การให้บริการเก็บข้อมูลหรือการเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์ใช้สอยต่างๆ ขององค์กร ในปัจจุบันนั้นมีตัวเลือกอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้งานได้หลากหลายเพื่อให้เหมาะสมความต้องการ
เทคโนโลยีการเก็บข้อมูลก็เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่มีการพัฒนาไม่หยุดหย่อน ซึ่งในแต่ละระบบมีขีดจำกัดหลายเรื่องต่างกัน เช่น ความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูล, ความยืดหยุ่นของระบบ, พลังงานที่ใช้, การใช้สอยพื้นที่หรือสถานที่ เป็นต้น ซึ่งต้องนำมาพิจารณาเป็นข้อดีและข้อเสีย เพื่อพิจารณาว่าสมควรใช้ระบบใด จากเดิมนิยมใช้ฮาร์ดดิสก์ก็มีบางส่วนหันมาใช้ SSD เพื่อความเร็วในการอ่านเขียนข้อมูลเร็วยิ่งขึ้น สู่ระบบ NAS หรือ SAN ที่มีความยืดหยุ่นสูงขึ้น และระบบอื่นๆ ที่มีมากมาย โดยความได้เปรียบของ SSD ที่เป็นที่รู้กันดีคือประสิทธิภาพจะสูงกว่าฮาร์ดดิสก์
บทความนี้ได้รับการสนับสนุนจากบริษัท Tangerine ตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวของ Fusion-io ในประเทศไทย อย่างไรก็ตามทางตัวแทนจำหน่ายให้อิสระกับ Blognone ทดสอบได้เต็มที่ และไม่ขอดูผลการทดสอบก่อนตีพิมพ์บทความครับ
คุณสมบัติที่ตอบสนองต่องานอ่านและเขียนจำนวนมากๆ ได้อย่างรวดเร็วของ SSD ทำให้มันช่วยเร่งความเร็วงานบางกลุ่มได้อย่างดี เช่น งานฐานข้อมูล ที่ต้องค้นหาข้อมูลและเขียนแก้ไขข้อมูลจำนวนมากๆ ได้เป็นอย่างดี งานในกลุ่มนี้บ่อยครั้งที่เราพบว่าตอบสนองงานได้ช้า เช่น การคำนวณปิดบัญชี ณ ช่วงรอบวันหรือรอบบัญชีต่างๆ ที่อาจจะต้องคำนวณหลายชั่วโมงหรือบางครั้งใช้เวลานับวัน จากการค้นข้อมูลหลายร้อยล้านชุด และสรุปรายงานอีกนับล้านชุด การใช้ SAN ขนาดใหญ่เพื่อให้ได้ IOPS ที่สูงมักทำให้ราคาของระบบสูงขึ้นจนน่าตกใจ การใช้ SSD หากงานเป็นงานที่ติดคอขวดที่ดิสก์ไม่สามารถตอบสนองต่อการอ่านและเขียนได้ทัน การใช้ SSD มักเป็นทางแก้ปัญหาที่ตรงจุดและใช้เงินทุนน้อยกว่ามาก
ในท้องตลาดนี้ เราจะเห็น SSD หลากหลายยี่ห้อวางตลาดกันโดยทั่วไป หลายยี่ห้อนั้นเริ่มมีขนาดความจุที่ใกล้เคียงฮาร์ดดิสก์ขึ้นเรื่อยๆ พร้อมๆ กับราคาที่ใกล้เคียงกันเข้ามาด้วยเช่นกัน แต่ดิสก์เหล่านี้แม้จะเป็น SSD เช่นเดียวกัน แต่มักจะออกแบบโดยคำถึงถึงข้อจำกัดด้านการใช้งานมากกว่าประสิทธิภาพ เช่น การเชื่อมต่อผ่านพอร์ต SATA ที่ทำให้การสื่อสารจาก CPU ไปยังดิสก์ต้องผ่าน SATA controller อีกชั้นหนึ่ง ตัวดิสก์ถูกออกแบบภายใต้ข้อจำกัดของพื้นที่ เช่น การออกแบบสำหรับติดตั้งในโน้ตบุ๊ค
