ในช่วงหลังนี้ สงครามในตลาด E-Book เริ่มดุเดือด ตั้งแต่ที่ Apple เปิดตัว iPad, B&N ลดราคา Nook จนเจ้าตลาดเดิมอย่าง Amazon ต้องออกมาตอบโต้ โดยหั่นราคา Kindle 2 ของตัวเองมาสู้ และเดือนที่ผ่านมาก็ได้เปิดตัว Kindle รุ่นใหม่ ที่ใครๆ ก็เรียกกันว่า “Kindle 3” ยกเว้นแต่ Amazon เองที่เรียกว่า “Kindle Latest Generation” ในที่นี้ขอเรียกสั้นๆ ตามที่ส่วนใหญ่เค้าเรียกกันว่า Kindle 3
Kindle 3 มีอยู่สองรุ่น คือรุ่น Wi-Fi only ราคา $139 กับรุ่น Wi-Fi+3G ราคา $189 มีสีดำกับสีขาวให้เลือก ความสามารถก็ตามชื่อ คือรุ่น Wi-Fi จะใช้งานผ่าน Wi-Fi ได้เท่านั้น ส่วนรุ่น Wi-Fi+3G จะใช้เครือข่าย Whispernet ที่ Amazon เป็นพาร์ทเนอร์กับเครือข่ายมือถือใหญ่ๆ ทั่วโลก (รวมทั้งเมืองไทยด้วย) ให้ผู้ใช้สามารถใช้ Kindle โหลดหนังสือผ่านเครือข่าย 3G โดยไม่ต้องเสียบซิม ไม่ต้องเสียค่าบริการ
Kindle ตัวที่สั่งซื้อมานี้เป็นรุ่น Wi-Fi only เหตุผลคือ เพราะมันถูกกว่า แล้วก็คิดว่าคงจะไม่ค่อยได้ใช้งาน sync หนังสือผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สักเท่าไหร่ (ไม่เกี่ยวกับที่ว่าบ้านเรายังไม่มี 3G แต่อย่างใด) ราคาอยู่ที่ $139 ค่าส่งอีก ประมาณ $10 และ tax deposit fee อีก $40 รวมๆ แล้วก็อยู่ที่ประมาณ $200 ตอนนี้บาทแข็ง คูณแล้วก็ประมาณ 6,000 กว่าบาท จัดส่งมาให้ผ่านทาง DHL สามารถ track ดูสถานะของแท็คเกจได้จากในเว็บเลย ใช้เวลาไม่ถึงอาทิตย์ ก็มาถึงกรุงเทพ
กล่องกระดาษแข็งสีน้ำตาลธรรมดา ขนาดเล็กและเบากว่าที่คิด
เปิดกล่องก็เจอ Kindle นอนอยู่
ภายในกล่องประกอบด้วย Kindle, คู่มือ, สายชาร์จ MicroUSB พร้อมหัวต่อสำหรับเสียบกับฝาผนัง (ไม่แน่ใจว่าใช้กับไฟบ้านเราได้หรือเปล่า ยังไม่เคยลอง)
เทียบขนาดให้ดู จะเห็นว่าขนาดเล็กกว่าหนังสือการ์ตูนเล็กน้อย หน้าจอ 6″ มีขนาดพอๆ กับหนังสือพ็อคเก็ตบุ๊คทั่วไป
ในการใช้งานครั้งแรก ก็ต้องชาร์จไฟเสียก่อน ในที่นี้ใช้วิธีเสียบสาย MicroUSB เข้ากับ laptop พอเสียบเข้าไปแล้ว OS ก็จะเห็น Kindle เป็น USB Storage ตัวนึง สามารถก็อปปี้ไฟล์ไปใส่ได้ (ทดสอบกับ Mac OS X แต่คิดว่า OS อื่นก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร) ความจุประมาณ 4GB
ในการชาร์จแบต Kindle หนึ่งครั้ง ตามคู่มือบอกว่าใช้งานได้เป็นเวลาถึง 4 สัปดาห์ แต่ถ้าเปิด Wi-Fi ตลอด จะอยู่ได้ประมาณ 3 สัปดาห์
สำหรับคนที่ยังไม่รู้ หน้าจอของ Kindle ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า E Ink ซึ่งแสดงผลเป็นภาพขาวดำที่ดูสบายตา คล้ายกับอ่านจากหนังสือที่เป็นกระดาษจริงๆ ไม่มีแสงสะท้อนแยงตาเหมือนจอคอมพิวเตอร์ ตามสเป็คของ Kindle 3 ตัวนี้ ใช้จอ E Ink ที่ความละเอียด 800×600 แสดงสีขาวดำได้ 16 ระดับ
ด้วยเทคโนโลยี E Ink นี่เองที่ประหยัดพลังงานในการแสดงผลมาก ทำให้ในการชาร์จหนึ่งครั้ง เราสามารถใช้งาน Kindle ได้นานเป็นสัปดาห์ แต่ข้อเสียของจอ E Ink นอกจากเรื่องที่แสดงภาพสีไม่ได้แล้วนั้น ก็มีเรื่องที่การเปลี่ยนหน้าจอทำได้ช้า ทำให้ไม่เหมาะจะเอามาแสดงผลภาพเคลื่อนไหว
มาดูตัวเครื่อง Kindle กันบ้าง จะเห็นว่ามีหน้าจอ 6″ มีปุ่มด้านซ้ายขวา ข้างละ 2 ปุ่ม เอาไว้เปิดหน้าถัดไปหรือหน้าที่แล้ว จับตัวเครื่องด้วยมือไหน ก็ใช้ได้เหมือนกัน ด้านล่างมีแป้นคีย์บอร์ดเอาไว้พิมพ์เล็กๆ น้อยๆ และมีปุ่ม 5-way button เอาไว้เลื่อนเคอร์เซอร์ ส่วนท้ายตัวเครื่องมีรูเสียบหูฟัง ช่องเสียบ MicroUSB ปุ่มปรับระดับเสียง และปุ่ม power slide ส่วนด้านหลังมีลำโพง
ในเว็บของ Amazon จะมีหนังสือฟรีอยู่จำนวนหนึ่ง สามารถโหลดมาอ่านฟรีได้ (ส่วนใหญ่เป็นนิยายเก่าๆ หรือหนังสือที่เป็น public domain) โดยเข้าไปที่หน้าของหนังสือนั้นๆ แล้วเลือก Send to my Kindle แล้วหนังสือจะ sync มาลงยัง Kindle ของเราเอง ถ้าในรุ่นที่เป็น 3G ก็จะสามารถ sync ได้แม้จะไม่ได้ต่อ Wi-Fi
