ผมกำลังทำ datacenter สำหรับ รพ. ในกลุ่มของจังหวัด ขอคำแนะนำทีครับ
ปัญหาก็คือ เมื่อผู้ป่วยไปรับบริการที่ รพ. ก รพ.ก ก็อยากทราบว่า เค้าเคยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลใหนมาบ้าง
หรือรับยา รับการตรวจอะไรบ้าง เพื่อป้องกันการรับยาซ้ำซ้อนซึ้งอาจเกิดอันตรายถึงชีวิต และปัญหาอืนๆอีกมากมาย
โจทย์ก็คือ ทำ webservice ที่ให้บริการข้อมูล การรับบริการของผู้ป่วย เช่น ข้อมูลพื้นฐาน ชื่อ นามสกุล ,ที่อยู่,ข้อมูลการรับบริการ เช่น ยา หรือ ข้อมูลการตรวจ lab, x-ray เป็นต้น โดยที่ตัว webservice ต้องสามารถให้บริการกับ ระบบแต่ละโรงพยาบาลได้ เช่น บางรพ. อาจพัฒนาด้วย foxpro , c#.net ,php หรืออื่นๆ ซึ่ง webservice จะให้บริการดังนี้
1. สามารถค้นหาข้อมูลได้
2. สามารถส่งข้อมูลเข้าไปบันทึกได้
3. แก้ไขข้อมูลได้
3.โปรแกรมของแต่ละรพ. สามารถเรียกข้อมูลไปใช้งานได้
ปัญหาอีกอยางก็คือเวลาพัฒนาระบบเก็บข้อมูลต่างๆของรพ.(ซึ่งมีอยุ่เยอะมากๆ)ต้องใช้ฐานข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย พวกชื่อ นามสกุลหรือข้อมูลการเข้ารับบริการต่างๆ ซึงเค้ามีอยู่แล้วในฐานของรพ.นั้นๆ แต่ถ้าหากสร้างระบบอะไรขึ้นมาซักอย่างที่ใช้ร่วมกันหลายรพ.(WebApplication) เค้าต้องมากรอกข้อมูลพื้นฐานนี้อีกครั้ง ซึ่งมันเป็นภาระงานอย่างมาก อย่างที่รพ.ผม ผู้ป่วย วันๆหนึ่งเฉลี่ย 3000 คนต่อวันก็เลยเป็นที่มาว่าอยากมีฐานข้อมูลก้อนนึง ที่เก็บข้อมูลไว้เป็นส่วนกลางให้ รพ.ต่างๆสามารถส่งข้อมูลเข้ามา หรือ ดึงข้อมูลไปใช้งานต่างๆได้ ที่ผมคิดไว้คือ เป็น webservice ผมได้เลือก SOAP เพราะผมพัฒนาระบบด้วย php และสามารถนำ webservice นี้ไปใช้กับ ภาษาอะไรก็ได้ที่สามารถใช้งาน webservice ได้ครับ..
หลักการทำงานของ datacenter
ให้บริการข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลการรับบริการของผู้ป่วย ถ้าหากค้นในระบบแล้วไม่มีให้สามารถไปดึงข้อมูลจากฐานรพ.ต่างๆมาเก็นใน datacenter ได้ เพื่อให้บริการกับ webApplication ต่างๆที่ต้องใช้ข้อมูลพื้นฐาน (datacenter เก็บแค่ข้อมูลที่จำเป็นที่สุดเท่านั้นและมีโครงสร้่างมาตรฐานที่กระทรวงได้ออกแบบมาแล้ว เช่น 18 แฟ้ม 21 แฟ้ม )
คำถามก็คือ
1.ผมควรทำ webservice ไปติดตั้งไว้แต่ละโรงพยาบาล แล้วให้ ตัว datacenter ไปอ่านข้อมูลจาก websevice นั้น เพื่อนำมาเก็บไว้ใน datacenter(วิธีนี้หาก datacenter ต้องการข้อมูลก็สามารถเข้าไปดึงข้อมูลได้เลย)
2.หรือทำ webservice ไว้ที่ตรง datacenter เลย แล้วเปิดให้บริการ ซึ่งจะสามารถส่งข้อมูลหรือเรียกข้อมูลไปใช้งานได้ (วิธีนี้ต้องให้ทางรพ.เป็นคนส่งข้อมูลมา เช่น สร้างปุ่มส่งข้อมูล มาที่ datacenter )
ผมอาจจะอธิบายได้ไม่ดีนัก ขอคำแนะนำหน่อยครับหรือใครมีวิธีอื่นช่วยแนะนำทีครับ ขอบคุณสำหรับทุกความเห็นครับ..
