Yusaku Maezawa มหาเศรษฐีญี่ปุ่นเจ้าของเว็บแฟชันออนไลน์ Zozo ที่เป็นลูกค้าคนแรก และซื้อทริปแบบเช่าเหมาลำจรวดของ SpaceX ซึ่งจะเดินทางไปดวงจันทร์ ในชื่อโครงการ dearMoon พร้อมกับศิลปินจากทั่วโลก 10 คน ล่าสุดเขาประกาศยกเลิกโครงการเดินทางนี้แล้ว
Maezawa บอกว่าเดิมโครงการนี้มีกำหนดออกเดินทางภายในปี 2023 แต่เนื่องจากไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามกำหนดเวลา และตารางเดินทางใหม่ก็ยังไม่มีความชัดเจน เขาจึงตัดสินใจยกเลิกโครงการนี้ รวมทั้งขออภัยทุกฝ่ายที่ร่วมสนับสนุนโครงการนี้ โดยจากนี้เขาและลูกเรือทุกคนจะเดินหน้าพัฒนางานของตนกันต่อไป
โครงการ dearMoon นอกจาก Maezawa แล้ว ยังมีลูกเรือเป็นศิลปินจากทั่วโลก 10 คน (สำรอง 2 คน) ซึ่งรวมทั้งดีเจ Steve Aoki, T.O.P ศิลปินวง Big Bang, Tim Dodd ยูทูบเบอร์
Maezawa ชี้แจงเหตุผลเพิ่มเติมใน X บอกว่าเขาได้เซ็นสัญญากับโครงการนี้ตั้งแต่ปี 2018 โดยคาดว่าโครงการจะออกเดินทางได้ในปี 2023 แต่เนื่องจากโครงการนี้ยังอยู่ในการพัฒนา จึงเป็นอย่างที่เห็น ถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีความชัดเจนว่ายานอวกาศจะออกเดินทางได้เมื่อใด ส่งผลให้เขาไม่สามารถวางแผนในอนาคตได้ และทำให้เขารู้สึกแย่ที่ทำให้ลูกเรือคนอื่นต้องรอไปนานกว่านี้ จึงตัดสินใจยกเลิกโครงการ
Rhiannon Adam หนึ่งในลูกเรือที่ถูกคัดเลือก โพสต์ตอบคำชี้แจงของ Maezawa ว่าการตัดสินใจนี้ ไม่ได้มีการสอบถามลูกเรือคนอื่นว่าจะเลือกรอหรือไม่ ทั้งหมดเป็นการตัดสินใจ Maezawa คนเดียว ซึ่งสำหรับตนเองนั้นคำตอบคือพร้อมที่จะรอจนกว่าทุกอย่างพร้อม
ที่มา: Reuters
I can’t plan my future in this situation, and I feel terrible making the crew members wait longer, hence the difficult decision to cancel at this point in time.I apologize to those who were excited for this project to happen.
— Yusaku Maezawa (MZ) (@yousuckMZ) June 1, 2024
I’m sorry, but as a crew member this doesn’t wash. You didn’t ask us if we minded waiting or give us an option or discuss that you were thinking of cancelling until you’d already made the decision. I can only speak for myself but I’d have waited till it was ready.
— Rhiannon Adam (@blackbirdsfly) June 1, 2024
Comments
แค่ส่งสิ่งของออกนอกอวกาศยังยากเลย ยิ่งเป็นสิ่งมีชีวิตยิ่งยากขึ้นไปอีก
20223-2024 เป็นไปไม่ได้เลย
Starship ต้องทดสอบให้ขึ้นไป แล้วกลับมาคืนให้ได้ก่อน
ทดสอบ 3 ครั้งแล้ว ครั้ง 4 ไม่รู้จะยังไงอาทิตย์หน้าละ
แล้วต้องทดสอบเอาตะเกียบคีบบูสเตอร์กับยานที่กลับมาอีก
เพื่อที่จะได้เอาจรวดกลับมาใช้ใหม่ให้เร็ว
แล้วก็ต้องสร้างตะเกียบเพิ่มอีกหลายอัน
เพราะต้องใช้ orbital refueling >10 รอบ ถึงจะเติมน้ำมันพอให้บินไปดวงจันทร์ได้
