วันที่ 23 มีนาคมที่ผ่านมา ที่ประชุม กสทช. นัดพิเศษ ครั้งที่ 7/2566 ได้พิจารณาเห็นควรร่างประกาศยกเลิกประกาศของกสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ทั่วไป พ.ศ. 2555 หรือประกาศ Must Have
ประกาศ Must Have กำหนดให้รายการกีฬา 7 ประเภท ได้แก่ ซีเกมส์ อาเซียนพาราเกมส์ เอเชียนเกมส์ เอเชียนพาราเกมส์ โอลิมปิก พาราลิมปิก ฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย หากมีการนำมาเผยแพร่ต้องเผยแพร่ผ่านทางโทรทัศน์ที่เป็นบริการทั่วไปก่อน แล้วจึงจะไปออกอากาศผ่านระบบดาวเทียม เคเบิล และ IPTV ได้ภายใต้กฎ Must Carry
โดยในที่ประชุม มอบหมายให้กสทช. เปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างประกาศยกเลิกกฎ Must Have จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนทั่วไปก่อนออกประกาศฉบับจริง โดยเปิดรับความคิดเห็นเป็นระยะเวลา 30 วัน
ที่มา - กสทช.
Comments
เอเชียนเกมส์ เอเชียนพาราเกมส์
ผมไม่เห็นด้วยที่เอาบอลโลกมาเป็นร่วมด้วยแล้ว แบบนี้ใครจะกล้าซื้อมาลงถ้าต้องลงฟรีๆ
เหลือแค่โอลิมปิกน่าจะพอ
อันนี้ออกด่วนเพราะซีเกมส์สินะครับ
กฎแบบนี้ไม่ควรมีตั้งแต่แรก
ไม่ควรจะเอามาบังคับในส่วนของ กสทช. ตั้งแต่แรก
ส่วนกีฬาใหญ่อย่างโอลิมปิคหรือเอเชียนเกมส์ ควรจะไปร่างกฏระเบียบในหน่วยงานอย่าง กกท ว่าเปิดให้หาช่องทางในการประมูลอย่างไรบ้าง เพื่อให้สามารถนำเงินจากรัฐมาสนับสนุนได้บางส่วน เนื่องจากเป็นกีฬาที่มีนักกีฬาไทยในนามตัวแทนทีมชาติเข้าแข่งขันโดยตรง
ส่วนซีเกมส์ ผมว่าไม่ต้องเอามารวมละ ดูจากวิธีการจัดแล้ว ไม่ได้ช่วยให้ยกระดับของนักกีฬาจริงๆจังกันเลย มีแต่คนอยากได้ตำแหน่งเจ้าเหรียญทองปลอมๆ
..: เรื่อยไป
กสทช ไปเอามาจาก Ofcom ที่ทำหน้าที่เหมือน กสทช ของ UK ครับ เค้าก็มีคล้ายๆ แบบนี้ แต่รายการที่บังคับใช้คนละอย่าง (Ofcom บังคับ ฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย รักบี้ชิงแชมป์โลกเกมชิงชนะเลิศ เอฟเอ คัพ นัดชิงชนะเลิศ เทนนิสวิมเบิลดัน รอบชิงชนะเลิศ ชายเดี่ยว หญิงเดียว โอลิมปิกทั้งฤดูหนาวและฤดูร้อน ต้องออกฟรีทีวีเป็นลำดับแรก แล้วถึงมีเพย์ทีวีมารับช่วงต่อ) แต่ทีวีรายใหญ่ของ UK เค้าเป็น BBC ทีวีสาธารณะที่ใช้เงิน TV License มาดำเนินการ การซื้อรายการแบบนี้มาก็เลยถือเหมือนว่าเอาภาษีประชาชนมาซื้อของที่ประชาชนควรจะได้ดูให้ได้ดู เลยไม่ค่อยมีดราม่าเหมือนของไทย
