ความคืบหน้าของข่าว ยานสำรวจเอกชนญี่ปุ่น HAKUTO-R ขาดการติดต่อช่วงสุดท้ายก่อนลงจอดบนดวงจันทร์ หลังจากนั้นมีการยืนยันโดยกล้องของ NASA ว่า HAKUTO-R "ตก" ระหว่างลงจอด
บริษัท ispace เจ้าของยานลำนี้ได้เผยผลสอบสวนอย่างละเอียด สรุปว่าปัญหาเกิดจากซอฟต์แวร์ในการวัดค่าความสูงจากพื้นผิวดวงจันทร์
รายงานของ ispace บอกว่ายาน HAKUTO-R ลดระดับความสูงเพื่อลงจอดบนดวงจันทร์ ตั้งแต่ความสูง 100 กิโลเมตรได้ตามที่ควรจะเป็น ความเร็วตอนนั้นลดเหลือ 1 เมตรต่อวินาที แต่ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อความสูงเหลือ 5 กิโลเมตร ระบบของยานกลับวัดค่าความสูงได้เป็น 0 (อยู่บนพื้นดวงจันทร์แล้ว) ระบบการควบคุมการลงจอดอย่างช้าๆ จึงหยุดทำงาน ส่งผลให้ในระยะ 5 กิโลเมตรนี้ยานจึงร่วงลงอย่างอิสระ (free fall) และกระแทกกับผิวดวงจันทร์
สาเหตุของปัญหาเกิดจากการเลือกลงจอดที่หลุมอุกกาบาต (crater) ซึ่งตัววัดระยะความสูงทำงานผิดพลาด เพราะสับสนระหว่างขอบหลุมกับก้นหลุมที่มีความสูงต่างกัน 3 กิโลเมตร ส่วนเหตุผลที่ซอฟต์แวร์ทำงานพลาดยังเกิดจากการตัดสินใจเปลี่ยนจุดลงจอด ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากกระบวนการรีวิวความถูกต้องของซอฟต์แวร์แล้ว และการทดสอบแบบซิมูเลเตอร์ในภายหลังไม่ครอบคลุมเงื่อนไขเหล่านี้ดีมากพอ
ispace บอกว่ายอมรับในความผิดพลาดครั้งนี้ และจะปรับแก้ในซอฟต์แวร์ของภารกิจครั้งถัดไปที่จะมีอีก 2 ครั้งในอนาคต
ภาพเรนเดอร์ยาน HAKUTO-R ที่ควรลงจอดบนดวงจันทร์ได้สำเร็จ
Comments
เห็นไทยเราก็จะไปดวงจันทร์อะ ไม่รู้ไปถึงไหนแล้ว
ต้องเอาเคสนี้ไปดูแล้วแระ
ส่วนตัว หน่วยงานอวกาศของไทย ยังคิดว่าแค่ภาระกิจถลุงงบประมาณเฉยๆ
หาโครงการมา พลานงบ เอาคนตัวเอง ไปวางไปนั่งกินเงินเดือนตำแหน่งไปเรือยๆ
น่าเสียดายภารกิจดวงจันทร์ของญี่ปุ่นล้มเหลวสองภารกิจซ้อนเลย
เอาจริงๆ ถ้า HAKUTO-R ทำสำเร็จ จะเป็นบริษัท "เอกชน" รายแรกในโลกนี้ที่เอายานลงจอดบนดวงจันทร์สำเร็จ ก่อนหน้านี้คือรัฐบาล สหรัฐ, รัสเซีย และจีน
เงิน เวลา แรงงาน และชิ้นงาน สลายไปกับตาเพราะปัญหา Software มันน่าโมโหนะ เหมือนเสียเวลาไปกับเรื่องไม่เป็นเรื่องเนี่ย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ไม่ใช่ Software อย่างเดียวแน่นอนครับ ปัญหามันเยอะมาก ตั้งแต่ออกแบบ ฮาร์ดแวร์เซนเซอร์ การคำนวณ ยันแผนการลงจอด เลย มันเกิดจากไม่ความรู้ครับซึ่งผิดพลาดแบบสำหรับทีมถือว่าสำเร็จนะครับเพราพมันได้ข้อมูลมาวางแผนต่อ เพราะเขาจะไปตั้ง 3 รอบ ไปครั้งแรกแล้วหวังว่าจะ Successfully นี้ผมว่าลานเวนเดอร์เกือบถึงขนาดนี้ผมว่าเยี่ยมแล้ว