ผมเคยสนใจทำโครงการลักษณะนี้มาก่อนนะครับ ตอนนี้ก็ยังสนใจแต่ยังไม่มีแรงใจ ฮ่าๆๆๆๆ
ไม่ทราบว่าพอจะบอกผมได้หรือไม่ว่าท่านทำงานที่โรงพยาบาลไหนครับ?
งานลักษณะนี้มีเรื่องของความปลอดภัยของข้อมูลและระบบ ซึ่งรวมถึงข้อกฎหมายด้วย ซึ่งทำให้ยากที่จะทำให้เป็นจริงได้ในเวลานี้ แต่หากได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อาจจะทำให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้เหมือนอย่างรัฐแมสซาชูเซตส์ของอเมริกาที่รัฐเป็นผู้สนับสนุนโครงการ
ในประเทศไทยที่พอจะมีทำคล้ายกันก็เป็นของ โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งทำกับสถานพยาบาลในเครือของตัวเองเท่านั้น
ส่วนวิธีการตามความเห็นของผม ผมเลือกข้อ 1 เพราะจะสะดวกต่อการค้นหาและข้อมูลที่ได้จะเป็นข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน แต่คงจะมีความลำบากในการติดตั้ง ส่วนวิธีที่ 2 ผมไม่ได้เลือกแต่วิธีนี้น่าจะได้รับการเห็นด้วยจากโรงพยาบาลต่างๆได้ง่ายกว่า แต่คุณภาพของข้อมูลอาจจะไม่เหมือนกับวิธีที่ 1
สู้ๆนะครับ
งานโรงพยาบาลก็มีความสำคัญนะครับ ถ้าอยากให้ระบบมีความถูกต้องสูงลองถามคุณ PapaSEK ดูครับเพราะว่าเค้าทำงานด้านระบบคลังสินค้าซึ่งจะเชียวชาญเรื่องการจัดการข้อมูลสินค้าอย่างลัดกลุมและแม่นยำ
ผมทำงานที่ รพ.ขอนแก่นครับ
ส่วนเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลผมเข้าใจว่า SOAP น่าจะมีระบบชั้นของการป้องกันข้อมูลระดับนึง (หรือปล่าวผมยังไม่ได้หาข้อมูลนะครับ ฮา..)
และผมคิดว่าจะทำระบบในส่วนของการตรวจสอบ authentication อีกชั้นนึงครับ ซึ่งก็ยากเอาการเหมือนกัน ที่คุยมาก็เกือบสองปีแล้วเพิ่งจะเริ่มลงมือคงจะทดลองใช้ในจังหวัดก่อนครับ
ผมคิดว่าข้อมูลจาก รพ. ควรจะเก็บอยู่บน data center โดยตรงนะครับ
แต่ไม่แน่ใจว่าเข้าใจผิดหรือเปล่า
คิดว่าแต่ละโรงพยาบาลเก็บข้อมูลต่าง format กันแน่นอนไม่มากก็น้อย แต่อย่างน้อยโปรแกรมที่เขานิยมใช้กันก็น่าจะมีระบบที่มันสามารถ export ข้อมูลออกมาเป็นแบบ 21 แฟ้มหรือ 18 แฟ้มได้มั้งแหละ ก็เอาอันนั้นแหละให้เขาส่งเข้ามากันเองดีกว่า
คล้ายกับโครงการสปสช ถ้าโรงบาลไหนระบบไม่รองรับก็ผลักให้โปรแกรมเมอร์ของโรงบาลเขียนให้มันได้ฟอร์แมท 21/18 เอา เรียกว่าปัดงานกันสุดๆ ฮาๆๆ เพราะเรารอรับอย่างเดียว ดูแลก็แค่ของตัวเอง
ผมก็ใช้มาตรฐานตัวนี้เป็นตัวเก็บครับ ..เพราะโปรแกรม รพ. มีเยอะมากและหลากหลายมากๆครับ
อยู่ฝั่งไหนก็ได้ครับ เข้ารหัสให้หมดเลยครับ พวกข้อมูลสำคัญๆ แต่ถ้าอยู่ตรงกลางผมว่าก็บริหารจัดการง่ายหน่อย
Texion Business Solutions
ลองดู HOSxPเป็นตัวอย่าง
เท่าที่ผมทราบ HOSxP รับข้อมูลอย่างเดียวครับ ไม่สามารถร้องขอข้อมูลมาใช้ได้ครับ