โลกมันเปลี่ยนแปลง การเดินทางสะดวกรวดเร็วขึ้น การถ่ายทอดสดทำได้ง่ายและทั่วถึง ไอ้การรวมกีฬามาแข่งมันตกยุคไปแล้ว ทั้งซีเกมเอเชียเกมโอลิมปิคเกมมันลดความนิยมลง กีฬายอดนิยมก็จัดแข่งแยกออกมา พวกอื่นที่คนไม่นิยมก็ไปรวมจัดเป็นพวกๆไป จัดแยกกันจะได้มีกีฬาดูเรื่อยๆทั้งปี ไม่ใช่ยัดมาสองอาทิตย์ให้รีบๆดู
อันนี้พูดในมุมคนดู แต่ในมุมนักกีฬา รายการพวกนี้ก็ยังคงสำคัญอยู่ดี
วรรคสุดท้ายเติมคำว่า สำนักงาน กสทช หน่อยไหมครับ จะได้ไม่งงกับ กสทช วรรคแรกที่สื่อถึง คณะกรรมการ กสทช ไม่ใช่อันเดียวกัน
เจอแขมร์เล่นเข้าให้
บวกบอลโลกครั้งล่าสุดด้วย
ไม่หรอกครับ มันเป็นปัญหามานานแล้ว นี่แหล่ะผลการลอกมาโดยไม่ดูบริบท และสภาพแวดล้อมของประเทศ ที่ต้องปรับให้เกิดความเหมาะสม ผมว่ายังดีที่เขารู้ตัวไม่ปล่อยให้คาราคาซังต่อไป เข้าใจแหล่ะว่าเป็นความหวังดี แต่ในทางกลับกันมันก็ทำลายการแข่งขันในภาคธุรกิจ รวมถึงสร้างภาระให้กับรัฐ แทนที่จะเอาเวลาไปจัดการเรื่องอื่นๆ ประเทศไทยแฟนกีฬาเยอะนะครับ เม็ดเงินโฆษณาก็มหาศาลเพราะเราเป็นฐานการผลิตมี Brand ต่างๆ ทั้งในและนอกเยอะแยะที่เป็นฐานไปยังประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียนด้วย
ปัญหาถัดไปที่น่าจะเจอกันก็อาจเป็นค่าดูกีฬาในช่วงแรกๆ น่าจะมีราคาสูงจนแฟนกีฬาบ่น แต่กลไกตลาดก็จะทำให้ราคาค่อยๆ ลดเองจากการแข่งขัน ขออย่างเดียวเอกชนก็อย่าหน้ามืดไปประมูลแข่งกันราคาสูงๆ จนทำลายตลาดด้วยตัวเองแล้วกัน คุยกันให้เรียบร้อยก่อนว่าใครจะเอางานนี้ไม่งั้นเดี๋ยวไปประมูลแข่งกันให้ราคาจนฝรั่งงง เหมือนบอลโลกเมื่อ 8 ปีก่อน ทำให้ก่อปัญหาตามมาอีกเรื่อยๆ ถ้างานไหนคนดูเยอะ ก็ตั้งตัวแทนไปประมูลแล้วเอามาแบ่งกันก็ได้ ดีกว่าไปแย่งกันหน้างานแล้วดันราคาสูงลิบจนไม่คุ้มทุน
ถ้าไม่ตัด Must Have ออก
คิดว่าต่อไปก็จะเกิดปัญหาราคาเกินจริงมาตลอด
เพราะคนอื่นก็น่าจะรู้ช่องนี้ แล้วเรียกราคาสูงทุกอัน
การจะเริ่มให้ประชาชนเริ่มหัดรับผิดชอบตัวเองในเรื่องง่าย ๆ แบบนี้ก่อน
ก็เป็นเรือ่งที่ดีนะครับ
เพราะอนาคต มันจะมีปัญหาใหญ่เกิดขึ้น แบบ 100% ด้วย
เหมือนที่ฝรั่งเศสเจอปัญหาตอนนี้
คงแบกได้อย่างเก่งก็ไม่น่าเกิน 10 ปี หรอก
ไม่ได้สนใจครับ ไม่มีก็ได้ ไม่ได้ดูอยู่แล้ว ประหยัดงบประเทศด้วย ซีเกมแต่ไหนแต่ไร ชาติไหนเป็นเจ้าภาพ ชาตินั้นเป็นเจ้าเหรียญทองอยู่แล้ว คิดดูแล้วกันว่าป็นเพราะอะไร