เดลล์ประเทศไทยชวนสื่อมวลชนมาแสดงประสิทธิภาพของ PowerEdge 12G เซิร์ฟเวอร์สำหรับตลาดธุรกิจที่ออกแบบมาโดยคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้งานแล้ว หลังจากได้ไปสำรวจลูกค้าหลายพันรายในหลายประเทศ
คำตอบของการสำรวจดังกล่าวคือสิ่งที่ลูกค้าต้องการจริงๆ คือเทคโนโลยีเปิดที่มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน และมีความปลอดภัย
PowerEdge รุ่นใหม่นี้ประกอบด้วยสี่รุ่นย่อยเหมือนเดิมคือ Tower (T), Rack (R), Modular (M) และ Cloud (C) ซึ่งเคยเปิดตัวไปแล้ว (ข่าวเก่า) ที่เป็นรุ่นสำหรับตลาดเมนสตรีม และอีกชุดที่กำลังจะเริ่มขายจะเป็นรุ่นราคาถูก
รุ่นที่เอามาทดสอบให้ดูอย่าง R720 จะมีจุดเด่นที่ถูกเพิ่มขึ้นมา และเน้นมากขึ้นในรุ่นใหม่ผสมกันไป ดังนี้ครับ
อย่างแรกคือไฟแสดงสถานะที่สามารถตั้งค่าให้แสดงข้อความได้ และเอาไว้แสดงผลเวลาเกิดปัญหากับเครื่องได้ด้วย (ปกติสีฟ้า มีปัญหาสีส้ม) โดยมีจะมีข้อความเบื้องต้น และโค้ดสำหรับไปหาวิธีการแก้ไขในคู่มือการใช้
บาร์โค้ดสำหรับตรวจสอบอุปกรณ์ด้วยมือถือ โดยจะวิ่งเข้าเว็บแอพของเดลล์ หน้าตาแบบนี้ครับ
พอเปิดเครื่องดูจะพบกับหน้าตาแบบนี้ครับ ส่วนที่ถอดออกได้จะมีสลักสีฟ้าอยู่ สามารถเทียบตำแหน่งฮาร์ดแวร์ได้จากสไลด์ครับ
ส่วนของพาวเวอร์ซัพพลายสามารถดึงออกได้ และมีไฟแสดงสถานะการใช้งานพร้อม
รุ่นใหม่นี้มีหนึ่งซีรีส์ที่ออกแบบใหม่เพื่อเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการความหนาแน่นมากๆ อย่าง M420 ที่มีขนาด quater-height (1/4) และ M520 ที่ half-height (1/2)
ในส่วนของฮาร์ดแวร์รุ่นที่เอาโชว์ (R720) รองรับแรมสูงสุด 24 แถว (มากที่สุด 768GB!) และใช้แรมที่กินไฟน้อยลง 1.35v ซึ่งรุ่นสูงกว่านี้จะรองรับได้มากขึ้นอีกเท่าตัว
เพื่อตอบสนองลูกค้าที่ต้องการความรวดเร็วในการส่งข้อมูล เซิร์ฟเวอร์ซีรีส์ใหม่นี้รองรับการเชื่อมต่อผ่านสายแลนความเร็ว 10GbE ที่บันเดิลมากับตัวเซิร์ฟเวอร์ ไม่ต้องซื้ออแดปเตอร์มาต่อพ่วงเอง และสามารถสร้าง virtual network แยกได้อีกสี่ท่อต่อหนึ่งพอร์ต กลบข้อจำกัดตรงที่รุ่น 10GbE จะได้สองพอร์ต แต่รุ่นเดิม 1GbE จะได้สี่พอร์ต