สำหรับตลาดในกลุ่มขององค์กรที่ต้องการประสิทธิภาพเป็นหลักมากกว่าความสะดวกในการติดตั้ง หรือข้อจำกัดด้านราคาแบบการใช้งานของผู้ใช้ตามบ้าน ยังมี SSD สำหรับองค์กรที่มักติดตั้งผ่านช่อง PCIe เชื่อมต่อกับ CPU โดยผ่านเลเยอร์ตัวกลางอื่นๆ น้อยกว่า การ์ดเหล่านี้แม้จะมีราคาสูงขึ้นบ้างเมื่อเทียบกับราคาของ SSD สำหรับผู้ใช้ตามบ้าน แต่สำหรับงานธุรกิจที่ช่วยลดเวลาการประมวลผล การสร้างรายงานได้ในเวลาที่รวดเร็ว หรือให้บริการลูกค้าได้ในเวลาที่น้อยลง ล้วนสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่า
เช่นเดียวกับตลาดในกลุ่มอื่นๆ ตลาด SSD สำหรับองค์กรนั้นมีผู้ผลิตอยู่หลายราย แต่ละรายมักมีเทคนิคในการเร่งความเร็วของการ์ดต่างกันไป แต่โดยมากแล้ว มักจะอาศัยการเชื่อมต่อภายในเป็น SATA เพื่อลดความยุ่งยากในการออกแบบ การเชื่อมต่อผ่าน PCIe ของการ์ดเหล่านี้ให้ความเร็วเพิ่มขึ้นจากเชื่อมต่อผ่าน SATA อย่างเดียวได้มาก เพราะภายในการ์ดมักมีชิปกระจายโหลดแบบ RAID ทำให้ SATA แต่ละชุดในการ์ดช่วยเร่งความเร็วรวมของการ์ดขึ้นมาได้
ปัญหาของการออกแบบเช่นนั้น คือ การเพิ่มชิปจำนวนมากบนการ์ดจะเพิ่มจุดเสี่ยงต่อความเสียหายของการ์ดเป็นเงาตามตัว และบางครั้งชิป RAID บนตัวการ์ดที่เราเคยมองว่าทำงานได้เร็วนั้น หลายครั้งกลับเป็นคอขวดของการออกแบบเสียเอง
Fusion-io เป็นผู้ผลิต SSD สำหรับองค์กรโดยเฉพาะที่เลือกแนวทางการออกแบบอีกทางหนึ่ง คือ การลดชิปที่ไม่จำเป็นออกจากการ์ดให้เหลือน้อยที่สุด แล้วย้ายงานที่ซีพียูสามารถทำได้ให้กลับไปทำงานบนซีพียูหลักของเครื่อง แนวทางการออกแบบนี้อาศัยความจริงที่ว่าซีพียูรุ่นใหม่ๆ ในช่วงหลังมีความเร็วสูงมากจนไม่ใช่คอขวดของระบบในงานส่วนใหญ่ แต่กลับเป็นความช้าของดิสก์ทั้ง Throughput และจำนวน IOPS ที่รองรับได้ และระยะเวลาหน่วง (latency) ที่จะตอบสนองต่อคำสั่งไปยังดิสก์ ทาง Fusion-io เรียกเทคโนโลยีนี้ว่า Virtual Storage Layer (VSL)
ภายใต้เทคโนโลยี VSL การ์ด SSD ของ Fusion-io สร้างความได้เปรียบที่จำเป็นต่อหน่วยงานระดับองค์กรหลายอย่าง โดยเฉพาะความน่าเชื่อถือของข้อมูล การ์ดจำนวนมากในปัจจุบันใช้วิธีเร่งความเร็วด้วยการใช้แรมมาบัฟเฟอร์การเขียนลงสู่ SSD ที่ความเร็วต่ำกว่า แต่การเขียนลงแรมก่อนทำให้ข้อมูลอาจจะสูญหายได้หากเกิดปัญหากับระบบไฟฟ้า ความพยายามออกแบบเช่นนั้นทำให้ต้องเพิ่มภาคสำรองไฟไปบนการ์ด SSD อีกทีหนึ่ง เพิ่มความซับซ้อนให้กับการ์ดเข้าไปอีกชั้น และเพิ่มจุดเสี่ยงต่อความเสียหายไปพร้อมกัน แต่การ์ดของ Fusion-io จะเขียนลงตัว Flash โดยตรงเสมอ ทำให้สามารถยืนยันการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในดิสก์ว่าเป็นไปตามที่เราตั้งใจจริงๆ ข้อมูลทั้งหมดถูกคำนวณค่า checksum เพื่อป้องกันการผิดพลาดตั้งแต่ใน CPU ไปจนถึงการเขียนลงแฟลช พร้อมระบบแก้ไขและกู้คืนข้อมูลขนาด 49 บิตที่วางอยู่บนตัวชิปแฟลชทำให้เมื่อเกิดความผิดพลาดใดๆ ที่เป็นไปได้ ข้อมูลก็ยังอยู่ครบถ้วน
