Recording Industry Association of America
กลุ่มค่ายเพลงในสหรัฐฯ นำโดยสมาคมอุตสาหกรรมเพลงของสหรัฐอเมริก (RIAA) ยื่นฟ้องบริษัทปัญญาประดิษฐ์สร้างเพลง Suno และ Udio ที่ให้บริการสร้างเพลงตามพรอมพ์ที่ผู้ใช้ใส่เข้าไป
แม้คดีจะคล้ายกัน แต่ค่ายเพลงก็ยื่นฟ้องคนละศาล โดย Suno ถูกฟ้องที่ศาลแขวงรแมสซาชูเซตส์ ขณะที่ Udio ถูกฟ้องที่ศาลแขวงนิวยอร์กใต้
RIAA หรือสมาคมอุตสาหกรรมเพลงของสหรัฐอเมริกา ออกรายงานภาพรวมแหล่งรายได้ในอุตสาหกรรมเพลงเฉพาะในอเมริกาปี 2023 โดยรายได้รวมเติบโต 8% จากปี 2022 เป็นสถิติสูงสุดที่ 17,115.1 ล้านดอลลาร์ การเติบโตหลักยังคงมาจากสตรีมมิ่ง ทั้งส่วนที่เป็น Subscription และโฆษณา
รายได้เฉพาะส่วนสตรีมมิ่งอยู่ที่ 14,358.1 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 84% ของรายได้เพลงทั้งหมด ส่วนใหญ่มาจาก Subscription ที่เหลือมาจากวิทยุออนไลน์และบริการฟังเพลงแบบมีโฆษณา
รายได้จากดิจิทัลดาวน์โหลดยังคงลดลงอีกปี อยู่ที่ 434 ล้านดอลลาร์ ลดลงทั้งการดาวน์โหลดแบบแยกเพลง (แทร็ก) และแบบอัลบั้ม รายได้ส่วนนี้คิดเป็น 3% ของรายได้ทั้งหมด ลดลงมากแค่ไหนให้เทียบกับปี 2012 ที่ดาวน์โหลดเป็นรายได้ถึง 43%
RIAA หรือสมาคมอุตสาหกรรมเพลงของสหรัฐอเมริกา รายงานภาพรวมรายได้ของอุตสาหกรรมเพลงในอเมริกาของปี 2022 รายได้รวมเติบโตติดต่อกันเป็นปีที่ 7 โดยเพิ่มขึ้น 6% จากปี 2021 ที่มูลค่า 15,873.9 ล้านดอลลาร์
สตรีมมิ่งเป็นช่องทางหลักของรายได้ที่ 13,265.7 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 7% และคิดเป็น 84% ของรายได้รวมทั้งหมด ซึ่งเพิ่มจากปีก่อนที่อยู่ที่ 83% โดยเมื่อแยกรายละเอียดของรายได้สตรีมมิ่ง ส่วนใหญ่ 77% มาจากการจ่ายเงินค่าสมาชิก (Subscription) ที่เหลือมาจากโฆษณาและวิทยุดิจิทัล
รายได้ส่วนดิจิทัลดาวน์โหลดยังคงมีแนวโน้มลดลงอยู่ที่ 494.7 ล้านดอลลาร์ ลดลง 20% จากปีก่อน โดยลดลงทั้งการดาวน์โหลดแบบแยกเพลงและทั้งอัลบั้ม
สมาคมอุตสาหกรรมเพลงของอเมริกาหรือ RIAA ออกรายงานอุตสาหกรรมเพลงในสหรัฐฯ ออกรายงานประจำปี 2021 โดยรายงานในปีที่แล้วยังคงระบุชัดว่าสตรีมมิ่งคือรายได้หลักของอุตสาหกรรม
ในรายงานระบุว่า รายได้จากสตรีมมิ่งอยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว โตขึ้น 23.8% ส่วน physical โดยรวมอยู่ที่ 1.16 พันล้านดอลลาร์ โตขึ้น 42.3% ส่วนดิจิทัลดาวน์โหลดอยู่ที่ 587 ล้านดอลลาร์ ลดลง 12%