ตัวอย่าง โหลด Alice’s Adventures In Wonderland มาอ่าน
ถ้าหนังสือที่เราอ่าน อยู่ในฟอร์แมต E-Book (.azw หรือ .mobi) จะสามารถปรับขนาดตัวหนังสือตามต้องการได้ ตัวหนังสือจะ reflow เอง
ฟอร์แมตไฟล์ที่ Kindle รู้จัก และเราใช้กันทั่วไปก็มี azw, mobi, pdf, text, html, doc ถ้ารูปภาพก็มี bmp, gif, jpeg, png
ทดลองสร้าง folder ใส่ภาพเข้าไป Kindle จะมอง folder หนึ่ง เหมือนกับเป็นหนังสือ 1 เล่ม เวลาเปิดดูก็จะเปิดดูทีละรูปๆ เหมาะกับการเอามาอ่านการ์ตูนเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเกิดว่าตัวหนังสือเล็กเกิน อ่านไม่ออก ก็สามารถเลือกอ่านแนวตะแคงได้ (เลือกได้ว่าจะให้แสดงภาพแบบ fit หน้าจอ, fit ความกว้าง หรือว่า actual size)
ถ้าไม่ใช้งานสักระยะนึง Kindle จะแสดงหน้า screensaver และล็อคปุ่ม เพื่อป้องกันการกดโดนโดยไม่ตั้งใจ เวลาจะกลับมาอ่านต่อก็เลื่อนปุ่ม power ด้านล่างตัวเครื่อง
หนังสือของ Amazon จะมีปกให้ดูด้วย (อันนี้เป็น sample อ่านฟรีแค่บทแรกๆ ถ้าติดใจค่อยซื้อทั้งเล่ม)
ทดสอบอ่าน PDF สามารถเลือกแสดงผลเป็น fit width, 150%, 200% และเลือกระดับความเข้มของตัวหนังสือได้ แต่ไม่สามารถเลือกขยายขนาดตัวหนังสือได้ ต้อง zoom อย่างเดียว
ในกรณีที่เอามาอ่าน paper วิชาการ ที่ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 2 คอลัมน์ สามารถใช้ท่า zoom 200% เพื่ออ่านทีละคอลัมน์ได้
ภาษาไทยในไฟล์ PDF แสดงผลได้ถูกต้อง อ่านได้ไม่มีปัญหา
แต่ถ้าเป็นไฟล์ประเภท E-book (ในรูปเป็น .mobi) จะแสดงผลโดยใช้ font ที่ติดมากับเครื่อง ซึ่งอ่านภาษาไทยได้ แต่ไม่สวย สระบนยังซ้อนกันอยู่ และการตัดคำยังดูมีปัญหาอยู่
วิธีการนำเอา E-book หรือเอกสารของเราใส่เข้าไปใน Kindle นอกจากใช้วิธีก็อปปี้ผ่านทาง USB แล้ว ยังมีอีกวิธีหนึ่งคือ ส่งทางอีเมล โดย Kindle ทุกเครื่องจะมีอีเมลประจำเครื่อง (ตั้งค่าได้ เป็น @Kindle.com) เราสามารถอีเมลไฟล์เอกสารที่เราต้องการมาที่อีเมลนี้ แล้วเอกสารหรือ E-book นั้นจะถูก sync มาลง Kindle ให้ สำหรับรุ่น Wi-Fi จะ sync ได้ฟรี ไม่เสียเงิน แต่ถ้า sync ผ่าน whispernet (สำหรับรุ่น 3G) จะคิดค่า data transfer ด้วย
นอกจากนี้ Kindle ยังมี Web Browser มาให้ในตัวอีกด้วย (engine ข้างในเป็น WebKit) โดยยังเป็นความสามารถแบบ experimental อยู่ สามารถใช้เปิดดูเว็บได้ แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วก็ยังแสดงผลค่อนข้างช้า และการเลื่อนดูทำได้ลำบากเพราะต้องใช้ปุ่มกดเอา ไม่ใช่จอแบบสัมผัส ความรู้สึกคล้ายๆ กับเปิดเว็บบนมือถือที่ไม่ใช่จอสัมผัส
นอกจากนี้ Kindle 3 ก็มีฟีเจอร์เสริมอื่นๆ เช่น
หลังจากที่ทดลองใช้งานมาได้อาทิตย์กว่าๆ พบว่า
ถ้าจะให้เปรียบเทียบ Kindle กับ iPad หรือ Android Tablet อื่นๆ อาจจะเทียบกันได้ไม่ตรงนัก เพราะหลักๆ แล้ว Kindle จะเน้นฟังก์ชันด้านการอ่านหนังสือมากกว่า แต่พวก tablet ทั้งหลายจะเน้นการใช้งานมัลติมีเดียเป็นหลัก อ่านหนังสือเป็นของแถม
สรุป – Kindle 3 สเป็กทุกอย่างดีขึ้นกว่ารุ่นก่อนหน้า ราคาถูกลงอยู่ในระดับสมเหตุสมผลสำหรับผู้ใช้ในบ้านเราแล้ว ถ้าเป็นคนที่มี E-book ที่ต้องอ่านเยอะ หรือนิยมอ่านนิยายภาษาอังกฤษ แนะนำว่าซื้อได้เลย ได้ใช้คุ้ม แต่สำหรับคนที่บริโภคเนื้อหาภาษาไทยเป็นหลัก ตอนนี้นอกจากการหาไฟล์ PDF มาอ่านเอง หรือใช้บริการส่งบทความจาก instapaper แล้ว ยังไม่เห็นแหล่งเนื้อหาอื่นเท่าไหร่นัก
หมายเหตุ - Blognone เคยมีเนื้อหาเก่า รีวิว Kindle 2 โดยคุณ guopai ด้วย
ที่มา - ปรับปรุงเนื้อหาจากบล็อก Kindle 3 Review
Comments
อ่าน epub ไม่ได้รึคับ
ผมไม่มีไฟล์ ePub ไว้ลอง แต่ตามสเป็กของทาง amazon ไม่มี ePub ในรายชื่อฟอร์แมตที่สนับสนุนครับ
pittaya.com
ไม่ support ครับ
ฟอร์แมตหลักของ Kindle คือ azw, mobi
เกิดคำถามว่า pdf ใน PC มีเต็มเครื่อง ถ้าเป็นเนื้อหาแบบมีสีมันจะแปลงเป็นขาวดำใช่รึเปล่าครับ?