ความจุของการ์ด Fusion-io นั้นมีตั้งแต่ 365 GB ไปจนถึง 10.24 TB ซึ่งเมื่อเทียบขนาดของตัวการ์ดกับความจุแล้ว จะพบว่าการ์ด Fusion-io ที่ขนาดเท่ากับฮาร์ดดิสก์จะใช้พื้นที่ติดตั้งน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์มาก
Throughput เป็นการวัดประสิทธิภาพของอุปกรณ์เก็บข้อมูล โดยวัดปริมาณข้อมูลที่สามารถ โอนถ่ายได้ในหนึ่งช่วงเวลา จากการทดสอบจะเห็นได้ว่า ioDrive II นั้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าอุปกรณ์เก็บข้อมูลอื่นแบบขาดลอย โดยสาเหตุหนึ่งเป็นเพราะการ์ด Fusion-io นั้นที่ติดตั้งในช่อง PCI Express x4 บนเมนบอร์ด ซึ่งมีความเร็วในการเชื่อมต่อสูงสุด 2 GB/s ต่างกับการเชื่อมต่อแบบ SATA3 ที่นิยมใช้กัน ซึ่งมีความเร็วสูงสุดเพียง 600 MB/s โดยการ์ดที่เรานำมาทดสอบนั้นเป็นการ์ด ioDrive II รุ่น 1.2 TB ครับ
หมายเหตุ
IOPs หรือ Input/Output Operations Per Second เป็นการวัดจำนวนคำสั่งที่สามารถอ่านเขียนใน 1 วินาที ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจุดที่ต้องคำนึงถึงเวลาวัดประสิทธิภาพของอุปกรณ์เก็บข้อมูล จากการทดสอบจะเห็นได้ว่า ioDrive II มีค่า IOPs สูงมากเมื่อเทียบกับอุปกรณ์ประเภทอื่น
ioDrive II นั้นจะติดต่อกับ CPU และ RAM โดยตรงผ่าน PCI Express ต่างกับฮาร์ดดิสก์หรือ SSD แบบ SATA ที่ต้องติดต่อผ่าน SATA Controller อีกชั้นหนึ่ง ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเวลาในหน่วยมิลลิวินาที
การทำงานภายในของ ioDrive II จะใช้หลักการที่คล้ายกับ RAID 5 โดยในกรณีที่มีชิปบางตัวเสียไป ระบบจะสามารถสร้างข้อมูลขึ้นมาใหม่ได้จากข้อมูลเดิมที่ยังเหลืออยู่ นอกจากนี้ ioDrive II แต่ละตัวยังมีความจุจริงมากกว่าที่ระบุไว้ในสเปคอยู่ประมาณ 20% ความจุที่เกินมาดังกล่าวจะจัดเป็นพื้นที่สงวน (reserved space) ซึ่งในกรณีที่มีชิปบางตัวเสีย ระบบจะไปจัดสรรพื้นที่สงวนมาให้ใช้แทนพื้นที่เดิม ซึ่งจะต่างจากกรณีของฮาร์ดดิสก์ เมื่อมี Bad Sector แล้วจะไม่สามารถใช้พื้นที่ตรงนั้นได้และพื้นที่รวมจะลดลง หรือกรณีของ SSD แบบทั่วๆไปที่เมื่อมีชิปบางตัวเสีย ก็จะเท่ากับ SSD เสียไปทั้งลูก
