RIAA หรือสมาคมอุตสาหกรรมเพลงของสหรัฐอเมริกา รายงานภาพรวมรายได้ของอุตสาหกรรมเพลงในอเมริกาของปี 2022 รายได้รวมเติบโตติดต่อกันเป็นปีที่ 7 โดยเพิ่มขึ้น 6% จากปี 2021 ที่มูลค่า 15,873.9 ล้านดอลลาร์
สตรีมมิ่งเป็นช่องทางหลักของรายได้ที่ 13,265.7 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 7% และคิดเป็น 84% ของรายได้รวมทั้งหมด ซึ่งเพิ่มจากปีก่อนที่อยู่ที่ 83% โดยเมื่อแยกรายละเอียดของรายได้สตรีมมิ่ง ส่วนใหญ่ 77% มาจากการจ่ายเงินค่าสมาชิก (Subscription) ที่เหลือมาจากโฆษณาและวิทยุดิจิทัล
รายได้ส่วนดิจิทัลดาวน์โหลดยังคงมีแนวโน้มลดลงอยู่ที่ 494.7 ล้านดอลลาร์ ลดลง 20% จากปีก่อน โดยลดลงทั้งการดาวน์โหลดแบบแยกเพลงและทั้งอัลบั้ม
ส่วนรายได้จากการขายเพลงแบบ Physical ยังคงเติบโตอีกปี เพิ่มขึ้น 4% ที่ 1,731.0 ล้านดอลลาร์ เมื่อลงรายละเอียดพบว่าซีดีมียอดขายลดลง 18% เป็น 482.6 ล้านดอลลาร์ ส่วนไวนิลมีรายได้ 1,224.4 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 17%
RIAA ยังให้ข้อมูลน่าสนใจว่าถ้านับจำนวนแผ่นที่ขายได้ แผ่นไวนิลมีจำนวนขายแซงซีดีเป็นครั้งแรก (41 ล้านแผ่น และ 33 ล้านแผ่น ตามลำดับ) ทำให้จำนวนยอดขายไวนิลในปี 2022 แซงซีดีเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ปี 1987
ที่มา: RIAA (pdf) ผ่าน Ars Technica ภาพ Pixabay
Comments
ไวนิล ต้องซื้อทีละ 2 แผ่น ไวัฟัง 1 ไว้เก็บ 1 ยอดเลยดี
แผ่นไวนิล นี่มันกลายเป็นของสะสมสินะ
แต่ก็ไม่เข้าใจว่าการฟังเพลงสมัยใหม่ที่ห้องอัดเป็นระบบdigital hi-res 100% แล้วแปลงไปลงไวนิลมันดียังไงในแง่ของการฟังเพลง(ไม่นับแง่การสะสม) จากเพลงฟังชัดเป๊ะได้ยินแทบครบทุกโน๊ต ไม่โดนเสียงบางย่านกลบ ไปฟังเพลงที่distortion เยอะๆแทน บางเพลงฟังแล้วแยกเสียงเครื่องดนตรีไม่ออก มันสุนทรีย์?
ถ้าเป็นเพลงเก่าที่masterบันทึกมายุคนั้นก็พอเข้าใจ ว่าเกิดnostalgia ฟังเสียงบวมๆทู่ๆมันก็คิดถึงบรรยากาศเก่าๆและมันใกล้เคียงต้นฉบับที่เคยฟังกันสมัยนั้น แต่เพลงสมัยใหม่นี่ฟังกันได้จริงๆน่ะหรือ?
อย่าบอกว่าเสียงanalog อะไรเลย ในเมื่อระบบการบันทึกห้องอัด mixing เป็นdigital 100% แล้วต้องบอกว่าฟังเสียงเพี้ยนๆจากต้นฉบับตะหาก
ก็พอเข้าใจว่ามันขึ้นกับความชอบ แต่ถ้าได้เคยฟัง"ต้นฉบับ"ชัดๆแล้วทำไมต้องอยากฟัง version ไม่ชัด?
