ที่ประชุมของหน่วยงานมาตรฐานชั่งตวงนานาชาติ (International Bureau of Weights and Measures หรือ BIPM) ที่มีตัวแทนจากหลายประเทศเข้าร่วม ลงมติยกเลิก "อธิกวินาที" (leap second) โดยจะมีผลในปี 2035
leap second เป็นการเพิ่ม "วินาทีพิเศษ" เข้ามาอีก 1 วินาทีต่อปี (เฉพาะแค่บางปี) เพื่อปรับให้การนับเวลาตาม atomic time (ที่คงตัวเสมอ เช่น ใช้ใน GPS) ตรงกับเวลาตามการหมุนของโลก (UTC time ที่อาจไม่คงตัว เพราะโลกหมุนเร็วช้าไม่เท่ากัน) แนวคิดนี้เริ่มใช้งานในปี 1972 และที่ผ่านมามีวินาทีพิเศษถูกเพิ่มเข้ามาแล้ว 27 ครั้ง โดยครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2016
ปัญหาของ leap second คือเราไม่สามารถพยากรณ์ได้เลยว่าปีไหนบ้างจะมีวินาทีพิเศษเพิ่มเข้ามา เพราะขึ้นกับการหมุนของโลกในปีนั้นๆ ทำให้โลกยุคปัจจุบันที่อาศัยการซิงก์เวลากันอย่างแม่นยำจะเกิดปัญหาขึ้น หากต้องมีวินาทีแทรกเข้ามา (เคอร์เนลลินุกซ์รุ่นเก่ามีปัญหา Leap Second ทำระบบล่มในช่วงเปลี่ยนวันใหม่) ที่ผ่านมาก็มีข้อเสนอหลายอย่างที่พยายามแก้ปัญหานี้ เช่น วิศวกร Meta เสนอไอเดีย ยกเลิก Leap Second เปลี่ยนมาปรับสปีดนาฬิกาแทน
ที่ประชุมของ BIPM ลงมติว่าจะยกเลิก leap second ภายในปี 2035 ซึ่งจะส่งผลให้เวลา atomic time และเวลาตามการหมุนของโลก (UTC) เริ่มต่างกัน โดย BIPM ยังไม่ได้พิจารณาว่าจะยอมให้ความต่างนี้เป็นเท่าไร รวมถึงจะมีวิธีปรับค่าอย่างไร แนวคิดหนึ่งที่เสนอกันคืออาจให้มีการเพิ่ม "นาทีพิเศษ" (leap minute) เข้ามาในทุกๆ 50 หรือ 100 ปีแทน เป็นต้น
ที่มา - Guardian
Comments
เบื่อกับการสร้างคำไทยมาก "อธิกวินาที"
อยากรู้แนวคิดในสร้างคำ ของคนคิดจัง คือ สร้างคำยังงัยให้เหมือนปริษณา อ่านแล้วต้องไปเปิดพจนานุกรมต่อ ไม่สามารถเข้าใจได้เลยหลังอ่าน หรือต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ ดร. ถึงจะอ่านแล้วเข้าใจ
แล้วคนสร้างจะดูเก่ง ดำรงตำแหน่งได้นานๆงั้นหรือ
เจ็บใจ #อ่านไทยแล้วยังต้องไปหาคำแปลอีกรอบ
ภาษาไทยนี้เน้นความสละสลวยของคำ, ประโยคครับ
ไม่เน้นใช้งาน (การสื่อสาร)
ที่จริงมันเข้าใจง่ายครับอ่าานว่า A Tick Vinatee
ผมว่ามันเป็นแค่คำที่เราไม่ค่อยได้ยินมากกว่าครับ พอรู้จักมันครั้งแรก พอได้ยินไปอีกไม่กี่ครั้ง อาจจะเข้าใจความหมายแบบอัตโนมัติเลย
ก็คำทับศัพท์คำนึง
เหมือนภาษาญี่ปุ่นที่มีคำทับศัพท์เป็นอังกฤษ ซะเยอะ
ไม่ค่อยเห็นเลยไม่รู้ แต่ทุกวันนี้เราใช้คำทับศัพท์ บาลี สันสกฤตเยอะมาก
จริง บางทีทับศัพท์นานจนนึกว่าเป็นภาษาไทยไปแล้ว เช่่น Siminar = สัมมนา Foot path = ฟุตปาท