นอกจากการย้ายข้อมูลไปใช้ชิปที่ยังไม่เสียหายแล้ว Fusion-io ยังออกแบบให้คำนึงถึงความเป็นไปได้ที่ชิปแฟลชอาจจะเสียหายแบบชั่วคราว (transcient damage) เมื่อตรวจสอบพบความเสียหายและย้ายข้อมูลไปยังส่วนสำรองแล้ว มันจะตรวจสอบพื้นที่เสียหายซ้ำอีกครั้ง และหากพบว่าเป็นการเสียหายแบบชั่วคราว ก็จะนำชิปส่วนนั้นกลับมาใช้งานได้ต่อเนื่อง โดยทั้งหมดแอพพลิเคชั่นไม่ต้องรับรู้อะไรนอกจากผู้ดูแลระบบที่ต้องเฝ้าระวังสถานะของการ์ดตามปกติ โดยการตรวจสอบมีทั้งการตรวจสอบด้วยหน้าจอ GUI และการตรวจสอบสถานะผ่านทางโพรโตคอล SNMP ทำให้ผู้ดูแลระบบสามารถตรวจสอบเครื่องจำนวนมากได้ว่าสถานะของดิสก์เป็นอย่างไรและเตรียมพร้อมรับมือล่วงหน้าได้
จากการทดสอบ ioDrive II เป็นทางเลือกในการเก็บข้อมูลที่ได้ประสิทธิภาพสูงในแทบทุกด้าน แม้ราคาจะสูงอยู่บ้างแต่เมื่อเทียบกับทางเลือกการเก็บข้อมูลระดับองค์กรที่ให้ประสิทธิภาพสูงๆ รูปแบบอื่น ioDrive ก็ยังนับว่ามีราคาถูกกว่ามาก ฟีเจอร์จำนวนมากเป็นฟีเจอร์เพื่อความเสถียรของระบบและการดูแล มันน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับงานที่มีคอขวดของระบบอยู่ที่ดิสก์และต้องการเร่งความเร็วโดยไม่ต้องแก้แอพพลิเคชั่น หากขนาดของดิสก์เป็นปัญหาว่ายังไม่พอต่อการใช้งาน ก็อาจจะเลือกวางข้อมูลแค่บางส่วนที่ต้องการการอ่านและเขียนจำนวนมากๆ ไว้บน ioDrive II แทนที่จะวางข้อมูลทั้งหมดไว้
Comments
ราคามิอาจเอื้อม
อยากรู้ราคาจัง ประมาณเท่าไหร่
ราคาประมาณ
น้ำตาจะไหล ของแพงนะครับ T_T
Dream high, work hard.
ซื้อรถได้เลยทีเดียว
เห็นราคาแล้ว ถ้าไม่ใช่องค์กรขนาดใหญ่คงตัดสินใจยาก
TwT น้ำตาจะไหล
เปลี่ยน $ เป็น ฿ โต้งๆ ยังไม่กล้าซื้อเลย
ถ้า 1.2TB ราคา 13900 บาทจริงผมจะรีบสอยมาใช้แบบไม่ต้องคิดมากเลยฮะ
ไม่น่าต่ำกว่าแสน
เห็นราคาแล้วสะดุ้งโฮก แล้วแบบนี้ในไทยจะมีให้ผู้บริการเซิฟเวอร์รายไหนเปลี่ยนใช้บ้างน่ะ
ห๊ะ HDD RAID IOPS เยอะกว่า SSD ?
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
สงสัยว่า เอา SSD รุ่นไหนมาทดสอบเนี่ย =w=!
เข้าใจว่าใช้การ์ด raid รุ่นสูงๆ ที่มีพวก Cache บนการ์ดน่ะครับ พวกนี้เวลาทำ raid มันจะไวกว่า hdd ปกติค่อนข้างมาก (ถ้ายังเขียนพื้นที่ข้อมูลแค่เท่าที่พอใน buffer)
ถ้า super-capacitor เสียขึ้นมา เวลาไฟดับทีก็ตัวใครตัวมัน
lewcpe.com, @wasonliw
เขียนเกินแรมเมื่อไหร่ สปีดร่วงทันที 555
+1 ร่วงแบบเซาะกราวด้วย > <
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
+1 เซาะกราว :D
ขนาด SSD รุ่นแรงๆยังไม่มีตังไปลองเลยครับ T^T
เซิฟเวอร์ เกมออนไลน์
พวกองค์กรที่ต้องใช้งานในระดับ Big Data น่าจะได้ประโยชน์เต็มๆ ครับ
ที่ว่าเต็มๆ คือจ่ายเต็มๆ ใช่มั้ยพี่
แม่นแล้ว 5555
เป็นข้อดี และข้อดี ==> เป็นข้อดี และข้อเสีย
เป็นข้อดี และข้อดี ?
หลายหลายยี่ห้อ => หลากหลายยี่ห้อ
ธรกิจ => ธุรกิจ
มีผู้ผลิตอยู่หลาย ?
ทั้งการจำนวน ?
