อดีตพนักงาน Tesla จำนวน 2 ราย ยื่นฟ้องบริษัทว่าถูกไล่ออกอย่างผิดกฎหมายแรงงานสหรัฐ หลังจากไปคัดค้านนโยบายของ Elon Musk ที่ให้พนักงานทุกคนกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ ซึ่งประกาศเมื่อเดือนมิถุนายน 2022
พนักงานรายแรกร่างจดหมายขอให้ Elon ทบทวนนโยบายนี้ ส่วนพนักงานรายที่สองบอกว่าข้อความทวีตของ Elon ในประเด็นนี้ ขัดแย้งกับนโยบายต่อต้านการกลั่นแกล้ง (anti-harrassment) ของบริษัทซะเอง พนักงานทั้งสองคนถูกไล่ออกในเดือนมิถุนายน
พนักงานทั้งสองคนได้ยื่นคำร้องเรียนผ่านคณะกรรมการแรงงาน (National Labor Relations Board หรือ NLRB) ของสหรัฐ ซึ่งจะเข้ากระบวนการสอบสวนต่อไป
อีกบริษัทที่ก่อตั้งโดย Elon Musk ก็มีเรื่องคล้ายๆ กันคือพนักงาน SpaceX จำนวน 8 คนถูกไล่ออก หลังเขียนจดหมายประท้วงพฤติกรรมของ Elon และยื่นคำร้องต่อ NLRB เช่นกัน
ที่มา - Bloomberg, TechCrunch
Comments
ระบบความคิดของอัจฉริยะไม่ได้เข้าใจได้ง่ายๆ
ไม่เข้าออฟฟิค > โดดงานด้วยเหตุไม่จำเป็น > ไล่ออก
เขายังไม่ได้โดดงานครับ แค่ร่างจดหมายขอให้ทบทวนนโยบาย
+1
งานก็ยังทำส่งนะ แค่ไม่ได้อยู่ออฟฟิส
งี้ไม่เข้าบริษัท (เจ้านายไม่อนุญาต) เพื่อไปเที่ยว แต่ก็ส่งงานตามกำหนดด้วยก็ไม่น่าได้นะครับ
ถูกครับ แต่กรณีนี้ถูกไล่ออกเพราะแสดงความไม่เห็นด้วยครับ
อันนี้น่าจะเป็นข่าวเพราะแค่มีชื่อ Elon Musk
เพราะบริษัทปกติถ้าบอกให้เข้าออฟฟิศแล้วเห็นไม่ตรงกันก็เชิญออกไม่เป็นข่าว และไม่โดนฟ้องเพราะฟ้องไปก็ไม่ชนะ
แต่ในกรณีนี้เจ้าของบริษัทมีเรื่องฉาวโฉ่เยอะคงคิดว่าฟ้องๆไปอาจฟลุค
+1
โดนไล่ออกเพราะแสดงความไม่เห็นด้วยกับการเข้าออฟฟิสครับ แต่ตัวยังเข้าออฟฟิสอยู่
จริง เป็นข่าวเพราะมีชื่ออีลอน
ถ้าสัญญาจ้างเขียนสภาพการทำงาน ให้มาทำงานoffice ช่วงเวลาที่กำหนด แล้วไม่ยอมทำตาม ก็ถือว่าทำผิดสัญญาจ้างเอง
ช่วงโควิทเป็นช่วงฉุกเฉิน มีมาตรการเพื่อความปลอดภัยเว้นระยะห่างเลยให้ WFH แต่ตอนนี้กฎหมายหรือคำสั่งประกาศอะไรยกเว้นหมดแล้ว อ้างแบบเดิมไม่ได้
แต่ก็เข้าใจเสพติดความสบายของWFH ไปแล้ว(ผมก็ติดใจ) แต่ถ้านายจ้างไม่เอาด้วยก็คงต้องแยกย้ายกัน แต่จะไปฟ้องให้นายจ้างยอมรับไม่น่าจะชนะ
ไม่รู้กฎหมายแรงงานเมกา แต่ถ้าเทียบกฎหมายแรงงานไทย ไม่น่าจะฟ้องชนะ เพราะลูกจ้างผิดสัญญาจ้างเอง
ป.ล.เห็นอ้างว่ายังไปทำงานแต่แค่เขียนจดหมาย คือมันมีกฎระเบียบพื้นฐานอยู่เรื่องห้ามปลุกระดม ยกเว้นจะเป็นการกระทำผ่านสหภาพ(ซึ่งหลายบ.ก็ไม่มีและเขียนในสัญญาจ้างแต่แรกว่าห้ามตั้ง) ข้อนี้หลายคนพลาดโดนไล่ออกโดยไม่ได้รับเงินชดเชยกันเยอะ คุณเสนอความคิดเห็นไปฝ่ายบริหารได้ แต่ห้ามปลุกระดม พวกจดหมายเปิดผนึก หรือแจกใบปลิว ถือเป็นการปลุกระดมเช่นกัน และหลายบริษัทก็เลี่ยงการฟ้องร้องด้วยการชดเชยตามกฎหมายแต่แรก ทำให้ยากจะฟ้องเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้ เพราะชดเชยครบตามกฎหมายแล้ว
ป.ล.2 อธิบายเพิ่ม แม้จะห้ามตั้งสหภาพแรงงาน แต่ปกติเขาก็มีส่วนกรรมการผลประโยชน์ลูกจ้าง โดยให้ลูกจ้างเลือกตัวแทนมาได้ แต่อำนาจทางกฎหมายจะไม่เท่าสหภาพ เช่นประกาศหยุดงาน(strike)ไม่ได้ กฎหมายไม่คุ้มครอง แต่มีสิทธิ์ต่อรองเจรจากับฝ่ายบริหารโดยตรง
+1
เนื่องจากผมอ่านไม่เจอ เลยไม่แน่ใว่าเคสนี้เป็นจดหมายเปิดผนึกรึเปล่า แต่สมมติว่าเป็นจดหมายส่งตรงถึงอีลอน เคสนี้จะเป็นในรูปแบบไหนเหรอครับ
อาจจะถูกเชิญออก แต่ยังมีโอกาสได้รับชดเชย
ข่าวลงไม่ละเอียด ก็ได้แต่คาดเดาครับ ถ้าส่งตรง แล้วโดนไล่ออกเพราะมองว่ากระด้างกระเดื่องต่อการบังคับบัญชา ก็น่าจะได้รับชดเชย เหมือนโดนปลดทั่วๆไป
แต่ถ้าเนื้อหาemail มีเรื่องว่าคุยกันมาหลายคนเสมือนเป็นเปิดผนึก มันก็อาจจะเข้าข่ายปลุกระดม แต่ผมก็ไม่แน่ใจกฎหมายเมกัน อาจจะเปิดกว้างเรื่องนี้มากกว่าก็ได้
บ. ไทยซัมเพื่อน ยินดีต้อนรับ