Tags:

คำตอบของคุณภัทระ เกียรติเสวีมาแล้วครับ อ่านได้เลย

(เริ่ม)

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณคุณ mk และ blognone นะครับที่ให้โอกาสมาตอบในครั้งนี้ ขอให้เว็บเจริญรุ่งเรื่องยิ่งๆ ขึ้นไปเด้อ ตอบเรียงเลยละกัน gumara: ที่ญี่ปุ่นใช้ลินุกซ์เยอะมะคับ แล้วดิสโทรอะไรที่ฮิต

อืม ข้อมูลตัวเลขจริงๆ นี่ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันนะครับ แต่เอาจากประสบการณ์ที่เห็นรอบๆ ตัว ก็เห็นว่า มีใช้เยอะกว่าเมืองไทยพอควรล่ะ แต่ถ้าเทียบกับฝั่งยุโรป อย่างเช่น เยอรมัน นี่ เหมือนญี่ปุ่นจะน้อยกว่าเยอะนะครับ ไม่รุ้ทำไม ส่วนใหญ่เห็นแต่ Windows

ส่วนเรื่อง distro ก็เหมือนจะหลากหลายนะครับ เห็นเพื่อนญี่ปุ่นคนนึงใช้ Vine linux (http://www.vinelinux.org), Fedora ก็มี Turbolinux ก็เห็น และ Debian ก็ยังพอหาได้ครับ pruet: คำถามเดิมละกัน ครั้งล่าสุดนี้ได้ยินข่าวตอนอยู่เยอรมันว่าอกหัก ไม่ทราบว่า ตอนนี้คุณอ๊อตมีแฟนยังครับ :P

ฮ่าๆ มีแล้วครับ แต่เรื่องอกหักนี่จำไม่ได้แล้วแฮะ ว่าแต่เมื่อไหร่จะถึงคิวสัมภาษณ์ อ.พฤษภ์ครับ :D

(mk เสริม - อ. pruet ตอนนี้มีรายชื่อติดอยู่ใน blacklist ว่าเราจะแบน ไม่สัมภาษณ์ :D) audy: เสน่ห์ของการเขียนโปรแกรมสำหรับคุณภัทระ อยู่ตรงไหนครับ?

สำหรับผมมันอยู่ที่ความแน่นอนมันสูง เช่น print "a" มันก็ต้องได้ a ออกมาและทำได้ง่าย รวดเร็ว เห็นผลทันตา เทียบกับปลูกต้นไม้เนี่ย กว่าจะขึ้นมันก็ต้องใช้เวลา และยังมีปัจจัยความไม่แน่นอน ฝนฟ้า ยาฆ่าแมลง หรือถ้าเล่นพวก electronics มันก็เร็วขึ้นมาหน่อย แต่ก็ต้องมีฮาร์ดวงฮาร์ดแวร์ ซึ่งมันก็อาจจะมีความไม่แน่นอน ต่อผิดต่อถูก แต่ programming เนี่ยมันแน่นอน lew: แยกเรื่องเทคนิคกับเรื่องแนวคิดออกจากกันเหมือนเดิมแล้วกัน หมวดเทคนิค - เห็นในเว็บคุณภัทระมีเอกสารสนับสนุนมาตรฐาน TIS-620 ถามว่าในวันนี้ คุณภัทระสนับสนุนให้เว็บต่างๆ ใช้ TIS-620 หรือ Unicode มากกว่ากันครับ และเพราะอะไร?

สนับสนุนให้ใช้ Unicode มากกครับ (i.e., utf-8 encoding) เพราะว่ามันทำให้แสดงได้หลายภาษาในหน้าเดียว ซึ่งถึงแม้ในวันนี้จะบอกว่าเว็บฉันมีแต่ภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ ใช้ tis-620 ก็พอนี่ แต่วันหน้าโลกาภิวัฒน์มันก็ไม่แน่ไม่นอน อาจจะต้องแสดงภาษาอื่นๆ ขึ้นมาก็ได้ ว่าแล้วก็ต้อง update เอกสาร สถานะของเว็บ Longdo ตอนนี้มีคำศัพท์ประมาณเท่าใหร่แล้วครับ และหากมีโครงการอื่นๆ เช่นโปรแกรมตัดคำไทยหลายๆ ตัว ขอฐานข้อมูลคำไปใช้กันจะเป็นไปได้ไหม