Hareware RAID => Hardware RAID
เป็นอยู่ที่ดิสก์ ?
บางสว่น => บางส่วน
รอต่อไปๆ อีกซัก 2 ปี คงได้ชิม อิอิ
Texion Business Solutions
ใครอยากลองแบบความจุน้อย + ราคาย่อมเยาลงมาหน่อย
มี OCZ RevoDrive เป็นตัวเลือกอีกอันนึงครับ
น่าจะเหมาะกับ Home Use มากกว่า
ดูราคาแล้ว พอใหว สำหรับพวก Home Use ที่ต้องการใช้ของ Hi-End
เอาใว้ทดสอบระบบ Server บน VMWare ก็น่าจะเวิร์ค
OCZ ระดับ Enterprise ก็มีนะครับ Z-Drive R4 คิดว่าดีกว่าพอสมควรด้วย รุ่นที่เป็น MLC ก็ถูกกว่าเช่น RM88 800GB ราคาประมาณ $6000
ส่วนรุ่นที่เป็น SLC จะแพงกว่าครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ราคาตัว 240 GB X2 ราคาไม่เกิน 12000 จะไปสอยมาประกอบเครื่อง workstation ย่อมย่อม ในบ้านซะหน่อย
ใช้กับงาน ที่ ทำเงินมากๆ ในคราวเดียว อย่างงาน ซิมูเลต หรืองานด้านออกแบบ น่าจะเวิร์ค
ราคาแสน แบบนี้ ตลาดค่อนแคบมากๆ
แพงแบบนี้ รับประกันกี่ปีครับ .. ถ้าอายุการใช้งานนาน มีลุ้นสอยมาใช้ครับ ^^
น่าจะ1ปีนะครับ
default ที่เห็นในเว็บ dealer ข้างบนนั่น 1 ปีครับ แต่มีให้ซื้อเพิ่มได้ถึง 5 ปีมั้งถ้าจำไม่ผิด
ถ้ารับประกันแค่ 1 ปี .. ลงทุนเป็นแสน ไม่น่าจะคุ้มเลยครับ
ของจริงเท่าที่เห้นก็ซื้อ package warranty เพิ้มกันอยู่แล้วนะครับ (อย่าง thinkpad รุ่นเก่าๆ มี warranty สิบปีก็มีคนซื้อจริง)
โลก enterprise ความคิดเรื่องราคามันจะเป็นอีกแบบกับโลกที่เราๆ อยู่
lewcpe.com, @wasonliw
ราคาแรงงงงงง
ใช่ครับ ในเรื่องของราคานั้น Online Seller จะขายได้ถูกกว่า เพราะว่า เขาแค่รับ Order แล้วก็ ทำการ Shipment (ยังมี Shipment Cost + การเคลียร์สินค้าออกจากศุลกากรด้วย อีกที่ต้องชาร์จจากผู้ซื้อเพิ่ม ถ้าส่งด้วย Worldwide Courier เช่น UPS, DHL) แล้วผู้ใช้ก็ติดตั้งการ์ดเอง หรือซอฟต์แวร์ต่างๆ เองทั้งหมด
ในกรณีที่เกิดปัญหาต้องการ Troubleshoot ผู้ใช้ก็ต้องเปิดเคสเองโดยตรงกับทาง Fusion-io แล้วก็สื่อสารกันไป อาจจะเกิดการ ding dong ของปัญหายืดเยื้อในเวลา หลายชั่วโมงหลายวันมากขึ้น กรณีที่ต้องเปลี่ยนการ์ด ก็ต้องรอให้ Fusion-io ส่งการ์ดเข้ามาที่ไทย แล้วจะต้องติดด่านศุลกากรที่สนามบิน แล้วก็ต้องหาวิธีไปทำ Custom Clearance ต่างๆ นานา ซึ่งจะใช้เวลาหลายวันอยู่
