จากข่าว กสทช. ระบุมีบริษัทขอรับใบสมัครประมูล 3G ทั้งหมด 17 ราย ยื่นเอกสารจริงวันพรุ่งนี้ วันนี้ (28 ก.ย.) เป็นวันเดียวที่ กสทช. เปิดให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตจนถึงเวลา 16.30 น. สรุปว่ามีเพียงตัวแทนจาก 3 บริษัทมือถือใหญ่มายื่นเอกสารตามคาด
ขั้นตอนต่อไป สำนักงาน กสทช. จะทำการตรวจสอบคุณสมบัติขั้นแรกให้แล้วเสร็จ และจะแจ้งผลการพิจารณาคำขอรับใบอนุญาตให้ผู้ยื่นขอรับใบอนุญาตทราบ พร้อมประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมการประมูลในวันที่ 9 ตุลาคม 2555
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์จาก กสทช.
Comments
ถ้าได้คนละ 15/15/15 MHz นี่มีเงิบเลยนะนั่น
แต่ที่เงิบกว่า คือมือมืดล้มประมูล
นึกว่าสูตรปุ๋ย
ฮา
แน่ะ ฮาจริง
น่าจะ 15/15/15 เพราะกฏ บอกไว้ว่าประมูลรวมได้ไม่เกิน 15 ต่อบริษัท
ไม่หรอกครับ ช่วงคลื่นมันมีประสิทธิภาพไม่เท่ากัน จ่ายมากกว่าได้เลือกช่วงที่ดีกว่าครับ
ดูเหมือนจะไม่ใช่นะครับ.......... เห็นมีบอกว่าประมูลบล็อกละ 5
แต่สุดท้ายแล้วก็ให้เอามารวมกันให้แต่ละรายได้เป็นช่วงคลื่นที่บล็อกต่อกันตามจำนวนที่ประมูลได้
ใครจะมีเท่าไหร่ก็เอาเหอะ รีบๆมาละกัน -..-'
ตัดเค้กได้พอดีแล้วสินะ
นี่แหละประเทศไทย
คนละ15/15/15 แล้วจะประมูลเพื่อแดกงบชิมิ? ทีหลังก็แจกไปแล้ว จ่ายค่าออกใบอนุญาติมาก็จบ ...
กฏหมาย สั่งให้แจกใบอนุญาติ ด้วยวิธีการประมูลครับ
อยู่ในความสุภาพนะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
กระบวนการมันมีก็ต้องทำไปตามกระบวนการสิครับ
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
ประมูลตามกระบวนการ และทำให้ชาติได้รับประโยชน์สูงสุดจากการประมูลฮะ(จำนวนเงิน)
ถ้าไม่ฮั๊วะกันนะ
เข้าใจว่า กสทช.ไม่ต้องการให้ประมูลราคาแข่งกันจนสูงเกินไป จนอาจไม่สามารถไปสร้างเครือข่ายที่ดี(งบหมดไปกับค่าประมูล)
และถ้าประมูลแพง อาจจะต้องคิดราคาค่าบริการแพงจนกระทบผู้ใช้งาน
และเรื่อง 3G ไม่ได้จบแค่การประมูล กสทช.มีอำนาจและหน้าที่ควบคุมหลังประมูลด้วย ใครทำไม่ดีมีเรื่องแน่
15/15/15 แน่ๆ เลยแบบนี้...
Dream high, work hard.
(ノಠ益ಠ)ノ ┻━┻
Dream high, work hard.
(ノಠ益ಠ)ノ ┻━┻
//ด้วยคน
┬─┬╯╯︵ /(.□.).
