CATL ผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่จากจีนที่มี Tesla เป็นลูกค้าเจ้าใหญ่ที่สุด เปิดตัวแบตเตอรี่ LFP รุ่นใหม่ ภายใต้ชื่อเล่น "Shenxing" ซึ่งผู้บริหารของ CATL ระบุว่าใช้เวลาชาร์จเพียง 10 นาทีก็สามารถทำให้รถยนต์ไฟฟ้าวิ่งได้ 400 กิโลเมตร หรือหากชาร์จเต็มก็เคลมว่าวิ่งได้ถึง 700 กิโลเมตร โดยตั้งเป้าว่าจะเริ่มผลิตจำนวนมากภายในปลายปีนี้และเริ่มส่งมอบปีหน้า
ชื่อแบตเตอรี่ LFP ย่อมาจากสูตรเคมี LiFePO4 (lithium iron phosphate) ซึ่งเป็นแบตเตอรี่ที่ Tesla นำมาใช้อย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2021 แทนที่แบตเตอรี่ nickel cobalt aluminum ที่มีส่วนผสมของแร่โลหะหายากอย่างโคบอลต์
ประเทศจีนเป็นผู้ส่งออกหลักของแบตเตอรี่ชนิดนี้ นำโดย CATL ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าถึง 35% ในไตรมาสแรกปีนี้ มีจุดเด่นคือราคาถูกและปลอดภัย แต่ก็มีความหนาแน่นของพลังงานต่ำ ทำให้รถวิ่งได้ไม่ไกลมากเท่าแบตเตอรี่ชนิดอื่น การเปิดตัวครั้งนี้จึงน่าสนใจว่าจะแก้ข้อด้อยของแบตเตอรี่ LFP ได้เพียงใด
ที่มา - TechCrunch, CATL
ภาพโดย CATL
Comments
ฝั่งญี่ปุ่นนี่หายไปไหนเนี่ย ถ่าน Panasonic ไม่ดังแล้วหรือไงนะ
ชาร์จกี่วัตต์น่ะ
4C ครับ ความเร็ว 4 เท่าของความจุ
คืออยากรู้ว่าเค้าใช้ที่ชาร์จกี่วัตต์น่ะครับ 😂 พอดีเค้าไม่บอกความจุผมก็เลยยิ่งงง
กี่วัตต์มันคำนวณจากค่า C ครับ
ในกรณีนี้ 4C ก็คือสมมติแบตขนาด 100kWh จะชาร์จได้มากสุด 400kW
ทราบแล้วครับ แต่เค้าไม่บอกว่าแบตขนาดไหนไงครับ T-T
สมมุติฐาน > อัตรากินไฟ BYD ATTO 3 = 18.3kWh/100KM
X=ขนาดแบต
Y=4X=ความแรงในการชาร์จ
ชาร์จ 10นาทีวิ่งได้ 400KM = 73.2kWh/400KM
Y/6 = 4X/6 = 73.2
X=109.8kWh
Y=439.2kW
ผมคิดถูกหรือเปล่านะ?
อีกหน่อยแท่นชาร์จต้องมีแบตมากระจายการดึงไฟฟ้าจากระบบด้วยละมั้งครับ
มันจะเสื่อมไวไหม
อยากรู้ว่าการจัดการความร้อนเป็นอย่างไร เพราะชาร์จเร็วเกิดความร้อน ทำให้แบตเสื่อมไวครับ
ถ้าชาร์จ 10 นาทีแล้ววิ่งเลย
มีโอกาศที่จะใช้ลมมาช่วยระบายความร้อนได้
แต่ถ้าชาร์จแบบประเทศไทยถ้าไปตามปั๊มอาจจะเสื่อมเลย เพราะอากาศข้างนอกก็ร้อน แบตก็ร้อน
แต่ถ้าไปชาร์จตามห้างก็อาจจะเป็นอีกเคส
แต่ผมคิดว่าชาร์จ 10 นาทีคงต้องเป็นนาทีด่วนจริง ๆ เพราะถ้าเราชาร์จแล้วออกรถได้เลยน่าจะช่วยลดความร้อนสะสมได้พอตัว
งงครับ แบต EV เดี๋ยวนี้ต้องมี active cooling ทั้งนั้นครับ วงจรก็ charging throttle ได้ตามอุณหภูมิจริง ซึ่งพยายามควบคุมไม่ให้อุณหภูมิแบตมันมากไป (หรือน้อยไปในบางประเทศ)
ต่อให้ชาร์จสั้นๆ ถ้ามันร้อนเกินมันก็พังครับ ชาร์จสั้นๆแล้วรีบทำให้เย็นบ่อยๆอาจจะพังเร็วกว่าด้วยจาก fatigue
งงเช่นกันครับ
ก็ตัว active cooling ของคุณกล่าวมามันคือ challenge ของระบบ fastcharge อยู่แล้ว
แต่ที่จะเกิดในประเทศไทยคือความร้อนสะสม สิ่งที่จะช่วยให้กรณีมันร้อนเกินไปก็คือ passive cooling หลังจากที่เราชาร์จเร็ว 10 นาที ? เอาเป็นว่าผมเดาว่าในประเทศเรา ถ้าชาร์จตอนกลางวัน ( เคสชาร์จตอนกลางวันคงมีเฉพาะวันเร่งด่วนมั้ง ) แบตจะร้อนไม่พอ รถจะร้อนด้วย active cooling จะไหวมั้ยนี้ก็อีกเรื่อง รอชมนะครับ ^_^
ช่วงนี้เทคโนโลยีเกี่ยวกับ EV ที่ประกาศๆกันมาคือมันไปเร็วมาก แทบจะตกรุ่นเป็นมือถือเลย ดูอย่าง leaf รถออกปี 2018 ผ่านไป 5ปี ปัจจุบันโดนถ่มถุยว่าสเปคโบราญงั้นงี้ กลับกันรถสันดาปอยากมาสด้า2 ขายมา10ปีแล้ว ก็ยังขายได้อยู่
"สันดาป" มันตันมานานแล้วครับ
โอ้...แซงหน้า Solid State ของ Toyota เลยทีเดียว 😲
เงินทุนหนา และทรัพยากรบุคคลที่ในจีนมีเยอะอยู่แล้ว รวมถึงแหล่งวัตถุดิบมหาศาลและความรู้ในการพัฒนาที่มาเรื่อยๆ ในจีน
ไม่แปลกใจเลยที่จะออกของใหม่ๆ ที่ดูล้ำกว่าคู่แข่งในระยะเวลาอันสั้นแบบนี้ ใครจะคิดว่าชาร์จไว้แล้วขับได้ไกลแบบนี้จะมาในไม่กี่ปีหลัง EV เริ่มบูม
แน่นอนว่าคู่แข่งมีเหนื่อยครับที่จะสู้กับ CATL ตรงๆ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว