เหตุเกิดจากเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี ได้รับแจ้งเหตุกรณีวัตถุกัมมันตรังสี ‘ซีเซียม-137’ (Cesium-137, Cs-137) ของโรงไฟฟ้าของบริษัท NOS 5a ในอ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี สูญหายไป โดยวัตถุมีลักษณะเป็นทรงกระบอก มีตะกั่วอยู่ชั้นในและหุ้มด้วยเหล็กชั้นนอก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว หนัก 25 กิโลกรัม
จนเมื่อวันที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่นำโดยนายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ได้เข้าตรวจหารังสีในกองเศษเหล็กในโรงหลอมเหล็ก 2 แห่งในต.หนองกี่ อ.กบินทร์บุรี และต.หาดนางแก้ว อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ตรวจสอบพบสารบางอย่างแต่ไม่ระบุชนิด (ไม่มีการเปิดเผยชื่อของโรงหลอมเหล็กทั้ง 2 แห่งต่อสาธารณะ) โดยแบ่งเป็นประเด็นดังนี้
วันนี้ (20 มีนาคม) เวลา 11.00 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรีและนายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติได้จัดงานแถลงข่าวว่า ซีเซียม-137 ได้ถูกหลอมแล้วและพบในฝุ่นแดงหรือฝุ่นเหล็กที่มาจากการหลอมเล็กในเตาปิดของโรงหลอมจริง แต่ไม่พบวัตถุซีเซียม-137 ดั้งเดิมที่เป็นทรงกระบอก
โดยปกติแล้วซีเซียมมีจุดเดือดต่ำ เมื่อหลอมเหล็กออกมาก็จะกลายเป็นฝุ่นแดงหรือฝุ่นเหล็ก จากนั้นโรงงานจะส่งต่อไปยังโรงงานรีไซเคิลเพราะฝุ่นพวกนี้มีราคา แต่เมื่อตรวจสอบฝุ่นแดงที่โรงงานหลอมเหล็กส่งไปยังโรงงานรีไซเคิลในจ.ระยองแล้วไม่พบซีเซียมแต่อย่างใด
ส่วนฝุ่นแดงในโรงหลอมเหล็กมีจำนวน 24 ตัน บรรจุในถุงปิด 24 ถุง โดยพบว่ามีฝุ่นแดง 1 ถุงที่ถูกนำไปถมไว้ที่ที่ดินหลังโรงงาน แต่ได้นำฝุ่นมาใส่ถุงบรรจุและเก็บไว้ในที่ปิดมิดชิดแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการยืนยันว่าซีเซียม-137 ในฝุ่นแดงในโรงหลอมเหล็ก อ.กบินทร์บุรี มาจากแท่งซีเซียมทรงกระบอกที่หายไปจากโรงไฟฟ้าของ NOS 5a หรือไม่ นายเพิ่มสุขกล่าวว่าความเป็นไปได้ยังอยู่ที่ 50-50
ขณะนี้ได้ส่งทีมสาธารณสุขเข้าตรวจสุขภาพพนักงานทุกคนซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับสารกัมมันตรังสีแล้วว่ามีสารตกค้างหรือไม่ ผลการตรวจสุขภาพพบว่า ยังไม่พบผู้ป่วยหรือผู้ที่มีสารตกค้างในร่างกาย
นายเพิ่มสุขยืนยันว่า ฝุ่นแดงที่เกิดจากการหลอมยังไม่ฟุ้งกระจายออกไปนอกพื้นที่และเป็นอันตรายต่อประชาชนโดนทั่วไปเพราะหลังจากหลอมแล้วถูกปิดในที่มิดชิดในพื้นที่โรงงาน
พล.ต.ต.วินัย นุชชา ผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.ปราจีนบุรี ได้เผยว่า การตรวจสอบสาเหตุที่ซีเซียม-137 สูญหายอยู่ในกระบวนการของตำรวจ โดยขณะนี้กำลังไล่ดูภาพจากกล้องวงจรปิดซึ่งบางตัวใช้งานได้ บางตัวใช้งานไม่ได้ แต่คาดว่ามีคนตั้งใจเอาไปเนื่องจากการจะนำวัตถุที่มีน้ำหนัก 25 กิโลกรัมออกไปได้เป็นเรื่องยากมาก