ล้มโต๊ะ
ด้วยครับ ไม่ต้องมาบอกว่าประเทศเสียโอกาศนะครับ โอกาศแบบนี้ยอมเสียๆผดีกว่า
โอกาศ -> โอกาส
เอ๊ะ ไม่ใช่บทความนี่นา XD
วางโต๊ะกลับด้วยครับ
┬──┬ ノ(° -°ノ)
:: DigiKin8 ::
555555
วางไม่ได้ ขาโต๊ะหักไปแล้ว และพบว่าใต้โต๊ะมีคนอยู่
อยากทราบว่า ถึงขั้นตอนไหนที่เราจะสบายใจได้ว่าจะไม่ล้มแน่ๆอ่ะครับ
จนได้ใช้ครับ
ยังครับ คนจ้องก็จ้อง เมื่อกี้ดูข่าว มีสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์นักวิชาการ(จำชื่อไม่ได้) ยังมองหาจุดอับเยอะแยะเลย อย่าง กสทช ไม่มีข้อกำหนดข้อบังคับเรื่องราคา เรื่องคุณภาพการบริการบ้างละ ( อันนี้เขาพูดนะ มีไม่มีต้องดูเอง)
แกรมมี่/CTH ล่ะ T_T
แกรมมี่เปิดบริษัทมือถือก็จริง แต่สถานะเป็นเพียงแค่ MVNO ครับ
TOT/CAT ทำไมไม่ประมูลด้วยหว่า
TOT มีคลื่นอยูแล้ว
CAT จะให้เอาคลื่นไปดองไว้อีกหรอครับ
Ooh
เป็นรัฐวิสาหกิจอยู่แล้ว เลยไม่ต้องประมูลมั้งครับ
ถ้าประมูล เงินที่TOT CAT จ่ายก็ต้องเข้ากสทช แล้วกสทชก็ต้องให้ กระทรวงการคลังอยู่ดี
ซึ่งกระทรวงการคลัง ก็ถือหุ้น TOT CAT 100%
เค้ามีดองไว้แล้ว 30 เฮิร์ต
FREE FOR ALL
TOT ก็ใช้กับ AIS ไง ส่วน CAT ก็ TruemoveH
TruemoveH นั่นมัน 850MHz นะครับ
หมายถึง AIS ได้ 2.1GHz ก็เหมือน TOT ได้ไปด้วย ส่วน Real ได้ 2.1GHz ก็เหมือน CAT ได้ไปด้วยครับ เพราะทุกวันนี้ก็ใช้ช่องร่วมกันอยู่คล้ายๆ MVNO
ท่าทางจะเข้าใจอะไรผิด
บริษัทที่ได้ไปต้องประกอบกิจการเอง หมายความว่า ถ้า CAT/TOT จะมา "เช่าใช้" โครงข่าย ก็ต้องมาเปิดเป็น MVNO ของบริษัทที่ได้ไปอีกทีนึงครับ สภาพเหมือนกับบรรดา TOT + MVNO นั่นแหละ
แล้วก็ บริษัทที่เข้าประมูล ไม่ใช่ AIS , TAC , Truemove ที่เป็นคู่สัมปทานนะครับ เค้าเปิดเป็นบริษัทใหม่ออกมาต่างหากเลย หมายความว่าเครือข่ายก็จะแยกกัน ถ้าจะใช้ 3G ค่ายใหม่ที่ประมูลได้ คุณก็ต้องทำ MNP ย้ายค่ายไป หรือเปิดเบอร์ใหม่เลย (สถานการณ์เดียวกับ truemove -> truemove H)
แล้ว TOT นี่ ตัวเองมีอยู่ 2x15 MHz ย่าน 2100MHz อยู่แล้ว แถมไม่มีใครแย่งด้วย จะไปใช้ของชาวบ้านเค้าอีกทำไม? (โดยเฉพาะถ้าใช้ของ AIS นี่ คนใช้แน่นแน่ๆ)
ทำใจไว้ได้เลยโดนฟ้องแน่นอน ถ้ามาฟอร์มนี้ เย้ๆๆๆ รอ LTE ไปเลยละกันเนอะ ประเทศไทย :D
อยากจะให้ประมูลแข่งกันดุเดือด ราคาสูงๆ -> ค่าบริการแพงนะ
ราคาขึ้นอยู่กับการแข่งขันในตลาดครับ ไม่ใช่ราคาประมูล
ราคาขายขึ้นอยู่กับต้นทุนครับ
ไม่น่าจะจริงนะครับ :D
"การประมูลราคาคลื่นความถี่ไม่ทำให้ราคาค่าบริการไร้สายเพิ่มสูงขึ้น : ทฤษฎีและหลักฐาน"
http://wireless.fcc.gov/auctions/data/papersAndStudies/SpectrumAuctionsDoNotRaisePrices.pdf
ขอคัดบางส่วนมาให้อ่านครับ ส่วนนี้ไม่เกี่ยวกับมือถือแต่เป็นคำตอบว่า ทำไมมันถึงไม่กระทบกับราคาขายครับ (รายละเอียดดูในเอกสารด้านบน)
For example, in competitive rental markets rents do
not depend on the historical costs of acquiring a property. Those who paid high prices for
their property are not able to charge higher rents. Nor do owners who acquired their
properties cheaply or even for free charge less, absent government price controls. The
same is true in less competitive markets such as sport stadiums. Owners who inherited
their stadiums are not likely to set ticket prices any lower than those who obtained them
through competitive bidding.