เผื่อว่าจะซื้อมาเปิดอ่านระหว่างเดินทาง เพราะไม่มีปัญหาเรื่องสภาพแสงอยู่แล้ว
มันจะแสดงเป็นขาวดำ 16 ระดับครับ
pittaya.com
ถ้าซื้อตรงๆ เลยก็แค่ 4000 กว่าบาท ถือว่าถูกมากกกก
หากประเทศไทยขายหนังสือการ์ตูน หรือนิตยสาร แบบ e-book กันเยอะๆ นะ ราคานี้ผมว่าพอรับได้เลยแหละ
ผมสั่งจากอเมซอนให่ส่งไปให้น้องที่ซีแอตเติล จะโดน VAT อีกราวๆ 10% ครับ
รวมแล้วตกราวๆ 4,500 บาท
ใครอยู่อเมริกา ตอนนี้อเมซอนมีโปรให้ upgrade account เป็น amazon-prime
แล้วจะมีโปรส่งด่วนแบบภายใน 2 วันให้ฟรีครับ (ปกติส่งฟรีจะ 5-8 วัน) โดย UPS
ใครมีคนที่สามารถถือเข้ามาให้ได้ ลองสั่งดูเลยครับ เพราะสั่งวันนี้ มะรืนของถึงมือครับ
มันมีการ์ตุนญี่ปุ่นอย่าง Naruto หรือ Reborn ขายใน Store ป่าวครับ
ไม่มีครับ
เอามาอ่าน PDF ก็คุ้มแล้ว
เล่นเวปขาวดำ ดูแล้วรู้สึกแปลกๆแฮะ
ถ้าสั่งมาส่งถึงบ้าน ราคารวมส่ง ภาษีต่างๆทั้งหมด เท่าไหร่ครับ ใครพอจะทราบบ้างครับ?
ถ้าส่งมาที่กรุงเทพฯ ก็ 6 พันกว่าบาทตามที่คุณ pittaya แจ้งไว้ในบทความเลยครับ (ผมคิดว่าในเมืองไทยราคาน่าจะเท่ากันหมดนะ)
blog.semicolon.in.th
อยากใช้มากครับ T.T
ของผมสั่งไปสัปดาห์นึงละ อม Order ไว้ตั้งนาน เพิ่งได้ Notification Email วันนี้ ...
@TonsTweetings
ราคากำลังดีเลยครับ 6000 บาท
เห็นแล้วอยากได้เลย เหมาะกับการอ่านในห้องน้ำมากจริงๆ
ถามว่า tax deposit นี่ได้คืนไหมครับ หรือว่าหักไปหมดเลย . . .
ถ้าไม่โดนภาษีก็ได้คืนครับ แต่ส่วนใหญ่จะโดนกันนะครับ
แต่ภาษี USD40 นี่ ทำใจไม่ได้จริง ๆ ครับ 555 ว่าจะสั่งอยู่ แต่ไม่แน่ใจว่ามีหนังสือที่อยากอ่านมากแค่ไหน เลยยังไม่ตัดใจซะที
555 ต้องทำใจเห็นเค้าว่าเดี๋ยวนี้เจ้าหน้าที่เค้ารู้จักอเซอนกันหมดแล้ว ผมเองก็เล็งตัว DX หาข้อมูลเกี่ยวกับมันมานานมากแล้วแต่ยังตัดใจซื้อไม่ได้ เพราะการแสดงผล pdf ยังไม่ดีเท่าที่ควร ซูมได้อย่างเดียวลดขนาดฟ้อนต์ยังไม่ได้ ดิกชันนารีใช้ไม่ได้ Text to speech ก็ไม่ได้ ก็เลยยังชั่งๆใจอยู่
เห็นว่าตอนนี่ที่แสดง pdf ดีที่สุดเป็นตัว PocketBook 903 หน้าจอเท่า DX เห็นข่าวบอกจะออกเดือนหน้าครับ และอีกอย่างเทคโนโลยีพวกนี้เนี่ย แข่งขันกันสูงมาก ในตลาดตอนนี้มีอีบุ้ครีดเดอร์อยู่ 30 กว่ารุ่น คาดว่าคงเป็นไตรมาศแรกของปีหน้าโน่นแหละถึงจะได้ตัวดี ๆ ราคาไม่แพง แต่ผมจะลงแดงแล้วอยากได้มาก เคยหน้ามืดจะสั่งมาหลายหนแล้ว
ไม่ใช่แล้วครับ Kindle 3 ในไฟล์ PDF สามารถใช้พจนานุกรมได้ครับ ทำ highlight ได้
สมมุติว่าถ้าเอาการ์ตูนไปอ่านในแนวนอน แล้วเลื่อนขึ้นลง
อัตราการเปลี่ยนภาพจะเป็นอย่างไรครับ หน่วงมากไหม?