นอกจากนี้ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ป.ส.) ได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีต่อเจ้าของโรงไฟฟ้าแล้ว เนื่องจากเป็นผู้ครอบครองวัตถุที่หายไปและไม่แจ้งโดยพลัน ตามพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2562 มาตรา 100 โทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี เนื่องจากวัตถุหายไปตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคมแต่เข้าแจ้งในวันที่ 10 มีนาคม
นายแพทย์สมรส พงศ์ละไม ได้เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของซีเซียม-137 ว่า สามารถปนเปื้อนและสะสมได้ในทั้งดิน น้ำ และอาหารและมีผลร้ายแรงมากต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์เพราะอนุภาคบีต้าและรังสีแกมมาทำให้เกิดมะเร็งโดยเฉพาะมะเร็งเม็ดเลือดข่าวและไทรอยด์
นายแพทย์สมรสยังเสนอให้มีการเฝ้าระวังเร่งด่วนสำหรับคนที่เสี่ยงต่อการสัมผัสซีเซียม โดยสังเกตอาการเช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ผิวไหม้ พร้อมเสนอให้รัฐบาลควรเก็บข้อมูลอย่างโปร่งใสโดยเฉพาะจากคนที่อยู่ในระยะ 5-10 เมตร
ที่มา - สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดปราจีนบุรี
Comments
" .. (ไม่มีการเปิดเผยชื่อของโรงหลอมเหล็กทั้ง 2 แห่งต่อสาธารณะ) .. "
WE ARE THE 99%
เปิดเผยก็โดนฟ้องไงครับ กฎหมายมันดันเป็นแบบนี้
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
มีลงชื่อโรงหลอมไว้นะ แต่ต้องไปหาอ่านจากแหล่งข่าวอื่นๆ รง. หลอมอยู่ในกบิลบุรี
ตอนนี้เลยต้องเหมาเอาว่าทุกโรงในจังหวัดเสี่ยงหมดเลยครับ
เป็นข่าวที่ตามยากจริงๆ วกไปวนมา แม้แต่ชื่อโรงงานยังเปิดเผยไม่ได้
สิ่งที่อยากรู้จริงๆคือ ถุงที่ปนเปื้อน ทั้งหมดกี่ถุง รับซื้อเหล็กมาวันไหน
บีบอัดวันไหน เข้าเตาหลอมวันไหน และตอนนี้ผลิตภัณฑ์ที่ได้ ไปอยู่ที่ไหนบ้าง
ข่าวบอก 50-50 แปลว่าก่อนหน้านี้ เคยมี Cs-137 สูญหายมากกว่า 1ครั้ง?
โรงงานไม่มี Audit เหรอครับ ตัวบอดี้เก่าขลักสนิมเขรอะจนหลุดตกแบบนี้
บทลงโทษเบาหวิวมาก รง มาตรการความปลอดภัยหละหลวมแบบนี้ มันควรสั่งปิดหรือเปล่า
งงกว่าตรงหน่วยงานรัฐให้ข้อมูลไม่ละเอียดแถมวกไปวนมา
แต่เพจIOลงชุดข้อมูลแก้ตัวว่าไม่รุนแรงไม่น่ากลัวพร้อมๆกันหลายเพจ บอกว่าจากตัวเลขต้องไปนั่งอยู่ข้างๆถุงดินเป็นปีถึงจะอันตราย มีบอกอีกยืนห่างมาสองเมตรก็ปลอดภัยแล้ว
คือเขากลัวมันฟุ้งปนเปื้อนไปทั่วมากกว่า หรือเข้าปากไปโดยไม่รู้ตัวโดนฝนไหลลงดิน แล้วเข้าสู่ร่างกายผ่านสัตว์น้ำ ฯลฯ ทีนี้แหละนับเวลากันยังไงดี ดูการจัดเก็บในโกดัง แล้วเอาผ้าใบมาขึง คือฝุ่นธรรมดามันก็ยังฟุ้งออกมาได้เลย...