ลองสมมติเล่นๆ นะครับ ว่าคุณเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์รายเดียวในประเทศ ไม่มีคู่แข่งอื่น และไม่ต้องเสียค่าคลื่นเลย มีแต่ต้นทุนการบริการอย่างเดียว
สมมติว่า ถ้าตั้งราคาค่าโทรนาทีละ 10 บาท คุณจะได้กำไรปีละ 100,000 ล้าน ถ้าตั้งแพงขึ้นเป็น 15 บาท คนจะใช้น้อยลง จนถึงแม้ว่าราคาจะสูงกว่า แต่ก็เหลือกำไรปีละ 70,000 ล้าน หรือถ้าลดราคาลงเหลือ 5 บาท คนใช้เยอะขึ้นก็จริง แต่ก็ยังไม่พอที่จะชดเชยกำไร เหลือกำไรปีละ 70,000 ล้านเหมือนกัน ถ้าคุณต้องการกำไรสูงสุด คุณก็ตั้งค่าบริการที่ 10 บาท
แต่ปรากฏว่า อยู่ๆ คุณโดนบังคับว่า ถ้าจะทำธุรกิจต่อปีหน้า คุณต้องเสียค่าใบอนุญาตคลื่น 10,000 ล้าน แต่อย่างอื่นในตลาดยังเหมือนเดิม คุณยังให้บริการคนเดียวเหมือนเดิม ผู้บริโภคก็ยังมีพฤติกรรมเดิมๆ
แปลว่าถ้าคุณตั้งราคา 10 บาท คุณจะเหลือกำไรปีหน้า 90,000 ล้าน ลดลงไปจากเดิม แต่ถามว่า คุณตั้งราคาเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยต้นทุนนี้ได้มั้ย ถ้าคุณเพิ่มราคาเป็น 15 บาท ปริมาณการบริโภคก็ยังคงไม่แตกต่างจากกรณีเดิม (เพราะสำหรับคนซื้อ 15 บาทอันนี้ กับ 15 บาทอันแรก มันก็ 15 บาทเหมือนกัน) ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยน คุณก็จะได้กำไรปีละ 60,000 ล้านแทน แปลว่าราคาที่จะได้กำไรมากสุด ก็ยังคงเป็น 10 บาทเหมือนเดิม
สมมติเปลี่ยนสถานการณ์ว่า ยังคงได้คลื่นฟรีเหมือนเดิม แต่มีคู่แข่งมาให้บริการแทน เป็นตลาดที่แข่งกันสองราย สมมติคู่แข่งเข้ามาแล้วตั้งราคาแค่ 5 บาท แล้วดูดลูกค้าคุณไปหมด คราวนี้ตั้งราคา 10 บาทไม่ได้แล้ว สถานการณ์เปลี่ยน ราคาที่เหมาะที่สุดอาจจะกลายเป็นไปตั้งราคาเท่าคู่แข่งที่ 5 บาทก็ได้
ดังนั้น ปัจจัยที่กำหนดราคา มันคือสภาพตลาดครับ เช่น มีคู่แข่งเข้ามามากขึ้น หรือพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ฯลฯ ส่วนค่าคลื่นตอนแรกนั้น มันมีผลกับกำไร ซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุน (เช่น สมมติว่าคิดค่าใบอนุญาตใบละล้านล้าน คำนวณแล้วไม่มีทางทำกำไรมาชดเชยได้แน่ ก็ไม่เข้ามาทำดีกว่า) ในแง่ของการประมูลแล้ว ส่วนที่จะส่งผลต่อราคาคือ ประมูลแล้ว สภาพตลาดเป็นอย่างไร (เช่น ถ้าเอา N-1 มาใช้ ได้ราคาประมูลสูงจริง แต่ผู้เล่นในตลาดลดลง ในกรณีนั้น มันอาจส่งผลต่อราคาในแง่ว่า มันมีผลต่อการแข่งขันในตลาด แต่ไม่ใช่ว่าเพราะจ่ายค่าใบอนุญาตแพงขึ้น)