RIAA หรือสมาคมอุตสาหกรรมเพลงของสหรัฐอเมริกา ออกรายงานรายได้ของอุตสาหกรรมเพลงในอเมริกาช่วงครึ่งปีแรก 2021 รายได้รวมโต 27.0% เทียบกับครึ่งแรกของปี 2020 เป็น 7,054.0 ล้านดอลลาร์
รายได้ส่วนใหญ่มาจากบริการสตรีมมิ่งคิดเป็น 5,908.4 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 25.9% โดยมีปัจจัยเสริมคือแหล่งรายได้ใหม่ได้แก่ Facebook และแอปออกกำลังกาย ซึ่งในรายละเอียดนั้น 4,130.6 ล้านดอลลาร์ มาจากส่วนแบ่งการสมัครใช้งานฟังเพลงแบบเสียเงิน และคิดเป็นจำนวนผู้ใช้งานส่วนนี้ 82.1 ล้านคน
สมาคมอุตสาหกรรมเพลงของอเมริกาหรือ RIAA ออกรายงานอุตสาหกรรมเพลงในสหรัฐฯ ประจำปี 2020 อย่างเป็นทางการ โดยพบว่ารายได้จากเพลงในอุตสาหกรรมเติบโตขึ้น 9.2% อยู่ที่ 1.22 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งจุดที่น่าสนใจคือรายได้ปีที่แล้วเติบโตมีผลมาจากบริการสตรีมมิ่งค่อนข้างสูง
ในรายงานระบุว่า สตรีมมิ่งมีรายได้ 1.01 หมื่นล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว โตขึ้น 13.4% โดยกลุ่มสตรีมมิ่งนี้นับรวมทั้งบริการเสียเงินอย่าง Spotify, Apple Music และ Amazon Music Unlimited, บริการแบบออนดีมานด์มีโฆษณา เช่น YouTube, Vevo, Spotify แบบฟรี และวิทยุดิจิทัลอย่าง Pandora, SiriusXM
ต่อจากข่าวเมื่อเดือนที่แล้ว GitHub ปิดหน้าเว็บโครงการ youtube-dl สคริปต์สำหรับดาวน์โหลดวิดีโอออนไลน์ จากคำขอของสมาคมอุตสาหกรรมเพลงของสหรัฐอเมริกา (RIAA)
วันนี้ GitHub ประกาศปลดแบนโครงการ youtube-dl แล้ว หลังมูลนิธิ Electronic Frontier Foundation (EFF) เข้ามาช่วยสนับสนุน และชี้แจงว่า youtube-dl ไม่ได้ละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ของสหรัฐอเมริกา Digital Millennium Copyright Act (DMCA) ตามที่ RIAA กล่าวอ้าง
update: ผมตรวจสอบแล้วไม่ยังพบว่าทีมงาน youtube-dl เตรียมใช้ repository นี้เป็นทางการ โดยตัว repository สร้างโดย Youri Wijnands ไม่ใช่ทีมงานของ youtube-dl แต่อย่างใด
youtube-dl เปิดโครงการใหม่บน GitLab แทนที่โครงการเดิมบน GitHub ที่ถูกปิดไป ตามคำขอของสมาคมอุตสาหกรรมเพลงของสหรัฐฯ (RIAA)
หน้าเว็บ yt-dl.org ลิงก์กลับมาบางส่วน และลิงก์ดาวน์โหลดใช้งานได้แล้ว มีหน้าเอกสารการใช้งานที่ยังหายไปเนื่องจากเดิมอยู่บน github.io ที่ปิดไปพร้อมกัน ตัวโครงการใหม่ยังคงไม่มีไบนารีไฟล์เก่าๆ ตามรอบ release แต่ตัว repository ก็มี tag ครบถ้วนดี
