Tags:
Node Thumbnail

รายงานจาก IDC คาดว่าตลาดอีคอมเมิร์ซในอาเซียน (อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม) จะโตขึ้นเป็นประมาณ 11.21 ล้านล้านบาท ภายในปี 2028 จากการชำระเงินดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสัดส่วนจะอยู่ที่ 94% ของการชำระเงินทั้งหมด

ส่วนสถิติสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยมีดังนี้
 
การเปลี่ยนแปลงของส่วนแบ่งการชำระเงินสำหรับธุรกรรมอีคอมเมิร์ซ ระหว่างปี 2023-2028 เป็นดังนี้:

  • บริการซื้อก่อน จ่ายทีหลัง (+3%)
  • กระเป๋าเงินมือถือ (0%)
  • ระบบชำระเงินในประเทศ (+4%)
  • บัตร (+1%)
  • อื่นๆ (-7%)

การยอมรับวิธีการชำระเงินต่าง ๆ ของร้านค้าในปี 2024

  • 79% บัตรเครดิต/เดบิต
  • 75% ชำระเงินออฟไลน์ (เก็บเงินปลายทาง/ชำระที่เคาน์เตอร์)
  • 58% กระเป๋าเงินมือถือ/e-wallets
  • 37% โอนเงินผ่านธนาคาร
  • 29% ชำระเงินแบบเรียลไทม์/QR
  • 10% บริการซื้อก่อน จ่ายทีหลัง

ร้านค้าสังเกตแนวโน้มการใช้วิธีการชำระเงินใหม่ ๆ เช่น บริการซื้อก่อน จ่ายทีหลัง ที่เพิ่มขึ้น ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา:

  • 35% พบความนิยมของบริการซื้อก่อน จ่ายทีหลัง เพิ่มขึ้น
  • 34% สังเกตความต้องการการชำระเงินแบบไร้สัมผัสเพิ่มขึ้น
  • 33% สังเกตความสนใจในการใช้สกุลเงินดิจิทัลเพิ่มขึ้น

ร้านค้าพูดถึงการชำระเงินแบบไร้สัมผัส การชำระเงินด้วยเสียง และโซลูชันการชำระเงินข้ามพรมแดน เป็นกุญแจสำคัญต่อการเติบโตในอนาคต:

  • 32% บอกการชำระเงินแบบไร้สัมผัสเป็นกลยุทธ์สำคัญต่อธุรกิจในอนาคต
  • 30% บอกการชำระเงินด้วยเสียงเป็นกลยุทธ์สำคัญต่อธุรกิจในอนาคต
  • 27% บอกโซลูชันการชำระเงินข้ามพรมแดนเป็นกลยุทธ์สำคัญต่อธุรกิจในอนาคต

ตลาดการชำระเงินแบบไร้สัมผัสในไทยยังเติบโตอีกมาก ในปี 2023 IDC ประเมินว่าเพียง 55% ของระบบ POS ในไทยรองรับ NFC เมื่อเทียบกับมาเลเซียที่ 93% และสิงคโปร์ที่ 95%

ที่มา: ข่าวประชาสัมพันธ์

alt="IDC"

Get latest news from Blognone