ถ้ามองตามแนวคิดนี้ ก็ถูกต้องว่า การได้เงินประมูลสูงๆ ไม่ใช่เป้าหมายสำคัญที่สุดจริง (เพราะต้องดูผลลัพธ์ว่าประมูลแล้วตลาดเป็นยังไง) แต่ถ้าผลการจัดสรรคลื่นเหมือนกัน การที่จ่ายแพงไม่ได้แปลว่าค่าบริการจะแพงกว่าจ่ายถูกครับ
อันนี้คือมุมมองว่าทำไมมันถึงไม่มีผลนะครับ ในทางวิชาการก็ยังไม่ได้เห็นด้วยกัน 100% (ซึ่งก็เป็นเรื่องปรกติ) แต่ก็เป็นแนวคิดกระแสหลัก
+1 ขอบคุณครับ ได้ความรู้จริงๆ
+1 อยู่การแข่งขันไม่ใช่ราคาประมูล
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
ประมูลสูง เงินเข้ารัฐเยอะ แต่ออกจากรัฐไปหาใครต่อไม่รู้ เพราะถ้าเอาเงินส่วนที่ได้ มาใช้ประโยชน์ต่อจะดีกว่าที่จะให้ประมูลต่ำแล้วค่ายเอากำไรหนี โดยรัฐไม่ได้อะไร
เป็นอีกข้อที่นักวิช่การทั้งหลายพูดกัน คือ กสทช จะใช้เงินยังไงได้แค่ไหน
เงินค่าประมูลคลื่น ส่งเข้าคลังแผ่นดินครับ
กสทช จะได้เงินค่าธรรมเนียมการใช้ใบอนุญาต และหักรายได้จากโอเปอเรเตอร์เข้ากองทุน กสทช.
นี่เลยครับคือสิ่งที่ผมคิด แต่นักวิชาการ(ผมดูข่าวเนชั่นตอนทุ่มกว่า) ที่คอยมองหาจุดอับพูดมาแบบนั้นผมก็ อืม.... ตกลงจะหาเรื่องฟ้องให้ได้ใช่มั้ย
พวกนี้อยู่ใน พรบ เลยครับ ไม่ต้องคิด อ่านอย่างเดียวพอ
+1 อยากให้มีปุ่มกด ไลค์อ่ะครับ
อันนี้เป็นความเชื่อที่ยังมีคนพูดกันอยู่เยอะครับ ในงานวิจัยหลายชิ้นที่ศึกษาการประมูลของต่างประเทศ
แม้ว่า...ไม่เห็น ไม่พูด หรือ ไม่ได้ยิน แต่...มันมีอยู่จริง
ทำไมอ่านแล้วมันเศร้าใจ
ผมคิดว่ามันมีข้อดีมากกว่าข้อเสียตรงที่ว่า แบบนี้ผมจะเลือกค่ายไหนมันก็เลือกง่ายขึ้น ตัดปัญหาว่าเจ้าไหนช่วงเยอะกว่าออกไป
ที่เหลือก็ไปดูว่าโปรโมทชั่นมันเป็นยังไง
Blognone = 138.1 news/w เยอะมากๆ
เป็นอีกมุมมองที่ดีมากเลยฮะ จริงๆพออ่านจบรู้สึก เซง เบื่อ อยากโวยวาย ฯ แต่พอคิดแง่นี้ก็ดีครับ ย้ายไปมาจะได้พอพอกัน
+1
That is the way things are.
