เมื่อวันที่ 13 มีนาคมที่ผ่านมาคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ซึ่งเป็นบอร์ดเล็กฝั่งโทรคมนาคมของกสทช. ได้มีมติไม่อนุมัติให้บริษัท อินโฟเน็ท (ประเทศไทย) จำกัด เพิ่มอุปกรณ์ Media Gateway เนื่องจากเป็นการเพิ่มความสามารถในการส่งข้อมูลเสียงทำให้สามารถให้บริการเสียงระหว่างประเทศได้ และจะกระทบต่อผู้ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ
บริษัท อินโฟเน็ท (ประเทศไทย) จำกัด เป็นผู้ถือใบอนุญาตประเภทที่สอง คือ ใบอนุญาตให้บริการโทรคมเฉพาะกลุ่ม แม้จะติดตั้ง Media Gateway แต่ก็น่าจะเป็นบริการที่ใช้ในวงจำกัด อาจจะอยู่ในหน่วยงานเท่านั้น แต่กทค. ก็ยืนยันว่าการการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ จะต้องให้ขอใบอนุญาตประเภทที่สาม คือ กลายเป็นผู้ให้บริการสำหรับคนจำนวนมาก
น่าสนใจว่าการใช้งานปรกติ เครือข่ายโทรคมนาคมทั่วไปทุกวันนี้สามารถรองรับข้อมูลเสียงได้อยู่แล้ว เหตุผลการไม่ให้ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมด้วยเหตุผลว่าจะกระทบต่อผู้ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศนั้นอาจจะเป็นเหตุผลที่เป็นปัญหาในทางเทคนิค เพราะไม่เช่นนั้นเครือข่ายใดๆ ที่มีค่า latency ต่ำๆ ก็อาจจะให้บริการเสียงได้ทั้งสิ้น
อนาคตหากบริษัทใดจะใช้ Google Talk หรือ Skype ประชุมงานจะต้องขอใบอนุญาตเฉพาะจากกสทช. อีกไหม?
ที่มา - NBTC
Comments
อยู่
^
^
that's just my two cents.
หืม? การ Skype ไปต่างประเทศ ต้องขอกสทช. เนื่องจากเป็นการส่งข้อมูลเสียงไปต่างประเทศไหม?
ชื่อเรื่องตกสระ เ- ครับ "เสียง"
อ่านแล้ว ผมสงสัยว่า ในกรณีนี้คือ เป็นการขออนุญาติติดตั้งอุปกรณ์แบบไหน?
1. Router ที่รองรับ VOIP traffic (ผ่านเฉยๆ อาจมี QoS ให้ VOIP ซึ่งอุปกรณ์ทุกวันนี้ก็ทำได้กันอยู่แล้ว) หรือว่า
2. เป็น Gateway convert analog/ISDN call to digtal(VOIP) หรือว่า
3. เป็นพวก VOIP Gateway (VOIP end-to-end)
คิดว่าไม่น่าใช่ 1 เพราะไม่งั้นงานเข้ากันเยอะแน่ๆ แต่ 3 นี่นับด้วยมั้ย เพราะมันก็เป็นแค่ VOIP Call Routing?!? แต่มัน 1 กับ 3 มันก็อาจจะเป็นอุปกรณ์ตัวเดียวกันได้ หรือแค่มีการ upgrade ภายในเล็กน้อยเท่านั้นเอง ดูจากหน้าตาหรือรุ่นก็อาจจะดูไม่ออก
"อนาคตหากบริษัทใดจะใช้ Google Talk หรือ Skype ประชุมงานจะต้องขอใบอนุญาตเฉพาะจากกสทช. อีกไหม?"
ถ้ารู้ก็จะห้ามครับ
ออกกฏเพื่อปกป้องผู้ให้บริการ ช่วยสูบเงินจากผู้บริโภคอย่างเราๆง่ายขึ้น
ก็ไม่แปลกนี่นา
บริษัท อินโฟเน็ท เป็นผู้ให้บริการ จึงต้องมีกรอบกติกา บ.ทั่วไปไม่น่าจะอยู่ในกรอบพิจารณา ผมว่า กทค.ทำหน้าที่okอยู่
ผมว่าน่าจะเป็นกรณีที่แปลงสัญญาณต้นทางที่ผู้ใช้โทรออกด้วยโทรศัพท์พื้นฐานหรือ mobile ไปเป็นสัญญาณ VOIP ที่ผ่าน Internet ได้ (ทั้งนี้ที่เน้นต้นทางเพราะรูปแบบการคิดค่าใช้จ่ายปกติจะเก็บจากต้นทาง ดังนั้นปลายทางจะเป็นอุปกรณ์อะไรจึงไม่ค่อยมีผลมากนัก)
ส่วนกรณีที่ต้นทางเป็น Voip อยู่แล้ว เช่น คุยกันผ่าน Skype ก็ไม่น่ามีปัญหาแต่อย่างใดจากกรณีนี้
มุมมองของผม ต่อให้เป็น gateway ออกโทรศัพท์จริง แต่ใช้ภายในองค์กร ก็ควรทำได้ครับ ไม่ได้ไปให้บริการแข่งกับผู้ให้บริการโทรศัพท์ที่ไหน
lewcpe.com, @wasonliw
จริงๆ แล้วถือว่าทำให้รายได้บางส่วนลดนะครับ
อย่างบริษัทผม การโทรฯ หากันผ่าน site ก็ใช้บริการของ ... อะไรสักอย่าง
อยู่คนละจังหวัดแต่กดโทรหากันเป็นเบอร์ภายในได้เลย