Tags:
Node Thumbnail

วันนี้ นายปดิพัทธ์ สันติภาดา หรือ "หมออ๋อง" รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 และ นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ส.ส.พรรคก้าวไกล มีแถลงข่าวงาน Open Parliament Hackathon 2024 ที่รัฐสภาไทยจะเปิดข้อมูล open data เป็นครั้งแรก และเชิญผู้สนใจเข้ามาร่วมเสนอไอเดียด้านเทคโนโลยีต่อรัฐสภาไทย ในรูปแบบ hackathon ซึ่งจะเป็นครั้งแรกอีกเช่นกันที่เราจะได้มีโอกาส "ค้างคืน" ในรัฐสภาไทย

นายปดิพัทธ์ บอกว่าหลังเข้ามาทำหน้าที่ ส.ส. และรองประธานสภามาได้ระยะหนึ่ง พบว่าภารกิจที่สำคัญของรัฐสภาไทย จริงๆ แล้วมีเพียงแค่ 4 ด้านคือ

  1. ออกกฎหมาย
  2. ผ่านงบประมาณประจำปี
  3. ติดตามผลการดำเนินงานของรัฐบาล
  4. สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน

รัฐสภาไม่ควรทำสิ่งที่ไม่ใช่ 4 ข้อนี้ และในทางกลับกันคือ สภาต้องถามตัวเองว่าทำภารกิจหลักทั้ง 4 ข้อได้ดีพอหรือยัง เช่น ตลอดอายุสภาชุดนี้ผ่านมาแล้ว 1 ปี ยังผ่านกฎหมายไปได้แค่ 2 ฉบับ แต่กลับต้องจ่ายเงินค่าเลี้ยงอาหารให้กับคนทำงานในสภาไปแล้วเป็นหลักสิบล้านบาท ต้องถามตัวเองว่าทำงานได้คุ้มค่าภาษีประชาชนหรือไม่

No Description

นายปดิพัทธ์ ยังบอกว่าในหน่วยงานรัฐสภาเอง มีงบประมาณประจำปีมากกว่า 6 พันล้านบาท มีข้าราชการ คนทำงานข้างในมากกว่า 4 พันคน ต้องดูว่าใช้งบประมาณคุ้มค่าแค่ไหน และที่ผ่านมาหลังจากได้เข้ามารับผิดชอบโครงการด้านไอทีของรัฐสภา ที่ใช้งบราว 1 พันล้านบาทต่อปี ก็พบข้อเสนอโครงการหลายอันที่ไม่เมคเซนส์ เช่น ระบบติดตั้งการประชุมออนไลน์ในห้องทำงานของ ส.ส. ทุกคนในสภา 500 คน ซึ่งไม่รู้จะทำไปเพื่ออะไร เพราะที่นั่งอยู่ในอาคารรัฐสภาเดียวกัน ตรงนี้ได้ตัดงบออกไปแล้วมูลค่ากว่า 300 ล้านบาท และอยากเอางบประมาณส่วนนี้ไปทำเรื่องอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่าด้วย

No Description

ฝั่งของนายณัฐพงษ์ เล่าว่าแนวคิดของประเทศเอสโตเนีย เขียนกฎหมายเรื่อง open data ไว้ดีมาก โดยบอกว่าข้อมูลทุกอย่างที่อยู่ในฐานข้อมูลของรัฐบาล ต้องถือว่าเป็นข้อมูลที่ให้สาธารณชนเข้าได้ เว้นแต่ว่ามีเหตุจำเป็นต้องปิดกั้น ถือว่าเปิดทุกอย่างเป็นดีฟอลต์ ในขณะที่ของไทยนั้นกลับกัน คือปิดเป็นดีฟอลต์ ต้องไปไล่ขอให้เปิดเผยเป็นรายการไป

สิ่งที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงคือ เปิดเผยข้อมูลทั้งหมดของรัฐสภาไทยออกมาให้ทุกคนเข้าถึงได้ ระบบไอทีของรัฐสภาแบ่งออกเป็น 4 ระบบ มีทั้งกระบวนการงานสภา, บันทึกรายงานการประชุม (ย้อนไปตั้งแต่เริ่มต้นรัฐสภาไทยปี 2475 แต่อยู่ในรูปเอกสารสแกน ถ้าเป็น full-text จะมีตั้งแต่ราวปี 254x เป็นต้นมา), คลังความรู้ของสภา และเอกสารงบประมาณ โดยข้อมูล 3 ส่วนแรกลอง dump database ออกมาแล้วมีขนาดประมาณ 500MB สามารถเอาไปใช้งานด้านต่างๆ ได้อีกมาก