จำนวนคำศัพท์ http://dict.longdo.org/?page=stats download เนื้อหาพจนานุกรม http://dict.longdo.org/?page=download ผู้สนใจสามารถเอาไปใช้ได้เลยครับ ไม่ต้องขออนุญาต และถ้าจะยิงคำใหม่ๆ กลับเข้ามาด้วยก็จะยินดียิ่ง คำไหนที่ approve แล้ว จะปรากฎให้ดาวน์โหลดทันทีครับ หมวดแนวคิด - ในฐานะคนทำเว็บเหมือนกัน คุณภัทระมีแนวคิดอย่างไรจึงได้เปิดเว็บ linux.thai.net ขึ้นมาครับ

แนวคิดก็ไม่มีอะไรมากครับ คือ อยากให้เป็นที่รวมข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่ างผู้ใช้/นักพัฒนา linux ในประเทศไทยครับ, ในช่วงนั้นผมทำงานที่ NECTEC, หลังจากที่ออก Linux-SIS ก็ได้พบปะชาว Linux คนอื่นๆ พอควร ก็คิดว่าอืม ตรงนี้น่าจะเป็นประโยชน์นะ เราอยู่ในจุดนี้ น่าจะทำได้นะ ก็เลยลองดู. ก็เปิดมาสมัยตั้งแต่ปี 1998 โน่น โดยคุณภาวี (เล็ก) เป็น webmaster คนแรก สมัยที่แกมาฝึกงานที่ NECTEC และคุณ mk นี่ก็เป็นมือข่าวตัวหลักเลย ปีใหม่จะมีทำนาย trend ของปีหน้า. และก็มีอาสาสมัครอีกหลายคน ในหลายๆ ยุค มาช่วยๆ กันครับ ขออภัยที่เอ่ยชื่อได้ไม่หมด จนถึงวันนี้ก็ยังคงพยายามจะสนับสนุนกิจกรรมนี่จะเป็นประโยชน์ต่อวงการ linux ไทยตราบเท่าที่มันพอจะทำประโยชน์ได้น่ะครับ

ข้อมูลประวัติศาสตร์โดยละเอียด อ่านได้ที่ http://linux.thai.net/plone/about/history ครับ - ในชั่วโมงนี้คุณภัทระคิดว่าลินุกซ์พร้อมสำหรับคนใช้งานพื้นฐานหรือยัง

ขึ้นอยู่กับนิยามของคำว่าคนใช้งานพื้นฐานครับ ถ้าอยางใช้ในโรงเรียนเพื่อการศึกษา ให้นักเรียนเล่น ในการเรียนการสอนเนี่ยผมว่ าโอเคนะ คิดว่ามันเหมาะสมกว่า Windows ด้วยซ้ำ ก็มันศึกษาอะไรได้หลายอย่าง ไม่เข้าใจอะไรยังไงก็ทดลองกันไป แต่ถ้าหมายถึงคนใช้คอมพิวเตอร์เพื่องา นทั่วๆ ไป บางทีเขาอยากจะแค่พิมพ์งาน, สแกนเอกสาร อะไรอย่างนี้เนี่ย ให้มา set up printer หรือ scanner ให้มันใช้ได้บน Linux มันก็ยังยากอยู่ แต่สถานการณ์ก็เหมือนจะดีขึ้นเรื่อยๆ dome: เอาเปรียบคนอื่น นะ อ.พฤภษ์ มี inside data นะเนี่ย ขอถามกับเขาบ้างแล้วกัน เท่าที่ผมพอนึกออก ผลงานของอ๊อท ส่วนใหญ่จะเป็นงานริเริ่ม,สร้างสรรค์, บุกเบิก เช่น - ระบบ Cache ของ ThaiSarn - Linux TLE (MaTEL) - ภาษาไทยบน KDE - Longdoo dict ใช้ชีวิตอย่างไรถึงทำให้เป้นคนมีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ได้