เคยอ่านมาว่า สัมมนา นี่เป็นคำไทยนะครับ บัญญัติใหม่ แต่คงเสียงคล้ายคำเดิมไว้ได้
น่าจะมาจากสันสกฤตครับ ซึ่งสันสกฤตก็แตกมาจาก proto-indo-european อีกต่อหนึ่ง
ต่อให้เขาบัญญัติว่า "วินาทีพิเศษ" แบบที่ใช้ในบทความนี้ ก็ต้องไปหา "ความหมาย/Definition" ของมันอยู่ดีนั่นแหละ
พยายามจะงงทำไมครับ
คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ
ภาษาอังกฤษ Leap second นี่อ่านแล้วเข้าใจแจ่มแจ้งเลยหรอครับ ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ ถ้าไม่ได้ทำงานสายที่เกี่ยวข้องก็ไม่รู้นะ แค่เราอาจจะยิ้มมุมปากเล็กน้อยกับการสมาสสนธิของภาษาไทย แต่อย่างที่ท่านข้างบนว่า ในเชิงความหมาย ถึงใช้ว่าวินาทีพิเศษก็ต้องหาคำแปลอยู่ดี
ผมเข้าใจนะ ถึงแม้จะไม่เคยเจอ leap second มาก่อน แต่ดูคำปุ๊บก็เข้าใจความหมายเลยว่ามันคือเวลาที่เกินหรือเหลื่อมกันออกมา ส่วนเหลือมได้ยังไงนั้นก็ต้องไปค้นต่อกันครับ
หรือต้องให้แปลเป็นไทยว่า "วินาทีเขย่ง" ดีครับ
ตอนคำว่า บัตรเขย่ง ออกมาแรก ๆ คนฟังแล้วเข้าใจทันทีมั้ยครับว่าคือบัตรแบบไหน
คำนานๆ ใช้ทีก็ไม่เข้าใจปกติ ก็เหมือนคำทัพศัพท์อังกฤษ บ้างคำก็งงเหมอืนกัน
ปริษณา คำนี้มีที่มาอย่างไร
มันก็คำคำนึงครับไม่ใช่ยากหรือง่ายถ้ารู้ควาหมายก็คือรู้ ไม่รู้ก็คือไม่รู้ ก็ไปหาความหมายเอาในพจนานุกรม แค่เราไม่ได้เจอบ่อย ๆ
เหมือนคำอื่นเช่นกัน เช่น ปฏิวัติ รัฐประหาร คำมันก็แปลก ๆ เหมือนกัน แต่ถ้าเราเจอบ่อย ๆ เราก็จำมันได้ไปเองไม่ต้องไปเปิดพจนานุกรม
อย่างตอนนี้ "อธิกวินาที" ตอนนี้ก็กลายเป็นคำที่เรารู้ความหมายแล้วก็ไม่ต้องไปเปิดพจนานุกรมอีก
อันนี้ยังดีครับที่มีในพจนานุกรมไอคำที่แปลก ๆ จริง ๆ น่ะเยอะครับพวกสแลงหรือคำที่เป็นความหมายเฉพาะกลุ่ม แปลกแบบไม่น่าให้อภัยด้วย อย่างพวกที่เอาคำปกติมาแล้วแปลให้ความหายมันเปลี่ยนไป เช่น บูด, ความโป๊ะเป็นศูนย์, เอาปากกามาวง, ตุย ไรพวกนี้
จริง ความหมายเฉพาะกลุ่ม
จริงครับ เดี๋ยวนี้เห็นคำอย่าง ตัวตึง เต็มคาราเบล
ผมไม่เข้าใจเลย
ใช้ "ปริศนา" นะครับ
ผมก็ อยากได้แนวคิดของคำว่า ปริษณา จังเลยครับ
The Last Wizard Of Century.
ไม่ใช่ภาษาไทย
อธิกมาสไงครับ คำมันมีอยู่แล้ว ใช้กันมาเป็นร้อยๆปี
ดังนั้นเมื่อ Leap month คืออธิกมาส
Leap second ก็คืออธิกวินาที
ตรงตัวนะครับ
นับตั้งแต่ศิลาจารึกหลักที่ 1 ที่พ่อขุนรามจารึกขึ้น ซึ่งแน่นอนชัดว่าคำว่า "อธิกมาส" ยังไม่มีเกิดขึ้นแน่ๆ เพราะ "ภาษาไทย" จริงๆ ถือว่าเริ่มปูรากฐานจาก 18 บรรทัดตอนนั้น (โดยที่สมัยนั้นยังไม่คิดว่าเป็นภาษาไทยกันด้วยซ้ำ)
นับอายุถึงวันที่ผมเม้นท์นี่แล้ว ยังแค่ 189 ปีเองนะครับ!! แล้วไอ้ "ร้อยๆ ปี" นี่ คุณเอามาจากไหนครับ?
