กระแสหลังๆ มานี้เรื่องการเข้าถึงสื่อการเรียนรู้แบบดิจิตอลมาค่อนข้างแรง โดยเฉพาะเรื่องของแลปทอปร้อยเหรียญ ที่จะให้เด็กๆ ได้เข้าถึงสื่อการเรียนรู้แบบใหม่ๆ แต่ในวารสาร "Education 3 to 13" ได้ตีัพิมพ์งานวิจัยที่ระบุว่าเด็กที่อ่านเรื่องราวผ่านทางมัลติมีเดียในคอมพิวเตอร์ กลับไม่สามารถจำเรื่องราวที่อ่านไปได้ เพราะมัวแต่สนใจกับมัลติมีเดียทั้งหลายในคอมพิวเตอร์
งานวิจัยนี้เป็นการเตือนผู้ปกครองและครูรุ่นใหม่ๆ ว่าการใช้มัลติมีเดียมากๆ เพื่อดึงความสนใจเด็กในการเรียนรู้อาจจะไม่ใช่วิธีการที่ถูกนัก เนื่องจากเด็กจะได้รับความบันเทิงมากกว่าการเรียนรู้
ยังไงอ่านหนังสือก็สบายกว่าอยู่ดี...
ที่มา - The Sydney Morning Herald
Comments
เห็นนายกบอกว่าจะให้นักเรียนประถมหิ้วแลปทอปไปเรียนหนังสือ -_-"
เด็กคงใช้คอมฯเล่นเกมส์มากกว่าใช้เรียน
sid - ในภาำพรวมก็อาจจะดีนะครับ เรื่องหนึ่งที่ต้องระวังคืองานวิจัยนี้ระบุเพียงว่าเด็กที่เจอมัลติมีเดียนั้นไม่สามารถ "จำ" เรื่องที่เขาเพิ่งเรียนไปได้ ไม่ไ้ด้บอกว่าเด็กๆ ไม่สามารถ "เรียนรู้" จากเรื่องเหล่านั้นได้
อีกอย่างคือแลปทอปก็ใช้ "อ่าน" e-book ได้นะ
lewcpe.com, @wasonliw
ได้เรียนรู้ดีกว่าไม่ได้อะไรเลย
สมัยยังไม่มีเนตใช้ต้องไปค้นๆหาหนังสือมือ 2 จากจตุจักร เล่มนึงก็หลายร้อย เดือนนึงซื้อได้ไม่กี่เล่ม เดี๋ยวนี้ค้นใน google หาโหลดจากโปรแกรม p2p ได้ไม่ยาก
เรื่อง Notebook สำหรับเด็กไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่ ไม่ว่าจะยกเหตุผลใดๆ มาอ้างก็ตาม
ผมมี Notebook ใช้ตั้งแต่ ม.5 ตอนนี้ ปี 3 แล้ว ใช้มา 2 เครื่อง และ Desktop อีก 1 เครื่อง
เรื่อง MIT Notebook นี้ จริงๆ แล้วไม่เหมาะกับการเรียนการสอนในไทยเท่าไหร่ และประเทศพัฒนาหลายๆ ประเทศ ที่นักเรียนกว่า 30 - 40% สามารถซื้อ Notebook ได้ แต่ก็ไม่ค่อยมีใครใช้ มาแทนการใช้งานหนังสือเท่าไหร่
เพราะหนังสือ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดในการเรียนรู้ และไม่ทำลายสายตาเท่ากับจอคอมพิวเตอร์ ถึงแม้จะเป็นจอ LCD กรือ OLED ก็ตามที ก็ไม่ได้ดีไปกว่ากระดาษธรรมดาที่มีตัวหนังสือให้อ่าน และมันสามารถอ่านได้ทุกๆ ที่โดยที่ไม่ต้องมากังวลว่าแบตจะหมด หรือไม่ต้องมานั่งปั้นไฟ แบบ MIT Notebook ตัวนี้ แถม หนังสือมันทำให้เราฝึกการเขียน วิเคราะห์ ย่อความ หรือการเรียบเรียงใหม่อีกมากมาย
ถึง Notebook จะสะดวก แต่มันทำให้คนเรายึดติดมันมากเกินไป ผมมี eBook ในเครื่องกว่า 10GB และ VDO Training อีก 20 GB ผมเปิดๆ ดู เปิดๆ อ่าน ก็สะดวกดี แต่ .......