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
ขึ้นอยุ่กับขนาดไฟล์ครับ
น่าจะใส่คู่มือลงไปใน Kindle ; )
สนใจอยู่เหมือนกัน สนใจ DX มากกว่า อยากได้จอใหญ่แต่ราคาแพงกว่า 2 เท่า แห่ะ ๆ
Jusci - Google Plus - Twitter
รีวิวได้ดีครับ ^^ จริงๆ ถ้าอ่าน RSS Feed ได้ จะดีมากนะเนี่ย
ใช้อ่าน pdf ขนาด A4 โดยดูแนวนอนแล้วเป็นยังไงบ้างครับ ยังพออ่านได้รึเปล่า ผมอยากได้ DX เหมือนกันแต่คิดว่าแพงไป กลัวว่าใช้จอ 6 นิ้วแล้วอ่าน E-book ที่เป็น pdf ไม่สะดวก ตอนนี้ใช้ ipod touch อ่านแล้วรู้สึกเบื่อที่ต้อง zoom ไปมา จะใช้ text reflow การจัดหน้าก็ยังไม่ค่อยดี
รีวิวได้ดีมากครับ น่าสนใจดี
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
ถ้างบเยอะเอา iPAD ไปเลยครับ มี Amazon book store เหมือนกัน
oxygen2.me, panithi's blog
Device: ThinkPad T480s, iPad Pro, iPhone 11 Pro Max, Pixel 6
ผมว่าคนที่ซื้อ eBook reader พวกนี้ส่วนใหญ่ก็เพราะจอ e-Ink ครับ iPad เลยไม่อยู่ในลิสต์
ใช่ครับ ไม่งั้นคงซื้อ ipad ไปนานแล้ว
ทุกวันนี้เวลามีใครมาเห็นก็มักจะถามว่า 'ทำไมไม่ซื้อ iPad ไปเลย?', 'ซื้อมานานแล้วเหรอ? (ประมาณว่าจอขาวดำมันตกยุค)' ฯลฯ ถามจนขี้เกียจตอบแล้ว ฮา
+1 แค่ผมบอกว่าจะซื้อ มีคนถามแบบนี้เพียบ พอเห็นราคา มีเปลี่ยนไปถามว่าซื้อ A800 ไม่ดีกว่าเหรอ ราคาไม่ต่างกันมากด้วย o_O
อ่านหนังสือผ่าน iPad เป็นอะไรที่ painful มากครับ
อยากให้มี text to speech ภาษาไทย ใส่ลงไปด้วย คงมีประโยชน์ไม่น้อย ถ้ารู้จักนำไปใช้..
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
นึกไม่ออกว่าจะใส่ไปเพื่ออะไรครับ
ที่คิดออกก็คือ เพื่อผู้พิการทางสายตาจะได้ ฟัง หนังสือกับเขาบ้างครับ
หมาไฟ
ถ้าใส่ฟีเจอร์นี้สำหรับผู้พิการทางสายตาล่ะก็...จอดสนิทตั้งแต่เปิดเครื่องแล้วครับ ^^"
แต่ถ้ามันอ่านเมนูได้ด้วยก็น่าจะมีประโยชน์กับผู้พิการทางสายตาไม่น้อยเลยทีเดียว
ป.ล. Text-to-speech ของ Kindle มันเยี่ยมจริง ๆ ครับ เสียง+สำเนียงคล้ายคนจริง ๆ ปกติผมให้มันอ่านข่าวให้ฟังขณะทำงานอย่างอื่นไปด้วย
ใช่ครับ นั่นมันรุ่นก่อนหน้า
แต่รุ่น Kindle 3 Text-to-speech อ่านได้ตั้งแต่เมนู (TTS menu navigation) แล้วครับ
อิจฉาแฮะ K3 ออกทีหลัง DXG แป๊ปเดียว แต่เฟิร์มแวร์ไปไกลกว่ากันเยอะเลย ^^"
อย่างที่หลายท่านตอบล่ะครับ
อุปกรณ์มันคนละอย่าง อย่าไปมีความสามารถจับฉ่ายครับ
ใส่ไปก็ไม่ได้ใช้ จะใส่ให้่ราคามันแพงทำไม
ถ้าจะให้คนพิการทางสายตาใช้ก็เอาจอออกดีไหม ราคาจะได้ถูกลง
สำหรับอยากฟังไงครับ อยากพักสายตา ให้คนอื่นอ่านให้ฟัง
มีมาก็มีประโยชน์หมดแหละครับ แต่อยู่ที่ว่าจะคุ้มไหมที่จะทำ
อย่างที่หลายๆ คน ให้ความเห็นมาเลยครับ ผมก็คิดเรื่องผู้พิการทางสายตา หรือคนตาบอดนี่แหละ เพราะว่าเนื่องจากทุกวันนี้ ปัญหาด้านสื่อการเรียนการสอนในระบบสมัยใหม่ ที่เปลี่ยนไว+บ่อยมาก ถ้าหากสามารถนำไฟล์เอกสารการเรียนการสอนเหล่านั้น นำมายัดใส่ Kindle แล้วคนตาบอดสามารถพกไปใช้ในห้องเรียน หรือนำกลับมาอ่านทบทวนบทเรียนได้ ผมว่าจะลดช่องว่างในส่วนนี้ไปได้ดีมากเลยล่ะครับ
และอีกประเด็นนึงที่อยากให้พัฒนากันก็คือ OCR ภาษาไทยครับ เพราะว่าถ้า OCR ทำออกมาได้ในระดับที่ใช้งานจริงได้อย่างดีแล้ว คนตาบอดก็จะสามารถใช้ scanner เพื่ออ่านหนังสือปกติเองได้ ไม่ต้องพึ่งคนปกติมาช่วยกันทำสื่อทางเลือกให้อย่างในปัจจุบันนี้
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
อย่างงี้ iPod หรือโทรศัพท์ดีกว่าครับ
เล็กกว่า จะเอาหน้าจอไปทำไม
+1 ครับ
แล้วถ้าจะไว้ใช้งานเฉพาะส่วนหนังสือ จะเอาโทรศัพท์ไปทำไม?
Kindle ถูกกว่านะครับ
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
ถูกกว่า iPod อีกเหรอครับ?
แล้ว คนตาบอดไม่ต้องใช้โทรศัพท์เหรอครับ?
