ไมโครซอฟท์เปิดตัวชิป DPU (Data Processing Unit) ตัวแรกของตัวเองในชื่อ Azure Boost DPU
วงการ DPU หรือชิปช่วยประมวลผลข้อมูลที่วิ่งเข้าเซิร์ฟเวอร์ เพื่อลดภาระงานของซีพียู เริ่มได้รับความนิยมเรื่อยๆ ตัวอย่างชิปในวงการได้แก่ NVIDIA BlueField DPU, AMD Pansando, Intel IPU
ไมโครซอฟท์เริ่มบุกตลาดนี้ด้วยการซื้อบริษัท Fungible ในปี 2023 เวลาผ่านมาเกือบ 2 ปีก็ออกมาเป็น Azure Boost DPU ที่ออกแบบมาสำหรับศูนย์ข้อมูล Azure โดยเฉพาะ
Financial Times อ้างแหล่งข่าวใน Meta บอกว่าซีอีโอ Mark Zuckerberg ได้อัปเดตแผนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กับพนักงาน เพื่อนำมาใช้กับงานประมวลผลในศูนย์ข้อมูลด้าน AI แห่งใหม่ ซึ่งเป็นความร่วมมือกับผู้ผลิตไฟฟ้ารายหนึ่ง
อย่างไรก็ตามโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นี้ได้ถูกสั่งระงับไป จากหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเหตุผลหนึ่งก็คือในบริเวณพื้นที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้านั้น ถูกค้นพบผึ้งสายพันธุ์หายาก จึงเป็นเหตุสำคัญให้แผนสร้างโรงไฟฟ้านี้ถูกสั่งเบรกไป
รายงานบอกว่า Zuckerberg ยอมรับว่าหัวเสียกับเรื่องที่เกิดขึ้น เพราะตัวเลือกไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์นั้นมีน้อย เมื่อเทียบกับจีน
Equinix บริษัทศูนย์ข้อมูลชื่อดังจากสหรัฐอเมริกา ประกาศแผนการลงทุนในประเทศไทย 500 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 10 ปีข้างหน้า
Equinix ยังเผยว่าได้ลงทุนซื้อที่ดินย่านบางนา พื้นที่กว่า 18,700 ตารางเมตร มูลค่า 34 ล้านดอลลาร์ (ราว 1.15 พันล้านบาท) เพื่อก่อสร้างศูนย์ข้อมูล Equinix International Business Exchange (IBX) จำนวน 2 แห่ง ซึ่งสามารถรองรับตู้เก็บข้อมูลได้มากกว่า 3,375 ตู้เมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ แต่ยังไม่ได้ระบุว่าแผนการสร้างจะเสร็จเมื่อไร
นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg ว่า Nvidia เตรียมประกาศแผนลงทุนในไทย ในเดือนธันวาคมนี้ พร้อมกับการมาเยือนของ Jensen Huang ซีอีโอของ Nvidia โดยเบื้องต้นยังไม่ได้เปิดเผยตัวเลขการลงทุนออกมา
ก่อนหน้านี้ บริษัทเทคยักษ์ใหญ่หลายเจ้า ไม่ว่าจะเป็น Amazon, Google และ Microsoft ประกาศลงทุนสร้างศูนย์ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานด้านคลาวด์อื่น ๆ ในไทยไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม ไทยไม่ใช่ประเทศเดียวในอาเซียนที่ Nvidia สนใจลงทุน เพราะก่อนหน้านี้ Nvidia ก็ประกาศลงทุนในหลายประเทศทั้งอินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม การประกาศลงทุนครั้งนี้จึงทำให้ไทยไม่ตกขบวนกับเพื่อนบ้าน
Jensen Huang ซีอีโอ NVIDIA ให้สัมภาษณ์กับรายการ Bg2 โดยช่วงหนึ่งเขาเล่าถึงทีม xAI บริษัทปัญญาประดิษฐ์ของ Elon Musk ในการติดตั้งจีพียู H200 จำนวน 100,000 ตัว ว่านี่เป็นทีมยอดมนุษย์ เพราะสามารถก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมดในศูนย์ข้อมูล พร้อมกับเริ่มรันโมเดลแรกได้ภายในเวลา 19 วันเท่านั้น