ยังไม่นับเรื่อง heat shield ที่ยังเป็นปัญหา แปะไม่ติด ชอบหลุด
เวลาเข้าชั้นบรรยากาศโลกมันก็จะระเบิดก่อน
แล้วต้อง refurbish ให้เร็วอีกต่างหาก
ยังไม่นับจะเอา starship จอดแนวตั้งบนดวงจันทร์ที่พื้นขรุขระยังไง
2030 ยังไม่รู้จะแก้ challenge นี้ได้ครบไหมเลย
ไม่แปลกที่จะเลิกรอแบบลม ๆ แล้ง ๆ
ที่ทำอยู่มันก็ถือว่าเร็วมากแล้วแหละถ้าเทียบกับโครงการอื่นอย่าง Starliner นี่ยังไม่ได้ไปไหนเลย แต่เวลาตั้ง timeline ก็ขี้โม้เกิน
payload แบบยิงคนออกนอกโลก เหลือแค่ " รัสเซีย " เท่านั้นมานานแล้วครับ NASA ไม่มีงบรัฐบาล ตรงนี้มานานแล้วแบบชนะแล้วเลิก มีแต่ยิงกล้อง ยิงดาวเทียม จะออกนอกโลกทีนึง นักบินต้องรู้ภาษารัสเซียแบบกึ่ง ๆ native เพราะติดต่อฐานยิง หน้าจอ ปุ่มกด ในจรวดอะไรทั้งหมดนี่ ภาษารัสเซียล้วน ๆ ถ้าไม่มี space x ก็จบเลย แพ้รัซเซียยับ ๆ (อย่าเชื่อหนังฮอลลีวูดเยอะ) แต่เอาจริง ๆ ดูจากสงครามยูเครน รัสเซียเก่งเรื่องยิงจรวดกว่าเยอะมาก ๆ ซึ่ง ถ้าเค้าไม่ให้รุ่นใหม่ ๆ กับ US, EU เลย tech ตรงนี้จะไปอยู่ที่ อิหร่าน จีน อินเดีย หมด (เผลอ ๆ เกาหลีเหนือ ยิงจรวดเก่งกว่า สหรัฐแล้วด้วย นะจ๊ะ)
รัสเซีย ยิงคนนี่ใช้ของเก่าตกทอดมานานแล้วนี่ครับไม่ได้พัฒนาใหม่แทบหมดเลยแบบฝั่งอเมริกานะครับ แถมฝั่งตะวันออกนี่เวลาทำไรไม่สำเร็จไม่ปล่อยข่าวรอเสร็จทีเดียวค่อยออกข่าว
ตอนนี้ประเทศที่มีศักยภาพในการส่งคนขึ้นอวกาศ(ออกนอกโลก) มี รัสเซีย จีน และสหรัฐฯ
ตอนนี้เทคโนโลยีจีนนำหน้ารัสเซียไปไกลแล้ว
ในบรรดา 3 ประเทศนี้ รัสเซียล้าหลังที่สุดด้วยซ้ำ
ส่วนเกาหลีเหนือ จรวดล่าสุดที่ยิงเพิ่งระเบิดไปหนิ
ถ้าจะพูดให้ถูกต้องหน่อยก็คือตั้งแต่ปี 2011-2020 ครับ ที่อเมริกาส่งคนขึ้นอวกาศเองไม่ได้
ส่วนจีนก็ส่งคนขึ้นอวกาศได้เองมานานแล้ว
ฝั่งอเมริกา (NASA) ชอบเปลี่ยนเทคโนโลยีบ่อย แล้วพอวิจัยอะไรใหม่ๆงบก็บานปลาย ค่าส่งแพง โดนตัดงบ ก็เลยไม่เสร็จซะที
จริงๆตอนกระสวยอวกาศปลดประจำการก็มีโครงการ Constellation รอไว้แล้ว แต่โดนตัดงบยับ (เพราะโครงการโคตรแพง) โครงการกลายร่างมาเป็น SLS ในปัจจุบัน ต้องรื้อกันใหม่เยอะ เลยดีเลย์มานาน (แต่ก็ยังโคตรแพงอยู่ดี 55)
อย่างน้อยหลังปี 2011 เมื่อ NASA งบไม่มี ก็เลยไปสนับสนุนเอกชนให้สร้างจรวดแทน นำมาซึ่งยุคของการพัฒนาจรวดเอกชน ซึ่งนับเป็นบทใหม่ของการสำรวจอวกาศของมนุษย์ กลายเป็นดีกว่าเดิมซะงั้น แค่รอช่วงเปลี่ยนผ่านเพิ่มอีกหน่อย
ปัจจุบันถ้านับเทคโนโลยีในบรรดาสามชาติมหาอำนาจทางอวกาศ
เทคโนโลยีของรัสเซียเก่าแก่ที่สุดเลย เพราะมีพื้นฐานย้อนกลับไปได้ถึงยุคจรวด R-7 ของโซเวียตตั้งแต่ทศวรรษ 60
จีนก๊อบโซเวียตมา แต่ตอนนี้นำหน้าไปแล้ว
ส่วนสหรัฐ เทคโนโลยีจรวดจะไม่ได้ผูกกับรัฐมากเหมือนอีกสองประเทศ ตอนนี้เอกชนผุดเป็นดอกเห็ด เทคโนโลยีถือว่านำไปไกลพอสมควร โดยเฉพาะ spaceX นี่นำทุกคนไปไกลหลายปี
เกาหลีเหนือคงไม่ต้องพูด คนละลีคกันเลย รายนั้นยังยิงดาวเทียมไม่สำเร็จ เรื่องเอามนุษย์ขึ้นอีก 10 ปีค่อยคิด