ป.ล. ไวนิล SNR 60-70dB,tape cassette เกรดดีๆที่ไว้ทำdemoเทป 80dB,CD 96 dB,ส่วนไฟล์ hires digital นี่ 120 dBกันเข้าไปแล้ว (ปัจจุบันเชื่อกันว่าถ้าเกิน 110dB จะแยกไม่ออก ถ้าหูไม่พิเศษจริงๆ)
จากคนที่ฟัง เขาว่ามันมีสเน่ห์ในแบบของมัน
มันเป็นสเน่ห์ของความไม่สมบูรณ์
( ใครจะเก็ตหรือเปล่าไม่รู้ ... แต่ผมไม่ )
แบบเดียวกับที่คนชอบฟัง lo-fi แหล่ะครับ
noiseก็ไม่ใช้จะเป็นสิ่งไม่ดีเสมอไป
ตอบรวมๆทั้งสองท่านนะครับ
ถ้าชอบแนวเสียงแบบนั้นก็เปิด eq ก็ได้มั๊งครับ(เห็นมีdacบางตัวมีpreset vinyl ให้เลย)
เพราะยังไงต้นฉบับมันบันทึกมาระบบdigitalอยู่แล้วจะปรับยังไงก็เพี้ยนน้อยกว่าการลงไปบันทึกด้วยสื่อที่noise แย่กว่า ยังไม่นับว่า noise ที่เจออาจrandomได้จากคุณภาพของสื่อที่บันทึก คนซื้อแผ่นคนละlot อาจได้ยินเสียงต่างกัน(แบบสมัยก่อนที่แย่งกันสะสมเทปlotแรกว่าเทพสุด เพราะmasterแย่ลงจากการเสื่อมสภาพในการอัดlotหลังๆ?)หรือแม้แต่เก็บไว้ต่างกันเสียงก็ต่างกันละ(ผมเชื่อว่าคงมีคนเคยเอาเทปไปใส่ตู้เย็นตอนเสียงมันยืดๆ)
ยังไม่เห็นค่ายเพลงใหญ่เจ้าไหนโฆษณาว่าบันทึกด้วยระบบanalogแบบโบราณมาลงvinylนะ(เคยเห็นค่ายอินดี้โฆษณาว่าทำก็ไม่รู้ว่ามีเยอะแค่ไหน)ยังแทบไม่มีการmixใหม่ด้วย เหมือนเปิด CD/ไฟล์เพลงแล้วอัดลงเทป/vinylด้วยซ้ำ
แต่ก็นั่นแหละคงเป็นความชอบ และเรื่องของสะสมก็อาจจะมีส่วนเยอะกว่าโดยเฉพาะเก็บแผ่นvinylไว้มีราคาขายต่อค่อนข้างดี ทำboxset แบบlimited editionขายแพงๆกว่าแผ่นcd เปล่าๆ
ผมเองก็สะสมแผ่น CD แล้วซื้อเพลงจากplatformฟัง(โดยเฉพาะhires) หรือถ้าไม่มีขายหรือซื้อยากก็ripเองเป็นflacฟังผ่านคอมเอากลัวแผ่นเป็นรอย แต่ก็อยากสะสมสิ่งที่เป็นต้นฉบับที่คุณภาพดีที่สุดมากกว่า เหมือนถ้าแผ่นconcert มีขายแบบ blu-ray กับ DVD ผมก็คงเก็บแบบ blu-ray เพราะคุณภาพมันมากกว่า เรื่องราคาถ้าเป็นแผ่นที่ญี่ปุ่นก็ต่างกันน้อยมากต่างกันไม่กี่ร้อยบาทไทยจากboxsetละเกือบหมื่น แต่ถ้าแฟนพันธุ์แท้อาจจะตามเก็บครบทุกสื่อเพราะboxsetมันต่างกัน(ส่วนผมงบไม่ไหวขนาดนั้น)
เขาฟังไวนิลเพราะความ Full Analog + เอาสุนทรีย์ครับ เสียงหัวเข็มขูดแผ่นมันมีสเน่ห์ของมันที่เป็นเอกลักษณ์ เหมือนหนังที่ยังถ่ายกับฟิล์มนั่นแหละถึงโปรเซสหลังจากนั้นมันจะเป็นดิจิตอลเต็มรูปแบบไปแล้วแต่มันยังคงเอกลักษณ์ของมันอยู่กลุ่มอาจจะหดลงแต่เหนียวแน่นขึ้น