สมาคมอุตสาหกรรมดนตรีสหรัฐฯ (Recording Industry Association of America - RIAA) ส่งคำร้องขอให้ GitHub ลบซอร์สโค้ดและเว็บไซต์ของโครงการ youtube-dl ทั้งหมด รวมถึง fork ต่างๆ เนื่องจากตัวโครงการมีเป้าหมายชัดเจนในการหลบเลี่ยงระบบป้องกันคอนเทนต์มีลิขสิทธิ์บน YouTube และบนเว็บไซต์โครงการเองก็ยังแสดงตัวอย่างการใช้งานด้วยการดาวน์โหลดมิวสิควิดีโอที่ถือลิขสิทธิ์โดยสมาชิกของ RIAA
GitHub ปิด repository ของโปรแกรมคอมมานด์ไลน์ youtube-dl ที่ใช้ดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอจาก YouTube ตามคำขอของสมาคมอุตสาหกรรมเพลงของสหรัฐอเมริกา (RIAA)
youtube-dl เป็นสคริปต์ภาษา Python ที่ใช้ดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอจาก YouTube และเว็บฝากวิดีโออื่นๆ โดยถือเป็นโครงการยอดนิยมตัวหนึ่งบน GitHub มีคนให้ดาว 7.2 หมื่นครั้ง และถูก fork ออกไป 1.2 หมื่นครั้ง
สมาคมอุตสาหกรรมเพลงของอเมริกาหรือ RIAA ออกรายงานอุตสาหกรรมเพลงในสหรัฐฯ ครึ่งแรกของปี 2020 โดยเทรนด์ของอุตสาหกรรมเพลงก็ยังคงเป็นไปในทางเดิม คือสตรีมมิ่งยังคงเติบโตอยู่เรื่อย ๆ แต่มีจุดน่าสนใจคือยอดขายแผ่นไวนิลแซงซีดีเป็นครั้งแรกตั้งแต่ช่วงปี 1980
RIAA รายงานว่า ยอดขายของเพลงเป็น physical อยู่ที่ 376 ล้านดอลลาร์ ลดลง 23% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งเหตุผลหลักมาจาก COVID-19 ที่ส่งผลให้ผู้คนไม่เข้าร้านค้า, ศิลปินงดจัดงาน (จึงไม่มีการขายแผ่นในงาน) รวมถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ทำให้ผู้คนลดการใช้จ่ายด้านความบันเทิงลง โดยยอดขายแผ่นไวนิลคิดเป็นสัดส่วน 62% สูงที่สุดในกลุ่ม physical
สมาคมอุตสาหกรรมเพลงของอเมริกาหรือ RIAA ออกรายงานเกี่ยวกับการเติบโตและรายได้ของอุตสาหกรรมประจำปี 2019 โดยในรายงานเผยว่ารายได้ของอุตสาหกรรมเพลงทั้งปี 2019 อยู่ที่ 11.1 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าราว 13% ซึ่งสัดส่วนรายได้ของอุตสาหกรรม 79% มาจากสตรีมมิ่ง เพิ่มขึ้นจาก 75% ในปีก่อนหน้า
หากแบ่งย่อยรายได้จากการสตรีมมิ่ง จะพบว่ารายได้ของบริการสตรีมมิ่งเฉพาะบริการเสียเงินอย่าง Apple Music หรือ Spotify คิดเป็น 61% ของรายได้ทั้งอุตสาหกรรม หรือคิดเป็นตัวเงิน 6.8 พันล้านดอลลาร์ และมีจำนวนสมาชิกจ่ายเงินถึง 60.4 ล้านคน เพิ่มจาก 46.9 ล้านคนในปีก่อนหน้านี้
สมาคมอุตสาหกรรมเพลงของอเมริกาหรือ RIAA ออกรายงานเกี่ยวกับการเติบโตและรายได้ของอุตสาหกรรม โดยเผยว่ารายได้ทั้งอุตสาหกรรมครึ่งแรกของปี 2019 โต 18% อยู่ที่ 5,400 ล้านดอลลาร์ โดยจุดที่น่าสนใจคือรายได้ทั้งหมดนี้ 80% มาจากสตรีมมิ่ง