สำหรับผม หลัง 2020 มา ยุคเปลี่ยนผ่านสู่ยุคอวกาศเอกชนเกิดขึ้นแล้ว มั่นใจได้เลยว่าในไม่นานนี้ (2030-2040) การขึ้นอวกาศของฝั่งอเมริกาจะไปไกลมาก ทิ้งคนอื่นแบบขาดลอย
ขอแก้เรื่องเกาหลีเหนือนิดนึงครับ เรื่องส่งจรวดปล่อยดาวเทียมมีสำเร็จอยู่ 1-2 ครั้งนะครับ ถ้าผมจำไม่ผิด ปล่อยสำเร็จครั้งล่าสุดคือปี 2016
แต่ส่วนใหญ่แล้ว เกาหลีเหนือเน้นเอาทรัพยากรเกือบจะทั้งหมดที่มีไปพัฒนาและทดสอบขีปนาวุธของตัวเอง และพวกอาวุธยุทโธปกรณ์ของตนเองซะมากกว่า ซึ่งรวมถึงการปล่อยดาวเทียมด้วย ซึ่งมันก็พัฒนามาได้เรื่อยๆ และดีระดับหนึ่ง แม้จะโดนคว่ำบาตรซะเยอะ เพียงพอที่รัสเซียเองจะซื้อจรวดและกระสุนปืนใหญ่จากเกาหลีเหนือไปใช้โจมตียูเครนอยู่ในตอนนี้ไงครับ
กลายเป็นว่าตอนนี้เกาหลีเหนือได้เงินและทรัพยากรณ์นอกจากประเทศจีน มาพัฒนาอาวุธเพิ่มและมีงบเข้าเกาหลีเหนือเพิ่มอีกพอสมควร
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
เดาไว้ตั้งแต่แรกว่าไม่มีทางเสร็จทันเป้าหมาย
โครงการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ขนาดนี้ยังไงก็แทบไม่มีทางเสร็จทันกำหนด ยิ่งเป็นกำหนดการณ์ของเอกชนแบบ spaceX ด้วย
แต่ก็ไม่ได้หมายถึงมันช้าแหละ การพัฒนาจรวดที่กำลังขับสูงสุดในประวัติศาสตร์ แถมนำกลับมาใช้ใหม่ได้ทั้งหมดเป็นครั้งแรก พร้อมเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อนอีกไม่รู้ตั้งกี่อย่าง
ใช้เวลาแค่นี้ มาถึงจุดนี้ในปี 2024 ได้ถือว่าโคตรจะเร็วแล้ว
โดนอีลอนขายฝัน 5555 สัญญา timeline อะไรไม่เคยได้ตามที่บอกหรอก
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
มนุษย์ชาติไม่มีความจำเป็นที่ต้องเร่งทุ่มทรัพยากรเป็น multiplanetary species
แต่เราดันมีคนบ้าคนนึงที่ฝันแบบนั้นและดันรวยพอที่จะทำให้เกิดใน life time
เพราะเอาเข้าจริงๆที่เราพูดจากันเหมือนมันเป็นเรื่องใกล้ตัว
ก็เพราะ know-how ด้านจรวดก็ถูกเร่งความเร็วแบบเกินธรรมชาติไปมากสุดๆ
“ไม่มีความจำเป็น”
อนาคตที่ไม่แน่นอน: อืมม…
ไม่มีความจำเป็น"ที่ต้องเร่ง"
multiplanetary species นั้นเราได้เป็นแน่ และเราจะเป็นให้ได้
แต่มันไม่ใช่ปัญหาเร่งด่วนถ้าเทียบกับปัญหาบนโลกครับ
ที่เรามาไกลได้ขนาดนี้โดยไม่ใช้การแข่นขันระหว่างประเทศ หรือสงคราม
แต่เป็นเจตจำนงของความฝันวัยเด็กของมนุษย์คนนึง ผมว่ามันก็มหัศจรรย์มากพออยู่แล้ว
Post ของผมเป็นคำชมด้วยซ้ำนะครับว่าองค์ความรู้เรื่องการเดินทางอวกาศเราก้าวกระโดดผิดธรรมชาติเพราะมนุษย์คนเดียวที่มีความมุ่งมั่น ไม่ใช่ประเทศทั้งประเทศด้วยซ้ำ
อุกกาบาตปริศนา has entered the chat
มาตรฐาน NASA ตั้งไว้สูงมากเนื่องจากโครงการที่เคยล้มเยอะด้วยละมั้ง SpaceX ก็ยังเป็นเอกชนเจ้าเดียวที่ดูดีพัฒนาต่อยอดตลอดเวลาพอมองดูคู่แข่งอย่าง Boeing แล้วก็ลุ้นให้พัฒนามาแข่งกันให้ได้อยู่นะแต่ดูเหมือนจะมีแต่ปัญหาเพียบเลย