Virgin Orbit บริษัทยิงดาวเทียมของเครือ Virgin (แยกตัวออกมาจาก Virgin Galactic เพื่อมาทำเรื่องดาวเทียมอย่างเดียว) กำลังจะสร้างประวัติศาสตร์การยิงดาวเทียมครั้งแรกจากแผ่นดินอังกฤษ คืนนี้ตามเวลาประเทศไทย
การยิงดาวเทียมของ Virgin Orbit จะต่างจากการยิงจรวดที่เราคุ้นเคยกัน เพราะเป็นการนำเครื่องบิน Boeing 747 มาดัดแปลงให้ติดจรวด LauncherOne ที่ปีกเครื่องบินเพื่อส่งดาวเทียมอีกที กระบวนการคือนำเครื่องบิน (ชื่อเล่นว่า Cosmic Girl) บินขึ้นจากสนามบินตามปกติ เมื่อบินถึงความสูงประมาณ 10,000 เมตรจะปล่อยจรวด LauncherOne นำดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร
แนวทางของ Virgin Orbit มีจุดเด่นเรื่องต้นทุนที่ถูกกว่า และความยืดหยุ่นของการยิงดาวเทียม เพราะยิงเมื่อไรก็ได้ ไม่ต้องรอคิวการยิงจรวดจากฐานยิงแบบดั้งเดิม เป้าหมายของ Virgin Orbit คือดาวเทียมขนาดเล็ก (300-500 กิโลกรัม) ที่มีจำนวนมาก แต่ก่อนหน้านี้ต้องรอรวมจำนวนกันมากๆ เพื่อยิงขึ้นจากจรวดในรอบเดียวกัน
ก่อนหน้านี้ในช่วงปี 2021-2022 Virgin Orbit เริ่มให้บริการยิงดาวเทียมจากฐานบินในสหรัฐ (Mojave Air and Space Port ในแคลิฟอร์เนีย) มาบ้างแล้ว คราวนี้คือครั้งแรกที่จะบินจากอังกฤษ เป็นสนามบิน Cornwall Airport Newquay หรือที่เรียกว่า Spaceport Cornwall ช่วงเวลาที่บินคาดว่าจะอยู่ราว 21.40 น. ของอังกฤษ หรือ 04.40 น. ตามเวลาบ้านเราเป็นต้นไป รายละเอียดภารกิจ
ที่มา - Virgin Orbit, BBC, Bloomberg
T minus 1 day until the start of the UK’s first orbital launch window! 🚀Our vehicles are looking good & our team is ready to rock(et) & roll! We're continuing to watch weather & system health. Tune into our livestream tomorrow at 1:15pm PT/9:15pm GMT: https://t.co/t2DlzQaiyo pic.twitter.com/2jiiZhxrHF
— Virgin Orbit (@VirginOrbit) January 9, 2023
คลิปอธิบายการยิงจรวดของ Virgin Orbit
หน้าตาจรวด LauncherOne
Comments
ถ้าพัฒนาต่อจากจรวด เป็น ยานแบบโคลัมเบีย ที่บินกลับโลกได้ด้วย จะ perfect มาก 👍
อันนี้ความตั้งใจเค้าคือปล่อยที่สูงๆที่บรรยากาศเบาบางไปเลยครับ ทำให้จรวดเจอ max q น้อยกว่าบนพื้น แถมเครื่องบินก็เอากลับลงมาปล่อยจรวรลำใหม่ได้เรื่อยๆ
คือ จะให้นำจรวดกลับมาใช้ใหม่ได้ เพราะตอนนี้จรวดมันน่าจะใช้ได้ครั้งเดียว
จะแก้ให้มันกลับมาลงจอดแบบ SpaceX ก็น่าจะยุ่งยากมาก
ถ้าเป็นยานแบบโคลัมเบียอาจจะง่ายกว่า?