อย่าเพ้อเจ้อบ้าตามไดโนเสาร์เลยครับ (ผมก็คนวัยไดโนเสาร์) ที่พยายามสร้างนิยายใส่สมองเด็กๆ ให้รู้สึกว่าทุกอย่างที่เป็นไทยแท้ๆ มันอยู่มาเป็นร้อยๆ ปีแล้วไปเสียหมด
พวกได้โนเสาร์รุ่นผมขึ้นไปนี่แหละครับ ที่ชอบปลูกฝัง "ค่านิยม" ของยุคตัวเองให้เด็กแบบนี้เพื่อยึดเหนี่ยวคุณค่าของตัวเองไว้ไม่ให้เสื่อมไปตามกาลเวลา หลอกเด็กให้บูชาต่อไปโดยไม่ค้นหาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์! (ไม่ใช่ทุกเรื่อง แต่ก็ส่วนใหญ่ครับ)
ทุกอย่างเป็น "เหรียญสองด้าน" เสมอครับ ไดโนเสาร์แบบผมก็มองเห็นว่า "วัฒนธรรม" ก็เป็นเครื่องเหนี่ยวรั้ง "วิวัฒนาการ" ในอีกด้านหนึ่งเช่นกัน
การที่เรายึดติดสิ่งใดไม่ให้เปลี่ยนแปลงไปตามการใช้งานจริงของมนุษย์ในแต่ละรุ่น นั่นคือการขัดขวางวิวัฒนการตามธรรมชาติของสิ่งนั้นเสมอครับ
ภาษาคือสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เพื่อสื่อสาร ภาษาที่มีพัฒนาการที่ดี ไดโนเสาร์พันธุ์ผมเห็นว่า ต้องเป็นภาษาที่ยิ่งวันยิ่งกระชับขึ้น สั้นขึ้น โดยสามารถคงความคุณภาพในการสื่อสารได้ดีไม่น้อยกว่าเดิม อ่านง่าย/เขียนง่ายมากขึ้นไปตามวิวัฒนการครับ
ภาษาไทยไม่มีทางครองโลกในแง่ความนิยมเช่นภาษาอังกฤษแน่นอน พวกเราส่วนใหญ่เหนี่ยวรั้ง ยึดไว้ให้มันยากๆ ให้มันดูเท่ห์ๆ ต่างกับภาษาอังกฤษ ที่ยิ่งวันยิ่งง่ายขึ้น สั้นขึ้น กระชับขึ้นครับ
โทรศัพท์ ดินสอ ปากกา คอมพิวเตอร์ เรายังยินดีที่มันพัฒนาและใช้มันเพื่อการสื่อสารที่ดีขึ้น แต่อักขระวิธีที่เราป้อนเป็น input ผ่านเครื่องมือเหล่านั้น เรากลับยึดเหนี่ยวไว้ไม่ให้มันพัฒนาตาม...
ถ้าคิดแบบนี้กับคอมพิวเตอร์บ้าง เราคงติดอยู่กับ Ascii แค่ 8 bit ครับ
คุณอาจจะเข้าใจผิดนะครับ ภาษาไทย =! อักษรไทย พ่อขุนรามคิดประดิษฐ์อักษรไทยครับ ส่วนภาษาไทยมีมานานกว่านั้นมากครับ ราว ๆ 700 ปี แต่เป็นภาษาพูดครับส่วนตัวเขียนใช้ตัวหนังสือภาษาอื่นมาเขียนแทนความหมายเอา (เหมือนตัวตัวคันจิในภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ตัวอักษรจีนมาเขียนแทนคำในภาษาญี่ปุ่น) แต่ผมไม่ได้บอกนะครับว่า "อธิกมาส" นี่มีมาตั้งแต่เมื่อไร
ส่วนคำว่า อธิกวินาที นี่ผมว่ามันก็เป็นความพยายามที่จะทำให้มันสั้น กระชับขึ้นนะครับ แล้วมันอ่านแล้วหาคำแปลครั้งเดียวก็จำได้เลยครับ มันก็คือศัพท์ใหม่ที่เราไม่เคยรู้มาก่อนเฉย ๆ
ไม่งั้นเราก็ต้องเรียกว่า "วินาทีชดเชยความคลาดเคลื่อนสากล" ยาวไปมั้ยอ่ะครับ เขียนทีลำบากนะครับ จะใช้ "วินาทีพิเศษ" ก็ไม่ได้ มันพิเศษยังไงแถมคำมันกว้างไปอีก "อธิกวินาที" เนี่ย ดีแล้วครับ สั้น กระชับ ความหมายไปหาจำเอา
โอเคครับ เอาตามคุณว่าก็ได้ครับ ภาษาไทยบิดาทุกสถาบัน!
