Tags:
Node Thumbnail

BSA (Business Software Alliance) กลับมาอีกแล้ว คราวนี้นอกจากจะจับซอฟต์แวร์เถื่อนแล้ว BSA ยังเริ่มหันมาจับฟอนต์เถื่อนด้วย

บริษัทที่โดนแจ็คพ็อตในคราวนี้คือ Campden Publishing บริษัทสิ่งพิมพ์ในลอนดอน ซึ่งแจ้งว่าใช้งานฟอนต์เพียงฟอนต์เดียวเท่านั้น แต่จากการตรวจสอบของ BSA (เค้าใช้คำว่า audit เหมือนบัญชี) พบว่ามีฟอนต์ละเมิดลิขสิทธิ์ถึง 11,000 ตัว มีมูลค่ารวมกันถึง 80,000 ปอนด์ (คูณกันเอาเองนะ)

แถวนี้มีคนจาก f0nt.com เข้ามาอ่านเยอะ แนะนำว่าหาความรู้เรื่องลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา พวกนี้ติดหัวไว้เป็นอันดีครับ

ที่มา - The Register

Get latest news from Blognone

Comments

By: foxhound on 29 June 2006 - 13:38 #7640

กฎหมายไทยไม่ถือว่าฟ้อนมีลิขสิทธิ์นะครับ เพราะแบบอักษรเป็นลิขสิทธิ์ของพ่อขุนรามคำแหง สองปีก่อนมีบริิษัทเอกชนแห่งหนึ่งหัวหมอพาตำรวจไปจับโรงพิมพ์ต่างๆโดยมีข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ฟ้อน เป็นเรื่องราวใหญ่โต ตอนหลังสรุปว่า ลิขสิทธิ์ฟ้อนถือว่ามิใช่ลิขสิทธิ์ของบุคคลใดบุคคลหนึ่งครับ ฟ้องไม่ได้

By: DrRider
WriterAndroid
on 29 June 2006 - 13:51 #7641
DrRider's picture

อ๊ะๆ แต่ถ้ามองว่าฟอนต์เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่แบบอักษร เพราะว่าจำเป็นต้องเขียนชุดคำสั่งเพื่อควบคุมให้แสดงผลตัวหนังสืออย่างที่ต้องการ สามารถเอาผิดได้นะครับ อย่าลืม

(เรื่องนี้จะไปโผล่ที่ biolawcom.de ด้วยหรือเปล่า) :D


We need to learn to forgive but not forget...

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 29 June 2006 - 14:16 #7642
lew's picture

foxhound - ผมจำได้ว่าเรื่องนี้จบลงที่ฟอนต์มีลิขสิทธิ์นะครับ ไม่ทราบว่าคุณ foxhound อ้างอิงจากไหนครับ ------ LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: tong053
Android
on 29 June 2006 - 14:41 #7643
tong053's picture

แล้วเค้าจะจับ tahoma ใน linux มั้ยอะครับ

By: foxhound on 29 June 2006 - 14:50 #7644

รายละเอียดคำถาม : อยากทราบว่าลิขสิทธิ์ FONT PSL มีการจดลิขสิทธิ์แล้วหรือไม่ เพราะได้รับทราบข่าวมาว่า หลังจากกรณีพิพาทเรื่องลิขสิทธิ์ FONT PSL ที่มีการจับกุมเกิดขึ้นและเป็นเรื่องฟ้องร้องกันอยู่ อีกทั้งยังมีการเรียกปรับย้อนหลังด้วย และยังเคยได้ทราบว่า ท่านเนวิน ชิดชอบ เคยกล่าวว่าตัวอักษรหรือ Font ของไทย ไม่สามารถจดเป็นลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร หรือเป็นเจ้าของได้ จึงอยากทราบว่าเท็จจริงเป็นอย่างไร ลักษณะและรูปแบบของตัวอักษรไทย หรือที่เรียกว่าฟอนต์ (Font) นั้น สามารถจดลิขสิทธิ์เป็นเจ้าของได้หรือไม่ ผู้ถาม : ทรงเกียรติ ภัทรนิรันดร์กุล 18/3/2548 14:57:36

คำตอบ : โดยหลักการแล้ว "ฟอนด์" มีสองส่วน กล่าวคือ ส่วนที่เป็นรูปแบบตัวอักษร (typerface) ที่ปรากฎอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ และส่วนที่ทำให้เกิดรูปแบบตัวอักษรบนจอเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในงานพิมพ ์ต่างๆ ในส่วนของรูปแบบตัวอักษรที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปที่ไม่มีลักษณะการสร้างสรรค์ ที่เพียงพอนั้นไม่ถือเป็นงานที่กฏหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครอง เพราะตัวอักษรภาษาไทยเป็นสมบัติสาธารณะที่ทุกคนมีสิทธิใช้ ผู้หนึ่งผู้ใดจะหวงกันไม่ให้บุคคลอื่นใช้ไม่ได้ แต่หากรูปแบบตัวอักษรดังกล่าวได้มีการสร้างสรรค์หรือทำให้เกิดรูปแบบหรือลวด ลายจนถึงระดับที่เพียงพอก็อาจได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย สำหรับส่วนที่ทำให้เกิดรูปแบบตัวอักษรบนจอเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น หากมีลักษณะเป็นคำสั่งหรือชุดคำสั่งต่างๆ ซึ่งมีระดับการสร้างสรรค์ที่เพียงพอ และนำไปใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ได้รับผลเป็นตัวอักษรตามความมุ่ งหมายของการใช้ คำสั่งหรือชุดคำสั่งดังกล่าวจะถือเป็นงานสร้างสรรค์ประเภทโปรแกรมคอมพิวเตอร ์ ซึ่งเป็นงานวรรณกรรมอย่างหนึ่งที่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ดังนั้น ผู้ประกอบการหรือผู้ใช้ทั่วไปจึงควรระมัดระวังในการใช้ฟอนด์ ซึ่งหากการใช้ฟอนด์จะต้องมีการดึงส่วนของคำสั่งหรือชุดคำสั่งที่เป็นโปรแกรม คอมพิวเตอร์มาใช้ในการพิมพ์งานก็จำเป็นต้องจัดหาฟอนต์ที่ได้มาอย่างถูกต้องม าใช้เพื่อป้องกันปัญหาการจับกุมดังที่ได้กล่าวข้างต้น คำแนะนำในการใช้ฟอนต์ 1. การจัดหาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาใช้งานภายในองค์กร จะต้องจัดหาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้องตามกฎหมายจากผู้แทนจำหน่าย และจะต้องปฏิบัติตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามที่เจ้าของลิขสิทธิ์กำหนดด้วย เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่ธุรกิจของผู้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ นั้น 2. ทุกคนมีสิทธิใช้รูปแบบตัวอักษรที่มีอยู่ทั่วไปซึ่งอาจเหมือนหรือคล้ายคลึงกันได้ แต่ไม่สามารถนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บรรจุฟอนต์ตัวอักษรซึ่งสร้างสรรค์โดยบุ คคลอื่นมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต 3. การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ซื้อควรระมัดระวังโดยตรวจสอบมิให้มีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ละเมิดติดมากับเคร ื่องคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา และควรขอหนังสืออนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (license Agreement) ทุกครั้งจากผู้ขายเมื่อตกลงซื้อขายโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าได้รับสินค้าที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง

อ้างอิงจาก

http://61.19.225.226/ipthai/copyright/question.asp?id=847

ลองไปค้นดูปรากฎตามข้างต้นครับ ขออภัย ข้อมูลอันแรกเพี้ยน

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 29 June 2006 - 14:59 #7645
lew's picture

tong053 - tahoma นั้นเป็นฟอนต์ที่ทางไมโครซอฟท์อนุญาติให้แจกจ่ายได้โดยไม่แก้ไขตัวไฟล์ครับ

ทางฝั่งลินุกซ์เลยใช้แทคติกสร้างตัวอ่านไฟล์พวกนี้ขึ้นมาได้

คำตอบที่รู้กันโดยทั่วไปคือไม่จับครับ แต่ห้ามไปแจกตัวไฟล์ตรงๆ อย่างไปก็อป tahoma.ttf ไปให้เพื่อนนี่ผิดตาม License Agreement ของไมโครซอฟท์ครับ ------ LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: iannnnn
WriterAndroid
on 29 June 2006 - 15:08 #7646
iannnnn's picture

เรื่องลิขสิทธิ์ของฟอนต์ไทยกำลังจะกลับมาเป็นเรื่องอีกแล้วครับ งานนี้พี่ใหญ่ในวงการสร้างสรรค์ฟอนต์โดดลงมาร่วมเดือดร้อนด้วยเลย ลองคลิกไปอ่านที่ ฟ๐นต์ฟ๐รั่มครับ


@iannnnn

By: tvchampion on 29 June 2006 - 22:56 #7656

PSL เริ่มไล่จับ font มาสักพักแล้วเหมือนกันครับ บริษัทใหญ่ๆ หลายแห่งในไทย โดนไปเยอะแล้วครับ วิธีเช็คของเขาก็่ง่ายๆ เปิดเว็บคุณดู ถ้าเจอฟอนท์ ยอดฮิต อย่าง PSL Kittithada หรือ font PSL อื่่นๆ เดี๋ยวเขาก็มาโทรมาสวัสดีคุณเองครับ