พอเราอยู่นอกบ้าน มันไม่สะดวกเท่าหนังสือ การหยิบจับมันง่ายกว่ามาก หลายๆ คนคงบอกว่า Notebook มันเก็บหนังสือได้มากกว่ากระเป๋าหนังสือ 100 เล่ม อันนี้ไม่เถียง แต่ผมเถียงในเรื่องของคำว่า "พยายาม" ตอนผมเรียน ม.ปลาย หนังสือที่ผมเอาไปเรียนก็ว่าเยอะแล้วนะ แต่ตอนมาเรียน มหาลัยฯ เยอะกว่าหลายเท่า และในปัจจุบัน หนังสือเรียนรุ่นๆ ใหม่ๆ ของเด็กประถม ก็น่าอ่านกว่าแต่ก่อนเยอะ แต่เนื้อหามากขึ้นลึกขึ้น พอสมควร ผมถามว่า Notebook ไม่ใช่สิ่งที่มาแทนที่หนังสือ และไม่สามารถทดแทนได้ ไม่ว่าจะยังไงก็ตาม ผมยังเห็นคนที่เรียนด้านคอมฯ และคนทำวิจัยเก่งๆ ที่มี Notebook ดีๆ มี External H/D ความจุสูง ยังซื้อหนังสือ Text Book มาอ่านอยู่เลย ทั้งๆ ที่มีให้โหลดแบบ PDF กันดาดดืน ด้วยเหตุผลที่ว่า ความรู้สึกที่ได้อ่าน และโน๊ตลงไปมันทดแทนไม่ได้ และความสะดวกในการหยึบอ่านมันมีมากกว่า อ่านที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องคิดมาก
อีกอย่างที่ผมว่าไม่เหมาะสมคือ ความรับผิดชอบในสิ่งของ ของเด็กๆ ระดับเล็ก แม้แต่ ม.ต้น บางคนก็มีความรับผิดชอบที่ต่ำ และเกรงว่าจะเป็นภัยต่อตัวเด็กในเรื่องของอาชญากรรม ด้านการลักขโมย และลักทรัพย์ครับ เรื่องนี้น่าเป็นห่วงมากกว่าครับ
ต่อมาคือค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา และการสอนการใช้งาน อย่าลืมว่าระบบที่แน่นอนแล้วคือ Linux แน่นอน ซึ่ง ok linux ในปัจจุบันใช้งานง่าย และไม่ซับซ้อน แต่ปัญหาไม่ใช่อยู่เพียงแค่นี้ ปัญหาคือความเคยชิน มากกว่า ระบบ linux นั้นทำงานได้ดีในการทำงานระดับ Office ครับ คือทำงาน Word Processing, Speadheet, Presentation Slide , ฯลฯ ซึ่งซอฟต์แวร์พวกนี้ รองรับระบบไฟล์บางอย่างของ microsoft ได้ยาก เช่นไฟล์ .doc ซึ่งเป็นของ microsoft word เป็นต้น ซอฟต์แวร์ openoffice หรือ koffice ของ linux ยังคงอ่านไฟล์ของ microsoft word ยังไม่สมบูรณ์ และดีพอ ซึ่งต้องทำให้นักเรียน และคุณครูทั่วไปเคยชินต่อระบบ linux ก่อน และยอมรับ format ไฟล์ของ openoffice หรือ koffice ก่อน ซึ่งระบบราชการไทย ยังใช้ ms word กันอยู่เลย -_-" แถม font พวก Angsana New หรือตระกูล UPC ทั้งหลายใน Linux ไม่มีครับ ต้องหา Copy จาก Windows ซึ่งผิดลิขสิทธิ์เต็มๆ แต่ก็เหอะ พี่ไทยเราคงไม่สนใจ จริงแมะ ......
ส่วนเรื่องการเอามาลง Windows คงเป็นไปได้ยาก เพราะ Memory และ H/D คงไม่เอื้อให้คุณสามารถลงได้เต็มที่ ไม่แน่แค่ลง Windows ก็เหมาะเนื้อที่แล้ว
ซึ่งผมมองว่า เห็นโครงการขายฝันมากกว่า ดูดีครับ แต่ใช้งานได้ยาก และไม่มีเหมาะกับสังคมไทย ที่ยังใช้เทคโนโลยีอย่างแฟชั่น และการใช้งานแบบ All-in-one ซึ่ง MIT Notebook ตัวนี้คงไม่ตอบโจทย์ และความต้องการเท่าไหร่
และไม่เหมาะกับเด็กไม่ว่าจะด้วยกรณีใดๆ ทั้งสิ้น ผมสังเกตุว่าประเทศหลายๆ ประเทศ อย่างญี่ปุ่น เค้าไม่เห็นสนใจโครงการนี้เท่าไหร่ ..... อีกอย่างญี่ปุ่นยังใช้กระดาน กับช็อค เรียนกับหนังสือ และสมุดอยู่เลย ....
