รายงานจาก Krungthai COMPASS บอกว่า ตลาดดาต้าเซ็นเตอร์ของไทยมีโอกาสเติบโตสูง เพิ่มขึ้น 13.9 เท่า โดยรายได้รวมทั้งในรูปแบบของ Colocation และ Public Cloud คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 5.7 หมื่นล้านบาทในปี 2023 ไปถึง 1.5 แสนล้านบาทในปี 2028 หรือโตเฉลี่ยปีละ 21.3%
โดยคาดว่าจะสร้างเม็ดเงินลงทุน 3.2 แสนล้านบาท และสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการไทย 1.3 แสนล้านบาท ซึ่งมาจากการลงทุนของ:
ขณะที่รายได้รวมจากการให้บริการติดตั้งระบบ Cloud และการให้บริการสาธารณูปโภคแก่ดาต้าเซ็นเตอร์คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 2.1 หมื่นล้านบาทในปี 2023 ไปถึง 8.2 หมื่นล้านบาทในปี 2028 หรือโตเฉลี่ยปีละ 31.7%
ปัจจัยที่ทำให้ดาต้าเซ็นเตอร์โตขึ้น มาจากความต้องการใช้ Public Cloud ที่เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการฝึกอบรมโมเดล AI และการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เกิดแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ไทยยังมีความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติน้อยกว่า ด้วยทำเลที่ตั้งอยู่ตรงกลางของอาเซียน และมีการให้บริการอินเทอร์เน็ตเร็วกว่าหลายประเทศในอาเซียน รองลงจากสิงคโปร์เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับคู่แข่งในอาเซียน พบว่าไทยอาจได้รับความสนใจในการลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์น้อยกว่าบางประเทศ เมื่อเทียบขนาดดาต้าเซ็นเตอร์ที่จะเกิดขึ้นใหม่ของไทยอยู่ที่ 67 เมกะวัตต์ ขณะที่สิงคโปร์อยู่ที่ 988 เมกะวัตต์, มาเลเซีย (280 เมกะวัตต์), และอินโดนีเซีย (236 เมกะวัตต์)
โดยสาเหตุหลักมีดังนี้:
กรุงไทยเสนอว่า ไทยต้องเริ่มจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่าย เช่น การเพิ่มจำนวนสถานีเคเบิลใต้น้ำ ให้สามารถรองรับการรับส่งข้อมูลระหว่างประเทศได้อย่างราบรื่น
นอกจากนี้ รัฐบาลควรพิจารณาช่วยลดต้นทุนด้านพลังงาน โดยอนุญาตให้ผู้ให้บริการเข้าถึงไฟฟ้า จากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนของภาคเอกชน ผ่านโครงข่ายของรัฐ โดยไม่คิดค่าบริการเพิ่มเติม เพื่อให้ราคาค่าไฟฟ้าลดลงและแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง
รวมถึงการปรับปรุงสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยการขยายระยะเวลา และเพิ่มระดับสิทธิพิเศษสำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ
การส่งเสริมด้านบุคลากร และการพัฒนาทักษะด้านไอทีก็สำคัญเช่นกัน เพราะจะช่วยให้ไทยมีบุคลากรที่พร้อมรองรับการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย ร่วมกับการปรับปรุงกระบวนการอนุมัติการลงทุนให้รวดเร็ว และโปร่งใสมากขึ้น ด้วยการนำระบบอนุมัติแบบรวมศูนย์มาใช้ ซึ่งจะลดความซับซ้อน และระยะเวลาที่ใช้ในการอนุมัติโครงการลงได้
ที่มา: Krungthai COMPASS
Comments
เชื่อเลยว่ารัฐบาลไม่สนคำแนะนำหรอกทำไปงั้นกระแสมันมา
ผมก็สงสัยว่าพวกโรงงานหรือโครงการที่ใช้ไฟฟ้าเยอะๆ เขาไหวกันเหรอในราคาค่าไฟแพงแบบนี้
The Dream hacker..
ใช้ไฟนิคมครับไม่ได้เรทเดียวกับทั่วไป
บริษัทไฟฟ้ารายนึงในไทย ขึ้นมารวย Top 5 ของไทยภายในไม่กี่ 10 ปี
ไม่ใช่เพราะนวัตรกรรม ไม่ใช่เพราะ breakthrough ทางวิศวกรรมหรือวิทยาศาสตร์ใดๆ
แต่ร่ำรวยจากลายเซ็นบนกระดาษที่เรียกว่า "สัมประทาน"
ในประวัติศาสตร์มนุษย์ ธุรกิจที่ผูกขาด ราคาจะสูงขึ้นเรื่อยๆเพราะยังไงคนก็ต้องจ่าย
ค่าไฟฟ้าสิงคโปร์หน่วยละเท่าไร ถูกกว่าไทยกี่เปอร์เซนต์ครับ
ถ้าเรียงตามรายงาน: สิงคโปร์ (11.15 บาท), มาเลเซีย (4.54 บาท), ไทย, เวียดนาม (2.67 บาท), และอินโดนีเซีย (2.52 บาท) ครับ
ก็แปลว่าต้นค่าไฟฟ้าสิงคโปร์ก็ไม่ได้ดีกว่าไทย คำถามต่อมาก็คือดาต้าเซนเตอร์แต่ละศูนย์ใช้บุคลากรด้านไอทีมากขนาดที่มีนัยยะสำคัญ?
