อเมซอน ยักษ์ใหญ่แห่งวงการอีคอมเมิร์ซ เข้าซื้อกิจการบริษัท Kiva Systems ด้วยเงินสดมูลค่า 755 ล้านเหรียญสหรัฐ
Kiva Systems นั้นเป็นบริษัทผลิตหุ่นยนต์และระบบที่ใช้สำหรับจัดการคลังสินค้าด้วยแนวคิดที่ว่า "ให้สินค้าเคลื่อนที่แทนพนักงาน" โดยเจ้าหุ่นตัวเล็กนี้จะทำหน้าที่วิ่งไปตามพื้นที่มีบาร์โค้ดอยู่ แล้วนำสินค้าที่ระบุไปส่งให้กับพนักงานเพื่อทำการตรวจสอบและบรรจุต่อไป ซึ่งการทำงานทั้งหมดนี้เร็วกว่าเดิม 2-4 เท่า (ดูวิดีโอได้ท้ายข่าว)
ลูกค้าของ Kiva Systems นั้นก็มีทั้ง Zappos, Toys "R" Us และ Timberland
ในปีที่ผ่านมา อเมซอนจ่ายค่าขนส่งสินค้าไปกว่า 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ การประหยัดเวลาเพียงน้อยนิดก็ช่วยประหยัดเงินให้กับอเมซอนได้อีกมากมาย
ที่มา - Masable, TechCrunch
Comments
เจ๋งแฮะ
..: เรื่อยไป
นี่มันหุ่นยนต์เดินตามเส้น ที่เคยหัดทำสมัยเรียนนี่นา!
ไม่ใช่นะครับ หัวใจสำคัญของความสำเร็จของ Kiva system (พูดเป็นหุ่นยนต์ตัวเดียวไม่ได้) คือระบบการทำงานร่วมกันของหุ่นยนต์ Cooperative Control ที่ซับซ้อนครับ เจ้าของบริษัทเป็นคนคิด ส่วนคนสร้างหุ่นเป็นที่ปรึกษาทีม Robocup ที่ชนะเลิศหลายปีติดกัน
ลองดูอันนี้นะครับ
Kiva Systems จาก Robocup สู่ธุรกิจ
ผมไม่แน่ใจว่าคุณแย้งในประเด็นไหนนะครับ เพราะผมพูดว่ามันคือหุ่นยนต์เดินตามเส้น หมายถึงว่าหุ่นยนต์นี่มันมีรากฐาน คล้ายคลึงกับระบบง่ายๆที่ใช้ในการสอนนักศึกษาวิศวกรรม ในเรื่องของmicrocontroller(ที่จะแทรกอยู่ใรวิชา Microprocessor) นั่นเอง สมัยผมเรียน หลักการคือให้build from scratch ทุกส่วน ออกแบบวงจร ระบบขับเคลื่อน ระบบ sensor รวมไปถึงเขียนโปรแกรมควบคุมเอง ซึ่งแต่ละรุ่นก็จะมีโจทย์ทางเดินต่างๆกัน ทั้งแบบเดินตามเส้นง่ายๆ เดินตามเส้นแบบมีจุดตัด หรือหาทางออกจากเขาวงกต ซึ่งก็มีบางคนลักไก่ไปซื้อระบบสำเร็จรูปมารวมร่างกันก็มี สมัยนั้นเขียนโปรแกรมทีนั่งอัดชิปทีมึนกันไป ปรับแต่ง sensor กับคิด algorithmในการแยกแยะเส้นทาง นี่แหละยากสุด ยุคหลังๆดีมีระบบสำเร็จรูปให้ใช้เรียน และเขียนโปรแกรมลองบนsimulator ด้วยภาษาชั้นสูงได้ง่ายๆค่อยอัดชิปจริงทีเดียว
ซึ่งตัวระบบ Kiva แน่นอนมันย่อมซับซ้อน มีการคำนวณร่วมกัน ควบคุมหุ่นทุกตัวพร้อมๆกัน มันคงไม่ใช่อะไรง่ายๆพื้นฐานแบบสมัยนักศึกษาหัดทำ เพียงแต่ผมจะชี้ประเด็นว่า ของที่ดูพื้นฐานสุดๆทำกันสมัยเรียน แต่เมื่อต่อยอดองค์ความรู้ไปแล้ว มันก็สามารถไปใช้ในเชิงธุรกิจได้อีกหลายรูปแบบนั่นเอง ตัวอย่างของ Kiva น่าจะเป็นตัวอย่างจริงที่น่ายกตัวอย่างบ่อยๆ
ซึ่งมันอาจจะจุดประกาย ในการเลือกเรียนของน้องๆในอนาคตได้อีก เพราะระบบ automation พวกนี้จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อลดคนงานจากค่าแรงที่สูงขึ้น พัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานจากการลดความผิดพลาดของคนลงไป คนไทยที่ศึกษาระบบพวกนี้โดยตรงยังมีน้อย เคยเห็นบ.เอกชนที่นึงยังต้องให้ทุนวิศวกรไปศึกษาต่อระดับป.โทและเอก ที่ต่างประเทศในด้านนี้ เพื่อมาประยุกต์ใช้ระบบที่ซื้อมาจาก Xyratekในโรงงานตัวเองเลยครับ
คือ Kiva มันไม่ใช่หุ่นยนต์เดินตามเส้นนะครับ (จริงอยู่มันเดินบนบาร์โค้ด แต่บาร์โค้ดใช้บอกตำแหน่งแทนกล้อง) มันเป็นระบบที่ใช้แทนสายพานลำเลียง เริ่มต้นจากการควบคุมแบบทำงานร่วมกันของหุ่นยนต์หลายตัว เพื่อให้มันทำงานได้เร็วกว่าการใช้สายพานลำเลียง มันจึงไปเหมือนกับระบบของ small-size robocup ที่เป็นการแข่งขันหุ่นยนต์ขนาดเล็กมากกว่าครับ แนวคิดมันจึงไม่ใช่หุ่นยนต์เดินตามเส้นครับ
ถ้าเดินทะเล่อทะล่าเข้าไป มันจะชนเราคว่ำไหมเนี่ย?
ไม่หรอกครับ มันจะหยุดเดินครับ มีเซนเซอร์ตรวจ ตามโรงงานในไทยก็มีวิ่งกันเยอะแยะเพียงแต่ไม่เป็นเน็ตเวิคขนาดใหญ่แบบนี้ครับ
ลดแรงงานคนจัดของได้ แต่เพิ่มค่าแรงหุ่นยนต์เข้าไปแทน ต่อไปหุ่นยนต์ทำงานแทนคนทั้งหมดนี่ก็อีกไม่นานแล้ว
พวก วิศวะซ่อมหุ่น บูมมาแทนครับ
น่าจะมีวิชาซ่อมหุ่นในระดับ ปวช. ปวส. แบบเดียวกับมอเตอร์ไซด์
I need healing.
น่ารักอ่า
แต่ถึงกับต้องซื้อกิจการกันเลย คราวนี้พนักงานตกงานกันเป็นแถบ
ส่วนคนก็ต้องหันไปเอาดีในงานที่หุ่นทำไม่ได้แทน
ก็เป็นไปตามกลไกครับ
เมื่อก่อนงานแฮนเมดหลายๆอย่าง ก็ถูกแทนที่ด้วยเครื่องจักร คนตกงานเป็นแถบ
เครื่องจักรพัฒนาเท่าคน คนก็ต้องพัฒนาให้ล้ำหน้ากว่าเครื่องจักรครับ ไม่งั้นอยู่ไม่ได้
Technology is so fast!