อธิก = अधिक
มาส = मास
เอาครับ... บาลี สันสกฤต ลอกภาษาไทยกันไปทั้งนั้นสินะครับ! ฉีกประวัติศาสตร์ภาษากันไปเลย
เทพพิทักษ์ไปไหนครับ เรื่องนี้ต้องเป็นคุณแล้วล่ะ!
แบบนั้น ภาษาอังกฤษ ต้องห้ามเอา ภาษาลาติน มาใช้ด้วยไหมครับ
ประเด็นที่ผมโต้แย้งคือ "ร้อยๆ ปี" ครับ ช่วยขึ้นไปอ่านชัดๆ ด้วยครับ ว่าผมโต้แย้งเรื่องอะไร
ผมไม่ได้มีปัญหากับนิยามหรือความหมายใดๆ
กรุณาอย่าลากออกไปประเด็นอื่นที่ผมไม่ได้โต้แย้งครับ มันเละเทะ!
ถ้าอยู่ในประเด็นที่ผมแย้งไม่ได้ กรุณาไปถกเถียงกับคนอื่นที่เขาโฟกัสเรื่องนิยามและความหมายของศัพท์ครับ
ผมโฟกัสที่ความเชื่อของหลายคนที่คิดว่า "ภาษาไทย" กำเนิดมาเป็น "ร้อยๆ ปี" (พหูพจน์ของร้อย) และทำราวกับว่ามันเป็นบิดาของทุกภาษาที่เกี่ยวข้องกัน
187 ปี นี่นับจากไหนครับ
ถ้านับจาก จารึกวัดศรีชุม ก็ 675 ปีมาแล้ว
ไม่นับหลักที่ 1 ให้ เผื่อมีคนหาว่าปลอมเพิ่งสร้าง
ร้อย ๆ ปี นี่ 700 ปีนับเป็น ร้อย ๆ ปีไม่ได้เหรอครับ? คุณไปคิดเอาเองว่า ภาษาไทย มันเกิดขึ้นมา 187 ปี เพราะคุณไปนับว่าภาษาไทยเกิดตอนมีอักษรไทยเกิดขึ้น แต่ผมบอกว่า ภาษาไทยมันมีมาก่อนหน้านั้น แค่มันไม่มีตัวหนังสือเท่านั้นเอง แต่มันมีคนพูดภาษาไทยมาก่อนที่จะมีตัวหนังสือก็ราว ๆ 700 ปีแล้วน่ะครับ แล้วก่อนที่จะมีตัวหนังสือภาษาไทยเราใช้ตัวหนังสือภาษาคนอื่นเขียนเฉย ๆ ทีนี้พอภาษามันต่างกันมาก ๆ การไปยืมตัวอักษรอื่นมาใช้ในการเขียนภาษาไทยมันเลยไม่สะดวก พ่อขุนรามเค้าเลยคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นมาใช้เอง จะได้ไม่ต้องไปยืมตัวหนังสือภาษาอื่นมา ไม่ใช่เค้าอยู่ดี ๆ คิดคำศัพท์ใหม่แล้วบัญญัติให้ใช้นะครับ หลักศิลาจารึกเขียนขึ้นมาด้วยอักษรไทยเป็นครั้งแรกก็จริง แต่คำศัทท์ที่ใช้ในนั้นเป็นคำที่เค้าใช้กันโดยทั่วไปอยู่แล้ว
และผมก็คิดว่าภาษาไทยไม่ใช่พ่อทุกสถาบัน แต่มัน Fork มาจากภาษาอื่นนะครับ
ขอรวบตอบ 2 คนไว้ในความเห็นเดียวนะครับ
เลิกออกทะเลเถอะครับ เดี๋ยวจะลามไปกันใหญ่ ผมไม่ได้มีปัญหาเลยที่ใครจะตั้งคำใดๆ มาใช้ แต่ผมไม่ยอมรับการโต้แย้งกันด้วยการยก "อายุ" ของภาษามาเป็นเหตุผลครับ ความเก๋าของภาษามันไม่ได้เป็นเหตุผลที่เหมาะจะนำมาใช้ถกเถียงกันในกรณีนีัได้ มันเป็นเพียงความเชื่อและความงมงาย อีกทั้งยิ่งทำให้ภาษาไทยดูแย่ลงได้เพราะยิ่งคุณๆ บอกว่าภาษาไทยเก๋า เก่าแก่ มากแค่ไหนก็ตาม งั้นทำไมจนป่านนี้ยังต้องยืมคำจากบาลีบ้าง สันสกฤตบ้างมาใช้?