ถ้ามั่นใจจริงก็ให้คนใหญ่คนโตลงพื้นที่หน้าโรงหลอมเลย ยืนดูหน้าโกดังผ้าใบนั่นแหละ
ป.ล.เจ้าที่ไปเทียบกับเคสเชอโนบิล ว่าฝุ่นฟุ้งไปพันกิโลก็เว่อไป แต่ฝั่งIOรัฐก็บอกซะเบาเกินไปจนไม่ต้องระวังอะไรเลย...
ผมสนับสนุนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มาตลอด ตอนนี้เห็นท่าทางรัฐฯ แล้วบอกตามตรงว่าเราไม่พร้อมจริงๆ
สำหรับเรา ปราจีนบุรีไม่ปลอดภัยในอีก 100 ปีเป็นอย่างต่ำ รังสีแบบนี้มันไม่แสดงผลทันทีอยู่แล้วเพราะมันไม่ได้มากขนาดโรงงานไฟฟ้านิวเคลียระเบิด ปริมาณที่ทำให้เกิดรังสีไม่น่าจะเข้มข้นแบบโดนปุ๊บออกอาการปั๊บถ้าไม่สัมผัดโดยคตรง ต้องรอสักปีหรือ 5 ปีเดี๋ยวรู้ว่าจะมีคนป่วยตายแปลกๆกี่คน ผมละเบื่อจริงๆ หลอมไปได้ยังไงโรงหลอมไร้คุณภาพในการทำเรื่องอันตรายมากเลย อุตสาหกรรมโรงหลอมไม่น่าจะเป็นใครก็ตั้งได้ง่ายๆมั้งต้องขออนุญาตหลายอย่างแน่นอน แล้วหลักเกณพ์ขั้นต่ำความปลอดภัยมันมัมีอยู่ระดับไหนถึงให้ผ่านเนี่ย
อ่านแล้วงงว่ามันมิดชิดตรงไหนนะ
ในฐานะที่เรียนมา
เอาเป็นว่า... ปริมาณรังสี ต่อให้รั่วไหลทั้งหมด มีอันตรายต่ำมาก ถ้าไม่อยู่ใกล้มากและอยู่กับมันนานมาก ส่งผลต่อสุขภาพน้อย
ดังนั้นในแง่มุมทางรังสี ไม่ได้น่ากังวลขนาดนั้น เว้นเฉพาะคนที่อยู่ใกล้พื้นที่มากๆ
.
แต่เรื่องการดำเนินการ ความชักช้าและไม่ชัดเจน อันนี้สมควรโดนด่านะ ถ้าครั้งหน้ามีสารรังสีหลุดอีกปริมาณมันอาจจะไม่ได้น้อยๆแบบนี้
นานๆ ทีจะเห็นคนเข้าใจเรื่องรังสี บางเรื่องมันก็เป็นเรื่องอ่อนไหวการให้ข่าวก็ต้องรัดกุมนั่นแหล่ะ ถ้าประชาชนแตกตื่น ต่อต้านอุปกรณ์ด้านรังสีมันจะทำงานกันลำบาก จริงๆ งานด้านรังสีเขามีการตรวจสอบอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้วตามรอบ ที่เจอว่าหายก็น่าจะเกิดจากทางการเข้าไปตรวจ มันมีทะเบียนทุกชิ้นเพื่อควบคุมการใช้งานตลอดอายุการใช้งานตั้งแต่การขอนำเข้าจนไปถึงการทำลาย โรงไฟฟ้าน่าจะปกปิดข่าวเอาไว้ แล้วพยายามหาเอง แต่ก็ไม่รอดเพราะมันมีรอบการตรวจสอบประจำปีอยู่แล้ว
ถ้ารอบการตรวจมันอีกปีหนึงหรืออีกหลายเดือนนี่ กว่าจะเจอคนไปโผล่ไหนแล้วก็ไม่รู้