ดังนั้น Online Seller Price จะราคาถูกครับ เพราะเขาไม่ต้องทำอะไร แต่กรณีลูกค้าองค์กรในไทย ถ้าหากได้รับ Service Level แบบนี้ นี่รับไม่ได้แน่นอนครับ เขาต้องการอะไรที่ 24/7 แล้วถ้าการ์ดเสีย แล้ว Fusion-io Engineer ทำการ diagnose แล้วว่าต้องเปลี่ยนการ์ด ทางตัวแทนจำหน่ายก็จะมาเปลี่ยนการ์ดได้"ทันที" เพราะมี local spare ไว้อยู่ในประเทศอยู่แล้ว แล้วเวลาเกิดปัญหา ก็ติดต่อตัวแทนจำหน่ายอย่างเดียว เคสปกติก็สามารถจบได้เลย เพราะตัวแทนจำหน่ายจะเจอเคสเยอะอยู่แล้ว ดังนั้น Service Level จะต่างกันเยอะเหมือนกันครับ ซึ่งแบบนี้ก็จะตรงกับความต้องการของลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ภายในประเทศไทยครับ คือต้องการที่ปรึกษาและทีมงานช่วยอย่างใกล้ชิด
แต่ถ้าเป็น Home Use นั้น Fusion-io รุ่นที่ทำการ Review นั้นไม่เหมาะแน่นอน (ในเชิงของราคา และ Technical ครับ เพราะว่ามันต้องอยู่ในเครื่องที่มี Air Flow ดีๆ ขั้นต่ำก็ 300 LFM - Linear Feet per Minute) แต่ก็จะมีรุ่นสำหรับ PC, Workstation ด้วยเช่นกันที่ชื่อว่า "ioFX" (ดูรายละเอียดได้ที่ Blog ผมครับ http://www.s50.me/2012/04/fusionio-by-apple-co-founder-iofx-media.html)
ส่วนเรื่องการลงทุนสำหรับลูกค้าองค์กรนั้น ให้คิดง่ายๆ ครับ คือให้คิดเหมือนนักลงทุน (Investor) ว่า ถ้าก่อนใช้ Fusion-io นั้น Business Application นั้น ทำเงินได้ X บาท แล้วถ้าใช้ Fusion-io มาเร่งความเร็วได้หลายเท่าตัวมากๆ (เช่นลดเวลา จากหลักหลายชั่วโมงเหลือหลักนาที หรือ เพิ่มจำนวน Transaction per sec ที่ระบบจะรองรับได้) แล้วทำเงินได้ 3X - 10X บาท ขึ้นไป การจ่ายเงินให้กับ Fusion-io ในหลักแค่นี้ ถือว่าคุ้มค่าแน่นอนครับ เพียงแค่ว่าต้องเอาไว้ทำ Performance Boost สำหรับ Business Application ที่ทำเงินได้เท่านั้น พวกที่ไม่ได้ทำเงินอะไรมาก หรือว่าเร่งความเร็วไปก็ไม่มีประโยชน์ พวกนี้ก็ไม่ต้องใช้ Fusion-io ครับ เพราะไม่คุ้มค่าแน่นอน ฮะ :)
เหมือนซื้อหุ้นแหล่ะครับ ยอมซื้อแพง เพื่อที่จะขายได้ในราคาที่แพงกว่า (ถ้ามัน up-trend) :P
ของไม่แรง ไม่ดีจริง คงจะไม่แพงขนาดนี้ แล้วเอา Revo drive ของ OCZ ไปเทียบได้มะเนี่ย
จับคนละตลาดกันค่อนข้างชัดเจนนะครับ
ioDrive นี่ทั้งความแรง, ความจุ, ฟังก์ชั่น, แพคเกจจัดเต็ม เหมาะกันงาน Enterprise ชัดเจน
RevoDrive นี่แรงน้อยลงมาหน่อย ความจุ ราคาย่อมเยาลงมา เหมาะกับ Home Use ระดับสูง
เห็นราคาเเล้ว ก้มหน้าใช้HDDต่อไป
ioDrive2, MLC Flash, 1.2 TB
*The purchase of at least 1 year support and subscription is required. #F00-001-1T20-CS-0001
Our Price: $13,900.00
เอามาทำ RAID 5 ซัก 5 ตัว = 13,900x5 = 69,500$ เงินไทยเป็น 2,224,000 ล้านบาท
พระเจ้า!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!