จังหวัดสุรินทร์เคยนำเสนอเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้วว่าจะทำให้updateรายการกันได้ระหว่างโรงพยาบาลจังหวัดกับโรงพยาบาลชุมชน updateเคสส่งต่อเป็นหลักทั้งส่งขึ้นและส่งกลับ ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน รายการที่จะupdateให้กันมีทั้งการตรวจ ผลแล็ป ยาที่เคยได้รับ แต่ไม่ทราบว่าเขาทำถึงไหนแล้ว ดูแนวคิดคล้ายๆกัน
HOSxP เปิดช่องให้สามารถนำข้อมูลออกมาได้ครับ แต่ให้ลักษณะเป็น Read Only ไม่อนุญาตให้เขียนกลับเข้าไป พอดีผมทำโปรแกรมให้หน่วยงานเภสัชของโรงพยาบาล มีการ connect เพื่อเอาข้อมูลผู้ป่วย รายการยา และผล lab ออกมาจาก HOSxP
หรอครับ.. แต่รู้ว่า HOSxP ก็ทำ datacenter เหมือนกันแล้วเค้าเก็บในรูปแบบแฟ้มมาตรฐานหรือปล่าวครับพวก 21 แฟ้มหริือ 18 แฟ้ม
โรงพยาบาลในระบบใช้ HIS? หรือ Software อะไรครับ มี HL7 interface หรือเปล่า?ง่ายกว่าครับที่จะดึงข้อมูลทางการแพทย์จากทางนี้
เพราะ software ทางการแพทย์ส่วนใหญ่แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วยผ่าน HL7
กรณีที่ 1 ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับแนวคิดนี้เท่าไหรนะครับ server กลางจะเป็นคนดึงข้อมูล คุณแน่ใจหรือไม่ว่า คุณจะไม่ดึงข้อมูลจนระบบลูกข่ายล่ม
กรณีที่ 2 น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า ที่ให้ทาง รพ.ส่งข้อมูลเข้าไปยัง DataCenter
HL7 interfac ไม่มีครับ ผมก็คิดว่าจะเลือกข้อ 2 ครับ
อยากให้มีระเบียนเก็บข้อมูลว่า update ครั้งสุดท้ายเมื่อไร่เอาไว้ด้วย
เวลา client ร้องขอ ก็ตรวจสอบว่า update ครั้งสุดท้ายเมื่อไร่ ถ้าตรงกันก็ไช้ data จาก client จะใด้ลด load ที่ data center
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ออ มีอยู่ครับ..
โดยปกติพวกนี้ จะ traceback ได้ทั้งหมด ^^
สร้างเป็น app ใว้แต่ละรพเป็นแบบเรียกใช้เวปเซอวิสโดยมีฐานข้อมูลเฉพาะลูกค้าที่มาใช้บริการ และมีตารางเวลา update ข้อมูลที่เป็นเวลาของแต่ละรพเพื่อให้ เซอเวอร์ กระจายการทำงานในผั่งsever เพราะเวลาระบบส่วนอื่นมีปัญหาจะใด้สามารถทำงานต่อไปใด้
และในสถานะที่มีผู้มาใช้บริการก็ให้มีการตรวจสอบเฉพาะสถานะ update ก่อนเพื้อให้ระบบไม่ทำงานหนักถ้าไม่ update
ถึงจะมีการส่งข้อมูลชุดใหม่โดย server จะดึงจากรพที่มีการเข้าใช้บริการก่อนหน้า เพราะในสภาะปรกติ server จะรับสถาณะ Update ของแต่ละผู้ใช้เท่านั้น ข้อมูลจริงๆทั้งหมดจะถูกตรวจสอบและส่งupdateตามตารางเวลาของแต่ละรพที่กำหนด
เมื่อมีผู้ใช้บริการเสร็จโปรแกรมจะส่งสถานะ update ไปที่ server เช่นกัน
เป็นแนวคิดที่ดีมากครับ ผมเองก็เพิ่งคุยกับหัวหน้าเสร็จ หัวหน้าก็เสนอมาแบบนี้เหมือนกัน..