อุปกรณ์พวกนี้มันไม่ได้มีแค่ 1-2 ชิ้นนะครับ เอาเป็นว่ามันมีแทบทุกที่ที่ต้องมีการตรวจวัด และฉายรังสี รวมถึงในบางสถานที่ที่คุณไม่คิดว่ามันจะมี มันก็มีก็แล้วกัน แล้วอุปกรณ์พวกนี้มันอยู่ในภาชนะป้องกันที่มีการออกแบบให้ป้องกันรังสีได้อยู่แล้ว สิ่งที่รัฐต้องทำคือการ Audit เริ่มตั้งแต่ การนำเข้า ติดตั้ง ใช้งาน ตรวจสอบการคงอยู่ และสถานะของมันให้จบ life cycle นั่นคือการนำไปทำลายให้ถูกวิธี ส่วนเจ้าของอุปกรณ์ก็มีหน้าที่ต้องมอนิเตอร์ เพื่อรายงานเมื่อถึงรอบการเข้าตรวจประจำเพราะถ้าไม่ดูแลรักษาให้ดีมันก็มีกฎหมายควบคุม กรณีนี้เจ้าของอุปกรณ์ก็ต้องผิดชอบเต็มที่นั่นแหล่ะครับถ้ามีผู้ได้รับผลกระทบจากรังสี
ผมว่าคุณอ่านให้ดีๆ ก็จะเจอว่าปัญหามันอยู่ตรงไหน วัตถุอันตรายมันมี process มาตรฐานควบคุมชัดเจนอยู่แล้ว อยู่ที่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ได้ปฏิบัติสมบูรณ์หรือเปล่า การทำงานกับระบบงานขนาดใหญ่ใดๆ ก็ตามต้องอาศัยระบบ trigger เข้าช่วย เพราะไม่งั้นเราต้องลงทุนมหาศาลเกินความจำเป็น
ปัญหามันชัดเจนครับ แต่คนที่หละหลวมเห็นได้ชัดว่าเขาไม่ตระหนักใดๆเลย หรือมีมาตรการป้องกันใดๆ ผมว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการสอบใบอนุญาตการhandle radioactive material และบทลงโทษทั้งทางอาญาและแพ่งต้องแรง และฉับไวกว่านี้
รังสีน่ะไม่แต่ตัวสารนี่สิตอนนี้กระจายไปไหนบ้างหรือเปล่าเช่นฝุ่นผงของสารนี้ เพราะสารไปไหนรัสสีก็ไปที่นั่นนินารับเข้าร่างกายมามันก็คือเราก็ต้องอยู่กับรังสีที่เราหนีมันไม่ได้แล้วถ้าไม่ขับออกมา
ก็เพิ่มมาหน่อยแหละครับ
ตลอดสิบปีที่ผ่านมานี้ใครกินปลาทะเลก็กิน Cs-137 ไปด้วย เพราะมีหลุดลงทะเลจากฟุกุชิม่าไปเยอะ (แต่อยู่ในระดับปลอดภัย)
Cs-137 ยังพบปะปนอยู่ทั่วโลกจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ในสมัยสงครามเย็น ที่โซเวียตกับเมกามาคุยกันหยุดทดลองระเบิดเพราะนักวิทยาศาสตร์ทั้งสองฝั่งออกมาโวยนี่แหละครับว่า Cs (และตัวอื่นๆ) มันไปทั่วโลกแล้ว
สมัยเรียนป.โท ผมไปตักดินในมหาลัยมาเข้าเครื่องวัด ยังขึ้นเส้น 0.511MeV เส้นแสดงตัว Cs-137 อ่อนๆเลย
ดังนั้นไม่ต้องเป็นห่วงไป มันอยู่รอบๆตัวเรามานานแล้วล่ะครับ
รอบนี้ต่อให้ทั้งหมดหลุดไปเป็นวงกว้าง ก็ถือว่าปลอดภัย ยิ่งกว้างยิ่งปลอดภัย
เหตุการณ์นี้น่ากลัวแค่ไหน ดูได้จากชุดที่ผู้เชี่ยวชาญเข้าไปวัดรังสีในสถานที่ที่ต้องสงสัย ถ้ามันอันตรายมากจริงคงใส่ชุดอวกาศเข้าไปแล้วครับ
สำหรับประเทศนี้ผมไม่มั่นใจว่าจะใช้ตรรกะนี้ได้ไหมเนี่ยสิ งบประมาณมีให้เพียงพอไหม? ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้เชี่ยวชาญจริงๆใช่ไหม?