ได้แค่เห็นก็บุญแล้ว 0
ราคาน่าถอย(ออกมาห่างๆ)มาก
เห็นราคาแล้ว LSI Warpdrive ถูกกว่าอีก
ใครจะซื้อบอกนะครับ ผมอยากไปจับกล่องมันซักครั้ง ^ ^
นึกว่าจะมีรีวิวเอาการ์ดไปติด server blognone สักสัปดาห์ (ฮา)
จริงๆ ได้การ์ดมาประมาณสิบวันครับ
แต่กว่าจะเดินทางกว่าจะติด ถ้าต้อง migrate DB คงไม่คุ้ม เลยเอามา benchmark ก่อน
lewcpe.com, @wasonliw
ผู้อ่านส่วนมากของ Blognone ได้แต่มองตาปริบๆ ตกใจกับราคามาก -
มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB
จริงๆ แล้วผมแนะนำให้ทาง tangerine นำตัวนี้มาลง เพราะมี IT manager หลายคนก็อ่านเว็บ (แต่อ่านเงียบๆ) น่ะครับ ระดับองค์กร ราคาแบบนี้เรียกว่าถูกแล้วล่ะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ใช่ครับ ราคาถูกครับเมื่อเทียบกับสิ่งที่ Business นั้นได้รับ ผมเพิ่งจะเจอลูกค้ารายหนึ่ง ใช้ Flash ของ Sun (รุ่น F20 ที่ใช้ใน Oracle Exadata) แล้วมาเจอ ราคา Fusion-io เข้าไป แล้วบอกเลยว่า "ทำไม ราคาถูกขนาดนี้ !!! แถมยังเร็วกว่าด้วย" :D (ลูกค้าก็อึ้ง คนขายก็อึ้ง)
ฉะนั้น ถูกหรือแพง มันขึ้นกับว่า เราเอาไปใช้กับ Business Application ที่ทำเงินหรือเปล่า น่ะครับ คิดในมุมนักลงทุนจริงๆ ยอมจ่ายเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีกว่า ณ เวลานั้นๆ
ดูราคา Sun F20 (ซึ่งเป็นเทคโนโลยีปี 2008-2009) Online ได้ที่ https://shop.oracle.com/pls/ostore/f?p=700:6:0::::P6_LPI:370134672213501875173615 ขนาดแค่ 96GB คิดไปแล้วที่ 4695 USD. นี่ราคาหน้าเว็บนะครับ ถ้าราคาขายในประเทศ จะมีการบวกค่าบริหารจัดการ Support อีกระดับหนึ่งฮะ
ขอถามครับ การ enable TRIM มันทำให้ SSD ทนขึ้น/ประสิทธิภาพดี จริงมั้ย
พฤติกรรมของ NAND Flash Storage กับ File Systems นั้น ถ้า File Systems มันไม่สามารถทำ TRIM/Discard Operation มาบอก NAND-Flash Device ก็จะทำให้ Flash Device นั้นใช้ไปนานๆ แล้วจะเกิดอาการพื้นที่เต็ม ซึ่งสิ่งที่จะตามมาคือ "Write" Performance ช้าลง
แต่สำหรับ Fusion-io นั้นจะมีกระบวนการการทำ garbage collection ครับ ดังนั้นถ้าใช้กับ File Systems ใหม่ๆ อย่างเช่น Linux ext4 (ที่ enable discard feature) หรือ Windows 2003/2008 เป็นต้นไป ก็จะมีการรัน TRIM/Discard ได้อยู่แล้ว แต่บน Linux ใน Configuration ที่เราทำ LVM (mdadm) ในบาง configuration นั้นอาจจะทำให้ TRIM/Discard operation มันไม่ได้ถูกยิงลงไปถึง NAND-Flash device ด้านล่าง ซึ่งกรณีนี้ ถ้าเป็น Fusion-io อย่างที่บอกครับ จะมี garbage collection mechanism ในตัวอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็น Brand อื่นๆ ถ้าใช้ไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดอาการ performance degrade ฮะ อาจจะต้อง backup แล้ว low-level format NAND-flash แล้วก็ restore เป็นรอบ ๆ ไป (แล้วแต่ Brand แล้ว ว่าจะมี Mechanism รองรับเรื่องนี้อย่างไร)
สำหรับ Linux ext4 ถ้าใช้ Discard Feature จำเป็นต้องใช้กับ Kernel Version ใหม่ๆ นะครับ ไม่งั้น จะเจอ Known issue ของ Linux ext4 กับ Discard Feature ครับ (ต้องเช็คกับ Linux Distribution ค่ายนั้นๆ ดู)