เป็นไปได้หรือปล่าวครับถ้าผมจะให้ Web Application ที่ผมสร้างแล้วนำไปติดตั้งแต่ละรพ. แล้วให้ระบบให้ติดต่อกับ web service โดยตรงเหมือนคีย์ข้อมูลบนเว็บจริงๆ เพียงแต่ตรงนั้นติดต่อข้อมูลผ่านตัว webservice ประมาณว่า real time ไปเลยครับ ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าserver จะรับได้จริงหรือปล่าว ซึ่งกลุ่มรพ.ที่จะใช้ตอนนี้ก็มีแค่ 20 กว่าโรงเองครับ
ต้องลองดูครับว่าคีย์จากใหน ถ้าจากห้องบัตร ก็น่าจะรพ.ละ 2-3 เครื่อง ยิ่งตอนเช้าคนไข้มากันเยอะ ๆ แล้วระบบมันดันค้าง transaction ไว้ ก็อาจจะเกิดปัญหาได้นะครับ
ทำใด้แต่ ต้องเผื่อถ้้าช่วงเวลานั้นเน็ตมีปัญหา หรือมีงานที่คำนวนมากเกินไป ที่ผมคิดใว้เพื่อลดงานในหนึ่งเวลาให้เชฟทำงานได้เต็มที่ด้วยการกระจายงานในหนึ่งช่วงเวลาและมีข้อมูลส่งกันเท่าที่จำเป็นและให้เสฟทำงานใด้เต็มที่ เพราะถ้ามีการร้องขอเข้ามาพร้อมๆกันมากเกินไป ก็อาจทำใหเสฟร่มใด้ แต่อาจแก้ด้วยการสร้างอังกอริ แบบคิวมาจัดการ
อันนี้ความเห็นผมนะ server น่าจะให้ priority กับการแจกข้อมูลมากกว่าการ update ข้อมูล เพราะเวลาเกิดเหตุฉุกเฉิน การใด้ข้อมูลล่าสุดเร็วๆ มีความสำคัญสูง อีกอย่างคงมีน้อยคนที่กลับเข้า รพ. ทันทีที่เพิ่งออกจาก รพ.
ที่ผมคิดคือให้ server ดู load ของตัวเอง (เช่น network disk cpu ram) พอ load สูงกว่า 80% ก็ลดการขอข้อมูล เน็นการแจกข้อมูลแทน
ถ้า load ต่ำกว่า 80% ก็ให้ server เริ่มขอข้อมูลส่วนที่ update จาก รพ. ทำแบบนี้เรียกว่า real time ไม่ใด้ก็จริง แต่ผมว่าน่าจะดีกว่า
... อีกนิดคืออยากให้ clients เก็บข้อมูลเก่าเอาไว้ส่วนหนึ่ง (เช่นผู้ป่วย 50,000 คนสุดท้าย) เรียกว่าเป็น cached ก็ใด้
เวลาจะเรียกข้อมูล ก็ตรวจสอบว่าที่ server มีระเบียนที่ใหม่กว่าหรือปล่าว (ลด load ที่ server) เวลาเน็ตมีปัญหาก็ยังดึงข้อมูลเก่ามาไช้ใด้
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
แสดงว่ายังไม่เข้าใจที่เขียนข้างบน
เข้าใจครับ idea คล้ายกัน ของคุณคือการจัดตารางเวลา (update ทุกวัน เป็นต้น)
idea ของผมคือให้ server ใหญ่ ตรวจสอบ load ของตัวเอง ถ้า load ต่ำ ให้ server ใหญ่ เป็นผู้เริ่มขอข้อมูลจาก server ของโรงพยาบาลมา update ทันที (เวลา load ต่ำก็จะ update แบบ real time เวลา load สูงก็หยุด update)
เวลาเน็ตมีปัญหา ก็ให้ server เล็กของโรงพยาบาล สามารถไช้ข้อมูลเท่าที่มีแทนไปก่อนใด้
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ใช้วิธี 2 ดีกว่าครับ ทำที่จุดเดียว น่าจะควบคุม ดูแลได้ง่ายกว่า ตอนนี้ ทุกโรงพยาบาล ก็ ต้องส่งข้อมูลทาง net อยู่แล้ว สามารถที่จะเข้ามาส่งข้อมูลได้เลย แต่ละโรงพยาบาล จะใช้โปรแกรมอะไร ก็ ไม่สำคัญนี่ครับ ทุกที่ต้องส่ง 18 และ
21 แฟ้ม ในนั้น ก็มีรายละเอียดที่ต้องการ
จังหวัดผมก็ทำอยู่... โครงการของกระทรวง แต่ดันให้แต่ละที่ไปคิดกันเอง ทำกันเอง แล้วแต่จังหวัด ...