ผมก็คิดยังงั้นแต่แรกครับ
ประเทศชาติได้มากได้น้อยก็คิดซะว่าผลตอบแทนจาก 3G ที่จะได้มาในอนาคตมันมากละกันครับ
แล้วก็คิดซะว่าดีต่อประชาชนที่ไม่ต้องตกไปอยู่ในเจ้าที่ มีคลื่นช่วงน้อย แล้วเหมือนโดนบังคับให้ย้ายเจ้า
ผมว่าแล้วแต่มุมมองน่ะว่าจริงๆใครได้หรือไมได้อะไรยังไง
+1
พื้นฐานเท่ากัน ก็ต้องแข่งกันที่บริการและราคา
แต่ถ้าคิดอย่างงี้ คือกะให้มีแค่สามค่ายนี้แบ่งเค้กกินกันไปจนตราบฟ้าดินสลาย ค่ายใหม่ไม่มีโอกาสได้เกิดเลยสิครับ
มูลค่าการลงทุนโครงข่ายโทรศัพท์มือถือทั้งสามค่าย แต่ละค่ายลงกันหลักหมื่นล้านบาท (แถมซัดไปสี่ห้าหมื่นล้านด้วย) ทั้งนั้นครับ คิดว่าจะมีค่ายเล็กได้เกิดเหรอครับ?
ยอมเป็น MVNO เช่าใช้โครงข่ายของค่ายใหญ่ๆ ดีกว่า เหมาช่วงไปขายต่ออีกที ไม่ต้องลงทุนโครงข่ายเอง
ในความเป็นจริงช่วงคลื่นมีคุณภาพไม่เท่ากันครับ ยังไงก็ต้องเลือกที่เหมาะกับพื้นที่ที่เราใช้อยู่ดี
ก็แถลงข่าวจับมือกันเรียบร้อยแล้ว จริงๆก็ประมูลพอเป็นพิธี ถ้าไม่ต้องประมูลคงจะได้ประหยัดค่าจัดประมูล ถึงเวลาก็โอนเงินใส่บัญชีเป็นอันจบ แต่ก็นั่นแหละจะเซ่นเครื่องสังเวยมันก็ต้องมีพิธีกรรมกันเสียหน่อยเดี๋ยวไม่ศักดิ์สิทธิ์ :-p
ขอให้ไปอ่านข้างบนหน่อยละกันครับ
I need healing.
เห้อ อออออ ตามกฎหมาย อ่านเป็นตัวโตๆนะครับ
ก็ไม่ได้ว่าอะไรนี่ครับ ก็รู้ว่าทำตามกฏหมาย (ผมยังไม่ได้ด่าใครเลยนะ เหอๆ)
ถ้าแบ่งได้ลงตัวก็โอเค เพราะตอนนี้ ช่องความถี่ที่ได้รับสัมปทาน
DTAC มีเยอะสุด
AIS ตามลงมา
True เน่าสุด
ไม่รวม TOT/CAT ที่มี การยึดครองไว้ต่างห่าง
FREE FOR ALL
เท่ากับว่าลงตัวที่ 15/15/15 ทันทีสิ
เพราะเห็นกฏล่าสุดว่าห้ามถือเกินเจ้าละ 3 slot x 5 Mhz. รึเปล่า ??