รองรับ SSD สำหรับเซิร์ฟเวอร์แล้ว ซึ่งสามารถเชื่อมต่อโดยตรงกับซีพียูผ่านพอร์ต PCIe ตอนนี้ยังมีสองขนาด 175GB และ 350GB โดยรวมแล้วเร็วกว่า SSD แบบ SAS ราว 2-3 เท่า รวมถึงเทคโนโลยี CacheCade คือการเพิ่ม SSD เข้าไปในเป็นแคชของระบบ เพื่อเพิ่ม IOPs ของระบบ สำหรับงานจำพวกดาตาเบสที่มีการเรียกข้อมูลซ้ำบ่อยๆ ดูกราฟแสดงความแตกต่างได้ที่ภาพด้านล่างครับ
รองรับการใช้จีพียูไปช่วยซีพียูประมวลผล (จำพวกการเรนเดอร์ งานทางการแพทย์ หรือ floating point) มีทั้งแบบ internal และ dedicate card รองรับตั้งแต่ 2-4 ใบต่อเซิร์ฟเวอร์ โดยรวมแล้วช่วยให้การทำงานบางอย่างเร็วขึ้นถึง 8 เท่า (มีการ์ดหลายรุ่น/ยี่ห้อ)
รองรับการเข้ารหัสหน่วยความจำในระดับฮาร์ดแวร์ ป้องกันการถูกขโมยข้อมูล โดยบังคับให้ HDD ทำงานได้กับเครืองที่ระบุไว้เท่านั้น ประกอบด้วยเทคโนโลยีหลายตัวเช่น AES-NI และ Intel TXT ที่ผูก VM เข้ากับ virtual host ที่รันเซอร์วิสอยู่
ตัวฮาร์ดแวร์ของ PowerEdge รองรับความร้อนสูงถึง 45 องศายาวนานถึง 90 ชั่วโมง ถ้าต่ำลงเหลือ 40 องศาจะรันได้นานถึง 900 ชั่วโมง และสามารถระบายความร้อนผ่านอากาศได้
ในชุดเซิร์ฟเวอร์ของเดลล์ จะมีซอฟต์แวร์ที่ชื่อว่า iDRAC 7 (มาจากคำว่า Integrated Dell Remote Acccess Controller 7) ที่ช่วยรีโมตเข้าไปจัดการเครื่องได้ ซึ่งมีสามารถตรวจสอบรายละเอียดในส่วนฮาร์ดแวร์ได้จากใน iDRAC 7 และสามารถสั่งรีโมตเข้าเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการได้แม้ว่าจะปิดเครื่องอยู่ ซึ่งต้องต่อสายแลนแยกเฉพาะสำหรับใช้งาน iDRAC 7 ครับ
หน้าตาพอร์ตแลน iDRAC 7
อินเทอร์เฟซของ iDRAC 7
มาพร้อมกับ Lifecycle Controller สำหรับช่วยในการติดตั้งระบบสำหรับเซิร์ฟเวอร์ได้โดยไม่ต้องใช้แผ่นซีดี แต่บันเดิลไว้ที่เมนบอร์ดพร้อมใช้งานด้วยปุ่ม Fn+F10 และอัพเดตได้โดยตรงจากเว็บไซต์ของเดลล์ด้วย (แน่นอนว่าต้องต่อเน็ต)
ระบบ Failsafe hypervision on redundant SD cards บนเซิร์ฟเวอร์รุ่น T620, R620, R720, R720xd และ M620 ที่ใช้ SD Card เป็นคู่เพื่อแก้ปัญหาการเสียหายของไฟล์บน SD Card ให้สามารถเรียกข้อมูลจาก SD Card อีกใบได้
OpenManage Essentials ตัวช่วยสำหรับตรวจสอบอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อมอยู่กับระบบ ซึ่งครอบคลุมทั้งเซิร์ฟเวอร์ สวิทซ์ RAC หรือ EqualLogic แน่นอนว่าทำงานร่วมกับ iDRAC 7 ได้ (เปรียบเทียบแล้ว OpenManag Essentials เหมือนกับแดชบอร์ด ส่วน iDRAC 7 เหมือนกับตัวจัดการแบบทีละเครื่อง)
อินเทอร์เฟซของ OpenManage Essentials