ต้องบอกว่าเป็น process ก่อนหน้านั้นเป็นdigital 100%ครับ ห้องอัดยุคนี้ไม่มีลงเทปanalogแล้ว
ถ้าให้เทียบสมัยก่อน คือเปิดแผ่น CD แล้วอัดลงเทปหรือฟังผ่านวิทยุเสียงอู้อี้ๆนั่นแหละ(วิทยุFMนี่ SNRแถวๆ40-50 เสียงเครื่องดนตรีตีกันหมด เบสบวมกลบเสียงร้องอีกตะหาก)
หนังฟิล์มยุคนี้บางเรื่องถ่ายด้วยdigital แล้วเกรดสีให้ได้เกรนฟิล์มกันนะครับ(ไม่ใช่ทุกเรื่องแต่หลายเรื่องทำแบบนี้ ถ้าไม่ดูเบื้องหลัง หรือโฆษณาแต่แรกว่าถ่ายด้วยฟิล์ม)
ยังไม่อยากนับว่าบางอย่างเป็นเรื่องของ"ความเชื่อ"เหมือนพวกรีวิวเครื่องเสียงโดยไม่มีการใช้เครื่องมือวัดdistortion นั่นแหละครับ แต่ก็จะนอกประเด็นไปไกล
ผมหมายถึงการ Playback ครับ แต่ถ้าโปรเซสหนังมันจะย้อนทางกัน คือต่อให้ถ่ายฟิล์ม(อยู่ที่ผู้กำกับเลยว่ายังเป็นชาวแก๊งฟิล์มไหม)มันก็จบที่ปลายทางดิจิตอล ฉายฟิล์มเหลือแค่ไม่กี่ที่ กลับกันที่เพลงในสถานะที่มันเป็นของที่ซื้อมาฟังเองได้เลยยังเลือกฟอร์แมตต์อนาล็อคได้ เรื่องโปรเซสหนังน่ะทราบครับเพราะทำงานสายนี้โดยตรง Filmlook เป็นอะไรที่อมตะของมันอยู่แล้ว (Dune ถ่ายดิจิตอลแต่ไปสแกนลงฟิล์มอีกรอบเพราะอยากได้ Filmlook แท้ๆแต่จะถ่ายฟิล์มเลยผกก.ภาพบอกไม่ไหว) แต่สายถ่ายฟิล์มแท้ๆรายใหญ่ๆก็ยังมีอยู่เช่นกัน แต่บางเรื่องก็ Digital Look จนไม่สวย
ถ้าเป็นหนังพอเข้าใจครับ มันเป็นเทคนิคหรือสไตล์ภาพของผกก.มันคือความ"ตั้งใจ"ของผู้กำกับที่จะให้ภาพออกมาแบบนั้น ไม่ว่าต้นทางจะทำด้วยอะไร แต่ผลสุดท้ายคือผู้กำกับเป็นคนตัดสินใจภาพสุดท้ายหลังกระบวนการทั้งหมด คนดูจะชอบหรือไม่ก็ขึ้นกับรสนิยม
แต่เพลงนี่ต้นฉบับอัดdigital และ mixing,mastering แบบdigital,producer ก็ฟังresultสุดท้ายหลังmasteringแบบdigital ตอนส่งไปออกรายการ หรือขายในแอพ เป็นdigitalหมด แต่มาอัดขายลงแผ่นanalogเพิ่ม(ยกเว้นกรณีfull analog processing ซึ่งน่าจะมีแค่ค่ายอินดี้ที่แอบอ่านเจอว่าบางทีก็โม้) ซึ่งสิ่งที่คนซื้อไปฟังนั้นอาจไม่ใช่สิ่งที่ producer คนทำเพลงตั้งใจทำให้ผลออกมาแบบนั้นด้วยซ้ำ
เพลงอาจจะพอบอกว่าความชื่นชอบ aging(มีผลต่อหูมาก) ยังยอมรับการปรับ eq ตามรสนิยมคนฟังมากกว่าสิ่งที่producerตั้งใจกันเยอะ ก็คนมันชอบ จบ
