นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยถึง เงื่อนไขแนวทางปฏิบัติการโอนย้ายผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ให้บริการตามประกาศ กทช. เรื่อง หลักเกณฑ์บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ว่า มีหลายประเด็นที่ควรมีการพิจารณา เช่น
- การที่ผู้ให้บริการกำหนดเพิ่มเติมว่า ผู้ที่จะมีสิทธิใช้บริการ "เปลี่ยนเครือข่ายใหม่ ใช้เบอร์เดิม" จะต้องใช้บริการกับรายเดิมอย่างน้อย 90 วัน ไม่เป็นธรรมและไม่สมเหตุสมผล เพราะมีการกำหนดอยู่แล้วว่าบริการดังกล่าวมีการคิดค่าธรรมเนียม ดังนั้นการโอนย้ายย่อมเหมือนการขอเปิดเบอร์ใหม่ซึ่งเราจะเปิดวันไหนก็ได้ บริษัทไม่มีสิทธิกำหนดว่าคุณต้องอยู่ 90 วัน เว้นแต่บริษัทจะเปิดให้ขอใช้บริการได้ฟรีโดยปลอดค่าธรรมเนียม
- การคิดค่าบริการต้องขึ้นกับต้นทุนโดยถือว่าเป็นบริการที่ไม่แสวงหากำไร ซึ่งจากการสำรวจของ สบท. มีผู้บริโภคถึงร้อยละ 10 ที่ต้องการใช้บริการนี้ จำนวนผู้ต้องการใช้บริการที่มากต้นทุนจึงถูกลงได้อีกมาก จากเดิมที่ผู้ให้บริการคิดบนฐานว่ามีผู้ต้องการใช้บริการเพียงร้อยละ 1 ดังนั้นการคิดค่าบริการที่ 99 บาท ถือว่าแพงเกินไป
- การเตรียมความพร้อมเรื่องการถ่ายโอนเงินคงเหลือ กรณีผู้ใช้บริการในระบบจ่ายเงินล่วงหน้า (เติมเงิน) เมื่อโอนย้ายเลขหมายสำเร็จ หากมีเงินคงเหลือไม่ควรที่ผู้ใช้บริการต้องย้อนกลับไปขอเงินคืนจากรายเดิมอีก แต่ควรมีระบบที่อำนวยความสะดวก ในกรณีนี้รวมถึงบริการเสริมต่างๆ ด้วย ถ้าเราโอนย้ายเครือข่าย บริการเสริมต่างๆ ก็สิ้นสุดไปด้วย แต่ในกรณีที่เป็นประเภทจ่ายเงินล่วงหน้า เช่น ตัดเงินไปก่อนแล้วสำหรับบริการ 1 เดือน แต่เราเพิ่งใช้บริการครึ่งเดือนแล้วโอนย้าย แปลว่า สิทธิในการรับบริการเสริมอีกครึ่งเดือนหายไป ซึ่งผู้ให้บริการต้องคืนเงินให้กับผู้ใช้บริการ หรืออาจมีการถ่ายโอนกันระหว่างผู้ให้บริการ เพื่อให้ผู้ใช้บริการไม่เสียสิทธิที่เหลืออยู่
- ระยะเวลาในการโอนย้าย ควรใช้ระยะเวลาในการโอนย้าย 3 วันตามที่กฎหมายระบุไม่ว่าจะโอนย้ายกี่หมายเลขก็ตาม เพราะการอ้างว่าจำนวนเลขหมายที่มากขึ้นทำให้ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบเอกสารมากนั้นไม่สมเหตุสมผล เนื่องจากปกติการตรวจสอบเอกสารจะตรวจสอบเจ้าของ คือ บัตรประชาชนและทะเบียนนิติบุคคล เท่านั้น
- การระบุว่าผู้ใช้บริการต้องชำระหนี้ค้างชำระให้หมดก่อนนั้นเป็นจริงไม่ได้ เพราะถ้าใช้ระบบจดทะเบียน หนี้จะเกิดขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะตัดเครือข่ายเดิมแล้วต่อเครือข่ายใหม่สำเร็จ เนื่องจากแม้จะมีการตัดยอดบิลหลังสุดแต่ผู้บริโภคก็มีสิทธิใช้มือถือในช่วงก่อนโอนย้ายสำเร็จ ดังนั้นระบบที่สมเหตุสมผลคือ การที่บริษัทแจ้งยอดหนี้ให้ผู้บริโภคทราบทีเดียวหลังการโอนย้าย เพื่อให้ชำระคืนเป็นยอดเดียว
ที่มา: ประชาไท
Comments
รู้สึกดีที่เดี๋ยวนี้ประเทศไทยมีหน่วยงานที่ปกป้องและคุ้มครองผู้บริโภคขนาดนี้
แต่กับเรื่องนี้กลัวจังว่าทางค่ายมือถือจะหาเรื่องยืดอีก หากต้องทำตามเงื่อนไขเหล่านี้
+1 ผมว่ามันน่าเหลือเชื่อเหมือนกันนะครับ งานนี้เอา Operator กรี๊ดเลยทีเดียว แต่ดูรัดกุมดีมาก!