รู้ตั้งแต่ได้มากสุด 15 แล้วหล่ะ เหอะๆ
อย่าให้แมวกับคนร้องไห้มาขวางความเจริญทางด้านคมนาคมเมืองไทยเราเลย บ้านพี่เมืองน้องเราเค้าไปไหนต่อไหนแล้วก้อไม่รู้
คิดเสียว่าจะได้ไม่ต้องย้ายค่าย ที่เหลือคืออยากรู้ว่าจะเกินราคาประมูลขั้นต่ำถึงหลักหมื่นบาทรึปล่าว และหวังว่าจะมีวิธีปรับปรุงการประมูลไม่ต้องจัดเช่าห้องเหมาโรงแรมให้เปลืองเงินเหมือนคราวที่ล้มไปรอบที่แล้ว เปลืองเงินเปล่าๆ ประมูลแบบบ้านๆ ชูป้ายเคาะราคาน่าจะประหยัดงบประมาณแผ่นดินได้เยอะ แต่ก็จ่ายเงินค่าที่ปรึกษาไปแล้ว คงขอเลิกสัญญาไม่ได้หรอก น่าจะได้เห็นวิธีการจัดประมูลระดับโลกที่การแข่งขันเป็นเอกลักษณ์สมานฉันท์ไม่เหมือนการประมูลอื่นๆก็คราวนี้ ไม่รู้จะเป็นเอกลักษณ์เหมือนห้องประมูลกรมบังคับคดีอย่างที่เขาเล่าๆกันมารึปล่าว
จะยังไงก็ต้องย้ายค่ายครับ :) สังเกตชื่อบริษัทดีๆ ครับ มันไม่ใช่บริษัทเดิมนะครับ
ยืนยันแล้วจากคุณศรันย์ครับว่าถ้าคุณจะใช้ 3G ค่ายที่เพิ่งประมูลได้นี่ต้องย้ายค่ายแน่นอน
อยากบอกคำเดียวว่า รอใช้จนลูกจะโตแล้ว จะเปิดก็รีบเปิดเหอะ เบื่อและ เครื่องโทสัพมีสามจีมาไม่ต่ำกว่า 15 ปีละในเมืองไทยนี่ แต่สามจีแบบสากลก็ไม่เปิดสักที โพสต์เก่าที่ผมเคยโพสต์ไว้ตั้งนานแล้วเวลาเสิร์ชยังติดหน้าหนึ่งกูเกิ้ลอยู่เลย เพราะว่าโพสต์ไว้นานมากๆ แล้ว ทำให้ติด SEO ไปโดยปริยายอ่ะ ยังจำได้ไม่เคยลืม นับเวลาที่ผมโพสต์ไว้ครั้งนั้นว่าขอให้เปิด มาถึงวันนี้ก็ราว 7 ปีแล้วล่ะ หวังว่ารอบนี้จะเปิดสักทีเถอะนะ จะได้ทำธุรกิจออนไลน์อะไรต่างๆ ให้มันโลดแล่นกันไปเลยอ่ะ
ก็ให้ต่าสมัคแพงๆ สิครับ
แล้วใครประมูลได้ก็ทำธุรกิจได้กำไรอยู่แล้ว
ไม่เห็นจะต้องมาเอาเงินภาษีเราๆท่านๆ ไปใช้เลย
ขอบคุณครับ
แล้ว วิคตอรี่ มอเตอร์ หล่ะ
นั่งวิชาการอะไรไม่รู้ จ้องอยู่ รอดูดราม่าได้เลย ฮ่าๆ
ขอให้รอดทีเถอะ เบื่อ 3G ที่อยู่ในคราบ EDGE เต็มทน
หงุดหงิด ไม่ถูกใจ ปล่อยไปก็ไม่ถูกต้องตามที่ควรจะเป็น ฟ้องไปก็ช้าลงไปอีก
เหนื่อยหน่าประเทศไทย
เซ็ง
Coder | Designer | Thinker | Blogger
แล้วถ้าไม่ใช่เจ้าละ 4500 ล้านแล้ว(ถ้าผมจำไม่ผิด)รวมเป็นจะได้ 13,500 ล้านแล้ว
เขาคิดว่าถ้าประมูลกันอย่างถูกต้อง มีการแข่งขันสุดๆแล้ว เงินที่ควรจะได้มันเป็นเท่าไหร่ครับ
SLOT ละ 4500 ล้าน... 1 คนประมูลได้ 3 slot มีประมูลทั้งหมด 9 slot = 40,500 ล้านบาทครับ
ขอบคุณมากครับ ^^
ถ้าได้มากกว่านี้มันจะเท่าไหร่หว่า
เพราะที่ผมสงสัยคือ
จริงอยู่ว่าประเทศชาติได้มากได้น้อยมันต้องมี
คนไม่พอใจมันต้องมี
แต่สุดท้ายต้องมองว่าถ้ามีแล้วมันคุ้มกับเงินที่ไม่ได้ไหม
Win Win Win คำเดียวเท้่านั้นจบจะได้ไม่ล้มประมูลกันอีก
หวยล็อกนะแบบนี้ - -
May the Force Close be with you. || @nuttyi