8 บริษัทผู้ผลิตชิปในญี่ปุ่นผนึกกำลังกันร่วมก่อตั้งบริษัทใหม่เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาชิปยุคใหม่ภายในประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกและลดการพึ่งพาการสั่งซื้อชิ้นส่วนจากบริษัทต่างชาติ
บริษัทดังกล่าวประกอบไปด้วย Toyota Motor, NTT, Sony, NEC, SoftBank, Denso, KIOXIA (เดิมคือ Toshiba Memory) และ MUFG (กลุ่มบริษัททางการเงินในเครือของ Mitsubishi) โดยจะร่วมกันตั้งบริษัทใหม่ชื่อว่า Rapidus (มาจากคำว่า rapid ที่แปลว่ารวดเร็วในภาษาละติน) โดยจะใช้เงินลงทุนร่วมกันมากกว่า 7 พันล้านเยน (ประมาณ 1.8 พันล้านบาท)
Rapidus จะมุ่งเน้นการพัฒนาชิปยุคใหม่ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมไอทีในการประมวลผลข้อมูลจำนวนมาก ทั้งเรื่องการใช้งานปัญญาประดิษฐ์รวมทั้งการพัฒนาระบบเมืองอัจฉริยะ
ทั้งนี้รัฐบาลญี่ปุ่นเองก็มีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตชิปในประเทศอย่างเต็มที่ โดยเพิ่งเสนอขออนุมัติงบประมาณแผ่นดินเป็นเงิน 1.3 ล้านล้านเยน (ประมาณ 334 พันล้านบาท) เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ภายในประเทศ และจะร่วมลงทุนกับ Rapidus เป็นเงินราว 70 พันล้านเยน (ประมาณ 18 พันล้านบาท) เพื่อสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ให้กับบริษัทที่จัดตั้งใหม่
ในปัจจุบันนี้ไต้หวันเป็นประเทศที่ครองส่วนแบ่งชิปของตลาดโลกสูงถึง 90% (นับเฉพาะตลาดชิปที่มีขนาดตัวนำเล็กกว่า 10 นาโนเมตร) ซึ่งหลายประเทศรวมทั้งญี่ปุ่นก็เริ่มตระหนักถึงความเสี่ยงที่จะขาดแคลนชิปหากเกิดเหตุการณ์ไม่สงบกับไต้หวันซึ่งย่อมจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตจำนวนมาก ดังนั้นเราจึงเห็นข่าวการลงทุนพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตชิปภายในประเทศของสหรัฐอเมริกา, จีน, เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นบ่อยครั้งในระยะหลัง
สำหรับบริษัทใหม่ Rapidus จะร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยอื่นๆ ในญี่ปุ่นซึ่งรวมถึง University of Tokyo และ National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) ในการวิจัยและพัฒนาชิป โดยตั้งเป้าจะสร้างชิปที่มีขนาดตัวนำ 2 นาโนเมตร ซึ่งในปัจจุบันนี้ยังไม่มีเทคโนโลยีการผลิตมารองรับมาตรฐานระดับที่ว่านี้
ที่มา - The Japan News
Comments
ทำไมชอบใช้ชื่อบริษัทเป็นภาษาลาตินกันเนี่ย 555
เดาเอา เพราะถ้าจะตั้งชื่อให้มีความหมาย แต่ยังมีความเป็นengอยู่ ทั้งการออกเสียง และการสะกดคำ ลาตินที่เป็นรากของengอยู่แล้ว น่าจะเหมาะสมสุด เพราะถ้าไม่ลาติน ก็คงต้องภาษากรีก
เป็น "ชื่อเฉพาะ" เพียงพอที่จะเป็นเครื่องหมายการค้าหรือคำสำคัญได้มั้งครับ ขืนตั้งชื่อเป็น Line, Matter, etc. น่าจะลำบากพอตัว
ซึ่งก็ดีแล้วล่ะ ทุกวันนี้จะหาข้อมูล Line ยังงงๆ กันบ่อยเลย
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
ถ้ามันเป็นเหตุเดียวกับ การใช้ในวิทยาศาสตร์, ศัพท์เทคนิคก็คือ
มันเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทำให้ไม่มีใช้ในการพูดปกติกัน
จึงไม่มีการเปลี่ยนเปลงของคำ เซ่น ความหมาย การอ่าน การเขียน (แบบภาษาไทยที่อยู่ๆ คำว่า วิ, จ๊าบ, เด็กแนว มาจากไหนไม่รู้)
ผ่านไป 100 ปี วิธีเขียน อ่าน ความหมาย การใช้ มันก็คงเดิม
โดนเนเจอร์ของญี่ปุ่น เขาชอบชื่อพวกนี้ครับ ชัดๆเลยก็มาสด้า เคยมี sub brand เช่น Amati, Efini, Eunos, Xedos (เจ๊งหมดละ)
ชื่อญี่ปุ่นมันดูไม่ทันสมัย?
สู้ววววววว อยากเห็นหน้าใหม่ในตลาดผู้ผลิตชิพเพิ่มอีก
Nikon กับ Canon ไม่เข้าร่วมทั้งที่เป็นผู้ผลิตเครื่อง DUV อยู่แล้ว 🤔
นั่นสิ สำคัญเลย หรือแยกหน่วยมารวมกันก็ยังดี จะได้มีคนสู้กับ ASML บ้าง
ดีอ่ะ ประเทศเขาผลักดันเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ รัฐมองเห็นความสำคัญ แต่ทำไมรัฐและเอกชนไทย ไม่เห็นนะ รัฐเห็นแต่ทำไงถึงขายชาติได้
ไปเอาความรู้จากไหนมาผลิตล่ะ
เคยดันแต่มันไม่ขึ้นนอนนิ่งอยู่บางน้ำเปรี้ยวโรงนึง ใช้เป็นศูนย์เรียนรู้แทนไปแล้วมั้ง
ประเทศที่เต็มไปด้วยคอรัปชั่น ทุนวิจัยอะไรก็จมก่อนถึงนักวิจัย ยากจะสำเร็จ
ยิ่งเรื่องผลิตชิปต้องใช้ทุนสูง บุคลากรที่มีความสามารถขั้นสุดของสาขานั้นๆ อีก รอท่านผู้นำผลัดใบก่อนแล้วกันนะครับ
สไตล ญป กว่าจะร่วมมือกันเสร็จเป็นรูปเป็นร่าง ผ่านไปอีก 20 ปี
เพราะมัวแต่กลัวนู่น นี่ นั่น
แต่ก็ยังถือเปนเรื่องดี เทียบกะประเทศสารขัณฑ์
ญี่ปุ่น ขี้ก็หอม
เห็นบริษัทไทยรวมตัวกัน เลยเอามั่งใช่ไหมล่ะ