ผมชอบอ่านหนังสือมากกว่าคอมนะครับมันสบายตาดี แต่ไม่รู้ว่าเด็กๆที่โตมากับคอมมากกว่าหนังสือเค้าจะคิดเหมือนผมรึเปล่า
ถ้าแลปทอปร้อยเหรียญมันมาถึงจริงๆ เราจะมีบุคลากรที่มีความสามารถพอที่จะสอนวิธีใช้อย่างถูกต้องให้กับเด็กๆเหรอครับ ขนาดปัจจุบันการอบรมตัวอาจารย์ให้มาใช้ linux ยังทำกันไม่ได้เลยนี่นา
หรือว่าไม่ได้ทำ? แล้วปล่อยให้ระบบใช้ซอฟท์แวร์เถื่อนกัน
หวังว่าทุกๆฝ่ายจะเอาจริงเอาจังกับเรื่องนี้ (และไม่กัดกันเอง)
ตอบคุณ ford ครับ
โดยส่วนตัวเองผมก็ไม่เห็นด้วยกับ $100 laptop แต่มันเป็นโครงการที่ "ตัดสินใจไปแล้ว" (ได้ออกเช้าวันเสาร์บ่อยๆ ด้วยนะ) ซึ่งไม่มีทางเปลี่ยนแปลงได้ และต้องพยายามสร้างประโยชน์จากมันให้ได้มากที่สุด
ด้วยหน้าที่การงานผมมีเอี่ยวกับโครงการนี้ด้วย ซึ่งได้รู้ข้อมูลวงในหลายอย่าง (หมายถึงในทางเทคนิคนะ ไม่ใช่เรื่องโกงไม่โกง) แต่คงไม่สามารถเปิดเผยในที่นี้ได้ เพราะผมไม่แน่ใจว่าติด non-disclosure หรือเปล่า ซึ่งรายละเอียดต่างๆ ในโครงการนี้เป็นเรื่องเปิดเผยต่อสาธารณะชนอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับรู้ช้าหรือรู้เร็วเท่านั้น
เรื่องที่สามารถบอกได้คือเรื่องฟอนต์ ฟอนต์หลักทั้ง 3 ตัว บนวินโดวส์ คือ Angsana, Cordia, Browalia นั้น เจ้าของยังเป็นคุณบุญเลิศ (คนออกแบบ) อยู่ ซึ่งคุณบุญเลิศให้สิทธิ์ MS ในการแจกไปกับตัววินโดวส์เท่านั้น ไม่ได้ขายขาด และตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการคุยกับคุณบุญเลิศ เพื่อซื้อสิทธิ์ในการแจกฟอนต์ไปกับ OS โอเพนซอร์สอื่นๆ อยู่ครับ
ถ้า ebook เริ่มเยอะ ผมว่าอีกหน่อย ตลาด printer ระดับเล็กคง boom กว่านี้ เพราะยังไงผมก็คงเลือก print มาอ่านมากกว่า อ่านจากใน laptop
ครับ อันนี้คือผมมองกรณีว่าถ้าให้เด็กหิ้วไปเรียนทุกวัน อันหมายถึงเอาไปใช้ประกอบการเรียนอย่างจริงจังในแต่ละวิชานะครับ
ผมไม่เห็นด้วยที่จะให้เด็กระดับประถม(ถ้าจำข่าวไม่ผิดรู้สึกจะประถมหนึ่ง)มาจับใช้คอมพิวเตอร์อย่างจริงจัง ขนาดหิ้วไปเรียนทุกวัน มันอาจจะเป็นการดีที่จะให้เด็กได้เรียนรู้คอมพิวเตอร์กันตั้งแต่เนิ่นๆ แต่ผมว่าเด็กเล็กขนาดนี้ยังมีอะไรอย่างอื่นที่น่าเรียนรู้อีกเยอะ อย่างได้เรียนรุ้การเขียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ได้รู้ความทรมานเวลาเขียนผิดแล้วต้องมาลบต่อไปเวลาเขียนอะไรจะได้มีสติ