+1 ผมเชื่อว่าคนที่พก Kindle เกือบทั้งหมดพกโทรศัพท์ด้วยนะครับ
to คุณ Thaina iPod ที่จะพอเอามาใช้อ่านหนังสือด้วย TTS ได้ ก็คงต้องเป็นอย่างน้อย iPod touch ซึ่งรุ่นล่าสุด ตัว 8GB 7900 ซึ่งถ้าเทียบๆ กัน ถือว่าแพงกว่า Kindle หลายรุ่นนะครับ
คนตาบอดก็อาจจะ จำเป็นต้องใช้โทรศัพท์ครับ แต่อุปกรณ์การเรียน (ซึ่งเป็นประเด็นที่ผมเน้นในข่าวนี้) ก็ควรจะแยกจากอุปกรณ์สื่อสาร นะครับ อย่างน้อย อาจารย์ในห้องเรียน คงจะเบาใจกว่า ถ้าเห็นนักเรียนหยิบ E-book reader ขึ้นมาใช้ แทนที่จะเป็นมือถือ/Media player
to คุณ neizod ไม่ปฏิเสธครับว่า Symbian มี TTS (ภาษาไทย) ด้วย แต่โดยเฉพาะภาษาไทย จะเรียกว่าดีมากนั้นคงยังห่างไกลครับ นี่ยังไม่นับว่า TTS ใน Symbian นั้น ไม่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง (stand alone) คือต้องพึ่งโปรแกรม screen reader ซึ่งมีราคาแพงมาก (แพงกว่าราคาเครื่องระดับกลางๆ ของ Symbian เองก็ว่าได้) และการรองรับไฟล์ที่อยู่ในกลุ่มมาตรฐานของ E-book บน Synbian คงน้อยกว่า E-book reader โดยตรงมั้งครับ และความเห็นที่คุณใช้คำว่า "เข้าใจว่าคนตาบอด" อย่าเข้าใจไปเองเลยครับ ถามกลุ่มเป้าหมายโดยตรงจะดีกว่า "เข้าใจว่า"
to คุณ iammeng ความจริงก็ไม่ได้อยากให้เขายัดอะไรเพิ่มเข้าไปมากมายอะไรนะครับ เพราะก็เห็นได้ชัดอยู่แล้วว่า เขามี TTS มาให้อยู่แล้ว แถมยังมีการพัฒนาฟังชั่นนี้มาตามลำดับอีกด้วย สิ่งที่ผมบอกว่า อยากให้มีนั้น ก็เหมือนกับการที่คนไทย อยากให้ Kindle มี font ภาษาไทยลงมาให้จากโรงงานนั่นล่ะครับ อาจจะต่างกันอยู่หน่อยก็ตรงที่ ถึงมันไม่ได้ลง font มาให้ แต่เราก็ยัด font ลงไปเองได้ แต่ตัว TTS นี่คงยัดลงไปเองไม่ได้นะครับ :P
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
ผมอยากจะพูดว่า
คนตาบอดจะใช้ Kindle ไปทำไม อุปกรณ์ที่มันตรงจุดกว่านั้นไม่ดีกว่าเหรอ
เพราะคนตาบอดไม่ต้องการสกรีน และไม่ต้องการตัวหนังสือด้วย
และ อุปกรณ์นะครับ ยิ่งมีน้อยชิ้นก็ยิ่งดี จะได้ไม่เป็นภาระในการพก
สิ่งที่ต้องการคืออะไร? โปรแกรมอ่าน EBook ใช่หรือไม่?
ไม่จำเป็นต้องเป็น EBook ก็ได้
เอาจริงๆก็ควรเป็นแค่ตลับวิทยุที่ต่อเน็ตได้ ผมก็เลยนึกถึงไอพอดก่อนเพื่อน
แล้วอีกแง่คือโทรศัพท์ ที่เขียนโปรแกรมใส่เข้าไปได้
ก็เขียนโปรแกรมอ่านหนังสือ EBook ใส่โทรศัพท์(Android) แล้วซื้อหนังสือเปิดฟัง น่าจะง่ายกว่า
ผมไม่เห็นว่าจะมีประโยชน์อะไรที่ใช้ อคติ ว่า ต้องการความสบายใจของอาจารย์ มาเพิ่มภาระให้กับนักเรียน
ไม่ตลกเหรอครับที่คนตาบอด จะซื้อคินเดิล
ถ้าจะออกแบบกันจริงๆ ผมว่าควรเป็น Kindle รุ่นอักษรเบรลล์ มากกว่า
OH! Kindle Braille เป็นแนวคิดที่แม้แต่ผมยังคิดไม่ถึงเลยครับ สุดยอดมาก
ผมจะบอกให้นะครับว่า ราคาของเทคโนโลยี braille display นั้น ไม่ถูกเลย แค่แบบที่แสดงผลได้บรรทัดเดียวนั้น ก็ราคาแพงกว่า iPhone เครื่องนึงแล้วครับ อ้อ บรรทัดเดียวนี่คือแสดงผลได้แค่ 20/40 characters เท่านั้นนะครับ ดูราคาจริงได้ตามนี้ PAC Mate™ Portable Braille Displays Focus 40 and Focus 80 Braille Displays Focus 40 Blue Braille Display
"เอาจริงๆก็ควรเป็นแค่ตลับวิทยุที่ต่อเน็ตได้" ประโยคนี้ห่างไกลจากความเข้าใจความต้องการของคนตาบอดไปไกลโขเลยล่ะครับ คนตาบอดอาจมองว่าไม่ต้องการ screen แต่คุณนึกไหมครับว่า การทำอะไรบางอย่างที่คนตาบอดไม่สามารถจัดการได้ด้วยตัวเองนั้น ก็ต้องการ screen ไว้ให้คนปกติช่วยดูให้ในบางจุด ถ้าคิดตามที่คุณเข้าใจ คนส่วนใหญ่ก็จะเข้าใจไปว่า เวลาคนตาบอดจะซื้อคอมพิวเตอร์ใช้ ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อ monitor ก็ได้เพราะไม่จำเป็นต้องใช้ หรือจะขาย NB ที่หน้าจอพังๆ ให้คนตาบอดใช้ก็ได้ เพราะไม่จำเป็น ซึ่งผิดมากนะครับสำหรับหลักคิดแบบนี้
ถ้าจะออกแบบกันจริงๆ หรือจะมีคนลงมาทำจุดนี้จริงๆ ยอมรับครับว่ามีอีกหลายวิธีมากที่จะสรรสร้างเทคโนโลยีที่จะมาใช้ช่วยคนพิการ
แต่ผมต้องขอให้คุณเข้าใจประเด็นของข่าวนี้นิดนึงนะครับ ในความเห็นแรกที่ผมโพส ผมบอกว่าอยากให้ Kindle มี TTS ภาษาไทยมาด้วย ซึ่งเห็นไหมครับว่ามันดูง่ายกว่าการไปพัฒนาเทคโนโลยีหรือปรับปรุง device อื่นๆ มาใช้เพื่อการอ่านหนังสือ เพราะอย่างแรกคือ Kindle มีรฟังชั่น TTS อยู่แล้วไม่ต้องให้เขาเขียนฟังชั่นเพิ่มเติม อย่างที่สองคือ TTS ภาษาไทยนั้นก็มีอยู่แล้ว อยู่ที่ถ้าจะนำไปใช้จะเลือกตัวใด สิ่งที่ผมไม่ทราบก็คือ ณ ตอนนี้ ใน Kindle เอง มี TTS มาให้กี่ภาษา และถ้ามีมาให้ภาษาเดียวก็คงไม่น่าหวัง แต่ถ้ามีมาให้หลายภาษาอยู่แล้ว ก็ไม่ผิดใช่ไหมครับ ถ้าผมจะอยากให้เขาเพิ่มภาษาไทยเข้าไปด้วยอีกภาษา เพื่อคนไทยจะได้ใช้ประโยชน์จากมันได้มากขึ้นในอีกมิตินึง
มันก็ไม่ต่างจากที่คนทั่วไป อยากให้ iPhone/iPad มันมี keyboard ภาษาไทยติดมาให้ด้วยนั่นล่ะครับ
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
เรื่องสกรีน ผมก็เห็นมือถือทั่วไปก็มีสกรีน และแค่นั้นก็พอแล้วไม่ใช่รึ?