No Description

แต่เปิดข้อมูลอย่างเดียวคงไม่เกิดประโยชน์อะไรมาก จึงจัดให้มีกิจกรรม Open Parliament Hackathon เชิญผู้ที่สนใจไม่ว่าทำอาชีพใด ไม่ต้องเป็นโปรแกรมเมอร์หรือทำงาน data โดยตรงก็ได้ เข้ามารับฟังและร่วมเสนอไอเดียกันด้วย (ลิงก์สมัคร, สมัครได้ถึง 31 กรกฎาคม) ผู้เข้าร่วมจะได้ใช้เวลา 2 วัน 1 คืนที่รัฐสภาไทย (6-7 สิงหาคม) เข้าร่วมกิจกรรม workshop กับผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านเทคโนโลยีและด้านกระบวนการสภา เพื่อพัฒนาไอเดียมานำเสนอว่าอยากเห็นอะไรในระบบไอทีของรัฐสภาไทย

(หมายเหตุ: ผู้ที่ไม่อยากค้างคืนก็สามารถกลับบ้านแล้วกลับมาใหม่ตอนเช้าได้ แต่ถ้าใครอยากลองนอนในสภาดูสักครั้งในชีวิตก็เป็นโอกาสอันดี แม้เป็นการนอนในห้องประชุมที่จัดกิจกรรมก็ตาม)

No Description

นายณัฐพงษ์ ได้ยกตัวอย่างไอเดียสิ่งที่น่าทำกับข้อมูลเปิดของรัฐสภาไทย เช่น

  • ระบบวิเคราะห์งบประมาณของรัฐสภา ว่าจ่ายค่าไฟเท่าไร ค่าอาหารเท่าไร แล้วได้กฎหมายกี่ฉบับ
  • ลองเอาบันทึกการประชุมสภาย้อนหลังมาวิเคราะห์ข้อความ ทำ word cloud ดูว่ารัฐสภาไทยพูดเรื่องอะไรกันบ่อยที่สุด
  • เอาเอกสารงบประมาณมาประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดคอร์รัปชัน

No Description

นายณัฐพงษ์ ยังยกตัวอย่างผลงานของรัฐสภาเยอรมนี ที่มีคลิปบันทึกการพูดของ ส.ส. ทุกคนไว้ทั้งหมด และสามารถทำ full text search ค้นหาสิ่งที่ ส.ส. ค้นนั้นพูดไว้ด้วย keyword กดแล้วเด้งเข้าวิดีโอในจังหวะที่พูดเรื่องนั้นได้ทันที เป็นเครื่องมือตรวจเช็ค digital footprint ชั้นดี ใช้จับโกหกนักการเมืองได้

No Description

No Description

หลังจากจบกระบวนการ hackathon แล้ว โครงการผลักดันรัฐสภาให้เปิดกว้างยังไม่จบลง เพราะไอเดียต่างๆ จะถูกรวบรวมและเสนอเข้าอนุกรรมการด้านไอทีของรัฐสภาอีกที หากมีไอเดียที่น่าสนใจและพัฒนาต่อ ก็จะพัฒนาเป็นโครงการจัดซื้อจัดจ้างในช่วงปีงบประมาณ 2568-2570 มี TOR ตามระบบ และเชื้อเชิญให้บริษัทสตาร์ตอัพไทยมาแข่งขันกันรับงานไป รัฐสภาจะได้ระบบไอทีที่โดนใจประชาชน เป็นสิ่งที่ประชาชนต้องการจริงๆ ส่วนสตาร์ตอัพไทยก็จะได้งานภาครัฐไปหล่อเลี้ยงให้ตัวเองเติบโตขึ้นพร้อมกัน

No Description

นายณัฐพงษ์ เรียกแนวคิดการจ้างบริษัทสตาร์ตอัพไทยว่า Thai-first ควรให้โอกาสบริษัทผู้ประกอบการไทยที่มีความสามารถ มากกว่าการจ้างบริษัท "ขาประจำ" ที่รับงานภาครัฐอยู่บ่อยๆ ผ่านกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใส เผยแพร่ให้คนรู้จักเยอะๆ เน้นการแข่งขัน ไม่ให้ล็อคสเปกได้ โดยตรงนี้พาร์ทเนอร์กับ DEPA ที่มี บัญชีบริการดิจิทัล (Thailand Digital Catalog) รวมรายชื่อบริษัทไทยที่ให้บริการด้านดิจิทัล และสมาคม Thai Startup ที่มีสมาชิกเป็นบริษัทสตาร์ตอัพจำนวนมากอยู่แล้ว