Huang บอกว่าโดยเฉลี่ยแล้วการสร้างศูนย์ข้อมูลให้ได้ในระดับนี้ต้องใช้เวลาประมาณ 4 ปี โดย 3 ปีแรก เป็นการวางแผนออกแบบก่อสร้าง และอีก 1 ปี สำหรับการจัดส่งอุปกรณ์ ติดตั้ง ทดสอบ และเริ่มรันโมเดล
กูเกิลประกาศลงนามข้อตกลง สั่งซื้อไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์จาก Kairos Power สตาร์ทอัปที่พัฒนาระบบไฟฟ้านิวเคลียร์ด้วยเตาปฏิกรณ์ขนาดเล็ก ซึ่งพลังงานไฟฟ้านี้จะนำมาใช้สำหรับศูนย์ข้อมูลด้าน AI ของกูเกิล
ตามข้อตกลงนั้น Kairos Power จะเริ่มผลิตไฟฟ้าด้วยชุดปฏิกรณ์แรกในปี 2030 และเพิ่มเติมไปจนถึงปี 2035 กำลังไฟฟ้ารวม 500 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นพลังงานที่ปลอดคาร์บอน
Kairos Power มีเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์ โดยไม่ต้องสร้างเตาปฏิกรณ์ขนาดใหญ่แบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เราคุ้นตา ใช้การหล่อเย็นด้วยเกลือหลอมเหลวผสมกับเซรามิกแทนระบบน้ำแบบเดิม ทั้งหมดทำให้ได้ระบบนิวเคลียร์ความดันต่ำ และทำให้เตาปฏิกรณ์มีขนาดเล็กลง โดยโรงไฟฟ้าแห่งแรกอยู่ในขั้นตอนอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแล และรัฐเทนเนสซี
Damac Group กลุ่มทุนอสังหาริมทรัพย์จากดูไบ เจ้าของธุรกิจศูนย์ข้อมูลยี่ห้อ Edgnex ประกาศเข้ามาลงทุนในประเทศไทย มูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์
การลงทุนของ Damac Group เป็นการร่วมทุน (joint venture) กับบริษัท โปรเอ็น คอร์ป จำกัด (ProEn) ที่ให้บริการด้านศูนย์ข้อมูลในไทยอยู่แล้ว โดย Edgnex จะถือหุ้น 70% และเป็นผู้บริหารศูนย์ข้อมูลด้วย
โครงการศูนย์ข้อมูลที่ร่วมลงทุนมีหลายแห่ง โดยศูนย์ข้อมูลแห่งแรกจะเริ่มเปิดบริการช่วงต้นปี 2025 เป็นศูนย์ข้อมูลระดับ Tier III มีการใช้พลังงาน 5MW
ที่มา - Gulfnews
AMD ประกาศเริ่มขายชิปเร่งความเร็วปัญญาประดิษฐ์สำหรับศูนย์ข้อมูล Instinct MI325X อย่างเป็นทางการ หลังจากเปิดตัวไปเมื่อกลางปี ซึ่ง AMD บอกว่าเป็นการกำหนดมาตรฐานใหม่ของการประมวลผลโมเดล Gen AI
Instinct MI325X พัฒนาบนสถาปัตยกรรม CDNA 3 มีหน่วยความจำแบนด์วิดท์สูง HBM3E 256GB รองรับการส่งข้อมูล 6.0TB/s ซึ่ง AMD บอกว่าเทียบกับ H200 ของ NVIDIA แล้ว มีความจุมากกว่า 1.8 เท่า และแบนด์วิดท์มากกว่า 1.3 เท่า
ผู้อ่าน Blognone ทราบกันอยู่แล้วว่าปัญญาประดิษฐ์นั้นต้องการกำลังประมวลผลที่มหาศาล โดยเฉพาะการประมวลผลในศูนย์ข้อมูล ทำให้ความต้องการพลังงานไฟฟ้าก็มีจำนวนมากตามด้วย เรื่องนี้ช่วยย้ำว่าศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ ยังต้องการไฟฟ้าอีกมาก มากจนต้องขอโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกหนึ่งแห่งเลย
ไมโครซอฟท์ประกาศลงนามข้อตกลงซื้อไฟฟ้าเป็นระยะเวลา 20 ปี จากบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้า Constellation ซึ่งทาง Constellation ไม่ได้สร้างโรงไฟฟ้าใหม่ขึ้นมา แต่ใช้การกลับมาเปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ TMI-Unit 1 บนเกาะทรีไมล์ ซึ่งโรงไฟฟ้านี้ได้ปิดทำการไปในปี 2019 เนื่องจากความต้องการไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ลดลง เพราะราคาแพงกว่าโรงไฟฟ้าแหล่งพลังงานอื่น
เมื่อวานนี้เกิดเหตุไฟไหม้ศูนย์ข้อมูล Alibaba Cloud Zone C ในสิงคโปร์ กระทบบริการจำนวนมาก โดยต้นเพลิงเกิดจากแบตเตอรีลิเธียมในศูนย์ข้อมูล