ส่วนหนังผมเชื่อว่าไม่มีใครไปนั่งปรับภาพให้มันเพี้ยนจากต้นฉบับเองมากๆกันสักเท่าไร เช่นหนังใหม่เอี่ยมคมกริบแบบdigitalมา แล้วคนดูมานั่้งใส่filter fimm grainเองเพราะชอบstyleหนังเก่า? ผมไม่คิดว่ามีที่ไหนทำกันจริงจัง แต่แบบตรงข้ามอาจจะมี ดูหนังเก่าแล้วใส่sharpenปรับภาพเอง หรือใช้post processingในapp ดูหนังช่วยเช่นพวก shader โดยเฉพาะการupscaleภาพ
สุดท้ายแล้วผมว่าการขายแผ่นไวนิลก็ทำให้วงการเพลงมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งก็น่ายินดีครับ
ผมก็อยากรู้ประเด็นนี้เหมือนกัน เลยไปหาอ่าน ๆ มา ถ้านับแค่เรื่อง "คุณภาพเสียงที่เทียบเท่าต้นฉบับ" ก็อาจจะสู้ไฟล์เสียบ Lossless แบบ Hiress ไม่ได้จริง ๆ ครับ ถ้าจะเอาทุกกรุ๊งกริ๊งอะไรแบบนั้น แต่สำหรับคนที่ซื้อแผ่นไวนิล เค้าไม่ได้มองแค่นั้นครับ การฟังเพลงมันขึ้นอยู่กับคนฟังครับ มันมีอยู่หลายข้อที่อาจจะเป็นเหตุผลที่คนตัดสินใจซื้อไวนิล ครับ
1 โทนเสียง โทนเสียงไวนิลมันจะมีความ "อบอุ่น" ที่เป็นเอกลักษ์ของเค้าครับ และอย่างน้อย ไวนัลมันก็ยังเป็น Lossless อยู่ในระดับนึง คือมัน loss แหละจากความ imperfection ของการเล่นแต่จากต้นทางแล้วมันก็ถือว่า Lossless นะครับ และนี่เป็นข้อเดียวครับที่เกี่ยวกับเสียงที่ทำให้คนซื้อไวนิลครับ 555
2 ปกสวย ไวนิลมันแผ่นใหญ่อ่ะ หน้าปกเลยใหญ่ตาม แล้วก็ใส่ลูกเล่นลงไปเยอะแยะดี สวย ๆ ถือว่าของสะสมแหละครับ
3 ลายไวนิล เมื่อก่อนไวนิลมันมีแต่สีดำใช่มั้ยครับ แต่ตอนนี้คือแผ่นมันมีการทำลายแบบสวย ๆ เยอะเลยครับ แบบเรืองแสงในที่มืด หรือบางทีทำเป็นแบบอื่นที่ไม่กลมยังมีเลย 555 ใส่รูป หรือทำตรงกลางกลวง ๆ แล้วใส่ของเหลวลงไปก็ได้ คือมันเพิ่มกิมมิคลงไป บอกเลยว่า ถ้าเป็นแผ่นของศิลปินที่ชื่นชอบ เจออย่างนี้เข้าไป โดนตกแน่นอนครับ 555
4 เป็นของสะสม อันนี้มันก็แน่นอนอยู่แล้ว แต่นอกเหนือจากนั้นคือ บางอันเป็นของสะสมที่มีราคาครับ อันนี้ส่วนตัวเลยคือผมชอบศิลปิน IU เค้าเคยออกไวนิลมาชุดนึง และเป็นแค่ชุดเดียวที่มีไวนิล ราคาขายตอนนั้นมาไทยก็ราว ๆ 1500 สองสามปีที่แล้วเห็นขายกันราว ๆ 4หมื่น ตอนนี้เห็นตั้งขายกับ 7หมื่น - แสนนึง อะไรแบบนี้ครับ ไม่สู้ราคาจริง ๆ - -*
5 มันจับต้องได้อ่ะครับ แผ่นใหญ่ด้วย เวลาเปิดฟัง แล้วเอา Album art มานั่งชื่นชมไปด้วย มันมีความสุข 555
6 มันมีความเป็นเจ้าของครับ ไม่เหมือนเพลง Digital อันนี้ก็คล้ายกับแผ่น CD แต่เป็นขั้นกว่า (เพราะมันใหญ่กว่า) ส่งต่อให้ลูกหลานได้ เพราะมันทนกว่า CD ถ้าเก็บดี ๆ