อืมผมเป็นประเภท "คันแล้ว (พยายาม) เกา" ครับ คือผมว่าสไตล์ผมเนี่ย ไม่ได้เป็นประเภทแบบเก่งลึกซึ้งอะไรเลยนะครับ ดูอย่างแต่ละอย่างที่ทำเนี่ยมันค่อนข้างพื้นๆ แบบตรงไปตรงมา เพียงแต่ว่าถ้ามีปัญหาอะไรขึ้นมาเนี่ย ถ้าแก้ได้ก็จะพยายามแก้ และวิธีการแก้มันมักจะออกไปทางทำให้มันเกิดขึ้น ถ้ามันยังไม่มี (คือวิธีแก้มันมี หลายแบบน่ะ) อย่าง dict ลองดู เนี่ย มันก็คือมันคันจริงๆ คือจะหาเว็บที่เปิดศัพท์ได้เร็วๆ เอาผลลัพธ์เยอะๆ และคำไหนไม่มีก็อยากให้มันเพิ่มได้ ไม่งั้นก็ต้องไปเปิดในกระดาษที่ note ไว้ตลอด ซึ่งสมัยนั้นอะไรแบบนี้มันก็ยังไม่มี เวลาต้องอ่าน text book ที ผมก็อ่วม จะให้เปิดพจนานุกรมมือ หรือซื้อซอฟต์แวร์มาลงบนเครื่ องมันก็ยังไม่โดนใจ คือ ไปที่ไหนก็อยากจะเปิดได้หมด มันก็เลยเกิดเป็น online dict web ขึ้นมาครับ และพี่ฮุ้ยก็ช่วยทำ popthai ช่วยทำ toolbar, ซึ่งสิ่งเหล่านี้ประกอบกันก็ทำให้หายคันได้เยอะเลย Project ต่อไป คืออะไร

coming soon, โปรดรอสักครู่ พวกเรากำลังซุ่มทำกันอยู่, อันนี้คันมานานพอดูแล้ว :D. smilelovehappiness:

ชอบ longdo มากเลยค่ะ ใช้ประจำ เห็นประกาศหาคนร่วมงานเพิ่ม มีโปรเจคอะไรเหรอ แล้วมีโครงการจะร่วมมือกับดิค Leo มั้ยคะ (http://dict.leo.org/) คือว่าสำหรับดิคเยอรมัน รู้สึกว่าของ Leo มันเจ๋งสุดอะค่ะ อยากให้รวมเข้าไปจังเลย

ขอบคุณคร้าบ. หาคนร่วมงานเพิ่มก็เพราะอยากขยายบริการเพิ่ม อย่างตัว longdo dict เองเนี่ย ก็อยากปรับปรุงมันอีกพอควร ทั้งหน้าตาและ engine และก็อยากจะทำบริการอื่นๆ ตามที่แพลมๆ ไว้ข้างบนครับๆ.

จริงๆ แล้ว longdo ก็ได้รับอิทธิพลจาก leo มาพอควรเลยนะครับ แต่เรื่องการรวมเนี่ย เขาไม่เปิดให้โหลดคำในเว็บเขาน่ะครับ (ส่วนคำของเราเนี่ยเปิดอ้าซ่าอยู่แล้ว) มันก็เลยรวมไม่ได้ ได้แค่ link ไป MrChoke: คุณ Otto มีอุดมการณ์ไหมครับ ? แล้วพอจะเล่าให้ฟังได้ไหมครับ ?

โห คำถามลึกซึ้ง ตอบยาก ถ้าแบบว่าทำสัมมาอาชีพ ไม่ให้เดือดร้อนชาวบ้าน และถ้าโอกาสและเวลาเอื้ออำนวย ก็พยายามช่วยเหลือสังคมในสิ่งที่ตัวเองถนัด นับเป็นอุดมการณ์หรือเปล่าเนี่ย โดยส่วนตัวมีการจัดการอุดมการณ์ และ เงินให้สมดุลย์อย่างไรครับ?