ผมเป็นคนพูดไว้เองว่าวิวัฒนาการเป็นเรื่องปกติที่ดีและควรจะเป็นอยู่แล้ว ไม่งั้นเราคงติดอยู่กับแค่ Ascii 8 bit
นั่นย่อมแสดงทัศนคติของผมชัดแล้วว่าผมไม่ได้มีปัญหากับคำว่า "อธิกวินาที" ครับ แต่ผมแย้งคุณ ilakya เรื่องที่เขานำคำว่า "ร้อยๆ ปี" มาเป็นเหตุผลโต้แย้งผู้อื่น ซึ่งผมว่ามันฟังไม่ขึ้น กำปั้นทุบดิน อีกทั้งแนวทางการใช้เหตุผลแบบนี้เด็กรุ่นใหม่เขาไม่ยอมรับกันครับ! ความศักดิ์สิทธิ/ความขลัง/ความเก๋ามันไม่ใช่สิ่งที่นำมาใช้จูงใจสอนเด็กรุ่นใหม่ได้
ผมเป็นคนยก अधिक และ मास ขึ้นมาเองเพื่อจะชี้ว่าภาษาไทยเอาคำของภาษาอื่นเขามาใช้เป็นปกติและภาษาไทยไม่ใช่บิดาของภาษาต้นทางเเหล่านั้นแน่ๆ (ไม่งั้นไม่ต้องยืมมา) ดังนั้นไม่ต้องพูดเรื่องอายุของภาษาเลย ในเมื่อไอ้การยืมคำในภาษาอื่นมาทับศัพท์ใช้น่ะ มันก็เป็นหลักฐานอยู่ในตัวภาษาแล้วว่าภาษาไทยเกิดหลังภาษาต้นทางอยู่แล้ว (เหตุผลเดียวกับที่ลูกไม่มีทางเกิดก่อนพ่อแม่โดยไม่ต้องการการพิสูจน์เลย)
เพราะที่นี่คือ blognone.com ดังนั้นถ้าให้ผมเปรียบเทียบก็เหมือนกับการที่โลกกำลังตกลงกันว่าจะสร้าง LeapSecond เพิ่มขึ้นมาใช้งานใน Library คนส่วนใหญ่ในโลกก็ถกเถียงกันว่าจะทำเป็น Procedure ด้วย Pascal ดีไหม บางคนก็ว่าสร้างเป็น Function ด้วย C ดีกว่าเพราะอะไร และยังมีคนอื่นส่ายหัวว่าไม่เอาทั้งสองอย่าง เขียนเป็น Object ไว้ใช้งานจะสะดวกกว่า แล้วก็ถกเถียงกันทางเทคนิคว่าควรเป็นแบบไหนดี ซึ่ง... มันจะเต็มไปด้วยวิชาการ น่าอ่าน และได้ความรู้ แต่อยู่ดีๆ ก็มีคุณ ilakya โพล่งขึ้นมาว่า ไม่เอาทั้งหมดนั่นแหละ เขียนเป็น BASIC batch ดีกว่าเพราะเหตุผลคือ มันเก๋า มันอยู่มาเป็นร้อยๆ เดือน มันศักดิ์สิทธิ มัน... ฯลฯ... (อะไรกันเนี่ย!!!) ที่สุดแล้วขุดคุ้ยกันไปถึงใครเป็นคนสร้างแต่ละภาษา สร้างเมื่อไหร่ วันใดกันแน่ ตลอดไปจนถึงขุดย้อนไปที่รากเหง้าต้นแบบของแต่ละภาษามาเกทับกันว่าใครเกิดก่อน ใครลอกโครงสร้างใครไป... เพื่ออะไรกันครับ?!? มันได้ประโยชน์อะไรกับที่โลกกำลังจะสร้าง LeapSecond Library ไว้ใช้งาน? มันส่งเสริมสติปัญญา ความรู้และวิชาการตรงไหน? เด็กที่มาข้างหลัง มาอ่านไปก็รู้สึกว่ามีแต่ drama ทะเลาะกันไร้สาระและส่งผลให้ blognone.com ถูกด้อยค่าเหมือนกระดานไว้ให้คนทะเลาะสาดอัตตาใส่กัน... อย่างนั้นหรือครับ?