กระบวนการดับเพลิงกินเวลา 4 ชั่วโมง ตั้งแต่ 10:20-14:40 ตามเวลาปักกิ่ง แต่หลังจากควบคุมเพลิงได้แล้วก็ยังมีความร้อนอยู่ ทำให้ทีมงานไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ และอุปกรณ์เน็ตเวิร์คทำงานผิดปกติ ตลอดจนมีน้ำดับเพลิงเข้าไปในห้องเซิร์ฟเวอร์ ทำให้กระบวนการกู้คืนระบบใช้เวลา
ทาง Alibaba Cloud ระบุว่าระบบที่เปิด high availability เอาไว้สามารถย้ายระบบออกไปโดยอัตโนมัติได้ตามที่คาดหวัง เช่น Redis, MongoDB, MySQL แต่บริการที่เปิดใช้แบบ single availability zone เช่น object storage หรือฐานข้อมูลต่างๆ หากอยู่ใน Zone C ก็จะดับไป
บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย หรือ INET ประกาศลงทุนในศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่ IDC4 ที่ภาคอีสาน (ไม่ระบุจังหวัด) รวมถึงลงทุนในโซลาร์ฟาร์ม 1,000 ไร่ ในภาคอีสานเช่นกัน เพื่อเป็นพลังงานสะอาดมาใช้กับศูนย์ข้อมูลแห่งนี้
INET ยังไม่เปิดเผยว่าศูนย์ข้อมูล IDC4 จะเปิดให้บริการเมื่อใด
INET คาดการณ์รายได้ปี 2567 ที่ประมาณ 2,500 ล้านบาท เติบโต 20% จากปีก่อน รายได้หลักมาจากบริการ Cloud Service มีจำนวน Virtual Machine Instance (VMI) จำนวน 61,600 VMI และลูกค้าองค์กร 5,000 ราย
บริษัทด้านการลงทุน Blackstone ประกาศซื้อกิจการ AirTrunk ผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลจากออสเตรเลีย ด้วยมูลค่า 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือประมาณ 5.5 แสนล้านบาท โดยเป็นการซื้อหุ้นจากผู้ลงทุนเดิมคือ Macquarie Asset Management และ Public Sector Pension Investment Board
Blackstone บอกว่าดีลนี้เป็นการลงทุนขนาดใหญ่ที่สุดของบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยต้องรอการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลของออสเตรเลียด้วย
AirTrunk ให้บริการศูนย์ข้อมูลแบบไฮเปอร์สเกลในเอเชียแปซิฟิก มีที่ตั้งกระจายอยู่ใน ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ขนาดรวม 800 เมกะวัตต์ และมีแผนขยายให้รองรับถึง 1 กิกะวัตต์ในอนาคต
AWS ที่ประกาศตั้งรีเจี้ยนในมาเลเซียเมื่อปีที่แล้ว ล่าสุดเปิดให้บริการแล้วทั้งหมด 3 Availability Zone โดยใช้ตัวย่อ ap-southeast-5
นอกจาก AWS ที่เปิดแล้ว ก่อนหน้านี้ก็มี Google Cloud และ Azure ที่มีแผนจะเปิดในประเทศเหมือนกัน
ขณะที่รีเจี้ยนประเทศไทย แม้มีการประกาศก่อนมาเลเซีย แต่จะเปิดให้บริการปีหน้า
ที่มา - AWS
AMD ประกาศข่าวซื้อกิจการ ZT Systems บริษัทผู้ออกแบบระบบเซิร์ฟเวอร์ให้กับผู้ให้บริการคลาวด์ขนาดใหญ่ ในราคา 4.9 พันล้านดอลลาร์
ชื่อของบริษัท ZT Systems อาจไม่เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากนัก แต่บริษัทก่อตั้งมานาน 29 ปีแล้ว (ก่อตั้งปี 1994 โดยเริ่มจากธุรกิจพีซี ภายหลังผันตัวมาทำเซิร์ฟเวอร์ในปี 2004) ปัจจุบันธุรกิจทั้งหมดของบริษัทเป็น B2B คือรับวางระบบเซิร์ฟเวอร์ให้กับคลาวด์และบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ โดย ZT Systems สามารถ "ผลิต" เครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้เอง มีโรงงานของตัวเองในหลายประเทศ