No Description

นายปดิพัทธ์ บอกว่าการผลักดัน Open Parliament เป็นภารกิจที่รัฐสภาต้องทำในระยะยาว อย่างน้อยถึงปี 2570 และจะยังเดินหน้าต่อไป แม้พรรคก้าวไกลถูกยุบในวันที่ 7 สิงหาคม เพราะเป็นภารกิจของข้าราชการรัฐสภาด้วย ส่วนนายณัฐพงษ์บอกว่าถึงแม้พรรคถูกยุบ ตนเองยังมีสถานะเป็น ส.ส. และเป็นบอร์ดไอทีของรัฐสภาเช่นเดิม ก็จะผลักดันเรื่องนี้ต่อไปอย่างแน่นอน อีกทั้งในงาน Hackathon ครั้งนี้ยังมี ส.ส. ของพรรคการเมืองอื่นๆ เข้าร่วมด้วยเช่นกัน เป็นวาระร่วมของสภามากกว่าจะเป็นของพรรคใดพรรคหนึ่ง

Get latest news from Blognone

Comments

By: KuLiKo
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 30 July 2024 - 20:09 #1318196
KuLiKo's picture

เช็ดดดดด ไม่อยากจะเชื่อ

By: S38593
Windows PhoneAndroidWindows
on 30 July 2024 - 20:27 #1318198

เอาจริงอันนี้แอบว๊าวว่าราชการรัฐสภาก็ทำเป็น

By: animateex
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 30 July 2024 - 20:41 #1318201
animateex's picture

ทุกวันนี้ผมยังมีอาการโฟเบียกับระบบหลังบ้านของ mentor คนนั้น... ประเทศนี้ควรมูฟออนจากแกคนแรกเลย

จากประสบการณ์ผู้ใช้จริง

By: Fzo
ContributorAndroid
on 30 July 2024 - 21:17 #1318203
Fzo's picture

สุดยอดครับ 9Geek \7


WE ARE THE 99%

By: Mikamura
AndroidUbuntuWindows
on 30 July 2024 - 21:37 #1318207

รายงานการประชุมสภาตั้งแต่ปี 2475 จนถึงปัจจุบัน จะแค่ 500 MB เองเหรอครับ ไม่น่าใช่นะ 500 GB เป็นไปได้มากกว่า ยิ่งช่วงแรกๆ เป็นเขียนมือใส่กระดาษ หรือพิมพ์ดีด แล้วนำเข้าด้วยการสแกนเก็บเป็นภาพด้วย

By: Tasksenger on 30 July 2024 - 22:32 #1318209

เอกสารรายงานการประชุมสภา เก่าๆ ที่เป็นต้นฉบับ เท่าที่ผมทราบจดด้วยชวเลข ด้วยนี่สิ ใครรับงานไปอย่าคิดว่า OCR แล้วจบนะ 555 มีเฉพาะปีหลังๆ นี่แหล่ะง่ายหน่อย แต่เขาก็มีการอัดเสียงไว้ด้วย แล้วนั่นแหล่ะมันมีครบทุกครั้งหรือเปล่า สูญหายระหว่างย้ายสถานที่บ้างหรือเปล่า หรือหมดสภาพไปบ้างหรือเปล่าไม่เป็นที่ทราบได้ เพราะของหลวงเก็บก็คือเก็บจริงๆ ไม่ได้มีการตรวจสอบการทำกลับมาใช้งาน เขียน TOR กันดีๆ ล่ะ เดี๋ยวจะไปมัดคอตัวเองตายส่งงานไม่ได้ ถ้า OCR ไม่ได้ก็ link หาไฟล์สแกนต้นฉบับก็ยังดี แต่บอกไว้เลยว่าค่าทำโปรแกรมไม่เท่าไหร่หรอก แต่ค่าบริหารจัดการ Content เตรียมไว้เยอะๆ แพงมหาศาลแน่นอน อ่อ ถ้าเก่ามากๆ มี micro film ด้วยนะ ไม่รู้เขาแปลงมาหรือยัง แต่ถ้ายังนี่แหล่ะนรกของแท้ เพราะเท่าที่รู้บริษัททำเครื่องอ่านในต่างประเทศเลิกกิจการไปนานแล้ว แล้วเป็นปัญหาที่ทางสภาในช่วงที่ผมเคยเข้าไปทำงานยังแก้ไขไม่ได้

By: gift099
Windows PhoneAndroidWindowsIn Love
on 31 July 2024 - 12:55 #1318250

อนาคตน่าจะมี Hackathon ไปทุกกระทรวงและหน่วยงานท้องถิ่น