TADA (ทาดา) แพลตฟอร์มเรียกรถแบบไม่มีคำคอมมิชชั่น ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศสิงคโปร์ ประกาศเปิดตัวบริการอย่างเป็นทางการในประเทศไทยแล้ว หลังได้รับความนิยมและสามารถรักษาส่วนแบ่งการตลาดอันดับ 2 ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในประเทศสิงคโปร์ 5 ปี และขยายบริการมาสู่กัมพูชา, เวียดนาม และล่าสุดประเทศไทย
ค่าบริการของ TADA จะอิงค่าโดยสารจากกฎหมายกรมขนส่งทางบกเป็นหลัก ในช่วงแรก TADA จะเปิดบริการในกรุงเทพฯ ก่อน แล้วจะขยายบริการไปสู่จังหวัดนนทบุรี, ปทุมธานี และสมุทรปราการ มีรถยนต์ให้บริการ 4 ระดับคือ AnyTADA, Economy, Economy Large, Premium และ Taxis มีเป้าหมายจะเพิ่มบริการจักรยานยนต์ และขยายบริการไปยังต่างจังหวัดในประเทศไทยภายในปี 2024
การเปิดตัวของ TADA ครั้งนี้ มีเป้าหมายที่จะทำให้การเดินทางเข้าถึงได้ง่ายสำหรับทุกคน และช่วยสร้างรายได้ให้เพิ่มมากขึ้น ผ่านการกระจายราคาและรายได้ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างเป็นธรรม ระหว่างแพลตฟอร์มผู้ให้บริการ, ผู้โดยสาร และคนขับรถ
ฌอน คิม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ TADA ประเทศไทย กล่าวว่าการเปิดตัว TADA ในประเทศไทยไม่ใช่แค่การเติบโตทางธุรกิจเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมความร่วมมือ และผสานการบริการให้เข้ากับในประเทศไทยได้อย่างลงตัว ทีมงานในประเทศไทยได้ถูกจัดดั้งขึ้นในปี 2023 เป็นการยืนยันถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการให้บริการที่เหมาะสมกับความต้องการ ผู้ใช้บริการในประเทศ เพื่อนำเสนอวิสัยทัศน์ใหม่สู่อุตสาหกรรมการคมนาคมเพื่อสร้างและสนับสนุนชุมชนที่ได้รับประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่าย
TADA เป็นส่วนหนึ่งของ MVLLABS Group บริษัทด้าน Blockchain Mobility System และยังได้พัฒนารถยนต์ไฟฟ้า ONION ที่ประสบความสำเร็จในโครงการนำร่องร่วมกับเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือชีพีกรุ๊ปของประเทศไทย
Disclaimer - Blognone เป็นบริษัทในเครือของ LINE MAN Wongnai
Comments
แล้ว tada จะมีรายได้จากช่องทางไหนหรอครับ
พวกที่เคลมว่าไม่มีค่านู้นค่านี่ แล้วไม่บอกให้ชัดเจนว่า business model เป็นยังไง บริษัทได้รายได้ยังไงที่แตกต่างจากคนอื่น มันดูไม่น่าเชื่อถือเลย
iPAtS
แล้วจะเอาเงินจากไหน หรือจะเก็บภายหลัง
จะซ้ำรอย Bolt รึเปล่านะ
โดนยิงแอดมาบ่อยมาก ส่วนมากเป็นรูปเอไอเจน
ไม่มีค่าคอม
แต่จะมีค่าอย่างอื่นมาแทนน่ะสิ
อ่านมาจากอันนี้ https://www.businesstimes.com.sg/startups-tech/startups/blockchain-based-ride-hailing-app-tada-makes-singapore-debut
"MVL runs on a "not-for-profit model", under which TADA does not charge its drivers a commission for access to the pool of riders. Instead, it imposes only a "negligible" transaction fee of 3.4 per cent on all credit card payments for rides, which will go towards maintenance of the platform."
สรุปคือไปเก็บเพิ่มกับลูกค้าแทน
ผมชอบให้ตรงไปตรงมาแบบนี้มากกว่านะ
เอารายได้มาจากไหนล่ะ
ไปถาม gemini มา
Absolutely! Here's a translation of the previous answer into Thai. Please note that I'm using machine translation, so some nuances might be slightly different.
ใช่ ถูกต้องแล้วค่ะ TADA ดำเนินธุรกิจด้วยรูปแบบที่แตกต่างจากแพลตฟอร์มเรียกรถรับส่งรายอื่นๆ แม้ว่าพวกเขาจะไม่เรียกเก็บค่าคอมมิชชั่น แต่ก็มีวิธีอื่นๆ ในการสร้างรายได้:
ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม: แม้ว่าผู้ขับขี่จะเก็บค่าโดยสารได้ 100% แต่ TADA จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมเล็กน้อยในการเดินทางแต่ละครั้ง โดยทั่วไปค่าธรรมเนียมนี้อยู่ที่ประมาณ 3.4% โดยจะมีการเก็บเพิ่ม 50 เซนต์สำหรับการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตที่จ่ายไปยังผู้ให้บริการระบบชำระเงิน
การนำข้อมูลไปสร้างรายได้ : TADA ทำงานบนเทคโนโลยีบล็อกเชนที่เรียกว่า Mass Vehicle Ledger (MVL) ระบบนี้รวบรวมข้อมูลจากผู้โดยสารและผู้ขับขี่ รวมถึงรูปแบบการขับขี่ พฤติกรรมการจราจร และบันทึกการบำรุงรักษารถยนต์ แม้ว่า TADA จะเน้นย้ำเรื่องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล แต่ก็มีโอกาสที่พวกเขาจะสำรวจการสร้างรายได้จากข้อมูลนี้ในอนาคต อาจจะเป็นได้ผ่านการเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทให้เช่ารถยนต์หรือผู้ให้บริการประกันภัยที่อาจพบว่าข้อมูลนี้มีประโยชน์
การผนวกรวม MVL (สกุลเงินดิจิทัล): TADA กำลังสำรวจความเป็นไปได้ในการผนวกรวมสกุลเงินดิจิทัล MVL ของตัวเองเข้ากับแพลตฟอร์ม ซึ่งอาจเปิดช่องทางในการสร้างรายได้ผ่านการซื้อขายหรือบริการทางการเงินอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัล อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือ นี่ยังคงเป็นทิศทางที่เป็นไปได้ในอนาคตและยังไม่ได้นำมาใช้ในปัจจุบัน
ความร่วมมือทางธุรกิจ: TADA อาจสำรวจการสร้างความร่วมมือกับธุรกิจอื่นๆ ในอนาคต ตัวอย่างเช่น พวกเขาสามารถร่วมมือกับบริษัทให้เช่ารถยนต์เพื่อเสนอตัวเลือกยานพาหนะเพิ่มเติม หรือกับบริษัทประกันภัยเพื่อให้ใบเสนอราคาประกันภัยส่วนบุคคลแก่ผู้ขับขี่ตามข้อมูลของพวกเขา
สิ่งสำคัญคือต้องติดตามการพัฒนาของ TADA เนื่องจากรูปแบบรายได้ของพวกเขาอาจยังคงพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ เนื่องจากพวกเขาค้นหาวิธีใหม่ๆ ในการดำเนินการอย่างไร้การพึ่งพาค่าคอมมิชชั่นจากผู้ขับขี่
สรุป ไปอ่านจากข่าวอีกสำนัก เขาเก็บค่าธรรมเนียมแพลตฟอร์ม ตามกฎหมายก็ 20 บาทต่อครั้งครับ