ทุกๆ ปีในอเมริกาจะมีคอมเก่าไม่ใช้ประมาณ 30 ล้านเครื่อง คำถามคือมันไปอยู่ที่ไหน?
คำตอบคือไป longstay อยู่ตามชนบทในเมืองจีน ไนจีเรีย และอื่นๆ (บ้านเราก็มี)
ขยะอิเล็คทรอนิกส์มีลักษณะพิเศษ คือองค์ประกอบหลายชนิดจะถูกอัดแน่นมาเป็นชิ้นเดียว ถ้านึกไม่ออกลองแกะกรอบมือถือออกมาดูก็ได้ครับ เลยทำให้รีไซเคิลยาก และที่สำคัญหลายอย่างเป็นพิษ!
อุปกรณ์รีไซเคิลยากอันดับหนึ่งคือกระจกครอบจอ CRT ซึ่งเคลือบด้วยตะกั่ว จึงเอาไปทำอะไรอีกไม่ได้เลย อย่างอื่นที่เป็นโลหะหรือพลาสติกยังสามารถรีไซเคิลได้บ้าง
ผลการสำรวจคุณภาพสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านตามชนบทจีนที่แยกขยะไฮเทคพวกนี้ พบว่าในน้ำมีสารตะกั่วมากกว่าเกณฑ์ปกติ 400-600 เท่า! จริงๆ มันมี สนธิสัญญาบาเซิล เกี่ยวกับการจำกัดการส่งออกขยะมีพิษ (สหรัฐไม่ได้เซ็น) แต่ถึงแม้ยุโรปจะเซ็น มันก็ยังลอบเอาออกมาได้อยู่ดี
ในฐานะคนที่ผลิตขยะพวกนี้คนนึง พูดไม่ออกเลยครับ :(
ที่มา - Salon
Comments
เหมือนเคยอ่านว่า สารบางอย่างใน LCD ถ้าหลุดออกมาได้(ตอนมันเป็นขยะ) อันตรายน่าดูเหมือนกัน
ทางที่ดี คือผมว่า พวกอุปกรณ์พวกนี้ ควรจะใช้ให้คุ้มค่าที่สุดจริงๆ แล้วค่อยทิ้ง ถ้าซื้อตามแฟชั่น แล้วทิ้งของเก่าหมด ขยะพวกนี้ก็เพิ่มขึ้นเร็วมากๆครับ
เครื่องไม่ใช้น่าจะเอาไปบริจาคนะ
เคยอ่านเจอว่า มีภารโรงที่สิงค์โปร์ เค้าลาออกจากงาน
แล้วมาเปิดธุรกิจ รีไซเคิลขยะประเภทนี้อะครับ ทำโครงการ
กับรัฐบาลของเค้า ตอนนี้กลายเป็นเศรษฐี่ไปแล้ว o_O
พวกถ่านอันตรายที่สุดครับ มีถือคือตัวดีเลย
^^
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ใช้ให้คุ้มที่สุด ก็ช่วยได้เยอะแล้วครับ
อึ้ง............
ลืมนึกเรื่องนี้ไปจริงๆแฮะ