อืม ก็ทำงานหาเงิน ในลักษณะที่ไม่ขัดกับอุดมการณ์ไงครับ. ซึ่งตามในข้อ 1 มันก็คงมีงานมากมายที่ทำแล้วไม่ขัด :D

ไม่แน่ใจว่าถามโยงถึงเรื่องแนวคิดของ Free software/open source (FOSS) อะไรอย่างนี้หรือเปล่า สำหรับผมแล้ว แนวคิดนี้น่าสนใจ และผมเองก็นำมาใช้ในผลงานหลายๆ ชิ้น แต่ถ้าถามว่า ซอฟต์แวร์ทุกซอฟต์แวร์จะต้องฟรี และ open source หรือเปล่า หรือผมจะต้องใช้เฉพาะ FOSS หรือเปล่านี่ คงไม่นะ คือผมมองว่ามันเป็นทางเลือกนึง ซึ่งทุกคนมีสิทธิ์เลือกใช้ให้เหมาะสมกับโอกาสและงาน ไม่ได้ว่าเป็นศรัทธาหรืออุดมการณ์อะไร สิ่งแวดล้อมรอบตัวคุณ Otto ที่มีผลต่อการไปสู่อุดมการณ์ที่สำคัญๆ มีอะไรบ้างครับ? (ทั้งบวก และลบ)

อืม ยังนึกอุดมการณ์ที่สำคัญๆ ไม่ออกแฮะ เลยยังไม่รู้จะตอบยังไง ถามกลับละกัน อุดมการณ์ที่สำคัญๆ ของคุณมีเช่นอะไรบ้าง :D ในความเห็นส่วนตัวอุดมการณ์คือความมั่นคงหรือการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์เหมือนค่าเงินไหมครับ?

อืม มันน่าจะมั่นคงในระดับหนึ่ง คือไม่ใช่เปลี่ยนทุกวัน หรือทุกสัปดาห์ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนไม่ได้เลยนะ คำถามข้างบนระดับความเครียดน้อยนะครับตอบแบบฮาๆ ก็ได้ :-)

แฮ๊ก แฮ๊ก :D allizom: มอง Open Source ในประเทศไทยว่าเป็นอย่างไรในตอนนี้ และอยากให้ทั้งผู้พัฒนา และผู้ใช้ Open Source เป็นไปในแนวทางใดในอนาคต และคิดว่าใครจะมาผลักดันไปให้ถึงจุดนั้นได้ รวมทั้งอยากให้พูดถึงการทำงานของ SIPA ที่มีต่อ Open Source ในประเทศว่า ทำงานได้ดีมากน้อยแค่ไหน และควรปรับปรุงอะไร

ผมมองว่าช่วงหลังๆ นี้ เหมือนกระแสมันแผ่วๆ ไปนิด สงสัย Linux-TLE ต้องขยันออกรุ่นใหม่ๆ ถี่ๆ หน่อย :D.

อยากให้ open source เป็นทางเลือกหนึ่งทีคนไทยสามารถเลือกใช้ได้จริงๆ ซึ่งตอนนี้มันก็กำลังเคลื่อนๆ ไปถึงจุดนั้น แต่คิดว่าอยากให้ภาครัฐไม่วาจะเป็น NECTEC หรือ SIPA ช่วยถีบ (อย่างที่ได้ถีบมาพอสมควร) ต่อไปโดยเฉพาะงานพวก infrastructure ซึ่งดูทีไร เห็นแต่หน้าเดิมๆ อย่าง คุณเทพพิทักษ์, ผมว่าทิศทางน่าจะเป็นรีบๆ เก็บงานพื้นฐาน เอาแบบให้เสร็จ ให้เนี๊ยบ แล้วทีนี้ก็มาเน้น killer apps และสุดท้ายค่อย promote สู่ public, ลอยเข้าสู่จุดที่การพัฒนาดำเนินไปได้ด้วยภาคธุรกิจ และภาคประชาชนเอง ไม่ต้องให้รัฐช่วยดันมากมายอีกต่อไป ซึ่งทั้งหมดนี้ผมว่าไม่น่าจะทำข้ามขั้น ไม่ต้องรีบ แต่ไม่หยุดนิ่ง

รูปแบบการพัฒนาผมก็เห็นด้วยกับพี่เทพในส่วนที่เน้นการ contribute เข้าต้นน้ำครับ ไม่งั้นเราก็ตาม patch กันตลอดไป

บทบาทของ SIPA ผมยังไม่ขอวิจารณ์ครับ เพราะเพิ่งกลับมา ยังไม่ได้ติดตามผลงานเพียงพอ แต่ก็ได้ยินข่าวและกิจกรรมบ่อยๆ OHM: ถ้าผมมีเงินอยู่ 73,000 ล้านบาทและกำลังจะปลีกวิเวกไปอยู่ในป่าในเขาคนเดียวตลอดกาล อยากจะให้เงินจำนวนนี้กับใครซักคนในวงการคอมพิวเตอร์ของประเทศไทย โดยจำเพาะเจาะจงให้วงการซอฟท์แวร์เท่านั้น โดยคนที่รับเงินผมไปต้องเอาเงินนี้ไปสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติและแผ่นดิน ทั้งฝั่ง Opensource และฝั่ง Proprietary อย่างไม่ลำเอียง คุณภัทระ เป็นหนึ่งในหลายๆ คนที่ผมจะยกเงินก้อนนี้ให้ แต่ทุกๆ คนจะต้องตอบคำถามผมมาว่าจะเอาเงินนี้ไปทำอะไร? คนที่ตอบดีที่สุดจะได้เงินก้อนนี้ไป คุณจะตอบคำถามผมว่าอย่างไร

คำตอบของคุณจะเป็นสัญญาประชาคม และเงินก้อนนี้คุณไม่มีสิทธิ์ใช้ส่วนตัวแม้แต่บาทเดียว แล้วคุณคิดว่าคุณพร้อมที่จะรับเงินก้อนนี้หรือเปล่า

เท่าที่คิดออกนี่ยังแค่อะไรในวงเล็กกว่านั้น อย่างเช่น PC 250,000 เครื่องนี่มันน่าจะเป็น Linux น้า, และผมก็จะนำเงินแบ่งส่วนหนึ่งสนับสนุนทีมพัฒนา และอีกส่วนทีม training อบรมแบบกระจายทั่วประเทศ, ส่วนนักพัฒนาอิสระผมก็จะสนับสนุนในรูปแบบต่างๆ เอาให้อยู่ได้ เพราะพวกนี้ทำคุณประโยชน์ให้ชาติ, ในแง่ธุรกิจ ผมก็จะสนับสนุนให้ตั้งศูนย์ทดสอบ hardware กับ Linux/FOSS, เผยแพร่รายการ hardware software ที่ compatible กับ Linux ใหม่ๆ ทุกสัปดาห์ คนมาเปิดดูได้เลย ก่อนไปพันทิพย์, สนับสนุนให้บริษัทคอมพิวเตอร์ในประเทศ pre-install Linux มาเลยเป็นทางเลือก, ผลักดันให้ห่วงโซ่ สำหรับ FOSS support ที่จะช่วยเหลือภาคธุรกิจ, สนับสนุนให้เกิด Linux course ในศูนย์ฝึกอบรมต่างๆ

ทั้งหมดที่พูดมานี่มีหมดแล้วหรือยังก็ไม่รู้แฮะ สรุปคือก็เน้นภาคการศึกษา, พัฒนา, และธุรกิจ แต่คงจะไม่บังคับอะไรอย่างให้ภาครัฐต้องใช้ Open source นะ ผมจะทำให้ open source เป็น choice ที่เลือกใช้ได้และใช้ได้ดี, เน้นให้ใช้ซอฟต์แวร์ที่ถูกลิขสิทธิ์ และให้แลกเปลี่ยนข้อมูลโดยใช้มาตรฐานเปิด, และปล่อยให้การตัดสินใจเลือกใช้ขั้นสุดท้ายเป็นของหน่วยงานนั้นๆ เอง ถ้ามันเป็นทางเลือกที่ดีมันย่อมถูกเลือก ถ้ามันเป็นทางเลือกที่ไม่ดี จะบังคับเขาทำไม ว่าแต่จะให้ผมเป็นเงินสดหรือเป็นหุ้นครับ อ่าว พูดเล่นครับ ผมคิดว่าผมยังไม่พร้อมที่จะรับเงินก้อนนี้หรอกครับ เพราะคุณบอกมันจะไม่เข้ากระเป๋าส่วนตัวผมเลยไง มันเลยยังไม่ดึงดูดพอ

ส่วนในเรื่องภาค proprietary นี่ ยังไม่มี idea มากแฮะ เท่าที่ดูยังไม่เห็นปัญหาอะไร คงต้องสัมผัสให้มากกว่านี้ก่อน keng: วัฒนธรรมด้าน IT ของญี่ปุ่นเป็นอย่างไรบ้าง มีส่วนไหนที่น่าจะนำมาใช้ในบ ้านเรา

คำถามยากกกจัง วันฒธรรมด้าน IT ของญี่ปุ่น อืม ไม่รู้เหมือนกันแฮะ รู้แต่ว่า ชอบเว็บไซต์สไตล์ญี่ปุ่น มันดูแน่น ทว่าเรียบร้อยและสะอาด, วัฒนธรรมทั่วๆ ไปของคนญี่ปุ่นก็อย่างที่เรารู้ๆ กัน ขยัน, จริงจัง, มีจินตนาการสูง, รับผิดชอบ, ซึ่งเป็นสิ่งดีน่าเอาเยี่ยงอย่าง สิ่งไม่ดีก็อย่าเอามา ที่เห็นๆ มาทำไมการจุดประกายหลายๆ อย่างเกิดขึ้นที่ต่างประเทศ (Thaigate, Longdo etc.) เป็นเพราะสิ่งแวดล้อมหรือไม่?

เพราะว่ามีเวลา และมี IT infrastructure ที่พร้อมมั้งครับ ระหว่างที่เรียน หรือ วิจัย (โดยเฉพาะถ้ามีทุนสนับสนุน) มันก็มีเวลาและโอกาสที่จะทำในสิ่งที่ตนเองสนใจอยู่พอสมควร และ infrastructure มันก็พร้อมน่ะ computer, network อะไร ก็ใช้ของ lab ของสถาบันเอา. อยู่เมืองไทยรู้สึกกิจกรรมมันเยอะ และอีกอย่างถ้าต้องทำงาน เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ก็อาจจะมีเวลาเหลือน้อยกว่าตอนที่มีคนจ้างให้เรียน มั้งครับ weapon: เคยเป็นลูกค้าหนังสือ "สร้างอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ด้วยลีนุกซ์" อยากทราบว่า มียอดจำหน่ายกี่เล่มครับ กำไร อยู่ทุน หรือขาดทุนครับ

ขอบคุณครับที่ช่วยอุดหนุน :D ยอดพิมพ์ทั้งสองครั้งรวมแล้วอยู่ที่ 8,000 เล่มครับ ขายหมดไปนานแล้ว ต้องขอขอบคุณทางซีเอ็ดที่ให้โอกาส

ต้นทุนของการเขียนหนังสือเกือบทั้งหมดก็คือค่าแรงน่ะครับ ก็อยู่ที่ว่าจะคิดค่าแรงให้ตัวเองเท่าไหร่ ถึงจะคิดออกว่าได้กำไรหรือขาดทุน :D แต่ประโยชน์ที่ได้นอกเหนือจากตัวเงินนั้นผมว่าคุ้มครับ คือเอาไปโม้ชาวบ้านต่อได้ นี่หนังสือกูเองโว้ย อะไรเงี้ย sppong: ติดตามและใช้งาน dict.longdo.org มานานแล้วครับ เริ่มถามเลยนะครับ สถานการณ์ opensource ที่ญี่ปุ่นเป็นอย่างไรบ้าง ทั้งในวงการศึกษา วงการวิจัย และการใช้งานทั่วๆ ไปครับ

ผมว่ามีบทบาทมากนะครับ โดยเฉพาะในวงการศึกษาและวิจัย, ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย จำนวนมาก ก็เป็น open source และก็มีการใช้งานกันแพร่หลาย แต่ถ้าในวงการธุรกิจนี่ผมว่าปานกลางนะครับ อย่างที่บอกข้างบน ว่า ตอนอยู่เยอรมัน รู้สึกกระแสมันแรงกว่ามาก แนวความคิดการนำ opensource มาให้ผู้ใช้งานทั่วๆ ไปใช้ ควรจะเริ่มอย่างไร

คำตอบคล้ายๆ กับคำถาม 73,000 ล้านข้างบนครับ

ในส่วนของผู้ใช้ ก็ต้องยอมรับว่า ถ้าจะใช้ opensource ตอนนี้ก็ต้องขวนขวายมากหน่อย ต้องเข้าใจ พื้นฐานการทำงานของคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์มากนิดนึง ก็ต้องถ่วงน้ำหนักกันดูว่า เสียเวลาศึกษา นี่ประโยชน์ที่ได้จะคุ้มคว่ากว่าควักตังค์ซื้อ commercial software หรือเปล่า ความสำเร็จของ metamedia technology ตามการประเมินของคุณภัทระเอง อยู่ในระดับใด ทั้งใน ด้านการนำเสนอ solution ที่เน้น opensource ด้านเศรษฐกิจ (ผลกำไร) และด้านการยอมรับของผู้ ใช้ รวมทั้งมุมมองอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องครับ

อืม solution ที่เน้น open source นี่มีไม่ถึงครึ่งเลยครับ คือ ธุรกิจเราก็ต้องตามใจลูกค้า ก็พยายาม สนับสนุน open source เท่าที่ทำได้ครับ, การยอมรับจากผู้ใช้ อืม เท่าที่ดูก็ happy พอได้มั้ง ลองให้พวกเราได้รับใช้สักครั้งสิครับ (โฆษณาซะเลย :D) ในแง่เศรษฐกิจเพิ่งเปิดมา 6 เดือน ยังประเมิน ไรมากไม่ได้ เดี๋ยวขอเวลาสักพักนะครับ ถ้าอยู่รอดเกินปีได้มาว่ากันใหม่ champ: อยากทราบประวัติและวิธีการทำงานคร่าวๆ ของระบบ longdo ครับ เช่นว่า verify คำใหม่ที่ใส่เข้าไป อย่างไรว่าถูกต้อง ฯลฯ ใช้ longdo เป็นดิกตัวหลักในชีวิตครับตอนนี้ สะดวกมาก

ประวัติและวิธีการทำงานคร่าวๆ อ่านนี่เลยครับ http://www.mm.co.th/~pattara/papers/longdo-intech.pdf การ verify คำใหม่ที่ใส่เข้าไปก็ทำโดยอาสาสมั คร (ที่กำลังขาดแคลนอย่างหนัก) โดยดูว่า entry ไหนที่ไม่ผิด ก็ใส่เข้าไปได้ อันที่มีผิด ก็แล้วแต่ว่าจะแก้ให้ หรือว่า reject ไป แล้วแต่ความสาหัส. สรุปหรือขั้นตอนแบบธรรมดาๆ อะครับ ไม่ได้มีกระบวนวิธีทางภาษาศาสตร์อะไรเท่าไหร่ ขอบคุณที่อ่านมาจนจบครับ Metamedia ยินดีรับใช้ :D

Get latest news from Blognone

Comments

By: หน่อย SNC
ContributorAndroid
on 4 May 2006 - 18:03 #6515

:D

By: phutta
Android
on 5 May 2006 - 19:15 #6544
phutta's picture

เยี่ยมมากครับ ขอบคุณครับที่มีนำแนวคิด ของคนทำเว็บเล่าสู่กันฟัง ขอบอกว่าเป็นแฟนของเว็บ logdo ประจำเลยคับ :)

By: oakyman
ContributorAndroid
on 9 May 2006 - 10:50 #6650

แฟนลองดูเหมือนกันครับพี่อ๊อต