เกิดจากปัญหา software กับเกิดจากปัญหา hardware ต่างกันอย่างไรครับ? ทำไมพอเกิดจากปัญหา software ถึงเป็นเรื่องไม่เป็นเรื่อง
ผมว่าทั้งคู่ควรทำงานได้หลังทดสอบและตรวจสอบหลายๆ รอบ และไม่ควรจะเจอปัญหาด้วยซ้ำ โดยเฉพาะงานที่มีงบและทุนวิจัยมหาศาลกดดันขนาดนี้ พอผิดพลาดมา ทุกอย่างกลายเป็นศูนย์ เป็นใครก็โกรธที่งานที่ทำมาพังทลายต่อหน้าด้วยปัญหาเล็กๆ น้อยๆ แบบนี้
สำหรับผมมองว่ามันเป็นปัญหาที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นด้วยซ้ำไป ถึงได้บอกว่าเป็นเรื่องไม่เป็นเรื่อง ยิ่งงบประมาณสูง หายาก ใช้เวลานานกว่าจะได้ชิ้นงาน และทรัพยาการณ์ที่จำกัดด้วย มันยิ่งเจ็บปวดสำหรับคนที่เกี่ยวข้องในโครงการนะ ซ้ำร้าย บางคนอาจไม่ได้เห็นความสำเร็จด้วยซ้ำไป เพราะชีวิตที่ไม่มีอะไรแน่นอน
อีกส่วนหนึ่งก็คือ "ความล้มเหลว" มันสามารถดึงทุกอย่างดิ่งลงเหวได้ แม้ความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยก็ตาม
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
คิดว่าองค์ความรู้ที่ได้ระหว่างทาง ตั้งแต่เริ่มโครงการนี่เยอะขนาดไหน มันจะหายไปไหนหรือเปล่า ก็ไม่...
มันก็จะเป็นฐานให้โครงการถัดไป หรือจะสร้างลำที่ 2,3... ก็ได้ง่ายๆ
แล้วคิดว่าโครงการอวกาศส่วนใหญ่มันแพงที่ไหน แพงที่ R&D หรือวัตถุดิบที่ใช้ค่าสร้างยาน?
เอาจริงๆวัตถุดิบของพวกนี้ ไม่ได้แพงเลย เมื่อเทียบกับค่าวิจัย
การผลิตมันไม่ได้ยาก ถ้ารู้วิธีแล้ว แต่ก่อนจะรู้ว่าต้องผลิตยังไง นี่คือสิ่งที่ไม่มีใครบอกกัน เพราะมันคือสิ่งที่มีค่าที่สุด
ถ้าคนไทยเรายังคิดตื้นๆแบบนี้อยู่ ก็ทำได้แค่ซื้อของเขามาใช้แค่นี้แหละ
เห็นว่าเป็นความสูญเสีย ไม่ได้ดูว่าระหว่างทางได้อะไรมาบ้าง ไม่ได้ดูว่าเราฝึกคนเก่งขึ้นมาอีกกี่คน แล้วเราจะใช้ประโยชน์จากความล้มเหลวได้อย่างไร
คนทำโครงการ คนอนุมัติโครงการนี้ เค้ารู้อยู่แล้วว่ามีสิทธิที่จะไม่สำเร็จเลยก็ได้ แต่เค้าให้ทำ ได้ทำ เพราะเค้ามองไกล...กว่านั้น
ถ้าเป็นโครงการที่มีเงินอัดฉีดและมีการสนับสนุนต่อเนื่อง มันก็ไม่มีปัญหาเท่าไหร่ ได้ความรู้ ได้วิธีแก้ และมีประสบการณ์ ทำซ้ำจนกว่าจะสำเร็จ
แต่ถ้าเป็นโครงการที่ไม่มีเงินทุนหรือมีงบจำกัด ไม่มีคนสนับสนุนต่อให้มันจะดีขนาดใหนก็ตาม เรียกได้ว่ามันคือนรกเลยมากกว่า กว่าจะเก็บข้อมูล ประสบการณ์ สร้างผลงาน หรือแม้แต่ทดสอบ แต่ละอย่างมันใช้เวลานานมากกว่าจะสำเร็จ เผลอๆ คนที่ลงมือลงแรงอาจไม่ได้เห็นความสำเร็จแล้วด้วยซ้ำไป เปรียบเสมือนกับว่าเป็นโครงการที่มีโอกาสเพียงไม่กี่ครั้งที่จะต้องทำให้สำเร็จ จะล้มเหลวก็ไม่ได้ ยิ่งบางโครงการยังจำกัดอายุและการศึกษาในการเข้าร่วมอีก เมื่อเลยมาแล้วหรือไม่เข้าตามคุณสมบัติก็ทำอะไรไม่ได้อีก ต้องล้มเลิกแล้วไปหาโครงการอื่นมาทำแทน