นักวิจัยจาก Loughborough University พบว่า ข้อมูลส่วนมากบนคลาวด์จัดเป็น Dark data คือถูกใช้ครั้งเดียว แล้วถูกลืมไว้ใน Data center กินพลังงานไปเรื่อย ๆ โดย The Guardian บอกว่าอีเมลและมีมที่เราส่งให้คนอื่นอาจจัดอยู่ในข้อมูลแบบนั้นเช่นกัน
งานวิจัยพบว่า ข้อมูลที่ใช้กันในบริษัทกว่า 2 ใน 3 (68%) จะไม่ถูกนำกลับมาใช้อีก และการใช้งานข้อมูลก็มีทิศทางคล้ายกันในการใช้งานส่วนบุคคล
AIS จับมือกับ Oracle ให้บริการไฮเปอร์สเกลคลาวด์ครั้งแรกในไทยบน AIS Cloud โดยพร้อมให้บริการในไตรมาสที่ 1 ปี 2025
เว็บไซต์ The Verge ตั้งข้อสังเกตว่า ในผลประกอบการไตรมาส 2/2024 ของ AMD มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจศูนย์ข้อมูล (ซีพียู Epyc และจีพียู Instinct) เติบโตขึ้นมากถึง 115% ทำให้ตอนนี้รายได้เกือบครึ่ง (48.5%) ของ AMD มาจากศูนย์ข้อมูลแล้ว
AMD แบ่งรายได้ออกเป็น 4 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ ศูนย์ข้อมูล, ไคลเอนต์ (Ryzen/Threadripper), เกมมิ่ง (นับรวมจีพียูเกมมิ่ง Radeon และชิปคอนโซล) และชิปฝังตัว โดยไตรมาสที่ผ่านมา ธุรกิจศูนย์ข้อมูลและไคลเอนต์เติบโต ในขณะที่ธุรกิจเกมมิ่งและฝังตัวถดถอยลง
มีกรณีที่น่าสนใจว่าด้วยการสร้างศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center โดยประชาชนในเมือง Akishima ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของโตเกียวมากกว่า 220 ครอบครัว ได้ลงชื่อคัดค้านการสร้างศูนย์ข้อมูลและลอจิสติก ของบริษัท GLP จากสิงคโปร์ ซึ่งระบุว่าเพื่อรองรับความต้องการใช้งานจากลูกค้าธุรกิจในญี่ปุ่น
การคัดค้านนี้ไม่ใช่ครั้งแรกในญี่ปุ่น ก่อนหน้านี้ประชาชนในเมือง Nagareyama ในจังหวัดชิบะ ก็เคยคัดค้านการสร้างศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่สำเร็จมาแล้ว
กูเกิลประกาศรับสมัครพนักงานตำแหน่ง Data Center Technician ทำงานในกรุงเทพ โดยระบุชัดเจนว่าเป็นการทำงานในศูนย์ข้อมูลของบริษัทอื่น (Third-Party Data Center)
ตำแหน่งนี้เป็นระดับเริ่มต้น (early) ต้องการประสบการณ์ทำงาน 3 ปีในสายงานฮาร์ดแวร์ เครือข่าย ระบบปฏิบัติการ ลินุกซ์ และการวางแผนโครงการ รวมถึงต้องสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ดี
GreenNode ธุรกิจด้านศูนย์ข้อมูลในเครือ VNG กลุ่มบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของเวียดนาม เปิดตัวคลัสเตอร์ AI ขนาดใหญ่ในศูนย์ข้อมูลที่กรุงเทพ
เครื่องคลัสเตอร์ตัวนี้ใช้จีพียู NVIDIA H100 และระบบเครือข่าย InfiniBand ตั้งอยู่ในศูนย์ข้อมูล STT Bangkok 1 ของบริษัท ST Telemedia จากสิงคโปร์
ธุรกิจของ GreenNode เน้นการให้บริการ GPU cloud โดยแยกเป็น 3 ระดับคือ
กูเกิลเผยแพร่รายงานประจำปีผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Report 2024) โดยรายงานปีนี้มีตัวเลขที่สำคัญคือปริมาณการปล่อยคาร์บอน ซึ่งกูเกิลกำหนดเป้าหมายให้เป็น Net-zero ภายในปี 2023 ที่เป้าหมายนี้ท้าทายขึ้นไปอีก เพราะตัวเลขปี 2023 ปริมาณการปล่อยคาร์บอนเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 13% และถ้าเทียบกับ 5 ปีที่แล้ว 2019 ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นถึง 48%