ขณะเดียวกันแลปทอปอาจทำให้การเรียนการสอนในห้องยุ่งเหยิงมากกว่าเดิม เช่น "คุณครูครับ ผมหาตัวไปยาลน้อยไม่เจอ" หรือ "คุณครูครับอยู่ดีๆคอมพิวเตอร์ผมมันขึ้นจอฟ้า" หรือ "ครูครับคอมพิวเตอร์ผมขึ้นว่าเจอไวรัส ผมจะป่วยมั้ยครับ" อันจะทำให้การเรียนการสอนต้องสะดุดเปล่าๆ
หรือคงมีปัญหาเรื่องการบ้านมาให้ขบคิด เด็กๆอาจจะชอบใจเพราะลอกการบ้านง่ายขึ้นเพียงแค่ลากและปล่อย หรือเอาข้ออ้างฮาร์ดิสก์พังอันเดียวมาใช้ได้กับทุกวิชา อันนี้ล้อเล่นนะถ้าเด็กขี้เกียจ ใช้อะไรก็ขี้เกียจครับไม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ประเด็นเรื่องเอาแลปทอปมาอ่าน e-book ผมก็ยิ่งไม่ค่อยเห็นความจำเป็นที่เด็กจะต้องอ่านหนังสือจาก e-book เลย ถ้าบอกว่าหนังสือหนักแบกไม่ไหว มันก็มีวิธีแก้ไขปัญหานี้ได้หลายอย่างตั้งแต่ว่าทุกวันนี้แต่ละวันเด็กเรียนเยอะเกินไปรึเปล่า หรือหนังสือมันใส่น้ำมากไปจนหนังสือหนาเกินเหตุ
จริงๆการที่เด็กประถมจะมีแลปทอปประกอบการเรียนหนังสือนั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่ ที่สำคัญกว่าแลปทอปคือคุณครูที่สอนมากกว่าครับ
ปล. เรื่อง e-book ผมว่าถ้าอนาคตมีพวก reader ที่ใช้ E-ink อย่าง Sony Librie ออกมาเยอะๆ ผมว่าเราคงได้เปลี่ยนมาอ่าน e-book แน่ๆ
sid - "ได้รู้ความทรมานเวลาเขียนผิดแล้วต้องมาลบต่อไปเวลาเขียนอะไรจะได้มีสติ"
นี่เป็นประเด็นให้ผมสนับสนุนการใช้แลปทอปเลยล่ะ ผมว่ามันไม่จำเป็นเลยที่จะต้องเก็บ Overhead ในการเรียนอย่างนี้เอาไว้ในการเรียนถ้าเรากำจัดมันออกไปได้ การคัดไทย หรือลายมือสวยน่ะ ผมว่าเก็บไว้ให้เด็กที่สนใจก็พอแล้ว
ผมพูดอย่างนี้ก็เพราะผมเองลายมือแย่มากๆ แต่เด็กและรับรู้ว่าหลายครั้งแล้วผมรังเกียจโรงเรียนเพราะโรงเรียนตัดสินผมจากลายมือ ตั้งแต่วิชาภาษาไทยไปถึงคณิตศาสตร์ ซึ่งมันไร้สาระ กับวิชาที่ไม่เกี่ยวข้องแต่ต้องถูกลงโทษจากความบกพร่องอย่างเดียว
ส่วนปัญหาอื่นๆ ที่คุณ sid พูดถึงเป็นปัญหาช่วง Transition มากกว่านะครับ วันนี้ผมใช้คอมพิวเตอร์ทำงานมาหกเดือนแล้วโดยไม่เจอจอฟ้า บูตเครื่องประมาณสัปดาห์ละครั้ง มันก็ยังทำงานดีอยู่
เห็นด้วยครับว่าครูสำคัญกว่ามาก แต่ถ้าจะบอกว่าครูสำคัญกว่าแล้วไม่พัฒนาอย่างอื่นเลย ให้เรียนกับกระดานชนวนอะไรอย่างนั้นคงไม่ไหว
เรื่อง ebook นี่ยังไงก็ไม่เกิน 20 ปีหรอกครับ ที่หนังสือกระดาษจะกลายเ็ป็นของสะสม
lewcpe.com, @wasonliw
เรื่องการเขียนถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญนะ ในการเรียนรู้ มนุษย์เริ่มเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทางกายนะ การเขียนถือเป็นพื้นฐานที่สุดแล้วของมนุษย์นอกเหนือจากการมอง และฟัง