เห็นทหารเป็นผู้เชี่ยวชาญได้ทุกสาขาวิชาผมก็เริ่มไม่มั่นใจละ
ยิ่งถ้าคนที่ไปตรวจไม่มีความเชี่ยวชาญ เขายิ่งจะต้องหาอะไรป้องกันตัวเองบ้างนะครับ สื่อประโคมข่าวน่ากลัวขนาดนั้น คนที่ถืออุปกรณ์เข้าไปวัดรังสีแม้แต่ถุงมือยังไม่ใส่เลย เสื้อก็เป็นแค่เสื้อโปโล หน้ากากปิดหน้าทั่ว ๆ ไป ถ้าจะบอกว่าไม่มีงบอย่างน้อยถุงมือยางซักคู่มันก็ราคาไม่กี่บาทหาซื้อได้ทั่วไป
ถ้าคุณต้องเข้าไปในโรงงานนั้นตอนนี้ คุณจะกล้าเข้าไปสภาพนั้นแบบเขาหรือเปล่า
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ก็ไม่ได้ตั้งมาเล่น ๆ https://www.oap.go.th/about-us/history
รังสีไม่ใช่เชื้อโรค แล้วชุดนั้นมันเป็นชุดป้องกันรังสี ซึ่งมีตะกั่วบุไว้ โดยเฉพาะตรงแถวๆ2ตุ้มที่หว่างขา ตำแหน่งเดียวกับคุณไงครับ เพื่อป้องกันลูกเกิดมาพิการ ปัญญาอ่อนหนักกว่าเดิม
แค่รับหรือโดนรับสีเฉยๆ ไม่นาน คนไม่ป่วยไม่ตายครับ(ขนาดคนที่ไปลุยน้ำในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์1ชั่วโมงกว่าๆยังไม่ป่วยไม่ตายกันเลย เพราะเขาไม่ได้โดนเยอะมากๆๆแบบสโลทินหรือเดกเลี่ยน และไม่นานพอจะก่อพิษและไม่ได้รับนิวไคล์เข้ามาในร่างกาย) แต่ไอ้ลูกตุ้มที่ว่านี่ มันไม่ควรโดนครับ คนซวยไม่ใช่เรา แต่ลูกที่เกิดมาหลังตุ้มน้อยๆโดนอาบรังสีมามาก เพราะ พ่อหรือแม่มโนว่า ไม่อันตราย ทั้งๆที่ตัวเองรับไป22mSvต่อสัปดาห์ และยังรู้สึกสบายดี แค่ตอนนี้และคิดจากคนที่สูดฝุ่นเข้าไปเต็มๆ10มิลลิคูรี หรือเอาแค่0.1มิลลิคูรีแล้วโดนไป10ปีดูครับ ดิฟหาปริมาตรรังออกมาแล้ว ก็ยังมากกว่า 10mSvต่อปีหลังรับเข้ามาแล้วที่10ปี และผมเชื่อว่า มะเร็งเม็ดเลือดขาวถามหาตั้งแต่ปีที่2-3แล้วครับ 10ปีคงนอนในโลงตะกั่วไปเรียบร้อยแล้ว
แต่ถ้าสูดนิวไคล์เข้าไป มันก็จะคายรังสีอยู่ในปอด และถ้ามันเข้าไปเยอะพอ จนคนคนนั้นก็จะป่วยจนตายอยู่แค่คนคนนั้น ไม่ได้แพร่ไปยังคนอื่น ถึงตายแล้วก็ยังคายรังสีต่อได้ (มีปัญหาตอนเผาศพ) ฉะนั้นถ้าอยู่ห่าง ไม่ได้เข้ามาอยู่ในตัว มันก็ไม่มีปัญหาอะไร
ผิดกับเชื้อโรค ถ้าติดแล้วมันเขามาเพิ่มจำนวนและแพร่ได้นะครับ