ถ้าจะพูดถึง Device ที่มีอยู่แล้ว
ก็มือถือนี่แหละครับ ที่มีอยู่แล้ว และใช้ดีด้วย และไม่เพิ่มจำนวนอุปกรณ์ให้ต้องพกด้วย
การมี TTS ภาษาไทย มันก็น่าจะมีจริงๆ
แต่การอ้างผู้พิการทางสายตา
ผมไม่เห็นประโยชน์มันตั้งแต่คิดว่าจะซื้อ Kindle แล้วน่ะครับ
โอเคครับ สรุปจากความเห็นของคุณแล้ว
เนื่องจากว่า คุณไม่เข้าใจว่าปัจจุบันปัญหาในการเรียนการสอนของคนตาบอดเป็นอย่างไรบ้าง และคุณยืนยันความคิดเห็นของคุณที่ว่า ในการอ่านไฟล์หนังสือ มือถือสามารถทำหน้าที่ในจุดนี้ได้อยู่แล้ว แล้วคนตาบอดก็ควรจะมีมือถือที่ใช้งานในจุดนี้ได้กันอยู่แล้ว ทำไมจะต้องมาซื้อ Kindle เพิ่มเติมให้เปลือง และต้องพกอุปกรณ์หลายชิ้น
เผื่อคุณสรุปไม่ได้จากความเห็นของผมข้างต้นผมจะสรุปให้เห็นชัดๆ อีกครั้งนะครับ
ลองคิดดูกันง่ายๆ ในเหตุการณ์สมมตินะครับ ว่าถ้ามีใครสักคนอยากทำให้คนตาบอดอ่าน e-book บนอุปกรณ์พกพาได้สักชิ้น ต้องบอกก่อนนะครับว่าบนอุปกรณ์พกพา เพราะถ้าเป็นบน PC/NB พอจะทำในส่วนนี้ได้ในระดับนึงอยู่แล้ว และคุณคงไม่บอกนะครับว่า ถ้าอย่างนั้นก็ตัดปัญหาโดยการให้คนตาบอดทุกคนต้องพก NB ไปเข้าห้องเรียนซะเลย
โอเคเรามาพูดถึงอุปกรณ์พกพากันต่อ ถ้าจะเอาอย่างที่คุณว่าโดยการใช้มือถือเป็นหลัก คงต้องบอกก่อนนะครับว่า smartphone นั้นยังไม่ใช่โทรศัพท์เครื่องหลักที่คนตาบอดทุกคนต้องมีหรือมีกันอยู่แล้ว และsmartphone ที่คนตาบอดจะใช้ได้นั้นก็จำกัดเพียงแค่
ถ้าโทรศัพท์มันแพงไป คุณก็ต้องยอมให้มี device ชิ้นที่สอง ซึ่งตัวเลือกก็จะมาอยู่ที่ iPod touch และ E-book reader (ที่มี TTS) ซึ่งก็วนกลับมาในข่าวนี้ ว่าจากราคาที่ได้บอกไปแล้วว่า iPod touch นั้นแพงกว่า Kindle เห็นๆ (ขอใช้ Kindle นะครับเพราะเป็น E-book reader ตัวเดียวตอนนี้ที่ผมเห็นว่ามันมี TTS แถมมาให้)
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
ไม่นับ Android หน่อยเหรอครับ?