อีกอย่างเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์น่าจะเป็นส่วนเสริมมากกว่าส่วนหลัก การเรียนรู้น่าจะเกิดจากการสัมผัสจริงๆ มากกว่านะครับ จริงๆ คอมพิวเตอร์มันก็สัมผัสได้นะ แต่ว่ามันไม่ได้ช่วยให้ดีเท่าเขียนเอง มันช่วยในการสร้างจินตนาการ มากกว่าสร้างองค์ความรู้โดยรวมของมนุษย์ ทำให้เรารวบรวมข้อมูลได้เร็วมากขึ้น
แต่ข้อเสียคือ มันจะทำให้เด็กที่ใช้งาน มักเป็นคนใจร้อน ความอดทนสั้นลง รูปแบบการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นถูกจำกัดลงอีก ฯลฯ
เรื่องลายมือ ไม่ได้บ่งบอกอะไรในตัวคน คนนั้นเท่าไหร่ จริงๆ ไม่ใส่ใจเลยน่าจะง่ายกว่า โรงเรียนที่ผมเรียนมาก่อนเข้ามหาวิทยาลัย ก็เคร่งเรื่องนี้เหมือนกัน โดนว่าเหมือนกัน แต่ผมเฉยๆ เพราะว่าเค้าไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเขียนแบบนี้ เพราะอะไร ยังไง ส่วนใหญ่คนที่เป็นคุณครู มักจะลืมสิ่งที่ตัวเองเกลียดตอนเรียน และมักจะเอาสิ่งที่ตัวเองเกลียดมาให้ลูกศิษย์ตัวเองทำตามอีก
มันจะเป็น Transition ที่เกิดขึ้นทุกปีครับ เพราะปัญหาแบบนี้มันจะเกิดขึ้นเวลาที่เด็กขึ้นมาเรียนชั้นประถมและจับคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรก ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าเด็กแต่ละปีจะต้องใช้เวลาผ่านช่วงนี้นานแค่ไหน ซึ่งผมว่ามันไปกินเวลาเรื่องอื่นที่เด็กในวัยนั้นควรจะรู้ ปัญหานี้อาจจะหมดไปเพราะเด็กรุ่นใหม่ๆอาจจะคุ้นเคยมาตั้งแต่อนุบาลแล้วก็ได้ เพราะเห็นเด็กเล็กๆสมัยนี้เล่น Counter Strike กันตรึม เผลอๆสะบัดเมาส์เร็วกว่าผมอีก
ทีนี้เรื่องที่เด็กควรจะรู้นั้นควรจะเป็นเรื่องอะไรอันนี้เป็นสิ่งที่น่าขบคิดยิ่งนักเพราะเด็กแต่ละคนเองก็สนใจไม่เหมือนกัน ผมเข้าใจว่าอันนี้เป็นทีี่มาของการเรียนการสอนโดยให้เด็กเป็นศูนย์กลาง อันนี้สงสัยนอกประเด็นละ
ระดับประถมผมว่าถ้าครูดีจริงๆ เรียนกับกระดานชนวนก็โอเคนะ (อันนี้คิดเอาเองเพราะไม่เคยเรียนด้วยกระดานชนวน ^_^)
Ford - "การเขียนถือเป็นพื้นฐานที่สุดแล้วของมนุษย์นอกเหนือจากการมอง และฟัง"
เพราะอะไรมันถึงสำคัญขนาดนั้นหรือครับ?
ไม่ได้กวนนะ แต่เราต้องยอมรับความเป็นจริงโลกมันหมุนเร็วขึ้น ถ้าจะบอกว่าใช้คอมพิวเตอร์แล้วคนใจร้อนขึ้น ตอนนี้ Blognone คงเป็น Newsletter ส่งเวียนไปตามบ้าน แล้วส่งจดหมายมาคอมเมนต์เอา
แต่ตอนนี้เราก็พิมพ์คุยกันผ่านเน็ตอยู่....