สำหรับรายได้ในส่วนของสตรีมมิ่ง หากสตรีมมิ่งทั้งหมด 3 รูปแบบ คือแบบเสียค่าสมาชิก (Spotify, Apple Music, Amazon Music) วิทยุดิจิทัล (Pandora, Sirius XM) และบริการดูฟรีมีโฆษณา (YouTube, Vevo, Spotify เวอร์ชันฟรี) ทั้งหมดเติบโตขึ้น 26% อยู่ที่ 4,300 ล้านดอลลาร์
รายได้วงการเพลงนั้นมาจากสองส่วนสำคัญคือ ดาวน์โหลดและสตรีมมิ่ง ซึ่งยอดสตรีมก็เป็นบวกมากขึ้นจนสามารถทำรายได้แซงการดาวน์โหลดในปี 2015 ล่าสุด สมาคมอุตสาหกรรมสื่อบันทึกแห่งอเมริกาหรือ RIAA รายงานตัวเลขรายได้ของการจำหน่ายเพลงของสหรัฐฯ ว่า 75% ของรายได้ มาจากสตรีมมิ่ง
โดยรายได้ครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้น 10% เป็น 4.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ 75% ของรายได้มาจากสตรีมมิ่ง มีเพียง 12% ที่มาจากดาวน์โหลดผ่านดิจิทัล ซึ่งยอดได้ตกลงเรื่อยๆ แต่ก็ไม่เท่าการขายแผ่นที่มีเพียง 10%
ข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมสื่อบันทึกแห่งอเมริกาหรือ RIAA รายงานว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2017 นั้น บริการสตรีมมิ่งแบบจ่ายเงินมีผู้ใช้ถึง 30.4 ล้านคนในสหรัฐฯ แล้ว โดยเพิ่มขึ้นจาก 20.2 ล้านคนในครึ่งแรกของปี 2016 ซึ่งทำให้รายได้จากบริการเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
ในข้อมูลรายงานว่า รายได้จากบริการสตรีมมิ่งแบบจ่ายเงินนั้นเติบโตอย่างมากในปี 2017 โดยไปแตะที่ 1.49 พันล้านดอลลาร์แล้ว ถือว่าสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับรายได้ 995 ล้านดอลลาร์ของปีที่แล้ว
เมื่อปีที่แล้วกลุ่มอุตสาหกรรมเพลงใหญ่นำโดย RIAA ได้ฟ้องร้องเว็บไซต์ YouTube-Mp3 ซึ่งเป็นเว็บแปลงไฟล์จาก YouTube ให้เป็น MP3 ด้วยเหตุผลละเมิดลิขสิทธิ์เพลง ล่าสุดเจ้าของเว็บไซต์ได้ขอยอมความและจ่ายค่าเสียหายแล้ว
ในรายละเอียดของเอกสารข้อเสนอ YouTube-Mp3 จะจ่ายเงินค่าเสียหายเป็นจำนวนที่ไม่เปิดเผย และจะโอนโดเมนเนมให้กับค่ายเพลงหนึ่งที่เป็นสมาชิก RIAA
หากการเจรจามีข้อยุติ เว็บไซต์ YouTube-Mp3 จะปิดตัวลงภายใน 24 ชั่วโมง และเข้าสู่การโอนย้ายโดเมนต่อไป
ที่มา: Torrent Freak
กลุ่มอุตสาหกรรมเพลงในอังกฤษ ได้แก่ IFPI, RIAA และ BPI ฟ้องร้องเว็บไซต์ Youtube-Mp3 ที่สามารถแปลงไฟล์ YouTube เป็น MP3 ได้ เพราะละเมิดลิขสิทธิ์เพลงและศิลปิน