คือจะพูดอย่างนี้เลยว่า
ถ้าจะต้องซื้อ Kindle ใหม่
ก็เปลี่ยนเป็นมือถือเก่ามาเป็น SmartPhone ไปเลย จะดีกว่าหรือไม่
ผมก็ยังเห็นว่า iPhone ไ่ม่เหมาะ เพราะมันใช้ TouchScreen
มันควรเป็นเครื่องปุ่มเลขเหมือนเดิมมากกว่า
ซึ่งก็มีสองตัวเลือกคือ Symbian กับ Android
ถ้า Android ไม่มีโปรแกรมอ่าน EBook ที่พอใช้ได้อีก
ผมก็ยอมรับละครับว่า งั้น Kindle ก็เป็นตัวเลือกที่ดีแล้ว
แต่ การใส่ภาษาไทย และัใส่โปรแกรมอ่านภาษาไทย ลงไปใน Kindle
ก็ต้องใช้เวลาพัฒนาเหมือนกันนะครับ
55 ผมน่าจะเขียนชัดเจนแล้วนะครับ ประเด็นที่ไม่มี Android ข้างต้น เนื่องจาก ตัว TTS ภาษาไทยยังไม่มีใคร port ไปลงบน Android ไงล่ะครับ และก็อย่างที่ผมบอกว่า การนำ TTS ที่มีอยู่แล้ว ไปใส่ใน Kindle ก็น่าจะทำง่ายกว่าการพัฒนาโปรแกรม Screen reader บน platform ต่างๆ เท่าที่คุณจะนึกได้ในปัจจุบันนี้ไงล่ะครับ
ประเด็นหลักสำหรับโทรศัพท์ คือการจะใช้โปรแกรมเสริมต่างๆ ได้ ตัวโทรศัพท์เองจำเป็นจะต้องมีโปรแกรมอ่านหน้าจอ ที่เรียกว่า Screen reader เพื่อทำให้คนตาบอดสามารถใช้งานตัวเครื่องในฟังชั่นหลักๆ ได้ก่อน ซึ่งนี่ยังไม่นับความเข้ากันได้ของโปรแกรมเสริมที่จะนำมาใช้บนมือถืออีกนะครับ ซึ่งในความจริง โปรแกรมที่เขียนๆ กันมาส่วนมาก UI ไม่เข้ากับโปรแกรมอ่านหน้าจอ (screen reader) เท่าที่มีอยู่ตอนนี้
ในส่วนของ Android นอกจากจะยังไม่มีใคร Port TTS ภาษาไทยให้นำไปใช้ได้แล้ว ยังติดในส่วนของโปรแกรม screen reader ด้วยเหมือนกันครับ เพราะตัวระบบปฏิบัติการเองก็ยังอยู่ในช่วงการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตัว screen reader ซึ่งอยู่ในส่วนของ accessibility ก็ยังต้องการ การพัฒนาอยู่เช่นกันครับ เพราะถ้าจะเทียบกันแล้ว screen reader บน Android ก็ยังห่างชั้นกับ screen reader บน 2 platform ที่เหลือ คือ Symbian & iOS อยู่พอสมควรเลยครับ อ้อๆ เผื่อคุณจะนึกขึ้นได้อีก ผมบอกไว้ก่อนเลยละกัน ยังมี Windows mobile อีก ซึ่งมันก็มี screen reader เหมือนกันครับ เทียบได้กับโปรแกรม screen reader บน Symbian เลยทีเดียว แต่ติดตรงที่ว่า มันก็ยังไม่มี TTS ภาษาไทยไปลง เพื่อทำให้มันอ่านภาษาไทยได้นะครับ ถ้าอย่างไร ผมแนะนำลิ้งนี้นะครับ หากสนใจเรื่องการใช้งานมือถือของคนพิการ :d
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
ผมใช้คำว่า "เข้าใจว่า" เพราะผมไม่ได้ไปถามกลุ่มเป้าหมายโดยตรงไงครับ
แค่ทุกวันนี้ก็แทบไม่มีเวลาว่างให้ทำโน่นนี่อยู่แล้ว จะให้ผมไปถามคนตาบอดได้ที่ไหนครับ
ที่ผมประกาศขึ้นต้นว่า "เข้าใจว่า" ก็เพื่อถ้าผมเข้าใจผิดไป หรือคุณได้มีโอกาสไปเก็บข้อมูลโดยตรง จะได้ช่วยแก้ไขความเข้าใจของผมใหม่ไงครับ
ถ้าผมไม่ขึ้นต้นอย่างนั้น ก็หมายความว่า คำพูดที่ผมยกมานั้นผมมั่นใจ 100% แต่ที่จริงแล้วไม่ใช่ ผมมั่นใจกำคำพูดของผมนั้นแค่มากกว่า 50% เท่านั้น (เพราะผมไม่ใช่คนตาบอดครับ ผมเลยลองจินตนาการตัวเองว่าถ้าผมตาบอดแล้วจะคิดอย่างไร ต้องการอะไร)
จะเข้าใจความหมายของการที่ผมขึ้นต้นไว้อย่างนั้นมั้ยเนี่ย - -"
ขอบคุณสำหรับการร่วมแสดงความเห็นครับ แล้วก็ที่ยังพยายามจะเข้าใจ ถึงแม้ไม่ได้มีโอกาสไปสัมผัสโดยตรงก็ตาม ^^
@ Virusfowl
I'm not a dev. not yet a user.
ประเด็นด้านราคา: ถ้าไม่เลือกมากว่าต้องเป็น iPhone รู้สึกว่า Symbian จะทำหน้าที่ด้าน text to speech ได้ดีมากอยู่แล้วนะครับ
แน่นอนว่า ราคาเป็นประเด็นที่แทบไม่ต้องพูดเลย เพราะ Symbian โดนกดไปอยู่ตลาดล่างเรียบร้อย หรือจะเลือกของมือสองก็ได้อีก
ประเด็นด้านโทรศัพท์: เข้าใจว่า ผู้พิการทางสายตาต้องพึ่งพาอุปกรณ์ด้านการติดต่อสื่อสารด้วยเสียงเป็นชีวิตจิตใจครับ
เช่นเดียวกับผู้พิการด้านการได้ยินก็ยังคงต้องพึ่งพา sms, mms อยู่ จนกว่า 3G จะเกิดให้ได้ใช้วีดีโอคอลนั่นแหละครับ
ประเด็นด้านขนาด: เข้าใจว่า ผู้พิการทางสายตาชอบของที่ใหญ่ครับ เพื่อจะได้หาได้ง่ายเวลาวางไว้ และด้วยขนาดที่ใหญ่ขึ้นก็น่าจะส่งผลให้ทำหายยากขึ้นด้วยครับ
