ใน DVD นั้นใช้การเข้ารหัสเนื้อหาที่เรียกว่า CSS (คนละอันกับที่ใช้ทำเว็บ ย่อมาจาก Content-scrambling system) ซึ่งมันโดนแกะได้ง่ายมาก ถ้าใครยังจำข่าว DVD Jon ได้คงจะนึกออกกัน ในแผ่นยุคถัดมาจึงใช้การเข้ารหัสแบบใหม่ที่เรียกว่า AACS ซึ่งทางผู้ผลิตภูมิใจกับมันมาก (แผ่นทั้งสองแบบใช้ AACS เหมือนกัน)
แต่การเข้ารหัสภาพทุกชนิดย่อมมีจุดอ่อนตรงที่ภาพมันต้องออกจากจอ วิธีแก้ไขก็ลุยมันถึกๆ PrintScreen มันเลยครับ
หนังสือคอมในเยอรมนีชื่อ c't ได้ทดลองวิธีนี้กับทั้ง HD DVD และ BluRay โดยเล่นผ่านโปรแกรม WinDVD ซึ่งเขียนสคริปต์ให้ PrintScreen ทุกเฟรม ซึ่งแต่ละเฟรมเป็นภาพขนาด 2 เมก ถ้าเป็นหนังยาว 90 นาที เฉพาะภาพก็ต้องใช้เนื้อที่ 300 กว่า GB ในการเก็บ ส่วนเสียงต้องบันทึกแยกต่างหากแล้วค่อยมาซิงก์กันใหม่ วิธีนี้คงเป็นไปได้ยากถ้าจะทำใช้กันจริงๆ เพียงแต่ใช้พิสูจน์ว่า "แกะได้แล้ว"
โตชิบารับทราบปัญหานี้แล้ว และระบุว่าในเวอร์ชันถัดๆ ไป ตัวไดรเวอร์และซอฟต์แวร์จะป้องกันการ PrintScreen มาในตัว
ที่มา - Ars Technica
Comments
"คนละอันกับที่ใช้ทำเว็บ ย่อมาจาก Content-scrambling system"
อันที่ใช้ทำเว็บใช่ไหมครับ ที่ชื่อเต็มๆคือ Content-scrambling system :)