จากรายงานวิจัยที่ออกมาเมื่อสองอาทิตย์ก่อนของกลุ่มพันธมิตรอุตสาหกรรมเพลง (the International Federation of the Phonographic Industry) ระบุว่า คนอายุ 16-24 ปี ใช้เว็บไซต์แปลงไฟล์ก็อปปี้เพลงจาก YouTube และตอนนี้ก็กำลังจะไล่ตามทันบรรดาเว็บไซต์โหลดเพลงเถื่อน
มีตัวเลขจาก RIAA (Recording Industry Association of America - สมาคมอุตสาหกรรมสื่อบันทึกแห่งอเมริกา) ระบุว่าปีนี้ตัวเลขรายได้ของอุตสาหกรรมดนตรีดีที่สุดตั้งแต่กลางทศวรรษ 2000 เป็นต้นว่าครึ่งปีแรกของ 2016 มียอดรายได้จากการบอกรับสมาชิกฟังเพลงสตรีมมิ่งแล้วว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งปีที่แล้วยอดทั้งปีอยู่ที่ 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น ส่งผลจากยอดผู้บอกรับสมาชิกที่มากถึง 18.3 ล้านราย เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากช่วงเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว
RIAA (Recording Industry Association of America - สมาคมอุตสาหกรรมสื่อบันทึกแห่งอเมริกา) เปิดเผยตัวเลขรายได้ของการจำหน่ายเพลงของสหรัฐฯ ในปี 2015 พบว่าสัดส่วนรายได้จากการสตรีมเพลงอยู่ที่ 34.3% ซึ่งแซงดิจิทัลดาวน์โหลดเป็นครั้งแรกแล้ว ซึ่งอยู่ที่ 34% ตามด้วยการจำหน่ายแผ่นและวิธีอื่นๆ สอดคล้องกับกระแสข่าวที่ว่า Spotify มีผู้ใช้งานทะลุ 30 ล้านราย แล้ว
สมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา หรือ RIAA ประกาศปรับปรุงการการให้รางวัลรับรองยอดขายอัลบั้ม (ที่มีระดับทองคำ กับแพลตตินั่ม) เพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการฟังเพลงในปัจจุบัน โดยจะนำยอดการฟังผ่านสตรีมมิ่งมาคำนวณด้วย
อย่างไรก็ตาม RIAA ตั้งเงื่อนไขบนสตรีมมิ่งโดยจะให้น้ำหนักน้อยกว่ายอดขายอัลบั้มแบบดั้งเดิม (รวมถึงดาวน์โหลด) โดยทุก 1,500 ครั้งที่มีการเปิดฟังหรือดูวิดีโอ จะมีค่าเท่ากับยอดขาย 1 อัลบั้ม
การเพิ่มเงื่อนไขดังกล่าวทำให้ผลงานของศิลปิน 17 คน ได้รับการรับรองยอดขายระดับทองคำและแพลตตินั่มขึ้นทันที รายละเอียดดูได้จากที่มา
หลังจากที่ถูกกดดันมานานโดย RIAA (สมาคมอุตสาหกรรมเพลงของสหรัฐ) ล่าสุดกูเกิลยินยอมที่จะไม่แสดงผลค้นหาที่จะชี้ผู้ใช้ไปยังเว็บที่เปิดให้ดาวน์โหลดเนื้อหาที่ผิดกฎหมายแล้วผ่านคุณสมบัติ Instant Search และ Autocomplete ของตัวเอง โดยจากรายงานของ TorrentFreak เว็บละเมิดลิขสิทธิ์ชื่อดังอย่าง The Pirate Bay ก็อยู่ในรายชื่อเว็บที่จะถูกเซ็นเซอร์ด้วย