ดังนั้นเลิกเถอะ ที่จะมาถกเถียงเรื่องวิวัฒนาการทางภาษาด้วย "อายุ" ของมัน ในสายตาผมคือ "ไร้สาระ"
เราควรถกเถียงกันด้วยคุณสมบัติของภาษาครับ
เหล่าคุณๆ หลายคนมักมีปัญหาหนึ่งเวลาถกเถียงกันแล้วทำให้เม้นท์มีแต่อารมณ์และความงมงายอยู่เหนือเหตุผลและความเป็นวิชาการ คือ ไม่จับประเด็นของคนอื่นว่าเขา focus ที่เรื่องอะไร แต่ยืนกระต่ายขาเดียวจะโต้แย้งแต่ในประเด็นที่ตัวเอง focus แล้วพยายามลากคนอื่นเข้าไปในเวทีของตนเพียงเท่านั้น ซึ่งผมไม่ได้มีปัญหากับประเด็นที่คุณๆ ส่วนใหญ่กำลังถกกันเลย ใครจะตั้งศัพท์ใหม่ยังไง มันก็ดีอยู่แล้วตามที่ผมอธิบายมุมมองของผมไปแล้วตั้งแต่เม้นท์แรกที่โต้แย้งคุณ ilakya
ใครลากผมออกไปประเด็นอื่น ผมขอตัวไม่ตามไปนะครับ
ผมอยู่ในประเด็นที่ว่า เราไม่ควรถกเถียงกันด้วยการเอาอายุของภาษามาใช้โต้แย้งกัน มันเลอะเทอะ เมื่อภาษาคือเครื่องมือที่ใช้เพื่อการสื่อสาร เราควรถกกันด้วยเหตุผลทางเทคนิคของภาษาครับ ไม่ใช่เรื่องใครอยู่มาเป็นร้อยๆ ปี ใครเกิดก่อนเกิดหลัง ภาษาไหนเป็นบิดาของภาษาใด หรือแม้แต่ใครยืมศัพท์ใครมาใช้ มันภายเรือในอ่างครับ ทั้งหมดที่ถกเถียงกันด้วยประเด็น "อายุ" มันจะกลายเป็นขยะ จารึกไว้ใน blognone.com ตลอดกาล เด็กที่ตามหลังมากี่รุ่นมาอ่านก็จะเห็นเป็นแค่ garbage
ถ้าจะเอาไทยแท้ๆ ต้อง ทดวินาที ครับ มันใช้เหมือน ทดเวลา
ใส่การเข้าไปเป็น การทดวินาที จะได้เป็นคำนาม
แต่ ทดวินาที มันดูไม่สวยเท่า อธิกวินาที
ผมรู้สึกว่าคนบัญญัติศัพท์ไทยนี้จะชอบความสวยงามของคำมากกว่าการใช้งานครับ
เอาใกล้ตัวเลย Thailand ออกเสียง tai-land ไม่ออกเสียง h ?! (จะออกเสียง h ต้องแลบลิ้น) แต่ Tai มันไม่สวยใช้ Thai เท่กว่า ผิดช่างมัน
และมีคำว่า land ต่อท้ายนี้หมายถึงเราเป็นเมืองขึ้นยุโรปมาก่อน ?!
ใช้ภาษาอังกฤษยังเพื้ยนเลยครับ
ตรงนี้แหละที่เป็นปัญหา เพราะกำหนดมาแต่ละคำต้องเป็นไทยผสมสันสกฤต แต่คนที่เรียนภาษาสันสกฤตมีน้อยมาก จนกลายเป็นว่าต้องแปล "ไทย" เป็นไทยอีกครับ
นึกถึงภาษาเยอรมัน เรียกเต่าว่าคางคกโล่
มันก็แค่คุณไม่รู้รึเปล่า ปกติเจอคำภาษาอังกฤษที่ไม่เคยเจอมาก่อนแล้วคุณจะเข้าใจได้ทุกคำเหรอ ผมไม่นะ
อย่างคำนี้ผมเข้าใจตั้งแต่ทีแรกเลยนะว่าคือ leap second เพราะผมรู้จักคำว่า อธิกสุรธิน มาก่อนไง
ทุกวันนี้ต่อให้ใช้คำง่าย ๆ บางคำผมก็ต้องหาที่มาอยู่ดีนะว่าจริง ๆ มันแปลว่าอะไร หลายคำก็เห็นเข้าใจไม่ตรงกันด้วย
ไม่ได้ต้องการจะ blame คุณนะ แต่ผมเห็นด้วยกับคนอื่นๆและจะบอกว่า คุณไม่เข้าใจในครั้งแรก แต่ก็มีครับคนที่เข้าใจได้เลย เช่นผม
ผมซึ่งรู้จักคำว่า "ปีอธิกสุรทิน" อยู่แล้ว เห็นคำว่า "อธิกวินาที" ปั๊บ ไม่ต้องแปลเลย รู้ทันทีเลยว่าหมายความว่าอย่างไร
ถึงจะไม่รู้ว่าคำนวณอย่างไร แต่ผมรู้เลยว่า มันจะต้องเป็นเศษวินาทีที่เกินมา และบวกเพิ่มเข้าไปในวันใดวันนึงหรือปีใดปีนึงแน่ๆ เหมือนกับ "ปีอธิกสุรทิน" ที่เดือนกุมภาพันธ์จะมีเพิ่มมา 1 วันและเกิดขึ้นทุกๆ 4 ปี
อ้อ อีกอย่างจากคำว่า "อธิกวินาที" ผมเห็นปั๊บ ผมรู้เลยด้วยซ้ำว่าภาษาอังกฤษเขียนอย่างไร ทั้งๆที่ไม่เคยเห็นเลย เพราะ "ปีอธิกสุรทิน" กับ "อธิกวินาที" แปลล้อกันมาเป๊ะๆ
"ปีอธิกสุรทิน" = Leap year
"อธิกวินาที" = Leap second
ว่าจะตอบตั้งแต่เมื่อวานละ แต่ไม่ตอบ
เห็นหลายๆคอมเมนต์แล้ว ตอบความคิดเห็นตัวเองไปด้วยดีกว่า 555
.