นอกจากนี้ การที่ของใหญ่ขึ้น ก็เป็นประโยชน์ต่อการระบุพื้นที่ที่ต้องการใช้งานโดยตรงได้เลยครับ เช่น อยากให้เริ่มอ่านแถวๆ กลางหน้าก็กดตรงนั้นเลยได้
แต่ตอนนี้ต้องอย่าลืมว่า kindle ยังไม่ใช่หน้าจอสัมผัสนะครับ สุดท้ายยังไงก็ต้องเลื่อนโดยใช้ปุ่ม 5 ทิศอยู่ดี
ประเด็นด้านการพกพา: (แยกให้ออกกับข้อแล้วนะครับ) เข้าใจว่า ใครๆ ก็ชอบของเล็กๆ เบาๆ กันทั้งนั้นแหละครับ
และก็คิดว่าถ้าไม่ติดขัดด้านเทคนิค (อายุแบตเตอร์รี่, ความเสถียรของ software) ใครๆ ก็อยากพกอุปกรณ์ชิ้นเดียวจบทั้งนั้นครับ
ด้วยเหตุผลที่ผมยกมานี้ คิดว่าเหตุผลของคุณยังฟังไม่ขึ้นครับ
ผมว่าจุดขายของ Kindle คือ E-Ink เพื่อให้เหมือนหนังสือธรรมดามากที่สุด
แล้วกับราคาขนาดนี้ ถ้าจะให้ยัดอะไรลงไปเพิ่มอีก ราคาก็คงขึ้นตามไปด้วย
ขนาด+น้ำหนักก็อาจจะเพิ่มไปด้วย
ส่วนตัวคิดว่า ถ้าให้ดี ออฟชั่นเท่าๆเดิม แต่พัฒนาเรื่อง ราคาให้ถูกลง กับความเร็วตอนเปลี่ยนหน้า
ก็พอแล้วครับ
เห็นแล้วน่าใช้นะ แต่เวลาจะอ่านแทบไม่มี อยากเอามาอ่านนิยาย เห็น Alice In Wonderland แล้วอยากอ่านจัง
อยากได้ DX แฮะ เอกสารวิชาการ PDF ขนาด A4 เยอะโครตๆ
Kindle DX Graphite (DXG) ตอนนี้อาจจะแนะนำให้รอความชัดเจนในช่วงสิ้นปีนี้ก่อนครับ เพราะว่าเฟริมแวร์ที่มาด้วยกันกับ DXG นั้นเป็นรุ่นเก่ากว่า คือรุ่น 2.5 ซึ่งฟีเจอร์บางอย่างจะไม่มี เช่น ทำให้เอกสาร PDF ทั้งภาพและตัวอักษรหนาขึ้น รวมถึงเว็บเบราเซอร์ตัวใหม่ที่เป็น WebKit นี่ก็ยังไม่มีครับ รวมไปถึง DXG ไม่มีฮาร์ดแวร์รองรับไวไฟครับ
บางคนก็ลือกันว่า Amazon น่าจะอัพเดทให้ฟรีๆ แต่บางคนก็ลือว่าน่าจะออกฮาร์ดแวร์ตัวใหม่ก่อนช่วงจับจ่ายปลายปีนี้ครับ
ขอถามหน่อยครับ คือพวกที่ไว้อ่าน ebook แบบนี้ สามารถขีด hilight อะไรลงไปได้ปะคับ หรือแบบจดอะไรลงไปได้ปะคับ ขอบคุณครับ
Kindle รองรับการทำ highlight หรือจดโน้ตสำหรับฟอร์แมต azw, mobi ครับ ถ้าเป็นพวก pdf จะยังทำไม่ได้
ไม่ใช่ครับ Kindle 3 รองรับการทำ (Text) Annotation บน PDF แล้วครับ
ชาร์จไฟในไทยได้ป่าวครับ ผมสั่งซื้อไปแล้วเนี่ย!
ได้สิครับ ตัวปลั๊กที่ให้มา รองรับกระแสไฟบ้านเราครับ
ได้รับของแล้วครับ อยากขายต่อครับ 6" นิ้วเล็กไปจะเปลี่ยนเป็น DX 9"
ขอถามเพิ่ม...
...มีท่านใดซื้อฟิล์มติดหน้าจอ kindle จาก amazone มาใช้บ้างหรือยังครับ
...สงสัยว่าฟิล์มจะวาวแววสะท้อนแสงเหมือน ฟิล์ม มือถือทั่วไปหรือเปล่าครับ.
ขอเพิ่มเติมข้อมูล...ผมอ่านใน web ของ kindle ไม่แน่ใจว่าแปลถูกหรือเปล่านะครับ.
...การส่ง mail ไปให้ amazone ส่ง file เข้าเครื่อง kindle ให้จะมี 2 แบบ
...ส่งไปที่ my??@free.Kindle.com จะไม่เสียค่าส่งเข้าเครื่อง kindle
...และจะได้รับ file ผ่าน wifi ได้เท่านั้นครับ.
...ส่งไปที่ my???@Kindle.com จะเสียค่าส่งถ้าเปิดรับ file ผ่าน 2G,3G ครับ.
อ่านจาก
Sending Personal Documents to Kindle
http://www.amazon.com/gp/help/customer/display.html/ref=hp_navbox_kdxland_trans_pdocs?nodeId=200375640#email
รับฝากซื้อ Kindle3, dx ครับ (ถ้าผิดกติกาการใช้เวปบอร์ดลบได้เลยนะครับ)
สำหรับบางคนอยากได้แต่ไม่มีโอกาสซื้อครับ
Kindle wifi 5,100 ครับ
Kindle 3G+wifi 6,800 ครับ
kindle dx 13,400 ครับ
ปกรุ่นมีไฟ 2,600 ครับ
รุ่นไม่มีไฟ 1,750 ครับ
ผมตัดรอบทุกวันพุธนะครับ (ช่วง 4 ทุ่ม - เที่ยงคืน)
นัดรับที่ป้ายรถไฟฟ้าสวนลุม สีลม หรือ อาคารอื้อจื่อเหลียง ได้นะครับ หรือว่าสะดวกแถวลำลูกกา ก้อได้ แต่ส่งไปรษณีย์ คิดค่าส่งต่างหากนะครับ (ต้องไปตรวจสอบที่ไปรษณีย์อีกทีนึงแต่คิดว่าคงไม่เกิน100บาท)
สั่งของมาทางแอร์นะครับผมใช้เวลาประมาน 14 วัน (ช่วงนี้ amazon มีโปรโมชั่นส่งให้ภายในสองวันฟรี อาจจะได้ไวกว่านั้น)
แต่ถ้าใครรอได้จะให้มาทางเรือ (รอประมาน 30-45 วัน) ก้อจะได้ราคาที่ถูกกว่านี้นะครับ
สนใจติดต่อสอบถาม โชค 089-8896767, นก(แฟนผม) 089-7643764
ถ้าแปะลิงค์ของ droidsans ไว้ด้วย คนน่าจะเชื่อถือมากขึ้นนะครับ ช่วยแปะ
http://www.droidsans.com/node/5983
เห็นแล้วก็อยากได้เหมือนกันเลยคิดหนักอยู่
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB