นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) พูดถึงกรณีเหตุการณ์ในห้างสยามพารากอนวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา ในช่วงเวลาดังกล่าวทางห้างได้แจ้งเตือนโดยใช้วิธีส่ง SMS ถึงผู้ที่อยู่บริเวณห้างว่า “ขณะนี้เหตุการณ์ฉุกเฉินให้อพยพออกจากพื้นที่พารากอน” ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ว่าข้อความอาจจะไม่ได้ส่งถึงคนอีกจำนวนมากในห้าง และไม่พบว่ามีการแจ้งเตือนจากภาครัฐแบบเจาะจงสำหรับคนในพื้นที่
ทาง DE ได้รับคำสั่งให้ดำเนินการร่วมกับ กสทช. หาแนวทางในการแจ้งเตือนแบบเจาะจง ดังนี้
Cell Broadcast คือระบบการส่งข้อความแบบส่งตรงจากเสาส่งสัญญาณสื่อสารในพื้นที่ ไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ และเครื่องมือสื่อสาร ในพื้นที่ที่มีการติดตั้งเสาส่งสัญญาณ ซึ่งจะทำให้การส่งข้อมูลรวดเร็วและครอบคลุมทั้งพื้นที่ และ Cell Broadcast ไม่ต้องการเบอร์โทรศัพท์ ทำให้รวดเร็วกว่าการส่ง SMS มาก นอกจากนี้ ระบบ Cell Broadcast สามารถทำงานได้โดย ไม่ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น
ระบบการแจ้งเตือนภัย เดิมแบบ SMS จะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าระบบ Cell Broadcast มาก โดยระบบ SMS จะใช้เวลาประมาณ 15 -20 นาทีในการประมวลผลว่ามี SIM โทรศัพท์หมายเลขใดอยู่ในพื้นที่บ้าง และใช้เวลาในการส่งข้อความอีกประมาณ 1 – 20 นาทีในการส่งให้ครบ กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ โดยเฉพาะในกรณีที่มีคนจำนวนมากในพื้นที่เป้าหมาย
ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธาน กสทช. ได้พูดคุยกับทาง DE และ ผู้ให้บริการโทรคมนาคมถึงการดำเนินงานดังนี้
การให้บริการแจ้งเตือนด้วยระบบ cell broadcast จะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ พร้อม software สำหรับ cell broadcast ทาง สำนักงาน กสทช ประสาน ผู้ให้บริการโทรคมนาคม เพื่อเร่งดำเนินการ ให้เสร็จพร้อมใช้ทั้งประเทศโดยเร็ว สำหรับที่มาของ งบประมาณ จะใช้เงินจากกองทุน USO
ที่มา: ข่าวประชาสัมพันธ์จากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
Comments
ประธาน กสทช. กลับมาจากทริปดูงานที่ต่างประเทศแล้วหรอครับ
ควรทำตั้งแต่ยุคซึนามิแล้วไหม
มีหน้าที่กำกับดูแล ไม่ใช่ขายแต่ License
ไป google เรื่อง Cell Broadcast เจอว่า dtac ส่งผ่านระบบนี้มาตั้งแต่ปี 2558 แต่มีคนขอวิธีปิดกันเพียบเลย
ก็เล่นส่งข้อความประหลาดๆมาแบบนี้ ถ้าไม่ขอปิดก็แปลกแล้วครับ ตัวอย่าง
https://pantip.com/topic/30811717
https://pantip.com/topic/33712213
https://pantip.com/topic/34670996
เอิ่มม เขาไปใช้ทำไรกันเนี่ย ทดสอบบน Production เหรอครับ ฮ่าๆ
ถ้าอันที่ส่งชื่อ cellsite ของ dtac จะส่งผ่าน channel 50 มาตั้งแต่แรกแล้วครับ ตั้งแต่ช่วงราวๆปี 254x ตั้งแต่ก่อนยุคโนเกีย มันจะไม่ขึ้นเป็น sms แต่ขึ้นเป็นข้อความลอยๆอยู่ในหน้าจอ
แต่เหมือน android เอาไป implement เป็น sms เด้งเข้า inbox ก็เลยวุ่นวายกันหน่อย (ซึ่งอาจจะถูกต้องตามมาตรฐานแล้วรึเปล่า ไม่แน่ใจ)
ที่ว่าแปลกนี่ คือเมื่อ 20 ปีก่อน มันล้ำมากเลยนะ ขึ้นแสดงชื่ออำเภอว่าอยู่ที่ไหนบนมือถืออะ จำได้ว่าดีแทคทำอยู่เจ้าเดียวเลยมั๊ง
iPAtS
มันคือชื่อของ cell site ที่มือถือ connect อยู่ เมื่อก่อนผมก็เปิดไว้ตลอดครับ ไม่ใช่การเทสระบบอะไรทั้งนั้น และใช้งานได้จริง
sms นี่ทำได้มานานละนี่ เข้างานที่จัดกันส่งมาบอกกันใหญ่เลย
เคยต้องเป็นคน config job ส่ง SMS เตือน Tsunami ภาคใต้ครั้งนึง ช่วงประมาณเมื่อ 10 ปีที่แล้ว
ตอนนั้น manual และ ทาง technical มีปัญหาอยู่มาก
ตอนนี้เค้าใจว่าพวก technical limitations หลายๆค่ายก็ไม่มีแล้ว
แต่ไม่รุ้ว่า กสทช set process ดีๆแล้วหรือยัง ตอนนั้นยังจำได้ว่าปุ๊บปั๊บรับโชคมากๆ งานยิ่งกว่าเผา
มาช้าดีกว่าไม่มา ขอให้โครงการสำเร็จลุล่วงด้วยดี คนที่ได้ประโยชน์ก็คือคนไทยทุกคน
ต้องเปิดตัวด้วยหรือ เทคโนโลยีเก่าขนาดนี้
Ooh
มันก็ต้องแจ้งเพื่อทราบไหม ถ้าประชาชนได้ SMS เดี๋ยวก็คิดว่าแก๊ง Call Center อีก
ส่งมาก็แยกไม่ออกครับอันไหนของจริง
ไม่ได้เก่าขนาดนั้นเอาจริง เยอรมันเองก็เพิ่งใช้เองครับ หลายประเทศเจอปัญหาเดียวกันไม่มีเจ้าภาพ
ผมเคยเจอค่ายมือถือเอามาส่งโฆษณา
ดีครับ เป็นเรื่องที่ดี มีเจ้าภาพ มีcommand center ซะที
ต่อไปปัญหาการแจ้งเตือนประชาชนจะได้ถูกปรับให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
ไม่แน่ใจรวม sim นอกประเทศที่มา roaming ด้วยไหม เคยไปญี่ปุ่นเมื่อ 2019 ตอน Super ไต้ฝุ่น ทันทีที่แตะพื้น roaming เข้ากับเครือข่าย local ก็มี alert เข้าทันที ให้ชาวต่างชาติรู้ แต่ดันเป็นภาษาญี่ปุ่น - -! เด้งพร้อมกันทุกเครื่อง ตอนรอง ตม. งงๆ กันไป