7 ประสบการณ์ครับ แบบ ฟีลมันดีอ่ะเนอะ 555 ค่อย ๆ เอาแผ่นวาง เอาหัวอ่านวาง ว่าง ๆ ก็เอาแผ่นแต่ละแผ่นมานั่งเช็ดๆ ถู ๆ มันมีความสุนทรีย์ครับ 55
ไม่ใช่คำว่า Lossless มีคือการบีบอัดแบบไม่เสียคุณภาพหรือครับ การบีบอัดมันเป็นเทคนิคในการเขียนโปรแกรม มีแค่ในสื่อดิจิตอล แผ่นเสียงมันเป็นมิเดียแบบอะนาล็อก ซึ่งไม่มีการบีบอัดอยู่แล้ว
Lossless ที่ผมยกตัวอย่าง มันคือความหมายตรงตัวครับเป็น adjective แปลว่า "ไม่สูญเสีย" ไม่ใช่ความหมายแบบ Computer ที่แปลว่าการบีบอัดที่ไม่สูญเสียคุณภาพครับครับ เข้าใจครับว่าอนาลอกคือไม่ได้บีบอัดครับ แต่ผมคิดว่าการใช้คำว่า lossless คนส่วนใหญ่ก็น่าจะเข้าใจน่ะครับเลยใช้คำนี้ เพราะมันเป็นคำที่เราได้เจอกันบ่อย ๆ เลยไม่ทราบว่ามันทำให้คนเข้าใจผิดครับว่า lossless คือการบีบอัดไฟล์แบบ digital แบบไม่เสีบคุณภาพบนไวนิล @_@ ถ้าผมใช้คำผิดต้องขอโทษด้วยครับ
แต่เสียงที่เอามาอัดลงไวนิลมันเป็น digital ไม่ใช่เหรอครับ? ยังไงต้นฉบับมันก็น่าจะ loss ไปมากกว่า digital อีกที?
กับส่วนมากเค้าฟังกับเครื่องเล่นไวนิลที่เป็น digital (ออกลำโพงไฟฟ้า?) หรือ analog กันนะครับ ถ้าเป็นเสียงออกลำโพงไฟฟ้านี่ความเสียงนุ่มมันก็น่าจะมาจากเครื่องเล่นอีกทีหรือเปล่านะ
นั่นแหละฮะ ถ้าเทียบกับต้นฉบับ ไวนิลมันสู้ดิจิตอลไม่ได้แหละครับในสมัยนี้ แต่ที่ผมจะสื่อคือคนเค้าชอบ "โทนเสียง" น่ะครับ หรือเรียกว่า ทำใจยอมรับกับโทนเสียงดีล่ะ คือมันเป็นความชอบน่ะครับ digital มัน "ดีกว่า" ก็จริง แต่เค้าซื้อไวนิลเพราะเค้าชอบอ่ะ @_@ คุณต้องไปดูสายแลนระดับ "Audiophile" เส้นหลักหมื่นอ่ะครับแล้วทำให้เค้าได้เสียงเพลงที่เล่นออกมาจากแอพ "Spotify" เพราะกว่าสายแลนหลักสิบบาท แล้วไปถามเค้าอ่ะครับว่าทำไมคนถึงซื้อ ผมว่าน่าจะอารมเดียวกันนะ 555 มันเป็นความลึกลับ มันคือความเชื่อ มันไม่ใช่ Fact
อันนี้เลยเป็นส่วนที่ผมถามว่า "ส่วนมากเค้าฟังกับเครื่องเล่นไวนิลที่เป็น digital (ออกลำโพงไฟฟ้า?) หรือ analog กันนะครับ" น่ะครับ
lossless พูดถึงการบีบอัดจริง แต่ analog มันก็ไม่ได้บันทึกแล้วเล่นกลับได้ 100% นะครับ
อย่างที่บอกไปมันมีเรื่อง SNR,noise floor แค่บันทึกลงไปมันก็เพี้ยนไม่เหมือนต้นฉบับแล้วครับ การเล่นกลับก็เพี้ยนอีกต่อหนึ่ง
เหมือนคุณเปิด CD อัดลงเทป คุณว่าเปิดเทปกับ CD ต้นฉบับมันจะเท่ากันไหม?