sid - เรื่อง Transition นี่ สมัยผมต้องคัดไทยทุกสัปดาห์จนถึง ม. 3 ถ้าลดเวลาส่วนนั้นลงมาใช้สอนคอมสักครึ่งนึง มันจะ Practical กว่ามั๊ยครับ
เรื่องครูดีนี่เป็น Fisrt Priority จริงๆ แต่เราปฏิเสธไม่พัฒนาอย่างอื่นไม่ได้หรอกครั
lewcpe.com, @wasonliw
Ford - "การเขียนถือเป็นพื้นฐานที่สุดแล้วของมนุษย์นอกเหนือจากการมอง และฟัง"
ผมมองว่าเพราะมันเป็น การบันทึกสิ่งที่มนุษย์ต้องการจะสื่อสาร ด้วยวิธีที่พื้นฐานที่สุดไงครับ
สำหรับผมแล้วประเด็น เรื่องเขียน หรือ notebook นี่ยัง 50-50 ครับ เพราะการเปลี่ยนวิธีการทำบางอย่าง มาเป็นร้อยๆปี มันก็ยาก
แต่มันก็อยู่มาตั้งร้อยๆปี แสดงว่ามันก็มีดีไม่ใช่เหรอ
เรื่องครูนี่ที่ผมให้ความสำคัญมากๆเพราะว่าคุณภาพของครูมันสะท้อนออกมาถึงนักเรียนจริงๆ ผมเห็นครููหลายคนสอนไม่เก่ง และที่แย่กว่าสอนไม่เก่งคือครูที่ไม่พยายามจะสอน ผมเลยมองว่าควรปรับปรุงคุณภาพครูก่อนถึงจะถูกครับ ทีนี้ถ้ามองว่าทำไมไม่ปรับปรุงไปพร้อมๆกันเลยเพราะผมมองว่าสำหรับประเทศไทย ทำทีละอย่าง ไปทีละขั้นดีกว่า หลังจากนั้นแล้วผมก็ไม่ปฏิเสธการพัฒนาเรื่องอื่นๆครับ
ปล.จะว่าไปที่เริ่มประเด็นนี้ขึ้นมาเพราะหมั่นไส้นโยบายวัตถุนิยมเฉยๆ
laptop $100 เป็น tablet pc เขียนบนจอได้เลย
เด็กต่างจังหวัดไม่ได้รวยขนาดนาดมีเงินมาซื้อหนังสืออ่าน การ์ตูนยังไม่มีเงินจะซื้อเลย
หนังสือก็ทำให้สายตาเสียได้ถ้าอ่านๆ ไม่ได้ถนอมสายตายไปกว่าจอ lcd หรอก ผมก็สายตาสั้นเพราะหนังสือ
การเขียนที่มันสำคัญมากนะครับ เพราะว่ามันทำให้เราสื่อสาร และบันทึก สิ่งต่างๆ ได้ง่ายที่สุด และพื้นฐานที่สุดครับ ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถบันทึกได้จริง แต่เราควรนึกถึงความสะดวก ที่จะหยิบจับขึ้นมาบันทึกครับ สภาวะแวดล้อมในการใช้ ก็เป็นสิ่งที่ควรนึกถึงด้วย
ที่ผมบอกว่า "พื้นฐานที่สุด" เพราะว่าคุณจะใช้ดินสอและปากกา ที่มีกันดาดดื่นในการบันทึกใส่กระดาษเล็กๆ ที่มีอยู่ในถึงขยะที่ไหนก็ได้ เพื่อช่วยจำไ้ด้โดยไม่ต้องนำอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักมากกว่า หรือเปิดเพื่อให้มันทำงานได้ช้ากว่าการบันทึกด้วยกระดาษ และมันถือว่าเป็นการสัมผัสและเข้าถึง ตัวอักษรนั้นๆ ได้เข้าใจมากขึ้น ทักษะในการที่ทำให้มนุษย์พัฒนาได้ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันกว่าหลายพันปี มนุษย์เรียนรู้มาจากการมองเห็น และการฟังในตอนกำเนิด และเรียนรู้การพูดภายหลังจากฟังได้ไม่นาน โดยควบคู่ไปกับการอ่าน ต่อมาในขั้นตอนต่อมาคือการเขียนในช่วงที่เรา ฟัง พูด อ่าน ได้แล้ว ซึ่งการเขียนถือว่าเป็นการสื่ออารมณ์ของมนุษย์ได้ดีที่สุดที่บันทึกสิ่งต่างๆ โดยเรียนรู้วิธีการบันทึกหลากหลายรูปแบบมากมาย ผมว่ามันทำให้คนที่เริ่มเขียนมีจินตนาการในสิ่งที่ตนเองเขียนไปได้ต่างๆ นาๆ ครับ ถ้าพูดในเชิงศิลปะ ก็คงจะเหมือนกับการเขียนถึงอารมณ์ของตัวอักษรนั้น ซึ่งคงอธิบายไม่ได้ทางวิทยาศาสตร์เท่าใดนัก