21 แฟ้ม 18 แฟ้ม [อนาคต 43 แฟ้ม แม่เจ้า... ถ้าโปรเจคไม่ล่มไปซะก่อนนะ]
ใช้ web service และอนาคต ไม่ใช่แค่ระดับจังหวัด มันจะส่งไปส่วนกลางด้วย
ร.พ.ผมได้ server มา 1 ตัว เป็น Broker คอยปรับแต่งข้อมูลก่อนส่งเข้า สสจ. [server หลัก datacenter อยู่ สสจ.] จังหวัดผมดีหน่อยที่ทั้งจังหวัดมี HIS แค่ 2 เจ้า .... แต่แค่นี้ก็คุยกันไม่จบไม่สิ้น [เคยโดนบังคับให้เปลี่ยน HIS เป็นแบบเดียวกันทั้งจังหวัด แต่ รพท. ไม่ยอม]
น่าเบื่ออย่างนึง คือ สสจ. จะคิดเอาข้อมูลไป แต่ไม่ได้เคยคุยเรื่องส่งข้อมูลกลับมาเลย หรือ ไม่คิดเป็นตัวแทนเรื่องการ claim แทนระดับโรงพยาบาลทั้งๆที่จะมีข้อมูลทุกอย่างที่ใช้อยู่ในมือ สุดท้าย ที่ไหนขอข้อมูล แทนที่จะไปขอ datacenter ดันมาขอ ร.พ.อยู่ดี เซ็งมากๆ
ล่าสุดเคยคุยเรื่องข้อมูลเรียกกลับ ก็ยังไม่มีข้อสรุป บอกว่าจะปล่อยข้อมูลให้ แต่คุณไปพัฒนา app ที่เอามาจับเอง ... เหอๆๆ
ข้อควรระวัง
ใน 18 / 21 แฟ้ม มีแฟ้มแบบ สะสม กับ แบบ update
และบางแฟ้ม ถ้าจะให้ได้ประโยชน์จริงๆ การสื่อสารจะต้องเร็ว ข้อมูลของการ refer คนไข้ จะต้องมีข้อมูล แพ้ยา ประวัติยา ข้อมูลการรักษา ระดับเวลาต้องระดับหนึ่ง
งานส่งเสริม งานสำรวจ อาจตั้งเวลาไว้อีกระดับหนึ่ง เพราะบางอย่างข้อมูลรายงานเป็นรายเดือน
เรื่อง สสจ.คงเป็นทุกจังหวัด มากน้อยแล้วแต่ว่าจังหวัดไหนกลุ่ม ผอ.รพช.เข้มแข็งแค่ไหน คนทำงานที่ สสจ.ส่วนหนึ่งเป็นพวกทำงานดีเขาเลยเอาเข้ามาช่วยทำงานที่จังหวัด แต่อีกเกินครึ่งเป็นพวกไม่ได้เรื่องอยู่อำเภอไม่ได้เขาไม่เอาก็ส่งมากองรวมกันไว้ที่ สสจ.พวกนี้ก็คิดอะไรไม่เป็นยกเว้นเอาคำสั่งนายมาบอกต่อให้คนอื่นทำงานไปให้ รพช.ต้องรวมกันบี้ ซึ่งก็ไม่ค่อยจะได้เรื่องราวอะไร ก็ต้องทำใจบี้ต่อไปเรื่อยๆ
เห็นด้วยมากๆครับ แต่ของขอนแก่นพอคุยกันได้ครับ
ลืมตอบคำถามหลักๆ
มันต้อง webservice ทั้งขาส่งและรับอยู่แล้วนี่ครับ
ตั้งเวลาส่งทุกๆกี่ชั่วโมง ทุกๆกี่วัน หรือ ทุกๆเดือน คงไม่น่าที่จะต้องออกแบบให้คนมากดปุ่มส่งหรอก
โดยการส่งไปและรับ ต้องมี tricker คอยบอกว่า อันนี้ไปแล้ว อันนู้นรับแล้ว อันนู้นส่งมาแล้ว อันนี้รับแล้ว
และปัญหาคือ มันไม่ใช่ส่งไปและกลับ ที่ใหม่ เท่านั้น มันต้องมีระบบที่ข้อมูลเก่าแก้ไขแล้วต้องส่งกับไป update ด้วย เช่นการเปลี่ยน ชื่อ-สกุล สิทธิ์ ยา ค่าใช้จ่าย การแพ้ยา แล้วก็สถานะการรักษา ตัวอย่างเช่น การแพ้ยานี่ตัวดีเลย ... แพ้ยาเพิ่ม 1 อย่าง 1 ที่ ก็ควรมีการสื่อสารไปบอกว่ามีการเปลี่ยนแปลง ข้อมูล ไปแก้ไขให้ทุกๆที่แก้ไขตาม [นี่คือปัญหาว่าเราจะเชื่อถือข้อมูลได้อย่างไรด้วย] และข้อมูลต้องไป update ที่ HIS ของร.พ.อื่นๆด้วย เพราะ เราคงไม่สามารถ online เพื่อดึงข้อมูลจาก datacenter ได้ ณ เวลาทำงานจริงตลอด