ผมคิดว่าบุคลากรในดาต้าเซนเตอร์ไม่ได้ใช้เยอะขนาดนั้นนะส่วนมาเป็นงาน routine ซะมากกว่า ผมมองเรื่องคุณภาพคน คุณภาพการศึกษาและการต่อยอดของคนในประเทศมากกว่าถ้าบ้านเราเรียนสาย STEM กันมากมีการนำ IT มาประยุกต์ใช้งานในด้านต่างๆมากขึ้นมีบริษัทที่มองการทำ service ด้าน cloud ที่มองบริการ Global มากกว่า Local ยังไงเค้าก็มานะผมว่า แต่บ้านเราเน้นขายคนในก่อนแล้วหยุดพัฒนาไม่ออกข้างนอก เน้นใช้บริการที่เค้าคิดมาแล้ว AWS,Azure,DO,Google Cloud,Salesforce Cloud แค่เจ้าที่คิดอะไรใหม่ๆในด้านนี้ ในไทยยังไม่มีเลยครับ
โรงไฟฟ้าเจ้าไหนน้า รวยเอา ๆ ;D
That is the way things are.
ค่าไฟฟ้าของไทยก็ถือว่าอยู่ในโซนกลางๆในแถบนี้นะ
สิงคโปร์ = 11.15
มาเลเซีย = 4.54
*ไทย = 4.18
เวียดนาม = 2.67
ลาว = 1.02
ข้อมูลปี 2024
https://thestandard.co/thailand-electricity-costs-2024-info/
เรื่องไฟฟ้าแพงนี่ ถ้าตัดการเมืองออกไป ไม่เห็นมีใครพูดเลยว่า ประเทศที่ถูกกว่าไทย เขาใช้ ถ่านหิน นิวเคลียร์ หรือเขื่อน เป็นหลัก ซึ่งคนไทย ไม่เอาซักอย่าง ค้านไม่ให้สร้างลูกเดียว แล้วมาบ่นไฟแพง ช่วยไปหามาด้วยว่ามีประเทศไหนที่ไม่ใช้ 3 อย่างนี้เป็นหลักแล้วถูกกว่าไทย
ผมละโคตรเกลียดพวก NGO ยังกับรับเงินมาค้าน และค้าน Mang ทุกเรื่องที่มีประโยชน์กับประเทศ
+1 ผมเห็นเขาจะสร้างโรงไฟฟ้าตั้งหลายที่ แล้วผมคิดว่าโรงงานไทยก็ควบคุมสิ่งแวดล้อมได้ดีพอสมควร ทั้งๆที่สร้างความมั่นคงทางพลังงานได้เยอะ สุดท้ายพวก NGO มันคัดค้าน แล้วไปซื้อจากเอกชนแทน ไม่เห็นมันจะไปประท้วงไรเลย ก็ใช้ของแพงๆไป
+1 เดี๋ยวนี้กลายเป็นว่าพอได้ยินชื่อ NGO นี่ส่ายหน้าไว้ก่อน รู้ว่าการเหมารวมไม่ดี แต่ส่วนใหญ่นี่ วาทะกรรมล้วนๆ ไม่ได้ทำให้บ้านเมืองดีขึ้นเลย ส่วนใหญ่จะถ่วงด้วยซ้ำ
..: เรื่อยไป
ผมคนนึงเห็นด้วยถ้าจะสร้างโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์
เห็นพี่จีนก็ยังมาตั้ง DC ทำ Public Cloud ขายก่อนฝรั่งเข้ามาอีก เหมือนจะไม่สนใจค่าไฟ หรือได้สิทธิ์พิเศษหว่า
ตะ ตะ ... แต่ว่า AWS เพิ่งมานะครับ !
มาเล 350.7 = 25 ล้านคน
ไทย 700.28 = 19.6 ล้านคน
สิงคโปร์ 5.9*0.74 = 4.3 ล้านคน
เกลียดจริงๆ การเปรียบเทียบตัวเลขแบบนี้
มาเล 35 * 0.7 = 25 ล้านคน
ไทย 70 * 0.28 = 19.6 ล้านคน
สิงคโปร์ 5.9 * 0.74 = 4.3 ล้านคน
เกลียดจริงๆ การเปรียบเทียบตัวเลขแบบนี้