กลุ่มนักพัฒนาซอฟต์แวร์อิสระในยุโรป เริ่มทำ "EU OS" ดิสโทรลินุกซ์ต้นแบบ (proof-of-concept) สำหรับใช้ในงานภาครัฐของยุโรป
ตัว EU OS ไม่ได้เป็นดิสโทรใหม่ที่สร้างจากศูนย์ แต่ต่อยอดมาจาก Fedora Desktop และ KDE Plasma เป้าหมายของโครงการไม่ได้เป็นดิสโทรสำเร็จรูปพร้อมใช้ แต่จะเป็น base OS สำหรับปรับแต่งใช้งานในเซกเตอร์ต่างๆ (เช่น โรงเรียน, โรงพยาบาล, หน่วยงานปกครอง) อีกทีหนึ่ง และมีกระบวนการจัดการบัญชีผู้ใช้ ข้อมูล ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ให้แอดมินองค์กรบริหารจัดการเครื่องจำนวนมากได้ง่าย
สถานะของ EU OS ตอนนี้ยังเป็นโครงการที่พัฒนาโดยชุมชน แต่ก็หวังว่าจะเป็นโครงการที่คณะกรรมการยุโรป (European Commission) รับเข้าเป็นทางการในอนาคต
Comments
ถ้า EU แข่งกับเมกาจริงๆ สิ่งที่เมกาเสียไม่ได้มีแค่ลูกค้า แต่รวมถึงนักวิทย์จากยุโรปที่เป็นที่คอยสรรสร้างนวตกรรมให้เมกา ถ้าจุดติดประเทศเล็กๆอย่างไทยก็มีทางเลือกเพื่มมากขึ้น
หยุดใช้ระบบแพ็กเกจเพื่อติดตั้งซอฟต์แวร์ใช้งานทั่วไปเป็นอันดับแรกเลย
+1 เชียร์ appimage ให้คนทั่วไปใช้งานง่าย ๆ น่าจะเกิด
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
ขอ Flatpak ได้มั้ยอ่า 😁
..: เรื่อยไป
ภาษา mess up 5555
แค่พิมพ์เทอร์มินัล คนทั่วไปก็หนีแล้วครับ ยังไง Flatpak ก็ไม่น่าเหมาะกับคนทั่วไปที่แค่อยากคลิกไฟล์เดียวเพื่อใช้งานโปรแกรม
บล็อก: wannaphong.com และ Python 3
ถ้าตัว OS บูรณาการระบบติดตั้งมาพร้อมกับ Flatpak แล้วก็ไม่ต้องไปแตะ Terminal เลย ตัวอย่างที่ชัด ๆ มีพวก Atomic Linux เช่น Fedora Silverblue, Steam OS หรือโอเอสที่พยายามเป็นระบบปฏิบัติการเต็มตัวก็ Elementary OS ที่ร้านค้าจะไม่มีแพ็กเกจระบบเลย มีแต่ Flatpak เท่านั้น
ในใจผมอยากให้มีร้านค้าที่ลง AppImage กับ Flatpak คู่กันได้อย่างปลอดภัยที่สุด ซึ่งตอนนี้ AppImageHub ทำได้ค่อนข้างแย่ในเรื่องนี้ เพราะยังขาดระบบยืนยันแหล่งที่มาแพ็กเกจที่ดี
ผมเคยใช้ manjaro ที่มี appstore ให้เลือกโหลดแพคเกจจาก flatpak โดยตรงได้เลยนะครับ อัพเดตก็ง่ายกดคลิกไม่กี่ที
ปัญหาเยอะกว่าเดิม ด้วยความที่ Flatpak "พยายาม" ทำตัวเป็นระบบแพ็กเกจ Sandbox ที่จำกัดสิทธิ์การเข้าถึงระบบ แต่ในโลกจริงแล้วมีแพ็กเกจ Flatpak จำนวนมากที่ไม่ได้พัฒนามาเพื่อใช้ Sandbox หรือทำไม่เป็น เน้นแพ็กเกจใส่เฉย ๆ แล้วจบ (Fedora เองก็ก่อเรื่องมาแล้วกับ OBS โดนรุม Issue จน OBS ออกมาโวยวาย) แล้วสร้างความสับสน ตัวอย่างง่าย ๆ เบราว์เซอร์ถูกจำกัดการมองเห็นไฟล์แค่ใน Downloads แต่ User ยังคงดูโครงสร้างโฟลเดอร์ได้แต่แค่ไม่เห็นไฟล์ และโปรแกรมก็ไม่เตือนว่าตัวเองโดนจำกัดสิทธิ์ด้วย
ทุกวันนี้ตอนผมลงแพ็กเกจไหนกับ Flatpak ผมอนุญาตสิทธิ์ใน Flatseal ทุกอย่างเลย เพราะเน้นใช้งานแพ็กเกจน่าเชื่อถืออยู่แล้วเลยไม่ได้กังวลเรื่องความสหภาค (Federation) ของระบบกระจายแพ็กเกจเท่าไร มีอันตรายไหม etc.
ชาว arch ไม่ถูกใจสิ่งนี้ (ฮา)
เลือกทรัมป์มา อเมริกาไม่เหมือนเดิม
ทำไม่ใช้ fedora ละซึ่งสัญชาติอเมริกัน
จำได้ว่า เดิมที SuSe เป็นos ของ EU มาช่วงหนึ่ง
Linus เองก็คนEU
ถ้าจะไม่เอา SuSe ไปทาง Debian ก็น่าจะเหมาะกะว่า fedora
ซอฟต์แวร์ระดับองค์กรซัพพอร์ต RHEL เยอะกว่ามากครับ แม้ SUSE จะตามมาแต่ก็ถือว่าเป็นอันดับสอง
lewcpe.com, @wasonliw
ผมเองก็มองว่าถ้ายังเป็น Linux อยู่ ด้วย GPL License ยังไงทาง US ก็ยังเข้ามาแทรกแซงหรือบีบบังคับเชิงนโยบายได้ยากมากๆ การเลือก Fedora ก็ไม่ได้น่ากังวลอะไร ส่วนกรณีที่เลือก KDE ก็ตามนั้น น่าจะเป็นตัวเลือกที่ตรงไปตรงมาที่สุดละ
..: เรื่อยไป
KDE ก็ยุโรปนะครับ
น่าจะใช้เวลาพักใหญ่ๆเลย กว่าจะเป็นรูปเป็นร่าง เพราะยุโรปบางทีก็ไม่ค่อยชอบการเปลี่ยนแปลง
LinuxTLE ไม๊ ^^
เก่าไปไหมครับ ไม่ได้ยินมานานมากแล้ว
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
โค๊ดน่าจะขึ้นต้นน้ำหมดแล้วเลยไม่ต้องทำแล้วน่ะครับ