คุณคิดยังไงกับคือว่าOpen Source? สำหรับผมแล้วผม(โปรแกรมเมอร์ฝั่งClose Source)ผมรู้สึกว่ามันเป็นที่รวมของคนเก่งๆ อาจจะด้วยสภาพแวดล้อมในการพัฒนาที่ทุกคนต้องพยายามมากกว่าการCodingแบบปรกติ ความแพร่หลายที่น้อยกว่า(ความเห็นส่วนตัว)ทำให้คนที่จะมาอยุ่จุดนี้ได้ต้องแน่จริงๆเท่านั้น ส่วนตัวผมชอบคอมมูนิตี้ที่Open Sourceมีมากมันเป็นเหมือนสวรรคของโปรแกรมเมอร์ คุณสามารถมีทีมงานอยู่ได้ทั้วโลกสนใจในสิ่งเดียวกับคุณมันเป็นอะไรที่พิเศษ แต่ผมก็มีสิ่งที่ไม่เข้าใจอยู่เหมือนกัน(ผมไม่เคยเขียนOpen Sourceมาก่อน) โปรแกรมเมอร์เค้าอยู่ได้ยังไงในแง่ของรายได้ และภาษาที่เค้าใช้นอกจาก C Java C++แล้วเค้าใช้อะไร ถ้าช่วยยกตัวอย่างมาด้วยก็ดีคับ ผมอยากเห็นภาพการสร้างโครงOpen Source
ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกระทู้ไร้สาระ
ลองพยายามเขียน patch ส่งเข้า linux ดูสิครับ
ถ้าไปถึงจุดนั้นได้ ผมว่าก็แสดงความ "แน่จริง" ได้เหมือนกันนะ
lewcpe.com, @wasonliw
Os Linuxเข้าใข้อะไรพัฒนากันเหรอคับ
memtest: ตัว kernel เค้าใช้ C กันน่ะครับ ส่วนโครงการอื่นก็แล้วแต่ community นั้นๆ ว่าเค้าใช้อะไรกัน
pittaya.com
ความหมายของผมคือ ความเป็น Close Source ไม่ได้แสดงถึง "ความเก่ง" ของทีมพัฒนา ผมเห็นทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ Close Source หลายๆ ที่คุณภาพโค้ดก็แย่อย่างไม่น่าเชื่อ เทียบกับราคาค่าจ้าง ขณะที่่โครงการโอเพนซอร์สที่ได้รับความสนใจสูงๆ ส่วนใหญ่โค้ดจะมีคุณภาพค่อนข้างสูงมาก เพราะมีคนมาช่วยดูกันเยอะ ผมเคยอ่านแพตซ์ด้านความปลอดภัยหลายๆ ตัว แล้วได้แต่นั่งงงว่ามันเป็นบั๊กตรงไหน? นี่ยังไม่พวกแพตซ์พวก Portability ที่มีคนนับร้อยมาตรวจสอบว่าโค้ดไหนทำงานบนแพลตฟอร์มไหนได้ไม่ได้บ้าง ไปจนถึงแพตซ์พวก localize
ปิดประเด็นเรื่องความเก่งไม่เก่งไปเรื่องนึงนะครับ
โมเดลรายได้ จริงๆ เท่าที่เห็นคือการรับจ้าง Custom โปรแกรมที่เป็นโอเพนซอร์สให้กับหน่วยงานต่างๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ฺโอเพนซอร์ส ซึ่งมันคงไม่ต่างจากการรับจ้างเขียนโปรแกรมทั่วๆ ไป แต่สิ่งที่ได้คือเราไม่ต้อง reinvent the wheel เพื่อสร้างส่วนต่างๆ ใหม่ทั้งหมด เช่นเราต้องการ CMS ที่มีความสามารถพิเศษ เราก็แค่โหลด Drupal แล้วแก้ไขตามที่เราต้องการ ทำให้การพัฒนาน้น ถูกกว่า เร็วกว่า และดีกว่า (ถ้าเลือกใช้อย่างถูกต้อง)
ข้อด้อยที่ธุรกิจส่วนใหญ่ไม่ชอบคือ การที่ผู้จ้างโค้ดส่วนเพิ่มเติมนั้นต้องเปิดซอร์สส่วนที่พัฒนาเพิ่มกันต่อไป (ขึ้นกับไลเซนส์ของโครงการที่นำมาดัดแปลง) แต่เราก็อาจจะมองเป็นข้อดีได้ โดยเฉพาะเมื่อโค้ดส่วนเพิ่มเติมนั้นได้รับการรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของโครงการต้นน้ำ ซึ่งจะทำให้มีคนมาช่วยดูแลโค้ดที่เราเขียนกันต่อไป โดยที่เราไม่ต้องมานั่งดูแลโค้ดเอง
ต่อเรื่องภาษา
ความเป็นโอเพนซอร์สกับภาษาโดยมาแล้วจะแยกจากกันค่อนข้างชัดเจน แต่จะมีเทรนที่ต่างจากซอฟต์แวร์ปิดซอร์สอยู่พอดู อย่างเช่น ความนิยมใน Ruby on Rails ที่ค่อนข้างเพิ่มขึ้นมากช่วงหลัง แต่ฝั่งปิดซอร์สยังไม่ค่อยเห็นเท่าใหร่
ถ้าอยากเห็นภาพโดยรวมๆ จุดที่น่าเริ่มก็เป็นเว็บอย่าง Freshmeat ที่เป็นแหล่งรวมโปรแกรมโอเพนซอร์สที่ออกใหม่ ------ LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำของคุณ lew มากคับ ทำให้เห็นภาพมากขึ้นเลยทีเดียว สุดท้ายแล้วไม่ว่าเราจะต้องทำงานในฝ่ายใหน สิ่งที่เราทุกคนต้องทำเหมือนกันก็คือการพัฒนา Go to Development!