แต่ความเพี้ยนนี้เป็นสิ่งที่นักเล่นบอกว่าชอบไง คือการrandom color ก็ว่าได้
แต่ถ้าจะบอกว่าตรงตามต้นฉบับคงไม่ใช่ ในอีกแง่ต้องบอกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ตรงกับเพลงที่คนแต่ง/producer ทำmastering ในห้องอัดยุคใหม่เลยก็ว่าได้(ยกเว้นเขาโฆษณาว่าจงใจmix มาแบบนี้)
เห็นด้วยส่วนใหญ่ก็เรื่องความชอบกับของสะสม ถ้าผมมีงบผมก็อยากสะสมสินค้าของวงที่ชอบทุกชนิดทุกtypeเลย แต่งบจำกัดเลยได้แต่เลือกสื่อที่คิดว่าคุณภาพดีสุดแทน เช่นออก boxset 2 แบบ Blu-ray/DVD ผมก็เลือก Blu-ray แต่เห็นแฟนคลับวงสายเกาหลีซื้อทั้งสองแบบมาสะสมกันเลย จนยอดขายในoricon ขึ้นพอๆกันทั้งสองtype(แสดงว่าคนนึงซื้อสองแบบเพราะปกติยอดขาย blu-ray จะมากกว่า DVDราวๆ 70/30แล้วในยุคนี้) ทึ่งเหมือนกัน
แต่เรื่องฟังdigital แล้วเสียงกรุ๊งกริ๊งจริงๆมันก็มีที่มานะ เพราะปกติเครื่องเสียงสายconsumerทั่วไปมักมีการ color หรือปรุงแต่งเสียงโดยเฉพาะเบสบูส ให้ฟังแล้วสนุกตึบๆ บางเจ้าก็V-shape บูสย่านแหลมเฟังเสียงนักร้องหญิงแล้วบาดหูจนน้ำตาแทบไหล แต่ข้อเสียคือถ้าคุณอายุเกิน 20 คุณจะโดนเสียงเบสกลบเสียงร้องและกลบเครื่องดนตรีอีกหลายชนิดจนไม่ได้ยินไป และหูจะล้าเมื่อฟังต่อเนื่องเกินครึ่งชั่วโมง(จากการบูสแหลม)
การฟังต้นฉบับกับอุปกรณ์มาตรฐานห้องอัด(ที่เขาว่าเสียงแนวflat/neutral) ที่หลายรีวิวว่าน่าเบื่อ แต่ก็ทำให้ได้ยินเสียงที่ไม่เคยได้ยินจากการฟังผ่านอุปกรณ์ทั่วไปเช่นวิทยุในรถ หรือเครื่องเสียงhome theaterทั่วไป กลายเป็นได้ยินราวกับเป็นเพลงใหม่ ทั้งๆที่เคยฟังซ้ำๆมาทุกวันนี่แหละ เคยให้เพื่อนลองฟังหูฟังสายstudio monitor ทุกคนก็ได้ยินเสียงเพิ่ม โดยเฉพาะถ้าเป็นบันทึกconcert จะได้ยินเสียงหายใจของคนร้อง หรือเสียงคนดูชัด บางเพลงจะมีเสียงเครื่องดนตรีบางชิ้นที่โดนกลบง่ายจนผมใช้เป็นตัวชี้วัดคร่าวๆส่วนตัว ยิ่งลองหาอุปกรณ์ยี่ห้อหรือรุ่นที่นิยมใช้ในห้องอัด ก็คิดว่าน่าจะได้ยินสิ่งที่ใกล้เคียงกับที่ producer/นักแต่งเพลงตั้งใจทำผลงานออกมาแบบนั้น