เรื่องลายมือก็อย่างที่บอกครับ ถ้าเราบันทึกไว้อ่านเองคงไม่มีปัญหาเรื่องลายมือ แต่ถ้าคุณบันทึกเพื่อให้บุคคลอื่นอ่าน นั้นก็อีีกเรื่องนึก ซึ่งผมก็คงบันทึกลงในคอมพิวเตอร์เหมือนกัน แต่ทุกๆ ครั้งที่ผมจะบันทึกลงในคอมพิวเตอร์ผมก็มักจะร่างโครงร่างในสมุดเสมอ เพราะมันใส่ความคิดและโยงความสัมพันธ์ได้ง่ายครับ แต่ในคอมพิวเตอร์มันมีข้อดีคือการจัดบันทึกที่ดีครับ ทำให้เราบันทึกได้เป็นระเบียบ ระบบกว่า
ยกตัวอย่างเช่น ในห้้องเรียน ระดับประถม และมัธยม ควรใช้ทักษะการบันทึกในลักษณะของการเขียน มากกว่าการกดแป้นพิมพ์หรือใช้จอสัีมผัสครับ มันทำให้เกิดการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ โดยไม่คำนึงถึงข้อจำกัดของขนาดหน้าจอ หรือจำนวนตัวอักษรที่ตามตัวบนแป้นพิมพ์ครับ
การปรับเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ดีครับ แต่ว่าควรจะดูว่าการปรับเปลี่ยนนั้นควรจะปรับเปลี่ยนในช่วงชีวิตในตอนใดด้วยครับ ในปัจจุบันผมก็นำโน็ตบุ๊คไปเรียนที่มหาวิทยาลัยแทบจะทุกวันอยู่แล้วครับ แต่ทุกๆ ครั้งก็นำสมุดไปด้วย ถึงแม้จะใช้โน็ตบุ๊คในการบันทึกได้ก็ตาม แต่ความสะดวกในการหยิบจับสมุดก็ยังมีมากกว่า รวมไปถึงการแผนภาพคราวๆ ที่ทำได้สะดวกกว่าในการอธิบายสิ่งต่างๆ ในลักษณะกราฟหรือแผนภาพได้ดีกว่าในเครื่องคอมพิวเตอร์ครับ
เรื่อง ฟัง พูด อ่าน เขียน ถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรขาดหายไป ไม่ว่าจะมีหลายคนเพื่อคำไปอีกคำคือ "กด" ลงไปด้วย แต่การเขียนไม่น่าจะถูกแทนที่ในช่วงของอายุในระดับประถมและมัธยมครับ
ส่งเรื่องใช้แล้วใจร้อนขึ้น อันนี้ผมพูดในฐานะคนที่ประสบมากับตัวเองครับ แต่อาจจะไม่กับทุกคน แต่โดยรวมแล้วญาติๆ ผมก็บอกว่าคนที่ใช้คอมพิวเตอร์มากๆ มักใจร้อน ซึ่งผมก็คิดว่าก็มีส่วนจริงอยู่มากครับ
laptop $100 ราคาถูกจริงครับ แต่อย่าลืมว่าดูแลหลังจากที่ได้ไปมันมีมูลค่าเท่าไหร่ครับ ทั้งค่าซ่อมถ้ามันเสีย ทำตก หรือแม้แต่ค่าอบรมที่รัฐต้องจ่ายไป ซึ่งก็เงินภาษีประชาชนทั้งนั้นนะครับ ซึ่งมันเป็นเงินของคนทั้งประเทศ ที่ไม่ว่าจะยากดีมีจนก็ต้องจ่าย ผมถามว่ามันใช่เงินของท่านผู้นำประเทศหรือเปล่า
นโยบายเชิงประชานิยมแบบนี้ มองยาวๆ แล้วไม่น่าสนใจเท่าไหร่ครับ หวือหวาตอนแรกครับ แต่มองยาวๆ แล้วผมชักไม่แน่ใจครับ แถมมันจะสร้างค่านิยมใหม่ในสังคมอีกด้วย
plynoi - เรื่องมานานไม่นานนี่ผมไม่นับครับ จะมานานแค่ไหนถ้าถึงเวลาต้อง Phase-Out แล้วมันก็ต้องไปล่ะครับ จะให้คุณ plynoi มาเขียน Web-App ด้วยแอสแซมบลีในวันนี้คงไม่เอาเหมือนกันมังครับ
sid - เรื่องครูนี่นอกประเด็นแล้วครับ เอาไปคุยแถว Pantip.com อะไรอย่างนั้นน่าจะดีกว่า แถวนี้มีแต่คนบ้าคอม คุยไปเท่าใหร่ก็ Point ปัญหาคุณภาพครูไม่ได้หรอกครับ
Ford - วันหนึ่งคอมพิวเตอร์จะบางกว่าหนึ่งเซนติเมตร จอสัมผัสขนาด A4 เป็น ePaper เปิดภาพค้างไว้ได้โดยไม่กินพลังงาน แบตเตอรี่พลังงานสูงจ่ายให้กับตัวเครื่องที่กินพลังงานน้อยนิดทำให้การทำงานต่อเนื่องมากกว่า 24 ชั่วโมงต่อการชาร์ตหนึ่งครั้้ง ระบบจดจำลายมือแบบ AI ความแม่นยำสูงกว่า 99.5% ราคาต่ำกว่าเงินเดือนคนทำงานออฟฟิศครึ่งเดือน
คุณคิดว่าเรื่องข้างบนจะเกิดขึ้นอีกในเวลากี่ปี และมันพอจะเอาไปแทนกระดาษได้ไหม?
