอีกด้านนึงเลย
ได้แต่สงสัยต่อไป ว่าจะมีใครมาบอกไหมจริงๆ เป็นยังไง
มือใหม่!! ใหม่จริงๆนะ
ไม่มีคนพูดในที่สาธารณะหรอกครับ มีแต่เค้าเม้าท์กัน เพราะระดับนี้คนในวงการมันมีอยู่ไม่กี่คน แต่ละคนก็ทำงานใกล้ๆกันทั้งนั้น
ก็ดีที่เป็นทีมคนไทย ชื่นชมที่ทำได้ดีระดับหนึ่งเลย
แต่ไปได้งานนี้มายังงัย? เว็บไซต์ลองเข้าแล้ว เข้าไม่ได้น่ะ
หมวด workplace เป็นการซื้อพื้นที่โดยบริษัทในบทความ เพื่อโปรโมท หรือเพื่อหาคนทำงานครับ
um...
เห็น comments ด้านบน จริงๆก็พอเดาอะไรออกบ้างแหละ แต่ผมก็ให้เครดิตตรงที่ตัวระบบเองถือว่าทำงานได้ดีในระดับที่น่าพอใจ
..: เรื่อยไป
แหมมมมม เหอะๆๆๆ
음…
สวัสดี เรามาจากอนาคต
แล้วชวนเรามาทำไมอ่ะ
ม า ข ยี้
คนล้มอย่าข้ามครับ...
ให้กระทืบซ้ำเลยครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger