กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) เตรียมชงเพิ่มโทษ การซื้อขายข้อมูลส่วนบุคคล จากโทษจำคุก 1 ปี เป็น 5 ปี และเพิ่มความรับผิดชอบของสถาบันการเงิน ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ผู้ให้บริการโทรคมนาคม และผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ เมื่อผู้ใช้บริการได้รับความเสียหาย รวมติดตามเร่งคืนเงินให้ผู้เสียหาย เมื่อถูกมิจฉาชีพหลอกลวง
การชงเพิ่มโทษในครั้งนี้ เป็นการยกระดับมาตรการป้องกัน เพื่อลดอาชญากรรมออนไลน์ และช่วยให้การรั่วไหลของข้อมูลลดลงเหลือศูนย์เร็วขึ้นสอดคล้องกับเป้าหมายของกระทรวง
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส. หรือ PDPC) มีคำสั่งปรับทางปกครองต่อบริษัทเอกชนรายหนึ่ง (ไม่ระบุชื่อ) ที่ทำธุรกิจด้านซื้อขายสินค้าออนไลน์ เป็นเงิน 7 ล้านบาท หลังปล่อยให้ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ารั่วไหล ซึ่งผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA)
บริษัทรายนี้ เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ามากกว่า 1 แสนราย แต่กลับไม่ปฏิบัติตามกฎหมายดังนี้
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) ประกาศรีแบรนด์ เพิ่มโลโก้แบบใหม่ที่มีความทันสมัย เพื่อใช้ในรูปแบบ “กึ่งทางการ” แทนโลโก้ตราพระพุธที่ยังคงไว้เป็นโลโก้ทางการ
โลโก้ใหม่จะเป็นตัวย่อ DE แรงบันดาลใจ มีที่มาจากสัญลักษณ์อินฟินิตี้ (∞) สื่อถึงการเติบโตอย่างไม่สิ้นสุด ส่วนโครงสร้างตัว E เปิดปลายก็ตั้งใจจะสื่อถึงการเชื่อมกันของโลกความจริงและโลกดิจิทัล รวมถึงยังสามารถมองโลโก้รวม ๆ เป็นตัว S ซึ่งย่อมาจาก Society บ่งบอกถึงเป้าหมายของกระทรวงอย่างการมุ่งพัฒนาสังคมที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญ
Google ประเทศไทยจัดกิจกรรม Safer Songkran ระหว่างวันที่ 3-6 เมษายน ที่สามย่านมิตรทาวน์ ภายใต้โครงการ Safer with Google ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 พร้อมประกาศความร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในการเสริมสร้างความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ให้กับคนไทยผ่านฟีเจอร์และแคมเปญใหม่ ได้แก่
ประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) อัปเดตการดำเนินงานระยะเวลา 3 เดือน หลังได้ร่วมมือกับพันธมิตรทั้งในกระทรวงฯ หน่วยงานรัฐและภาคเอกชน กระทรวง DE ประกาศความสำเร็จ 9 ผลงาน โดยผลงานเด่นๆ มีดังนี้
รูปแบบ One Stop Service แก้ปัญหาออนไลน์ให้บริการ 24 ชม. และใช้ติดตามสถานการณ์ สั่งการ ปฏิบัติการป้องกันปราบปรามโจรออนไลน์อย่างบูรณาการและทันเวลา ซึ่งระบบนี้ จะทำงานเชื่อมโยง กับ Central Fraud Registry ของสมาคมธนาคารและ Audit Numbering ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลของ กสทช.
ปัจจุบันมีรูปแบบการหลอกลวงเกิดขึ้นจำนวนมาก ทาง Meta ประเทศไทยออกมาพูดถึงมาตรการการรับมือปัญหาภัยลวงออนไลน์ มีการร่วมมือกับกระทรวง DE และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดตัวแคมเปญ #StayingSafeOnline ให้ความรู้เท่าทันภัยทางออนไลน์
เฮเซเลีย มาร์กาเรต้า ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะด้านนโยบายเศรษฐกิจจาก Meta ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่าการตรวจจับและป้องกันสแกมบนแพลตฟอร์มของ Meta หากพบบัญชีที่มีพฤติกรรมการหลอกลวง เจ้าของบัญชีจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขาไม่ได้ใช้งานบัญชีปลอมหรือนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตนเองที่ไม่เป็นความจริง หากเจ้าของบัญชีไม่สามารถยืนยันตัวตนได้ตามที่กำหนด หรือหากผู้ตรวจสอบพบว่ามีการละเมิดกฎและนโยบายต่างๆ บัญชีดังกล่าวก็จะถูกลบ
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) พูดถึงกรณีเหตุการณ์ในห้างสยามพารากอนวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา ในช่วงเวลาดังกล่าวทางห้างได้แจ้งเตือนโดยใช้วิธีส่ง SMS ถึงผู้ที่อยู่บริเวณห้างว่า “ขณะนี้เหตุการณ์ฉุกเฉินให้อพยพออกจากพื้นที่พารากอน” ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ว่าข้อความอาจจะไม่ได้ส่งถึงคนอีกจำนวนมากในห้าง และไม่พบว่ามีการแจ้งเตือนจากภาครัฐแบบเจาะจงสำหรับคนในพื้นที่
ทาง DE ได้รับคำสั่งให้ดำเนินการร่วมกับ กสทช. หาแนวทางในการแจ้งเตือนแบบเจาะจง ดังนี้
ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศพระบรมราชโองการแต่งตั้งรัฐมนตรี โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือกระทรวงดีอี แต่งตั้งนายประเสริฐ จันทรรวงทอง เป็นรัฐมนตรี
นายประเสริฐ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเพื่อไทย แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 3 มีตำแหน่งเป็นเลขาธิการพรรค จบการศึกษาปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปริญญาโท มหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ประสบการณ์ เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 5 สมัย ปี 2544, 2548, 2550, 2554, 2562 ในระบบแบบแบ่งเขตของจังหวัดนครราชสีมา และเคยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ประกาศเตรียมฟ้องศาลเพื่อขอคำสั่งให้ปิดกั้นเฟซบุ๊กไม่ให้สามารถใช้บริการในไทย เนื่องจากแพลตฟอร์มรับเงินค่าโฆษณาจากเพจปลอมแต่กลับไม่มีการตรวจสอบ
ปัญหาใหญ่ที่ประชาชนถูกหลอกลวงมาจากเฟซบุ๊ก โดยมีการหลอกลวงให้ลงทุนผ่านโซเซียล 70% มาจากเฟซบุ๊ก และหลอกขายของออนไลน์จำนวน 90% ก็มาจากเฟซบุ๊ก ที่ผ่านมาทางกระทรวงพยายามปิดแอคเคาท์ แต่ก็เหมือนจับแมวไล่หนู ปิดไป 1 เพจ ก็เปิดมาอีก 10 เพจ ซึ่งการที่เฟชบุ๊กรับเงินจากเพจเหล่านี้โดยไม่มีการตรวจสอบถือว่า เป็นผู้สนับสนุนและไม่รับผิดชอบต่อสังคม เป็นความผิดทาง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งชัยวุฒิระบุว่า ถ้าเฟซบุ๊กไม่ปรับปรุง ก็ไม่ควรทำธุรกิจในเมืองไทยต่อไป
ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) อัปเดตว่ากำลังพัฒนาระบบ Digital Identification (Digital ID) ภายใต้โครงการ ThaiD พร้อมยังระบุว่ากำลังผลักดัน Go Cloud First สร้างระบบคลาวด์ในประเทศ เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนสามารถใช้งานได้
ดีอีเอสยังอัปเดตในส่วนของมาตรการลดการหลอกลวงทางออนไลน์ หลังจากที่มีการบังคับใช้ พ.ร.ก. ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้จำนวนการแจ้งความคดีออนไลน์จาก 800 คดี เหลือประมาณ 600 คดีต่อวัน
ที่ผ่านมาเราอาจจะไม่ค่อยได้เห็นนโยบายในแง่เทคโนโลยีจากพรรคการเมืองที่ใช้ในการหาเสียงเท่าไหร่ แต่การหาเสียงเลือกตั้งครั้งล่าสุด พรรคก้าวไกลหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาพูดบ่อย มีบางส่วนเป็นนโยบายที่ค่อนข้างเด่นด้วย เช่น นโยบาย AI ปราบโกง หรือการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐเป็น machine readable ก่อนที่ล่าสุด จะประกาศนโยบาย รื้อกระทรวงดิจิทัลฯ
พรรคก้าวไกลเผยนโยบายที่เจาะจงเรื่องการแก้ปัญหาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล โดยมุ่งเน้นไปที่แนวทางของกระทรวงดิจิทัลและเศรษฐกิจเพื่อสังคม เนื่องจากมองว่า เป็นกระทรวงที่เป็นฟันเฟืองสำคัญและมีศักยภาพ แต่ที่ผ่านมาไม่ค่อยได้รับความสำคัญในแง่บทบาทระดับประเทศนอกจาก “บล็อกเว็บ” โดยประกาศแนวทางของกระทรวงทั้งหมด 5 ข้อ
1. Single Digital ID
ทำให้บัตรประชาชนหรือเลข 13 หลัก สามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐได้ทั้งหมด เพียงแค่ยื่นบัตรประชาชนหรือกรอกเลข 13 หลัก ก็สามารถเข้ารับบริการได้ทันที หลังจากที่ผ่านมาเราได้ยินกันบ่อย แต่แทบไม่เคยใช้ได้ในทางปฏิบัติ โดยพรรคจะเชื่อมโยงระบบที่กระจัดกระจายของหลายหน่วยให้มารวมกันที่ระบบเดียว
เมื่อ 15.00 ที่ผ่านมา กระทรวงดิจิทัลฯ ร่วมกับ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท) แถลงข่าวกรณีการจับกุมแฮกเกอร์ 9Near ที่แฮกข้อมูลคนไทย 55 ล้านคน ระบุว่าคนร้ายเป็นทหารยศ จ่าสิบโท โดยต้นสังกัดที่ทำงาน ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับภารกิจด้านเทคโนโลยี และจากการสืบสวน คนร้ายมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก ส่วนแรงจูงใจคาดว่าน่าจะเป็นเรื่องส่วนตัว
สรยุทธ สุทัศนะจินดา โพสต์บนเพจเฟสบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว ว่า ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ และสังคม หรือ ดีอีเอส กำลังตรวจสอบเว็บไซต์ และแพลตฟอร์มที่มีการนำเสนอโฆษณาการตลาดที่มีลักษณะก้าวล่วงสถาบันของ Lazada และที่คล้ายกัน
ทั้งเตรียมรวบรวมหลักฐาน และทำงานร่วมกับ ปอท. พร้อมยื่นคำรองต่อศาล เพื่อขอให้ปิดกั้นการเข้าถึงแพลตฟอร์ม รวมถึงการแชร์ผ่าน YouTube, Twitter และ Facebook โดยเบื้องต้นพบว่ามีทั้งหมด 42 URL
สำหรับแพลตฟอร์มที่นำเสนอโฆษณาการตลาดที่มีลักษณะก้าวล่วงสถาบัน ปกติแล้วจะต้องปิดตัวเมื่อได้รับการแจ้งจากดีอีเอส จะปิดตัวเองอยู่แล้ว หากไม่ปิดจะมีความผิด เป็นผู้ร่วมกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และกฎหมายอื่น
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวถึงความคืบหน้าในการจัดการเว็บพนันออนไลน์ หรือเว็บไซต์เงินกู้ ที่ส่ง SMS หลอกลวงประชาชน ระบุว่ายังมีช่องว่างอยู่มาก ถึงปิดไปแล้วก็ยังเปิดมาใหม่ได้ แต่กำลังประสานกับ กสทช. และผู้เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันและดำเนินการตามกฎหมาย
ส่วนในกรณีที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ดำเนินการจากต่างประเทศ นายชัยวุฒิระบุว่านายกรัฐมนตรีได้กำชับให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศอย่างเต็มที่ เพื่อทลายแหล่งกบดานและจับกุมดำเนินคดี
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมให้สัมภาษณ์สื่อเกี่ยวกับดีลควบรวมกิจการระหว่างทรูกับดีแทค ระบุว่า ในทางธุรกิจเป็นสิทธิของบริษัทที่จะวางแผน หรือทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการลงทุน
ส่วนฝั่งของกระทรวงและรัฐบาลยังอยู่ในระหว่างดูข้อกฎหมายอยู่ และติดตามสถานการณ์ โดยยังได้ไม่ลงรายละเอียดชัดเจน พร้อมกับระบุว่า ธุรกิจโทรศัพท์มือถือก็มีการแข่งขันอยู่แล้ว และตอนนี้ก็มีการกำกับดูแลโดยกสทช.
หลังศาลรัฐธรรมนูญถูกแฮกเมื่อวาน วันนี้นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) แสดงความเห็นในกรณีนี้ว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่าการแฮกเป็นเพียงการดิสเครดิต ไม่มีข้อมูลหายและระงับการเข้าถึงเว็บแล้ว
ส่วนระบบหลังบ้านเว็บ ก็เป็นการจ้างบริษัทเอกชนเข้ามาดูแล เจ้าตัวคาดว่าคงไม่มีมาตรการป้องกันที่เพียงพอ และคาดว่ายูสเซอร์เนมและพาสเวิร์ด อาจจะหลุดจากแอดมิน หรือแฮกเกอร์เจาะเข้ามาเอง ซึ่งทั้งหมดกำลังสืบสวนกันอยู่ และก็คาดว่าการกู้เว็บคงยาก
ศาลอาญาเพิ่งมีคำพิพากษาตัดสินคดีกลุ่มกบฏคณะ กปปส. ที่มีพนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการ กปปส.กับพวกรวม 39 คน โดยศาลตัดสินให้จำเลยมีความผิดในข้อหาต่างๆ จากการชุมนุมช่วงปี 2556-2557
หนึ่งในกลุ่มจำเลยทั้ง 40 คนคือ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นระยะเวลา 7 ปี ซึ่งคำตัดสินของศาลครั้งนี้น่าจะทำให้นายพุทธิพงษ์ต้องพ้นตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 160 (6), (7) ประกอบมาตรา 98 (6)
ที่มา - สำนักข่าวอิศรา
แอคเคาท์ทวิตเตอร์ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR) เผยแพร่เอกสารลับของกระทรวงดิจิทัล พร้อมด้วยคำสั่งของ ผบ.ตร. ที่อ้างอิงเอกสารของกระทรวงดิจิทัลที่มีคำสั่งไปยัง กสทช. ให้บล็อกการเข้าถึงแอป Telegram ในประเทศไทย หลังกลุ่มเยาวชนปลดแอก (Free Youth) ใช้เป็นช่องทางนัดหมายและเผยแพร่ข่าวสารการชุมนุม
กระทรวงดิจิทัลอ้างว่าเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 9 ประกอบมาตรา 11 ของ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน โดยกระทรวงดิจิทัลขอให้ กสทช. ไปขอความร่วมมือกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายมือถือบล็อกการเข้าถึงไอพีแอดเดรสของ Telegram ตามที่แนบมากับเอกสารลับ
ที่มา - @TLHR2014
ทวิตเตอร์ของกรมประชาสัมพันธ์ทวีตคำเตือนจากกระทรวงดิจิทัล ให้ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียระวังการโพสต์ข้อความหรือรูปภาพใด ๆ ที่ผิดกฎหมายทั้ง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์และ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน พร้อมระบุว่ามีเจ้าหน้าที่ติดตามความเคลื่อนไหวตลอด 24 ชม.
นอกจากนี้ระบุด้วยว่าตั้งแต่วันที่ 13 - 18 ตค. มีเคสเข้าข่ายการกระทำผิดกฎหมายทั้ง 2 ฉบับจากทั้งที่ได้รับแจ้งและเจ้าหน้าที่ตรวจสอบรวมกันกว่า 324,990 เรื่อง
ที่มา - @prd_official
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือดีอีเอส แถลงข่าวในงานดีอีเอสช่วยประชาชนสู้ภัย COVID-19 โดยกระทรวงดีอีเอส ได้ร่วมกับ CAT และ TOT ออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนในช่วงวิกฤต COVID-19 ด้วยการสนับสนุนบริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ประจำที่ (Fixed Broadband) ในชื่อแพ็กเกจพิเศษ "เน็ตอยู่บ้าน" ด้วยความเร็ว 100/50 Mbps ให้แก่ประชาชนฟรีเป็นระยะเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่เปิดใช้บริการ หลังจากนั้นจ่ายราคาเต็ม 390 บาท/เดือน
สำหรับรายละเอียดเงื่อนไขอื่น ๆ เบื้องต้น
พันเอก สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เผยว่าคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นชอบให้ CAT เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการทรัพย์สินที่กระทรวงดิจิทัลฯ รับโอนหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานให้บริการดาวเทียมกับ บมจ. ไทยคม ในเดือนกันยายน 2564 ประกอบไปด้วยดาวเทียม 2 ดวงคือ ไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) และ ไทยคม 6 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอกระทรวงดิจิทัลฯ นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
ดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ในขณะนี้มีอายุทางวิศวกรรมและพลังงานเชื้อเพลิงใช้ได้ถึงปี 2565 ทั้งนี้หากยังไม่มีดาวเทียมใหม่มาทดแทน อาจจะต้องส่งโดรนเติมเชื้อเพลิงเพื่อใช้งานต่ออีกระยะหนึ่ง เพื่อรักษา Slot วงโคจรและรักษาลูกค้าเดิมไว้เผื่อขยายฐานลูกค้าเพิ่มในอนาคต
กระทรวงเศรษฐกิจดิจิทัลประกาศจัดซื้อจัดจ้างระบบตรวจสอบเปรียบเทียบใบหน้าบุคคลบนสื่อสังคมออนไลน์ด้วยงบประมาณกลางราว 40 ล้านบาท
เอกสาร TOR ได้ให้เหตุผลไว้ว่าเพื่อตรวจสอบกลุ่มคนไม่หวังดีที่ใช้อินเทอร์เน็ตในการหลอกลวงและทำผิดกฎหมาย ที่ทำให้เกิดความวุ่นวายและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและความสงบ ขณะที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) จะเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีนี้ เพื่อตรวจสอบใบหน้าจากสื่อสังคมออนไลน์ ไปจนถึงวิเคราะห์ข้อมูลและร่องรอยต่างๆ เพื่อระบุตัวตน ไม่ว่าจะบนเฟซบุ๊ก, อินสตาแกรม, ทวิตเตอร์หรือยูทูป ทั้งที่ตั้งค่าเป็นสาธารณะและส่วนตัว ไปจนถึงกลุ่มต่างๆ ด้วย
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเตรียมจะจัดงาน Digital Thailand Bigbang 2017: Digital Transformation Thailand ในวันที่ 21-24 กันยายนนี้ โดยหนึ่งในกิจกรรมที่เป็นหนึ่งในไฮไลท์ คือการแข่งขัน eSport ภายในงาน และเกมที่ถูกนำมาแข่งคือ League of Legends และ RoV
การแข่งขันจะมีขึ้นตลอดงานในชาเลนเจอร์ฮอล อิมแพค เมืองทองฯ โดยทั้งสองเกมเปิดรับสมัครทีมละ 8 คน ปิดรับสมัครวันที่ 20 กันยายนนี้ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่นี่
ที่มา - Digital Thailand Bigbang
เมื่อวานนี้ กสทช. เปิดเผยว่าได้รับแจ้งจากเฟซบุ๊กและ YouTube ในการบล็อคการเข้าถึงลิงก์ที่ผิดกฎหมายในประเทศไทยไปแล้วกว่า 1,834 ลิงก์ ซึ่งไม่ตรงกับจำนวนลิงก์ที่ผิดกฎหมายตามคำสั่งศาลที่มีทั้งหมด 3.726 ลิงก์ ก่อนจะพบว่าปัญหาเกิดจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) จะส่งลิงก์ไปให้ไม่ครบเอง
กระทรวง DE ส่งลิงก์ให้เฟซบุ๊กไปเพียง 1,039 ลิงก์และ YouTube 779 ลิงก์ เนื่องจากเกิดความล่าช้าในการแปลสำนวนหรือแสลงต่างๆ ที่แนบไปกับแต่ละลิงก์ เพื่อให้ผู้ให้บริการเข้าใจเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย ขณะที่กระทรวง DE ส่งลิงก์ไปให้ กสทช. ครบทั้งหมด เนื่องจากไม่ต้องแปล ทำให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่าง กสทช. และผู้ให้บริการทั้งสองเจ้า