ผมเป็นเหมือนคุณนะ ผมไม่ชอบการแต่งศัพท์ประหลาดๆพวกนี้ ค่อนไปทางรังเกียจเลยด้วยซ้ำ โดยเฉพาะศัพท์วิชาการทางวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยี-การแพทย์ เพราะสมัยเรียนมหาลัยต้องมาเสียเวลารื้อของม.ปลายทิ้่งแล้วจำใหม่
บางทีคำแปลก็ไม่ได้ถูกอีกต่างหาก (เช่นตรรกยะ-อตรรกยะ ดาวเคราะห์น้อย-แคระ ฯลฯ)
.
ในเคสนี้ ผมเห็นแล้วผมรู้ทันทีว่ามันหมายความว่ายังไง เพราะผมรู้จักปีอธิกสุรทินอยู่แล้ว
แต่ผมก็ไม่เห็นด้วยที่จะใช้มันอยู่ดี
บอกได้เลยว่าสัดส่วนคนที่ไทยทั่วๆไปที่รู้จักคำว่า ปีปกติสรุทิน กับปีอธิกสุรทิน ว่าหมายถึงอะไร
เทียบกับคนตะวันตกทั่วๆไปที่รู้จักคำว่า common year และ leap year ว่าหมายถึงอะไรนั้น แตกต่างกันมากๆ
คนไทยทั่วๆไปก็เรียก ปีธรรมดา กับปีที่มี 29 กุมภา/ปีที่วันเกิน กันมากกว่า ซึ่งตรงตามภาษาอังกฤษมากกว่าคำแปรหรูๆที่คนไม่รู้ความหมายซะอีก
.
ศัพท์ไทยที่ผมโอเคด้วยคือศัพท์ที่เกิดจากองค์ความรู้ของคนไทยคิดเท่านั้น เช่นชื่อธาตุภาษาไทยที่คนไทยรู้จักมาตั้งแต่อดีต
พวกคำที่เรายืมมาใช้จากคนอื่น เราไม่ได้คิดเอง ผมยินดีและเต็มใจจะใช้ศัพท์ที่ไม่ต้องแปลมาอีกทีน่ะแหละ
จริง ๆ ผมแอบชอบนะ
เหมือนมันมีคำเท่ ๆ ที่สื่อความหมายได้เหมือนกัน
อารมณ์แบบญี่ปุ่น ชื่อตัวละครเท่ ๆ ก็มาจากคำแปลก ๆ
แต่ก็มีความหมายที่สื่อให้เข้าใจได้
ผมไม่เบื่อ ชอบมากด้วย
คนมีความคิดสร้างสรร สร้างคำใหม่จากคำฐานดั้งเดิม สมัยนี้หาได้ยากมาก ชื่นชมครับ
นึกถึงคำพวก โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ หรืออย่างโลกาภิวัตน์ คนคิดคำพวกนี้เก่งมากครับ
คำบางเป็น technical term เขียนทับไปตรงๆก็ได้ ไม่อยากให้แปลไทยไปซะหมดทุกอย่างไม่งั้นอ่านตำราไม่รู้เรื่อง สื่อสารกับฝรั่งก็ลำบาก อย่าง text mining = เหมืองแร่อักษร, digital landscape = ภูมิทัศน์เชิงเลข, metadata = ข้อมูลอภิภัณฑ์, degree of relative = องศาความสัมพันธ์, accretion disk = จานพอกพูนมวล
อ่านแล้วคือเกาหัวแล้วก็ยังต้องเกาอีกนะถ้าไม่เห็นศัพท์ต้นฉบับ
แต่ละตัวอย่าง เกาจนผมร่วง🤣
อ. ที่เขียนหนังสือก็บ่นเหมือนกัน ว่าส่งแล้วไม่ผ่านต้องกลับมาแก้
เออ มีอีก ตำราคอมพิวเตอร์เขียนคำว่า string = โซ่อักขระ อ่านครั้งแรกเกาหัวสุดๆ นี่ถ้าไม่มีพื้นฐานมาก่อนก็ไม่รู้เลยนะว่าแปลมาจากคำอะไร
ไม่มีใครเม้นเกี่ยวกับตัวข่าวจริงๆ เลย
นึกถึง "The Problem with Time & Timezones - Computerphile" ที่คุณ Tom Scott โวยวายไว้
https://youtu.be/-5wpm-gesOY
ยกเลิกไปก่อน แต่ยังไม่สรุปแนวทางแก้ปัญหาในอนาคตเนี่ยนะ - -"
อ่านหลายความเห็นแล้วนึกถึงดราม่าวงการแปล
ที่นักแปลใช้คำสละสลวย ศัพท์สูง ตามบริบทเรื่องเกิดในวัง
ปรากฎว่าโดนคนอ่านยำเละ บอกว่าใช้ศัพท์สูงทำไมอ่านไม่รู้เรื่อง!!
