TDRI หรือ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เปิดรายงานผลวิเคราะห์สถานะความต้องการแรงงาน และทักษะแรงงานที่นายจ้างต้องการ จากการรวบรวมประกาศรับสมัครงานออนไลน์จาก 23 เว็บไซต์รับสมัครงานในไตรมาสที่ 4/2024 โดยทีม Big Data
TDRI ได้แบ่งประกาศรับสมัครงานออกเป็น 3 กลุ่มคือ
รายงานระบุว่างานด้านคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ และงานด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ถือเป็นกลุ่มวิชาชีพที่ต้องใช้ทักษะและความรู้เฉพาะทาง เนื่องจากเน้นกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ เห็นได้จากสัดส่วนตำแหน่งงานที่ต้องการประสบการณ์ดังนี้:
สำหรับทักษะทั่วไปที่งานด้านคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์ต้องการมากที่สุดคือ ภาษาอังกฤษ (34.8%), การแก้ปัญหา (32.8%), และทักษะการสื่อสารด้วยวาจา (22.3%) ส่วนทักษะเจาะจงที่ต้องการมากที่สุดคือ SQL (11.9%), Python (11.4%), และ JavaScript (9.1%)
ส่วนทักษะทั่วไปที่งานด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมต้องการมากที่สุดคือ ภาษาอังกฤษ (38.5%), การแก้ปัญหา (30.2%), และการสื่อสาร (19.3%) ส่วนทักษะเจาะจงที่ต้องการมากที่สุดคือ การจัดการโครงการ (22.9%), วิศวกรรมไฟฟ้า (11.2%), และวิศวกรรมเครื่องกล (11.2%)
ถึงแม้งานกลุ่มนี้เป็นตำแหน่งงานวิชาชีพและมีเส้นทางอาชีพ (career path) ที่ดี แต่มีตำแหน่งงานสำหรับเด็กจบใหม่ไม่มากนัก ซึ่ง TDRI มองว่าอาจทำให้เกิดปัญหาไม่สามารถป้อนคนเข้าสู่ตลาดแรงงาน และเมื่อผู้สมัครงานไม่มีโอกาสในการทำงาน ก็จะไม่มีประสบการณ์ไปสมัครงาน
นอกจากนั้น กลุ่มวิชาชีพนี้ติด 6 อันดับอาชีพที่มีจำนวนประกาศรับสมัครงานมากที่สุด โดยงานด้านคอมพิวเตอร์และคณิตศาสตร์เปิดรับสมัคร 16,022 ตำแหน่ง (7.2%) ส่วนงานสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมอยู่ที่ 12,107 ตำแหน่ง (5.5%)
เพื่อลดปัญหาช่องว่างระหว่างเด็กจบใหม่แต่ยังขาดประสบการณ์การทำงาน กับความต้องการของนายจ้าง TDRI มองว่ารัฐบาลควรส่งเสริมการฝึกงาน (internship หรือ traineeship) โดยอาจศึกษาแนวทางในต่างประเทศ และร่วมหารือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อให้ออกแบบมาตรการที่ใช้แก้ไขปัญหาได้
นอกจากนี้ รัฐบาลควรส่งเสริมให้สถานศึกษาจัดการเรียนการสอนในรูปแบบทวิภาคีหรือสหกิจศึกษามากขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษามีประสบการณ์ทำงานในวิชาชีพที่เรียนมา ช่วยเพิ่มโอกาสในการหางาน และช่วยให้เด็กจบใหม่ปรับตัวเข้าสู่โลกของการทำงานได้
ที่มา: TDRI
Comments
อยากได้คนเก่งสารพัด จ้างถูกเป็นขี้
เก่งๆก็ทำของตัวเอง ไม่ไปทำบริษัทหรอกจ้ะ
ส่วนตัวสมัยนี้หางานยากขึ้นกว่าเดิมเยอะครับ LinkedIn ปกติ DM แตก สมัยนี้เงียบเป็นป่าช้า ผมก็ไล่ upskill เก็บ certs เรี่อยๆ ละนะ
บ.เทคบ้านเราหลายแห่ง (เท่าที่เคยได้ยินมา) ไม่มีกลการการปั้นพนักงานภายในครับ หลายที่เลยทำงานวันแรก เข้าฟังปฐมนิเทศน์กับ HR แล้วตอนบ่ายนั่งทำงานเลย ใช้วิธีให้พี่เลี้ยงประกบเอา แต่พี่เลี้ยงก็ไม่เคยเรียนมาว่าจะสอนงานต้องทำยังไงบ้าง กลายเป็นสอนงานก็สอนไม่เป็น ไม่มีการเตรียมไว้ก่อนว่าคนที่เข้าใหม่จะต้องเรียนรู้อะไรบ้าง มาถึงจับนั่งหน้างานเลย คนที่ไม่มีประสบการณ์เลยก็จะไม่รู้ว่าแล้วฉันจะเริ่มจากอะไรดีล่ะ บางคนนั่งว่างสามเดือนจนไม่ผ่านโปรก็เคยเห็นมาอยู่นะ
แล้วสิ่งที่ทำคือ ไปโวยวายกับมหาวิทยาลัยว่า ทำไมเด็กจบมาทำงานไม่เป็นกัน มหาวิทยาลัยก็สอนได้แค่พื้นฐานไม่ได้ลงรายละเอียดขนาดนั้น
คือใช้โมเดลสตาร์ทอัพ ซึ่งเน้นคนทำงานเป็นอยู่แล้วมาทำเป็นหลัก รับมาเพื่อเอาประสบการณ์ของคนที่เป็นอยู่แล้วมาใช้ ถ้าเป็นบ.เล็กแต่มีเงินก้อนใหญ่มันก็ทำได้ จ้างแต่ซีเนียร์ขึ้นไป เอาคนเก่ง ๆ เน้นเอาเงินฟาดเอา
บริษัทไทยหลายที่ไม่ลงทุนในการพัฒนาบุคคลเลย ก็เลยต้องอาศัยซื้อตัวคนที่เป็นอยู่แล้ว ผลมันเลยออกมาเป็นแบบนี้ครับ
ในทางกลับกันเรารันคน overqualified อยู่นะ โปรแกรมเมอร์ต้องจบป.ตรีงี้ ถ้าวัน ๆ เขียนแต่ react เด็กม.ปลายมันก็น่าจะเขียนได้อยู่นะ