แต่สุดท้ายนอกจากเรื่องของความชอบ มันก็ขึ้นกับสภาพการได้ยิน hearing loss ตามอายุมีผลมาก อุปกรณ์เลยจำเป็นในการช่วยให้แยกแยะเสียงได้ดีขึ้น eq ก็ยังจำเป็นเช่นกันเพื่อชดเชยบางย่านที่เกิดจากข้อจำกัดของอุปกรณ์หรือหูของเราเอง ส่วนถ้าเป็นเด็กอายุไม่เกิน20 ก็จะฟังแบบไหนก็ยังได้ยินได้ครบหมดง่ายๆ(ซึ่งเราๆท่านๆตอนวัยนั้นก็มักจะไม่ได้สนใจตั้งใจฟังเพลงอะไรขนาดนั้น -_-")
เห็นหลายๆ ท่านตอบแบบยาวๆ ไปแล้ว เลยขออนุญาตตอบแบบความเข้าใจอันน้อยนิดของผมแล้วกันนะครับ
แบบไวนิล ผมเจ้าใจว่ามันคือการ"ลาก"ร่องผ่านเข็ม ซึ่งมันจะทำให้เกิด transition ระหว่างค่าที่ smooth กว่าการ"อ่าน"ค่าไปตามจุด (นึกถึงการเข็นของขึ้นทางลาด เทียบกับการเดินสะดุดเนินน่ะครับ) ผมเลยมองว่า มันอาจจะเป็น character ของเสียงที่ออกมาที่แตกต่างกันครับ
(แล. ผมหูไม่เทพนะ ทุกวันนี้ฟังผ่าน yt ธรรมดานี่แหละครับ 😅)
ไวนีลมันมีความละเอียดของแม่พิมพ์ มันไม่ได้สมูทแบบภาพ vector ถ้าดิจิตอลมันละเอียดกว่าไวนีล มันก็สมูทมากกว่าไวนีล ตัวอย่างเช่นฟิลม์ภาพยนต์ ความละเอียดประมาน 2k(ขยายใหญ่ว่านี้ภาพเบลอ) แต่ดิจิตอลไปได้ถึง 8k
ซึ่งการลากผ่านที่ว่านั่นมันคือมาจากต้นฉบับดิจิตอลที่เป็นค่าไปตามจุดอีกทีไงครับ
ไม่น่าเกี่ยวกับเรื่องเสียงนะ น่าจะการรู้สึกได้ครอบครองงานที่ตนรักมากกว่า ผมไปญี่ปุ่นก็ไปค้นแผ่น cd ที่ชอบฟังในสตรีม แบกกลับมาประจำ แต่ไม่เคยแกะมาฟังเลย
แผ่นเสียงมันดูเหมาะกับการสะสมด้วยสิ ทั้งราคา แพคเก็จ รวมถึงความลิมิต
วงที่ผมตามอยู่ก็ขายแต่ไวนิลกับเทปคาสเซต ไม่ทำซีดีมาขาย
จริงๆผมว่าเทรนมันก็มาถูกแล้วล่ะ ถ้าเป็น digital ก็ไป streaming เลย ส่วนถ้าจะขายแบบ physical ก็ทำออกมาเป็นแผ่นเสียงหรือไม่ก็เทป ยอดขายซีดีน่าจะค่อยๆลดลงไปเรื่อยๆ
ผมเองก็คิดว่าด้วยกระบวนการผลิตที่ทำ master เป็น digital ก่อน คงไม่สามารถผลิตแผ่นเสียงให้ได้เหมือนกับสมัยก่อน แต่ขั้นตอนการนำไฟล์ดิจิทัลมาแปลงเพื่อบันทึกลงแผ่นไวนิลหรือเทปก็น่าจะยังทำให้เกิดความแตกต่างด้านเสียงขึ้นได้
..: เรื่อยไป
เห็นด้วย เรื่อง cd จะหายไปเพราะสตรีมมิ่ง ใครอยากเก็บสะสมเก็บเป็นไวนีลกับเทปแทน