@TonsTweetings
คิดๆแล้วปัญหาเกิดเยอะแน่นอน สุดท้ายผู้ให้บริการผิดอีกตามเคย
To K. Nuntawat
แก้แล้วครับ
แล้วจะเลือนเวลาใช้งานได้จริงออกไปมั้ยเนื้ยแบบนี้
もういい
ดีครับ นานๆจะเห็นอะไรที่รัดกุมต่อผู้บริโภคแบบนี้
ไหนๆแล้วช่วยจัดการพวก spam SMS ด้วยก็ดีนะ
"ซึ่งจากการสำรวจของ สบท. มีผู้บริโภคถึงร้อยละ 10 ที่ต้องการใช้บริการนี้."
แม้ผมจะเป็นหนึ่งในนั้นแต่ก็อดแปลกใจไม่ได้ว่าเยอะขนาดนี้จริงเหรอ..?
แล้วก็..กลิ่นที่เคยโชยมาอ่อนๆตอนนี้กลับอ่อนลงยิ่งกว่าเดิมว่าโครงการที่น่าจะใช้ได้ในปีนี้ ดูเหมือนจะเลือนราง ลงไปทุกที
มีที่ไหนให้กด Like ให้ สบท. ไหมครับ
10% 1 ล้านเลขหมายก็ 1 แสนคนแล้วนะ
ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับระบบเติมเงินแล้วเปลี่ยนเครือข่าย ที่จะต้องคงสิทธิ์ต่างๆ ให้ลูกค้าไว้ เช่นโปรโมชั่นที่กำลังใช้งาน คล้ายๆ กับ ไปกิน buffet ที่เขากำหนดเวลา 2 ชั่วโมง เรากินได้ชั่วโมงนึง แล้วออกไป จะกลับมากินต่อไม่ได้หรอก ส่วนเรื่องเงินที่เหลือนั่น ผมว่าน่าจะสร้างความวุ่นวายให้ผู้ให้บริการพอสมควร ถ้าหากโอนเงินกันไปมา แต่ถ้าใช้วิธีตัดเงินทิ้งไปเลย อาจจะง่ายกับผู้ให้บริการ แล้วระบบน่าจะเสร็จเร็วขึ้นด้วย
+1
จริงครับ ปกติถ้าเราต้องการย้ายค่าย เราก็น่าจะหาวิธีจัดการเงินที่เหลือเองอยู่แล้ว การพยายามให้โอนเงินที่เหลือข้ามค่ายนี่ รับรองว่าต้องเถียงกันอีกยาวแน่ๆ
ให้ถ่ายโอนบริการเสริมต่างๆด้วย? อู้ว ถ้าผมเป็นผู้ให้บริการนี่ปวดตับเลยล่ะครับ
เห็นด้วยทุกประการ
เห็นด้วยหลายประเด็นครับ
เรื่องค่าบริการ 99 บาท ส่วนหนึ่งค่ายมือถือคิดว่า อยากให้มีค่าธรรมเนียมที่ทำให้ผู้ใช้ชั่งใจระดับหนึ่ง ไม่งั้นเดี๋ยวย้ายไปย้ายมาทุกเดือน จะเปลืองแรงงานไปปล่าวๆ
แต่ผมเห็นที่มาเลเซียก็ย้ายฟรีนะ
ตอนนี้เห็นค่ายมือถือบอกว่า ขอเลื่อนไปเป็นมกราคม ปี 2011 เพราะปัญหาจากการชุมนุมทำให้อุปรกรณ์ที่ต้องติดตั้ง ส่งมาช้ากว่ากำหนด (ฟังๆก็ไม่ค่อยเกี่ยว)
ขอเลื่อนแต่ กทช ไม่ให้นี่ครับ น่าจะได้แหละครับ หวังว่างั้นนะ
อ่านแล้วรู้สึกเห็นด้วยกับ สคบ.แหะ ....ไม่น่าเชื่อ
เท่าที่ทราบ มีการกำหนดจำนวนเลขหมายที่จะเข้า/ออก ระบบต่อวันเอาไว้ด้วยนะครับ เพื่อว่าระบบ operator เล็กๆ จะได้ไม่มีปัญหา (จำไม่ได้ว่าเท่าไหร่ แต่ไม่น่าเกินหลักพันหมายเลขต่อวัน), ถ้า 10% นั่น จะย้ายในช่วงแรกกันหมด ผมว่ากินเวลาเป็นเดือนหน่ะก็ถูกแล้วนะ, แห่กันมาเป็นแสนเบอร์ จะให้เสร็จในวันเดียว capacity ระเบิดพอดี
iPAtS
ถ้าทุกอย่างผ่านพ้นไปด้วยดี สบท.ชุดนี้รับคำชมไปจนวันตาย
ทำเหมือนไปเปิดเบอร์ใหม่ไม่ได้หรอ แต่เป็นเบอร์เดิม
ง่ายดี
twitter.com/djnoly
เห้นด้วยครับให้สามารถย้ายเครื่อข่ายได้ หมายเลขใหม่ๆจะได้เกิดน้อยๆทำออกมาเท่าไหร่ก็ไม่พอเพราะคนใช้เครือข่ายบางยี่ห้อแล้วไม่ชอบต้องซื้อ ซิมใหม่เลยมันสิ้นเปลืองเบอร์โดยใช้เหตุ บ.ผู้ให้บริการจะได้ทำให้ดีขึ้นด้วย ลูกค้าจะได้อยู่กันนานๆ ไม่เปลี่ยนกันบ่อยๆ