เว็บไซต์ TorrentFreak ได้เปิดเผยเอกสารหลุดจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา หรือ RIAA ซึ่งเป็นผลการศึกษาในประเด็นที่ว่าผู้คนได้เพลงมาจากแหล่งใดกันบ้างในช่วงปี 2010-2011 พบว่า 35% นั้นมาจากการซื้ออย่างถูกต้องไม่ว่าจะเป็นซื้อซีดีหรือดาวน์โหลดเอา ส่วนอีก 65% มาจากการได้มาแบบไม่ต้องเสียเงิน
ในส่วนของการได้เพลงมาแบบไม่เสียเงินที่มีถึง 65% นั้น เมื่อแยกย่อยลงมาพบว่าสัดส่วนการได้เพลงผ่านการแชร์ในเครือข่าย P2P มีเพียง 15% ขณะที่การโหลดจากเว็บรับฝากไฟล์นั้นคิดเป็นเพียง 4% เท่านั้น ส่วนกรณีที่เหลือของการได้เพลงแบบไม่ต้องเสียเงินนั้น กลับมาจากวิธีการที่ไม่ต้องพึ่งบริการออนไลน์ได้แก่การยืมฮาร์ดดิสก์มาก๊อปปี้ และเอาแผ่นเพื่อนมาไรท์กันตรงๆ เลย
ต่อจากข่าวก่อนหน้านี้ RIAA ละเมิดลิขสิทธิ์เสียเอง? พบหมายเลขไอพีจาก RIAA ดาวน์โหลดเพลงเถื่อน ทาง RIAA ออกมาชี้แจงแล้ว
YouHaveDownloaded เป็นเว็บไซต์ของรัสเซียที่นำหมายเลขไอพีของผู้ที่ดาวน์โหลดไฟล์ BitTorrent จาก public tracker มาค้นหากลับว่าไอพีเหล่านั้นมาจากที่ไหนบ้าง
กระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่เจ้าของลิขสิทธิ์อย่าง RIAA และ MPAA ในสหรัฐใช้ค้นหาตัวคนที่ดาวน์โหลดไฟล์ผิดกฎหมายเพื่อยื่นฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์
ปรากฏว่าสถิติของ YouHaveDownloaded (ซึ่งมีผู้ใช้กว่า 50 ล้านรายในฐานข้อมูล) เจอของดีมากมาย เพราะหนึ่งในผู้ดาวน์โหลดไฟล์ผิดกฎหมายบน BitTorrent มาจากไอพีของบริษัทเจ้าของลิขสิทธิ์เสียเอง เช่น Sony, Universal, Fox มิหนำซ้ำยังมีองค์กรรัฐอย่างทำเนียบประธานาธิบดีฝรั่งเศส และกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐ
RIAA (สมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา) และ MPAA (สมาคมผู้ประกอบกิจการภาพยนตร์ของสหรัฐฯ) ได้ประกาศความร่วมมือกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ในสหรัฐ ซึ่งได้แก่ AT&T, Verizon, Comcast, Time Warner และ Cablevision เพื่อสร้างระบบแจ้งเตือนผู้ใช้เมื่อผู้ใช้กำลังดาวน์โหลดเนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ
เมื่อระบบพบการละเมิดลิขสิทธิจากผู้ใช้ ระบบจะส่งอีเมลแจ้งเตือนไปถึงผู้ใช้โดยอัตโนมัติ หลังจากนั้นผู้ให้บริการสามารถที่จะเลือกปรับลดความเร็วอินเทอร์เน็ต หรือ redirect หน้าเว็บไปยังเว็บอื่นจนกว่าผู้ใช้จะติดต่อกลับไปหาผู้ให้บริการ แต่สิ่งที่แตกต่างไปจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในยุโรปหลาย ๆ ประเทศก็คือผู้ให้บริการในสหรัฐจะไม่ตัดอินเทอร์เน็ตผู้ใช้