ชัดเจนครับ ถามต่อครับการทำ zero fill (เช่น cat /dev/zero > /dev/sdX) ให้ผลเหมือนกับ low level format ด้วย software ที่ bundle มากับ ssd มั้ยครับ
ไม่เหมือนครับ การทำ Zero Fill ถ้าพิจารณาดีๆ คือการ Write ข้อมูล zero ลงไปแบบเต็มพื้นที่ ให้นึกถึงลานจอดรถ มันเปรียบเสมือน มีรถจอดอยู่เต็มลานจอดรถ
แต่ถ้าทำ Low Level Format (fio-format command) กรณีนี้ จะเป็นการเคลียร์ข้อมูลทิ้งด้วย และ ลานจอดรถก็โล่งกว้างด้วยครับ ฉะนั้นทางที่ดี (กรณีที่ต้องการทำ low-level format) ให้ทำการ detach Fusion-io ออกจาก OS ก่อน (fio-detach) จากนั้นสั่ง fio-format โดยสามารถระบุ block size, capacity ได้ จากนั้น ค่อยสั่ง attach กลับเข้าไปใน OS ให้ OS เห็น (/dev/fioa) และใช้งานได้
== เพิ่มเติม ==
โดยสรุป ณ เวลานี้ ให้ยึดตาม Best Practice ตาม UserGuide/Release Notes ของ Fusion-io นั้น ถ้าต้องการทำ Low Level Format ให้ใช้ fio-format ส่วนวิธีนอกเหนือจากนั้น ไม่อยู่ในคู่มือ ก็จะไม่เป็นวิธีการที่แนะนำครับ (สไตล์ของ Enterprise Product จะให้ยึดตาม User Guide / Release Note Version ล่าสุด เสมอๆครับ เพื่อให้อยู่ใน Supported Configuration และไม่ให้เจอ Unexpected Behavior)
การทำ Low-level format ของ Fusion-io ด้วย fio-format command นั้น มันจะมีเรื่องของการ Format User Space ให้โล่งกว้าง และ มีการจัดการในส่วนของ Reserved Space (ที่ User Space มองไม่เห็น เอามาใช้ในส่วนของ Adaptive Flashback Redundancy) ด้วย และ ก็มีการบันทึกลง Metadata ที่จัดเก็บไว้ใน Fusion-io Card ด้วยเช่นกัน รวมถึงเรื่องของ Block Size Define ดังนั้นแล้ว ถ้า Hardware บอกว่าให้ใช้วิธีไหนเพื่อกรณีไหน ก็ให้ยึดตามนั้นครับ
คือกำลังจะสื่อว่า การ Write ลง Fusion-io นั้น แม้ว่า Logical Block Address ที่ OS เห็นและ Write ลงไปนั้นเป็น Address เดิม แต่ที่ระดับ Hardware ใน NAND Flash ของ Fusion-io นั้น จะ Write ไปคนละที่ (มันเป็น mechanism ที่ทำให้ Flash มี อายุการใช้งานโดยเฉลี่ยในเชิง statistic ต่อ 1 cell ดีขึ้น คือ ไม่มี cell hotspot ที่จะหมดอายุก่อน cell อื่นๆ) ซึ่งการทำ zero filled ที่ว่า เกรงว่าจะทำให้ space จะถูก fill zero data (null) ในลักษณะที่ ไม่ใช่ entire NAND flash capacity อย่าลืมว่า Fusion-io มันมี Space อยู่ทั้งในส่วนของ User Space, Reserved Space. Reserved Space จะนำมาใช้ทั้งกรณีตอน Chip Fail และ ตอนที่ User Space เริ่มจะเต็ม
มันเลยเป็นที่มาว่า ทำไม วิธี zero fill ที่ว่านี้ ไม่ได้บรรจุอยู่ใน UserGuide/Release Note ของ Fusion-io ครับ Recommend ให้ใช้ Low Level Format (fio-format) ครับ :D
ซับซ้อนหน่อยฮะ แต่พฤติกรรมมันเป็นแบบนี้จริงๆ เพื่อให้ได้ อายุการใช้งานยาวนานที่สุด และ เป็นไปทั่วพื้นที่ทั้งผืนของ Fusion-io NAND Flash.
ข้อมูลใน ssd มี 3 state ครับ 0, 1, null
การ trim เป็นการทำให้ทั้ง block เป็น null ครับ
นึกว่ามี 4 ... 0,1,null,bad
bad ไม่ใช่ state ของ nand นี่ครับ เป็นการ mark ของ controller เองมากกว่า
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ผมว่าคุณ jane เล่นมุขครับ 555
xD
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ราคาเห็นแล้ว shock
Coder | Designer | Thinker | Blogger