กูเกิลบอกสาเหตุหลักที่การปล่อยคาร์บอนเพิ่มสูงขึ้น เป็นผลจากการใช้พลังงานในศูนย์ข้อมูลที่มากขึ้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับความต้องการงานประมวลผลด้าน AI เฉพาะการใช้พลังงานไฟฟ้าในศูนย์ข้อมูลของปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 17%
ไมโครซอฟท์มีโครงการสร้างศูนย์ข้อมูลใต้น้ำ Project Natick ซึ่งทดสอบจริงที่สกอตแลนด์ เมื่อปี 2018 และนำศูนย์ข้อมูลขึ้นมาหลังผ่านไป 2 ปี ซึ่งได้ผลลัพธ์การทำงานที่ดีจนน่าจะนำไปพัฒนาเป็นโครงการขนาดใหญ่ได้จริง อย่างไรก็ตามไมโครซอฟท์ได้ยุติการศึกษาโครงการนี้อย่างเป็นทางการแล้ว
Noelle Walsh หัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมคลาวด์ของไมโครซอฟท์บอกว่า ไมโครซอฟท์ไม่มีแผนการสร้างศูนย์ข้อมูลใต้น้ำที่ใดในโลกอีกแล้ว แต่ไมโครซอฟท์ได้เรียนรู้หลายอย่างที่น่าสนใจ ของการจัดการระบบที่ทำงานใต้น้ำ แรงสั่น และผลกระทบต่อเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์กับงานส่วนอื่นได้
AMD เปิดตัวแผนการออกจีพียูสำหรับศูนย์ข้อมูลแบรนด์ Instinct โดยซีอีโอ Dr. Lisa Su บอกว่ารอบการออกจีพียูใหม่จะปรับมาเป็นทุกปี เพื่อรองรับความต้องการทั้งจากตลาด AI และ HPC ที่ต้องการหน่วยความจำและแบนด์วิธที่มากขึ้น
โดยแผนการออกจีพียู Instinct ใหม่ เริ่มด้วย MI325X กำหนดออกในไตรมาส 4 ปีนี้ ตามด้วยซีรีส์ MI350 ซึ่งจะปรับปรุงมาใช้สถาปัตยกรรม CDNA4 กำหนดขายในปี 2025 และซีรีส์ MI400 ในปี 2026
สเป็กของ Instinct MI325X จะมีหน่วยความจำ HBM3E ถึง 288GB แบนด์วิธ 6 TB/s ประสิทธิภาพงาน inference และ token generation ดีกว่า H100 ของ NVIDIA 1.3 เท่า บนการทำงานผ่านซอฟต์แวร์ AMD ROCm 6
สิงคโปร์ประกาศจัดสรรพลังงานสำหรับศูนย์ข้อมูลเพิ่ม 300MW จากตอนนี้ที่มีใช้งานอยู่แล้ว 1.4GW เพื่อรองรับการเติบโตต่อไป แม้ว่าตอนนี้สิงคโปร์จะติดปัญหาพลังงานมีจำกัดจนต้องจำกัดการเปิดศูนย์ข้อมูล
แผนการพัฒนาศูนย์ข้อมูลของสิงคโปร์ยอมรับว่ามีข้อจำกัดของประเทศขนาดเล็ก แต่ก็ถือว่าเป็นโอกาสที่จะพัฒนาศูนย์ข้อมูลประสิทธิภาพสูง โดยศูนย์ข้อมูลใหม่จะต้องมีประสิทธิภาพพลังงาน (Power Usage Effectiveness - PUE) ต่ำกว่า 1.3 และหันไปใช้แนวทางระบายความร้อนประสิทธิภาพสูงเช่นการระบายความร้อนด้วยน้ำ, การพัฒนาศูนย์ข้อมูลให้ทนความร้อนได้ดีขึ้น, และกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้เทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงาน
Alibaba Cloud ประกาศในงานสัมมนาที่ปารีส เปิดพื้นที่ให้บริการเขตเม็กซิโกเป็นครั้งแรก และประกาศขยายศูนย์ข้อมูลเพิ่มใน 4 ประเทศคือ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ และไทย ในช่วงเวลา 3 ปีข้างหน้า
Alibaba Cloud มีให้บริการ Availability Zone ในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2022 ประกาศนี้บอกคร่าวๆ เพียงว่าจะขยายศูนย์ข้อมูลเพิ่มเติมอีก แต่ยังไม่ให้รายละเอียดมากไปกว่านี้
ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Alibaba Cloud มีศูนย์ข้อมูลให้บริการใน 5 ประเทศคือ สิงคโปร์ (3 โซน), มาเลเซีย (2 โซน), อินโดนีเซีย (3 โซน), ฟิลิปปินส์ (1 โซน) และไทย (1 โซน) - แผนที่ละเอียด