เพิ่มเติม มันผ่านมาครึ่งชีวิตแล้วไงครับ จาก80มิลลิคูรี ยังเหลืออีก40มิลลิคูรี คิดว่าไอ้ที่ฟุ้งไปตอนเผา(ไม่น่าจะต่ำกว่า10มิลลิคูรี) มันจะไม่ไปก่อปัญหากับชีวิตคนอื่น ที่อยู่และทำมาหากินอยู่ อย่างงั้นหรอครับ หรือคุณคิดว่าตอนที่สเปนและจีนเจอปัญหาทำนองนี้เข้าไป มันไม่มีอะไรตามมาอย่างงั้นหรอครับ (ถ้าไปหาประวัติคนเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในแถบที่เกิดปัญหามาได้นะครับ)
เริ่มจะออกทะเลแล้ว เอาเป็นว่าสรุปอีกรอบตามคอมเมนท์หลักอีกทีว่า สถานการณ์มันไม่ได้น่ากลัวอย่างข่าวที่ออกมาครับ
ซีเซียม-137 อันตรายจริง แต่มันต้องมีปริมาณ ระยะห่าง และระยะเวลาที่สัมผัสในระดับหนึ่ง แต่ปริมาณที่หายมันนิดเดียวเอง และอายุของมันก็ผ่านมา 28 ปี คือเกือบจะครึ่งอายุของมันแล้ว การแผ่รังสียิ่งลดลงไปอีก ขนาดที่คนที่ไปวัดค่ายังไม่กังวลเรื่องสัมผัสผิวหนังด้วยซ้ำ ทั้่งที่บริเวณนั้นรังสีน่าจะมีความเข้มข้นที่สุด
**edit แก้ไขการวรรคคำ
เขากลัวมันปนเปื้อนและกินไปโดยไม่รู้ตัวมากกว่า โดยเฉพาะส่วนที่ล่องลอยหลุดไปตอนเผา(ระบบปิดที่ซีลไม่ 100% ไม่เรียกว่าระบบปิดนะ)
เอาเป็นว่าคุณคำนวณได้ไหม ถ้าปริมาณรังสีที่วัดได้จากฝุ่นแดง เข้าปากไปโดยไม่รู้จะต้องใช้เวลาเป้นปีๆถึงจะอันตรายเหมือนนั่งข้างถุงห่างสองเมตร แบบที่คนพยายามบอกกันไหม
ต้องแยกประเด็น ข่าวตอนแรกเว่อเพราะเทียบเชอโนบิล แต่ก็ไม่ใช่ด้อยค่าความเสี่ยงลงจนเหมือนไม่ต้องกลัวเลย นี่ยังไม่นับว่ายังไม่แน่ใจเลยว่าใช่ของที่หายไปไหม และตามครบหมดยัง เพราะไม่ได้ตรวจดินทั้งหมดอย่างละเอียดด้วยซ้ำ แค่วัดจากผิว ที่มีข่าวฝังเถ้าจากการเผาอีกส่วนอีก ได้ขุดมาตรวจทั้งหมดหรือยัง? ยิ่งถ้าบอกว่ามันอ่อนแรงลง จนต้องวัดต่ำกว่าสองเมตร ถ้าหลุมลึกกว่าสองเมตรก็วัดไม่เจอแล้วสิ แต่โดนน้ำใต้ดินปนเปื้อนไปได้ทั่ว? ไม่น่ากลัวเลยจริงๆน่ะหรือ?
ถ้าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ มาจะเป็นแบบนี้ไหมเนี่ย
หลุดแบบนี้ = มาตราฐานอยู่ไหน?
ผ่านการตรวจสอบได้อย่างไร?
ควรปิดโรงงานเป็นระยะเวลา xxx เพื่อตรวจสอบตั้งแต่ต้น มีค่าปรับ xxx?
กฏหมายอ่อน หรือ เจ้าหน้าที่ไม่เข้มงวด
คำตอบที่ต้องตอบประชาชน แต่ก็ เลี่ยงคำตอบไปหมด
ที่น่าโมโห คือการบอกข้อมูลไม่ชัดเจนของรัฐนี่แหละ
ทีพูดประจบนาย ทำไมไม่เห็นงึกๆงักๆ แบบนี้
ผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนมีมูลค่าประมาณนี้เองสินะ
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.