ขอบคุณทุกความคิดเห็นครับ..เป็นประโยชน์มากๆเลย
http://stopsoap.com/
แทนที่เราจะมี data center กลางสำหรับคอยเก็บข้อมูลทุกอย่างของทุก ๆ รพ. (ซึ่งจริง ๆ ก็เป็นการ replicate ข้อมูลจากแต่ละรพ.มาเก็บไว้) ถ้าเราทำเป็นว่า ให้แต่ละรพ.มี Web Service ที่ใช้มาตรฐานร่วมกันหนึ่งตัว (คือ request/response ต้องเหมือนกัน แต่ว่า implementation ข้างในเป็นอย่างไรก็ขึ้นกับแต่ละรพ.) แล้วเมื่อมีความจำเป็นจะต้องมีการร้องขอข้อมูลก็ทำการ request ส่งไปที่ web service ของรพ.นั้น ๆ แทน ซึ่งวิธีนี้เราก็ต้องมี web service กลางหนึ่งตัวเพื่อเป็นตัวที่คอยหาว่าข้อมูลของผู้ป่วยคนดังกล่าวอยู่ที่รพ.ไหน จะได้ให้ตัว client สามารถส่ง request ไปที่ web service ที่ถูกต้อง
จริง ๆ มันก็เป็นไอเดียพื้นฐานของ web service น่ะล่ะครับ
ข้อดีของวิธีนี้คือ จะไม่มีการ replicate ข้อมูล ซึ่งปรกติมันอาจจะใหญ่มาก ๆ ได้ (อย่างที่มีคนพูดว่า ในแต่ละรพ.อาจจะมีผู้ป่วยสูงถึงวันละ 3000 ราย) จนไม่สามารถอัพเดตได้ในเวลาจริง เมื่อไม่มีการ replicate ข้อมูลที่ได้ก็จะอัพเดตตลอดเวลา
ปัญหาหลัก ๆ ของวิธีนี้คือการ maintenance ซึ่งผมว่าเข้าขั้นฝันร้ายเลยนะ 555 และจำเป็นจะต้องมีเครือข่ายความเร็วสูงระดับนึง (fiber optics น่าจะไหวนะ) เชื่อมต่อกันระหว่างโรงพยาบาล อาจจะต่อผ่าน internet ก็ได้ หรือจะต่อตรงก็ได้ (หรือทั้งสองอย่าง ถ้าต่อผ่าน internet ก็จะมีประโยชน์อีกอย่างตรงแพทย์ที่ปฎิบัติงานนอกรพ. ก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนนี้ได้เช่นกัน)
ผมอาจจะไม่เข้าใจสถานการณ์ที่เป็นอยู่ของแต่ละรพ.ในจังหวัดคุณเท่าไหร่น่ะนะครับ มันอาจจะไม่เหมาะสมก็ได้
ตอนนี้อยากให้เป็น webservice ที่โปรแกรมใหนๆก็สามารถร้องขอข้อมูลไปใช้ได้ครับอาจจะมีให้สามารถให้เข้ามาปรับปรุงข้อมูลเองได้บางส่วน ในเบื้องคิดว่าอยากทำแค่นี้ก่อนครับ
น่าจะทำงานแบบ peer to peer ได้ด้วย เผื่อ datacenter ล่มเสียเอง
ลองมองทะลุเว็บเซอร์วิสดูน่าจะเห็นคำตอบอยู่บ้าง
อาทิเช่น Message Broker ผ่านโปรโตคอลมาตรฐาน
(เช่น AMQP)
ทำไว้ ใช้งานแค่ติดตั้งโปรแกรมพร้อมกันและ login ข้อมูลจะเชื่อมกัน Realtime ไม่ต้องใช้ Datacenter หัวข้อเก่าแล้วแต่ผมฝากทดลองใช้ดูครับ ได้ทุก HIS ยอดนิยม
ลิ้งนี้ครับโปรแกรม
https://www.facebook.com/EmrConnected/