100 ดอลลาร์นี่ส่วนตัวผมเคยคุยกับ mk แล้วผมมองว่าแพงครับ แพงมากด้วยเมื่อเทียบกับปริมาณที่ต้องซื้อนับแสนนับล้าน แต่เรื่องคือเรากำลังเห็นการเข้ามาของเทคโนโลยียุคต่อไป ที่กลายเป็นพื้นฐานในชีวิตของเราแทนเทคโนโลยีเก่าๆ คำถามคือการพัฒนาไปทางนี้เป็นทางแห่งอนาคตจริงไหม เป็นเรื่องที่เราควรสนับสนุนให้มันเกิดจริงไหม
ลืมเรื่อง MIT, ทักษิณ, หรือแลปทอปร้อยเหรียญออกไปก่อน แล้วตั้งคำถามว่าการนำ IT เข้ามาใช้ในการศึกษาให้ผลประโยชน์กับการศึกษามันมีประโยชน์จริงไหม ผมว่านี่เป็นประเด็นที่เราน่าจะคุยกันใน Blognone มากกว่านะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
Lew
ครับ เรื่องถึงเวลาแล้ว ยังไงมันก็คงต้องไป แต่สำหรับผมตอนนี้ คิดว่ายังไ่ม่ถึงเวลาครับ ถ้ามันทำได้อย่างที่
"วันหนึ่งคอมพิวเตอร์จะบางกว่าหนึ่งเซนติเมตร จอสัมผัสขนาด A4 เป็น ePaper เปิดภาพค้างไว้ได้โดยไม่กินพลังงาน แบตเตอรี่พลังงานสูงจ่ายให้กับตัวเครื่องที่กินพลังงานน้อยนิดทำให้การทำงานต่อเนื่องมากกว่า 24 ชั่วโมงต่อการชาร์ตหนึ่งครั้้ง ระบบจดจำลายมือแบบ AI ความแม่นยำสูงกว่า 99.5% ราคาต่ำกว่าเงินเดือนคนทำงานออฟฟิศครึ่งเดือน"
โดยต้นทุนถูกมากๆ และคนใช้กันได้ทั่วเนี่ย เมื่อถึงเวลานั้นมันก็จะมาเองครับ
นอกประเด็นนิดนึงว่า $100 laptop ไม่ใช่ tablet แน่นอนครับ เอาหัวผมไปได้เลย ยืนยันอันนี้
อาจจะสับสนกับโครงการ One Laptop Per Child (OLPD) ของ MIT ซึ่งในโครงการนี้มีหลายโครงการย่อย และ $100 laptop เป็นหนึ่งในโครงการนั้น
เรื่องเขียน ผมว่ามันคงอยู่อีกนานแหละครับ แต่อาจจะไม่ใช่เขียนลงกระดาษแล้วล่ะ แต่เป็นเขียนลงคอมพิวเตอร์แทน
ถามว่า ซื้อมาแล้วใช้อะไรได้ นอกจากให้เด็กไม่กลัวคอมพิวเตอร์แล้วก็คงเอามาเป็นไฟฉายมั้งครับ เพราะเรื่อง e-book ผมว่าต่อให้ผมมีe-book เยอะขนาดไหน ผมก็ไม่สามารถบังคับตัวเองให้ชอบอ่านe-bookได้หรอก อย่างน้อย ผมก็เอาไปนอนอ่านบนเตียงได้ลำบากอยู่ด ถึงแม้ว่าจะมี PocketPC แล้วก็ตาม
onedd.net