ผมเข้าใจว่าหลายคนมองกาลไกล มองอนาคต แต่ถ้าหลายๆ อย่างไม่เป็นใจ หรือพังไม่เป็นท่า แม้จะตั้งใจแค่ไหน มันก็เป็นความล้มเหลวอยู่ดี แม้ว่าจะได้ความรู้และประสบการณ์ แต่ก็อาจจะไม่มีโอกาสที่จะได้ใช้มันอีกเลยก็มีเหมือนกัน
โทษทีที่ตอบยาวแบบนี้ เพราะมันเคยเกิดขึ้นกับชีวิตผม แล้วยังคงเจ็บปวดมาจนถึงทุกวันนี้
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
เค้าแค่บ่นว่าเสียดายเฉยๆ แล้วก็จบ ไม่ได้พูดถึงประเด็นอื่นเลย
นี่ก็จัดหนักจัดเต็มเหมือนเกลียดอะไรกันมา ใจเย็นนะพ่อคนคิดลึก
งาน Software มันไม่มีฟิสิกส์ช่วยเหมือน Hardware (และก็ไม่มาขวางด้วยเหมือนกัน) มันก็เลยมีจุดที่ยากแหละครับ
ไม่รู้ไปสร้างความเสียหายอะไรกับดวงจันทร์ไหม
พอรู้สาเหตุ รู้สึกว่า ดีแล้วที่ระเบิดตูมไป เพราะถ้าฟลุ๊กลงได้แล้วคราวหน้า ส่งเป็นมนุษย์ไปนี่ เละเลยนะ
ถึงต้องมีมนุษย์ควบคุมยานได้นั่งไปด้วย เอาไว้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า
อยากรุ้ความเร็วสุดท้ายตอนยานกระแทกดวงจันทร์ครับ หาในที่มาไม่เจอ
The Last Wizard Of Century.
ความเร็วสุดท้าย 1 m/s
ดวงจันทร์ มีแรงโน้มถ่วง ความเร่ง 1.62 m/s²
ระยะทางเหลือ 5 km = 5,000 m
จริงน่าจะพอคำนวณได้ แต่ผมลืมไปละ คืนอาจารย์ไปนาน ให้ AI คิดยังกลัวผิด
ไม่รู้ผิดเปล่า ประมาณ 127 m/s , ~ 458.1 Km/hr
น่าจะถูกแล้วครับ ChatGPT + Wolfram Alpha ได้ 127.39701723352867 m/s
https://chat.openai.com/share/cb15121d-268b-44dd-9073-793dd13b0e46
แต่เข้าใจว่าอันนี้มันคิดที่แรง g คงที่
1.623 m/s²
ซึ่งถ้าสูง 5 km นี่น่าจะมีเปลี่ยนแปลงไปบ้าง?ตอนแรกผมใช้ Bard ลองแล้ว ได้ค่าแปลกๆ ดูง่ายไป เลยไปหาตัวอื่นช่วย รวมถึงเว็บมีสูตรมี calculator ในตัวเช็คอีกที
ส่วนแรง G ผมว่าที่เราคิดๆ มันมาจากที่ผิวดาว ที่ความสูงขนาดนั้นมันน่าจะน้อยลงแต่อาจจะไม่มากก็ได้มั้งครับ ยังไงลงแรงขนาดนั้นก็ลาก่อนหมด ฮ่าๆ
ค่า G ที่ระดับ 5km แปรผันไม่ถึง 0.6% ผลสุดท้ายน่าจะคล้ายๆกันอยู่ดี (ฮา)
(g แปรผันตาม 1/r2, r จาก 1737.4 km เพิ่มเป็น 1742.4 km ก็เหลือลงไปเหลือ 99.43%)
ขอบคุณทุกท่านข้างต้นครับ ทราบค่าแล้วเดาสภาพยานออกเลยครัย
The Last Wizard Of Century.
ผมชอบ Logo ของ hakuto นะ หูกระต่าย น่ารักดีแบบญี่ปุ่นๆ กระต่ายบนดวงจันทร์ไรงี้