ข่าวนี้จะต่อเนื่องกับข่าว Firefox สนับสนุนแนวทาง Do Not Track ตาม IE9
ทางค่าย Mozilla นำโดย Aza Raskin หัวหน้าทีมออกแบบของ Firefox ได้นำเสนอ "ไอคอนมาตรฐาน" ที่จะคอยบอกผู้ใช้ว่าเว็บไซต์นี้นำข้อมูลของตัวเองไปทำอะไรบ้าง จะนำไปขายหรือไม่ หรือเจ้าหน้าที่รัฐจะเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเราได้หรือไม่
แนวคิดนี้จะคล้ายๆ กับ Creative Commons ที่มีไอคอนมาตรฐานบอกว่าเนื้อหาบนเว็บใช้สัญญาอนุญาตแบบใด เราอาจเรียกมันว่าเป็นไอคอนสำหรับ Privacy Commons ก็พอได้ครับ ไอคอนทั้งหมดดูได้จากที่มา
ที่มา - Aza Raskin
Comments
ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่แต่ก็่น่าจะดี
ไอเดียเข้าท่าดีครับ
เพราะปัจจุบันนี้ไม่ว่าเราเข้าเวปไหนก็ถูกเก็บข้อมูลหมด ทั้งเพื่อโฆษณา เก็บสถิติคนเข้าเวป หรือวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค
จะว่าไปแนวคิดนี้ถ้าให้เทียบก็คล้ายๆ กับของ facebook ที่เวลา app ตัวไหนจะใช้ข้อมูลของเรา จะมีหน้าต่างขึ้นมาเลยว่าจะใช้ข้อมูลในส่วนไหนบ้าง และถ้าเราไม่ยอมรับก็ไม่สามารถดึงข้อมูลเราไปได้
ในไทยคงลำบากหน่อยนะครับ
CC ยังไม่ค่อยมีคนรู้จักเลย(หมายถึงผู้ใช้ทั่วไป)
ว่าแต่เว็บไหนจะกล้าประกาศโต้งๆ ว่าเราจะเอาข้อมูลของคุณไปขายนะ
ก็เป็นตัววัดตัวนึงได้ดีกว่าไม่มีครับ
ลองนึกดูหากเว็บไซต์ดังๆ คนใช้เยอะๆ แต่ไม่ยอมระบุลงไปชัดเจนว่าจะเอข้อมูลไปทำอะไรบ้างซะที เราก็คงสงสัยแล้วล่ะว่าทำไม และในทางกลับกันหากเว็บไซต์นั้นระบุลงไปเลย ก็เป็นการสร้างความชัดเจนผูกมัดตัวเองแทนว่าจะไม่นำไปใช้แบบที่ไม่ได้ระบุ
ชื่อ : Not Available at this Moment (N/A)
เยี่ยมครับ ยกนิ้วให้เลย
อย่างผมเอง ถ้าอนาคตได้เจอไอคอนพวกนี้แล้ว ก็คงสบายใจขึ้นว่าจะเอาข้อมูลส่วนไหนเราไปบ้าง และเอาไปใช้อย่างไร
คือทุกวันนี้ไม่รู้ว่าเว็บไหนจะเอาไปทำอะไรบ้าง ไม่มั่นใจนะ ซึ่งความไม่ชัดเจนมันก็ไม่เป็นผลดี
ว่าแต่พี่กูจะยอมเหรอเนี่ย ?
ผมว่าอนาคตเรื่องนี้คงเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยครับ "ความเป็นส่วนตัว" และคงจะมีกฏหมายแรงๆ ออกมาปกป้องผู้บริโภคมากขึ้นว่าที่เป็นอยู่ เอาใจช่วยให้แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับในเร็ววัน ผู้ใช้งาน internet จะได้มีตัวตนมากขึ้น
ให้ผู้ใช้ยอมรับการเข้าถึงข้อมูลแบบ facebook app ประมาณนั้นดีเลย
และเขียนนโยบายความเป้นส่วนตัวไว้ให้ชัดเจน ถ้าผู้ใช้ยอมรับตอนสมัคร
ก็ถือว่าตกลงตามนั้น ที่นี้เราคงจะระวังในการใช้เว็บที่ไม่ปลอดภัยมากขึ้น
เอาใจช่วย ++
ปัญหาคือจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ทำตามนั้นจริง
ถ้าถูกผลักดันจนใช้ได้จริง ก็จะมีผลตามกฏหมายครับ
คือผมหมายถึงว่า ถ้าติดแค่ป้ายบอกมันก็เป็นแค่คำสัญญา จะมีใครไปตรวจสอบว่าทำจริงตามที่สัญญาไว้
วันนี้อาจจะยังไม่เห็นผล วันข้างหน้าอาจจะบูมจนคาดไม่ถึง
สัญลักษณ์เห็นแวบเดียวก็รู้ เข้าใจง่ายกว่าด้วย
กัน google เห็นๆ
คอมพิวเตอร์ไม่เท่าไหร่แต่อยากรู้ทำไมรถจะหมดประกัน บ.โบรกเกอร์ ต่างๆ โทรมากันจังรู้ข้อมูลอีกต่างหาก บัตรเครดิตรอีก ประกันชีวิตอีก มันไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวบ้างหรือ
ยังเป็นแค่ร่างอยู่ครับ ครม. เห็นชอบ พ.ร.บ. ข้อมูลส่วนบุคคล, ตีกลับ พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ฉบับใหม่
ยากหน่อยสำหรับ icon นี้กับเว็บ Pantip..