ถึงแม้สงครามฟอร์แมตยุคหลัง DVD ระหว่าง Blu-Ray กับ HD-DVD จะยังไม่ได้ข้อสรุป แต่นักวิทยาศาสตร์ก็เริ่มสร้างแผ่นดิสก์ในอนาคตยุคถัดจากนั้นไปแล้ว
ทีมของศาสตราจารย์ Venkatesan Renugopalakrishnan แห่งฮาวาร์ด ร่วมกับบริษัท NEC ได้โชว์ผลงานดิสก์แผ่นใหม่ที่ใช้วัสดุทำมาจากโปรตีน bacteriorhodopsin (มันคืออะไรก็ไม่รู้เหมือนกันนะ) ซึ่งมีความสามารถในการดูดรับแสง และเก็บไว้ในรูปแบบโครงสร้างทางเคมีได้ แผ่นแบบใหม่จะมีความจุได้ถึง 50 TB (50,000 GB)
ความจุที่เพิ่มขึ้นย่อมต้องใช้ความยาวคลื่นในการอ่านที่สั้นลง ของ DVD ใช้ความยาวคลื่น 650 nm สำหรับ HD-DVD และ Blu-Ray ใช้ 405 nm แผ่นใหม่นี้ยังไม่สรุปว่าใช้เท่าไร (แต่ต้องน้อยกว่า 405 อยู่แล้ว)
ทางทีมงานคาดว่าจะสร้างแผ่นที่ใช้งานจริงๆ ได้ อีกประมาณปีครึ่งถึงสองปีนับจากตอนนี้
ที่มา - Ars Technica
Comments
ใช้โปรตีนแล้วมันจะทนหรือเปล่าครับ
ถ้าแบคทีเรียมันตาย ข้อมูลจะหายไหมครับ...
ใช้เสร็จต้องเอาแผ่นไปแช่ตู้เย็นเปล่าเนี่ย กันเสีย เหอๆ
iPAtS
จะมีโอกาสกลายพันธุ์ของข้อมูลไหมเนี่ย..
กว่าจะ write แผ่นเสร็จแต่ละทีต้องรอกี่วันเนี่ย? จุเยอะขนาดนั้น
ด้วยพลังของระบบเครือข่าย คาดว่าตอนนั้นซื้อมาติดคงเต็มในเวลาไม่นาน เอิ๊กกกกกกกกกกก
rhodopsin เป็นโปรตีนรับแสง เหมือนที่มีอยู่ในตาของเราแล้วทำให้เราเห็นภาพไงคับ แต่มันมาจากแบคทีเรีย สงสัยจะ้ต้องทำ GMOs แหงๆ แล้วจะมีใครมาถือป้ายประท้วงมั้ยนะว่า "We want true Rhodopsin not GMOs Rhodopsin" หรือ เอาแบคทีเรียของเราคืนมา อะไรเถือกนั้น
เดี๋ยวเรามาช่วยทำแผ่นเก็บข้อมูลด้วย จุลินซีแลคโตบาซิลัส กันมั่งมะคับ หรือทำใส่ขวดพลาสติกเล็กๆฝาเป็นฟลอยสีน้ำเงินดีหว่า
Nozomi
ไม่ต้องห่วงหรอครับ พวกโปรตีนสังเคราะห์อย่าง Human insulin เดี๋ยวนี้ผลิตจาก bacteria ทั้งนั้นแหละ เรื่อง GMO ของแบคทีเรียเพื่อผลิตสารที่ต้องการมีมานานมากซะจนไม่มีใครสนใจแล้ว :D แต่ Rhodopsin ที่ได้มาจาก GMO อาจจะมีอัตราการเสื่อมหรือ half-life นานกว่าของธรรมชาติก็ได้ เลยเอามาใช้เก็บข้อมูลไง
แต่สงสัยเหมือนกันว่าจะใช้ได้นานเท่าไหร่ เพราะเป็นสาร organic ที่พอโดนแสง โครงสร้างเคมีก็เปลี่ยนไป งี้เกิดโดนแสงธรรมชาติ ที่บังเอิญมีความยาวคลื่น specific รวมอยู่ด้วยคงแย่ อาจจะต้องมีป้าย "Keep out of light" อิอิ
We need to learn to forgive but not forget...