สงสัยคนจะลืม/ไม่รู้ว่า
การอ่าน มีจุดประสงค์นึงคือเพื่อให้ผู้อ่านได้พัฒนาทักษะด้านภาษาด้วยนะ
การ"อ่าน"เฉยๆ ไม่ได้พัฒนาทักษะด้านภาษาครับ เพราะถึงแม้จะใช้ศัพท์ระดับสูงโดยที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ แล้วก็กะให้ไปหาคำแปลอีกรอบไม่ใช่การเรียนรู้ที่ดีครับ หรือเป็นสื่อการสอนที่ไม่ดีครับ นี่ข่าวนะครับ ไม่ใช่หนังสือเรียน
ผมว่าปัญหามันอยู่ที่ภาษาไทยนี่ล่ะครับ ไม่ได้เกิดจากทั้งคนแปล หรือคนอ่าน
มันเป็นภาษาที่ออกแบบมาเพื่อแบ่งชนชั้นวรรณะให้ชัดเจน
ของต่างประเทศก็มีนะแต่น้อยกว่ามากๆ
เช่นคำว่า กิน ของต่างประเทศใช้คำเดียวกันหมดไม่ว่าวรรณะไหน
ของไทย กิน, รับประทาน, เสวย, ฉัน, ... แบบว่าเหนื่อย
และแก้โคตรยากที่สุด ถ้าจะยกเลิกคำเหล่านี้ อาจติดคุกถึง 15 ปี เพียงแค่พูดว่าควรยกเลิก
โอ ชัดเลย
ปกติครูภาษาสอนว่า
ถ้าอ่านคำไหนไม่ได้ ให้ศึกษา/จำ เพื่อเราจะได้มีคลังศัพท์ภาษาในหัวเราเพิ่มขึ้น = เราเก่งภาษามากขึ้น
แต่ดราม่ามันจะแนวๆ
ฉันต้องการอ่านนิยายเพื่อความบันเทิง ไม่ต้องการรู้ศัพท์ใหม่เพิ่มเติม
ฉันต้องการอ่านข่าวเพื่อข้อมูล ไม่ต้องการรู้ศัพท์ใหม่เพิ่มเติม
ฉันต้องการ.... ไม่ต้องการรู้ศัพท์ใหม่เพิ่มเติม
มันคือทัศนคติ ปฏิเสธการเรียนรู้
ก็เอาที่สบายใจเลย ในวันที่เราพูดถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต แต่กลับมีทัศนคติแบบนี้ 😑
เพิ่ม Leap Minute ทุก ๆ 50 หรือ 100 ปีน่าจะช้าไป
เทคโนโลยีวิศวกรรมอวกาศน่าจะคำนวนได้ว่าโลกจะโคจรเป็นอย่างไร แล้วเอาแผนโคจรนั้นมาทำตารางว่าจะเพิ่ม Leap Sec ปีไหน
ถ้าคำนวนพลาดแล้วเพิ่ม Leap Sec ไปแล้วปีหน้าที่จะต้องเพิ่มจริงก็ไม่ต้องเพิ่ม ถือว่าเพิ่มทดไว้แล้ว
มันเป็นเรื่องที่ต้องตกลงกันเองภายในโลกนะ
นี่ขนาดแค่ในโลกนะ
อนาคตในยุคอวกาศ ถ้าเราแบ่งไปอยู่อาศัยใน Colony หรือ ดาวดวงอื่นด้วย น่าจะซับซ้อนสับสนกันน่าดู คิดเผื่ออนาคตยุคหน้าไว้ตั้งแต่ตอนนี้เลยก็ดี