เช็คข้อมูลฮาร์ดแวร์ (ในภาพคือตารางประกัน)
OpenManage Power Center สำหรับจัดการพลังงานบนเซิร์ฟเวอร์ สำหรับ environment ที่มีการจำกัดพลังงาน ป้องกันการตัดไฟจากศูนย์ แลกกับการทำงานที่ช้าลงครับ
ในไตรมาสสามของปีนี้ เดลล์มีแผนจะเปิดตัวเซิร์ฟเวอร์อีกสองซีรีส์คือรุ่นใช้ Xeon E5-2400 ที่ราคาถูกลง และ Xeon E5-4600 ที่เน้นประสิทธิภาพมากขึ้นครับ
Comments
virturl host => visual host
Coder | Designer | Thinker | Blogger
virtual ครับ ไม่ใช่ visual
virtual host มากกว่าครับ
iDRAC6 ยังไม่ทันได้ใช้ iDRAC7 มาแล้ว ;__;
สนใจ iDRAC7 เพราะไม่ได้ใช้ Dell เลยครับ ปกติใช้ HP - iLO กับ IBM - IMM แทบจะทั้งหมด (ประทับใจทั้งคู่)
ท่านที่เคยลอง iDRAC วานเล่าให้ฟังหน่อยนะครับว่าใช้แล้วเป็นไงมั่ง (หรือมันก็เหมือนๆกัน ?)
ในงานมีคุยกันว่าเจ้าไหนๆ ก็มีระบบแบบนี้ของตัวเองกันหมดแล้วฮะ แต่หน้าตาก็จะแตกต่างกันไป ส่วนตัวผมว่า iDRAC ตัวนี้มันอินเทอร์เฟซเกือบทันสมัยแล้วนะ (คือไม่ห่วย แต่ก็ไม่ได้ถึงกับดีมาก)
เคยใช้ ILO + CIMC ผมว่ามันก็เหมือนกันแหละครับ
โดยส่วนตัวชอบ CIMC กว่าตรงที่ไม่กั๊กให้มาทุกเครื่องแล้วต่อ KVM ได้เลย
ส่วนของ Dell นี่ต้องจัด iDRAC Express + iDRAC Enterprise ก่อนถึงจะใช้ KVM ได้
+1 ครับ ชอบ CIMC มากกว่า KVM ไม่ต้องซื้อเพิ่มเหมือนเจ้าอื่น Map Virtual Drive ได้ด้วย แทบไม่ต้องไปยุ่งกับ Physical Server เลย
คำถามนี้ไม่เกี่ยว........ทำไมเค้าถึงเลือกทำเป็น Web มากกว่า Desktop App ครับ
ผมว่านะ เพราะคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมี Browser ครับ ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม แถมเรื่อง Security ยังโอเคซะด้วย(หมายถึงยอมรับได้)
plug n play ครับ
ผ่านเว็บ ยังมี ssl อีกชั้นด้วยนะ
เปิด forword port รีโมตได้ข้ามโลกเลย
Native App... Windows, Linux, Mac, Android, iOS, Windows Phone บลาๆ
iOS อด lol
เพราะ iDRAC เป็น flash
iDRAC เป็น ActiveX กับ Java ครับ ไม่ใช่ Flash
ผมใช้มาตั้งแต่ DRAC3 ยัน iDRAC6
CIMC ฮะ จำสลับ
ส่วน iDRAC เป็น HTML เฉยๆเลย
แต่ละอย่างทำมาให้ service engineer ใช้แท้ๆเลย
iDRAC ผมใช้อยู่แต่อยากลอง 7 เหมือนกันน่ะ เมื่อไหร่จะได้ update เน้อ ระบบจัดการมันดีมากครับในเรื่อง terminal control hardware
แจ่มจริงๆ ผมชอบมากเลยอ่ะครับ