อะไรทำนองนี้ครับ
แบบนี้ ค่าใช้จ่ายถูกสุดแล้วครับ
การทำส่วนโดยสารและ cargo แบบโคลัมเบีย แม้จะนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่เสียค่าบำรุงรักษาและค่าเชื้อเพลิงในการขนส่งสูงมากๆครับ
ใช่ครับ ช่วงใกล้พื้นโลก ใช้ 747 แบกยานขึ้นไป น่าจะถูกสุดและมาถูกทางแล้ว
ยานก็เป็นโดรนไม่ต้องมีส่วนโดยสาร
ยานโคลัมเบียใหญ่เพราะ cargo ใหญ่
ถ้าลดขนาด cargo เท่า orbit มันก็เท่าจรวดเดิมนี่แหละ
ประมาณแปลงจรวดรุ่นปัจจุบันให้มีปีกเป็นโดรนบินกลับโลกได้
อะไรทำนองนี้
เอาจริงๆ ถ้าเป็นยานอวกาศแบบมีคนโดยสารไปด้วยตอนนี้ทั่วโลกเห็นตรงกันหมดแล้วว่าแบบ capsule ทรงหยดน้ำแบบปัจจุบันนี่ดีสุดแล้วครับ ทุกค่ายหันมาใช้การออกแบบแบบนี้หมดแล้ว สมัย space shuttle นั่นจบไปแล้วครับเพราะพิสูจน์มาแล้วว่าการเอา shuttle กลับมาใช้ใหม่แทบจะไม่ต่างจากการสร้างใหม่ทั้งลำ แถมพวก heat shield ก็ไม่เป็นทรงสมมาตรแบบ capsule อีก ดูแลยากไปอีก 55555 แถมกลับโลกแบบลงน้ำมีร่มมันง่ายกว่าให้บินกลับเองเยอะเลยครับ ชิ้นส่วนน้อยกว่ามากๆ
ของ SpaceX นี่ละครับ ที่จะกลับมาใช้แบบดั้งเดิม Heat Shield นี่เป็นแผ่นๆ แปะติด ไม่รู้จะทนกว่าสมัยก่อนเปล่า เห็นเคยดูเจอบอกกันว่าใช้ระบบหล่อเย็นจะซับซ้อนเกินใช้ Heat Shield บ้านๆ ง่ายสุด แต่ข้อดีของ spacex ก็ตรงที่ยานหลังอยู่บนสุดคงไม่มีอะไรมาชน
ผมอิงโคลัมเบียเรื่องเป็นยานครับ
แต่แนวคิดหลักๆคือ เปลี่ยนจรวดขนส่ง เป็น โดรนยานบินกลับโลกได้ น่าจะประหยัดต้นทุนได้อีก
เท่านี้เอง
น่าจะต้องโครงการนี้ครับ ดับไปยังไม่รู้
https://en.wikipedia.org/wiki/Skylon_(spacecraft)
https://www.aerospace-technology.com/projects/skylon-vehicle/
โคลัมเบียที่กล่าวถึงนั้นของ NASA เปล่าครับ ยิงแบบนั้นก็เปลืองอยู่นะครับ ต้องใช้เครื่องยนต์แบบ Hybrid แบบนี้จะประหยัดขึ้น แต่แบบของ Virgin Orbit นี่ก็ดีนะครับ ค่า ma เครื่องบินคงถูกกว่าแน่ๆ
เครื่องยนต์เปลี่ยนโหมดได้ ดูเจ๋งดี
แต่ถ้าขัดข้องคือจบเลย แถมน่าจะแบกเชื้อเพลิงเยอะ
ช่วงใกล้พื้นโลกใช้ 747 แบบ orbit น่าจะมาถูกทางแล้ว
เผื่อยังไม่ทราบ จริงมีคนทำประมาณนี้ ใหญ่กว่ามากนะครับ เหมือน payload ที่ไม่รวมตัวจรวจขับดันรับได้เป็นตัน
ใช่ๆ ประมาณยานลูกนี่แหละ 👍
แต่ยานแม่ใหญ่เวอร์ 😅
เหมือนจะต่อยอดจากระบบติดตั้งจรวดหัวรบบนเครื่องบินขับไล่ แต่ใช้ปล่อยจรวดส่งดาวเทียมขึ้นชั้นบรรยากาศแทน
ก็น่าจะลดค่าใช้จ่ายได้พอสมควรเมื่อเทียบกับยิงจรวดจากฐานปล่อยตามปกติ แถมไม่ต้องห่วงเรื่องสภาพอากาศตอนปล่อยยานด้วย ธุรกิจนี้น่าจะรุ่งสำหรับปล่อยดาวเทียมหรือวัตถุขนาดเล็กขึ้นสู่อวกาศ ลูกค้ารายย่อยและสถาบันการศึกษาน่าจะเข้าถึงได้
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
คิดถึงช่วงที่ใช้ Boeing 747 มาทำเป็น Shuttle Carrier Aircraft เลย
Fail เรียบร้อย T_T
เสียดายเหมือนกัน เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา และต้องเสียเวลามาผลิตดาวเทียมใหม่ก่อนปล่อยตัวอีกครั้ง
ส่วนสาเหตุก็รออย่างเดียวว่าเกิดจากอะไรแค่นั้น ทำอะไรต่อไม่ได้ ปล่อยคราวนี้สูญเงินและสูญเปล่า แต่อย่างน้อยก็ถูกกว่าการปล่อยยานจากฐานแน่ๆ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว